Internet2..The Next Generation Internet

หลายคนอาจจะเคยคิดจินตนาการกันว่าในอนาคต Internet จะเป็นอย่างไร จะมี application ลักษณะใดให้ใช้งานบ้าง ? .. คำถามนี้อาจจะตอบได้ไม่ง่ายนัก.. แต่ถ้าเราดูจากการเติบโตของ Internet ตั้งแต่ในอดีตเราอาจจะพอเดาแนวโน้มของมันได้ .. Internet ในอดีตรองรับการทำงานที่เป็น text mode เช่น remote login, file transfer, และ e-mail .. ปัจจุบัน มี web, low-quality audio/video, client-server ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติรูปแบบของ Internet ในอดีต .. ถ้ามองจากข้อมูลที่วิ่งอยู่ใน Internet ตามนี้ ..ก็คงเดาได้ไม่ยากว่า Internet จะเข้าสู่ยุคของ multimedia จะมี application อย่าง telephony, video conference, HDTV ที่ทุกคนสามารถใช้งานได้จากเครื่องของตัวเอง Internet จะขยายตัวออกไปสู่ wireless components, embedded systems, และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เครื่อง PC เหมือนในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า applications เริ่มจะมีให้เห็นบ้างแล้วในปัจจุบัน แต่ก็ยังทำได้ไม่เต็มที่นักและการใช้งานก็ยังคงจำกัดอยู่แค่บางจุด.. สาเหตุก็มาจากตัว Internet ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ไม่ได้ออกแบบให้รองรับงานประเภท multimedia หรือ real-time applications ที่ต้องการการโต้ตอบอย่างรวดเร็ว และยังมีข้อจำกัดในการรองรับข้อมูล multimedia กับผู้ใช้จำนวนมากๆ .. การออกแบบ Internet ที่สามารถรองรับผู้ใช้จำนวนมากและยังใช้งานเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็น และนั่นก็เป็นที่มาของ Internet2 นี่ล่ะครับ

Internet2 (I2) เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า UCAID (University Corporation for Advanced Internet Development) .. โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนา applications และ technology ที่จะใช้งานในเครือข่าย Internet ในอนาคต และพยายามเร่งให้ Internet เติบโตในเชิงของ application เร็วขึ้น .. เครือข่าย Internet2 จึงเป็นเสมือนกับเครือข่ายที่ใช้ทดลองและทดสอบการทำงานของ protocols, services, และ applications ใหม่ๆ เช่น IPv6, Multicasting และ Quality of Service (QoS) ซึ่งจะเอามาใช้งานในเครือข่าย Internet จริงๆ ในอนาคต … เอาล่ะครับ เมื่อพอจะทราบแล้วว่า Internet2 คืออะไร ทีนี้ก็มาถึงตัวเครือข่ายที่รองรับการทำงานกันดีกว่าครับ

Abilene : The Internet2 Backbone

Internet2 มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นเครือข่ายความเร็วสูงขนาดใหญ่ เพื่อจำลองสภาพของ Internet ในอนาคตเครือข่ายนี้จะเป็นพื้นที่ๆ ใช้ทดสอบ applications, protocols, และ services ต่างๆ ที่สมาชิกของ Internet2 ได้คิดขึ้นมา.. ในปัจจุบันเครือข่าย Internet2 ให้บริการโดย Abilene ซึ่งเป็นเครือข่ายที่พัฒนาให้ใช้งานสำหรับ Internet2 โดยเฉพาะ.. เครือข่าย Abilene นี้พัฒนาโดย Cisco, Nortel, และ Qwest ประกอบด้วยโครงข่ายของ optical fiber มี core network ทำงานที่ OC-48 (2.4 Gbps) และ OC-12 (622 Mbps) ซึ่งเชื่อมจุดให้บริการที่เรียกว่า GigaPoPs (Gigabits Point-of-Presents) ของแต่ละพื้นที่เข้าด้วยกัน..เนื่องจากเครือข่ายเป็น optical fiber ที่ใช้ protocol SONET ดังนั้น protocol ที่ใช้รองรับการทำงานของ IP บน Abilene ก็คือ IP-over-SONET นั่นเอง เครือข่ายที่เป็น core นี้สนับสนุนโดย Qwest ครับ .. ส่วน Cisco และ Nortel จะสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์ โดยแต่ละ GigaPoPs จะใช้ router Cisco 12008 ..มหาวิทยาลัยในแต่ละพื้นที่จะเชื่อมเครือข่ายของตนเองเข้ากับ GigaPoPs ที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดยตรง หรือผ่านทาง regional networks (เช่น ISPs, NSPs) โดยใช้ protocol IP-over-SONET หรือ IP-over-ATM มีอัตรารับส่งข้อมูลเป็น OC-12, OC-3 หรือ DS-3 .. Internet2 มี requirement สำหรับมหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่ออยู่ว่า endpoints ที่ PC จะต้องมีอัตรารับส่งข้อมูลอย่างต่ำสุด 100 Mbps .. เวลานี้ Abilene กำลังพัฒนาให้ backbone มีอัตราการรับส่งข้อมูลเป็น OC-192 (9.6 Gbps) และจะพัฒนาให้สูงขึ้นไปอีกในอนาคต .. Internet2 ไม่ได้บังคับว่ามหาวิทยาลัยในโครงการต้องเชื่อมต่อเข้ากับ Abilene เพราะมีหลายๆ มหาวิทยาลัยเชื่อมกับ vBNS ซึ่งเป็น backbone ของ Internet อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นจะสะดวกกว่าหาก Internet2 เชื่อม Abilene กับ vBNS เข้าด้วยกัน อย่างใรก็ตาม การทดสอบต่างๆ ยังคงทำบนเครือข่ายของ Abilene เป็นหลัก เพราะ Abilene ได้รับเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยใน Internet2 จึงใช้ในการศึกษาวิจัยได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ vBNS จะให้บริการเชิงธุรกิจด้วย .

นอกจาก จะเป็นเครือข่ายสำหรับการทดสอบแล้ว Internet2/Abilene ยังถือเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัย (Research & Education Networks) ระหว่างมหาวิทยาลัยในโครงการด้วย .. อืมม.. อันที่จริง สหรัฐมี R & E networks เยอะเหมือนกันครับ ถ้านับเฉพาะเครือข่ายหลักๆ ที่ใหญ่ขนาดคลุมพื้นที่ทั้งประเทศก็จะมี DREN, NREN, ESNet และ StarTAP ที่รัฐบาลสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่าย .. R & E network หลักๆ ทั้งหมดนี้ได้เชื่อมเข้าหากันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัยระหว่างกันได้ สะดวก นอกจากนี้ Internet2 ยังเชื่อมกับเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยในต่างประเทศด้วย เช่น

  • ยุโรป (TERENA)
  • แคนาดา (CANARIE)
  • เอเซีย-แปซิฟิก (APAN)
  • ออสเตรเลีย (AARNET)
  • ญี่ปุ่น (JAIRC)
  • เกาหลี (APAN-KR)
  • สิงคโปร์ (SingAREN)
  • ไต้หวัน (TANet2)
  • ฮ่องกง (JUCC)

การ เชื่อมต่อ R & E Network นี้ทำให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนงานวิจัยต่างๆ มากขึ้น การช่วยเหลือกันในทางเทคนิคก็ทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า Internet ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่ .. ดูๆ ไปจะกลายเป็นว่า Internet ที่เราใช้กลายเป็นเครือข่ายทางธุรกิจ ในขณะที่ Internet2 จะเป็นเครือข่ายคล้าย Internet ในอดีตซัก 10 ปีที่แล้วที่เน้นเรื่องการศึกษาและงานวิจัยมากกว่า.. พูดถึงงานวิจัย.. เรามาดูเรื่องงานวิจัยบน Internet2 กันบ้างดีกว่าครับ จะได้พอมองภาพอนาคตของ Internet ออก…. ในปัจจุบัน Internet2 ให้ความสนใจกับงานวิจัยอยู่ 3 สาขาหลักๆ ครับ คือ Middleware, Engineering และ Advanced Applications

Middleware

เรามาเริ่มที่ middleware กันก่อนครับ… middleware คืออะไร ?? หลายคนคงตั้งคำถามขึ้นมาในใจ เราอาจจะให้คำนิยามของ middleware ได้หลายแบบครับขึ้นกับว่าอยู่ในมุมมองไหน แต่โดยสรุปแล้ว middleware คือ software components อันนึงทำงานบนเครือข่ายและอยู่ตรงส่วนเชื่อมต่อระหว่าง functions ของเครือข่ายและ applications ตัวอย่างของ middleware ที่รู้จักกันดีก็คือ CORBA และ Java RMI นั่นเอง ข้อดีของ middleware ก็คึอลดความซับซ้อนในการสร้าง applications เราสามารถเขียน applications ที่เรียกใช้งาน remote method ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงการติดต่อผ่านเครือข่าย ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าจะเรียกใช้ method เหล่านั้นได้ที่ไหน ดังนั้นการพัฒนา application จึงเป็นไปได้ง่าย รวดเร็ว และลดข้อผิดพลาดไปได้มาก .. ปัจจุบัน Internet2 เริ่มพัฒนา architecture ของ middleware เพื่อรองรับการทำงานลักษณะนี้ในอนาคต สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับ middleware architecture ก็คือ Identity, Authentication, Directories, Authorization … Identity คือการกำหนดตัวตนของ components ที่ใช้งาน ทั้ง users, computers, services, groups เหมือนกับเราใช้ e-mail ระบุตัวตนของเราใน Internet หรือใช้ UIN ระบุตัวตนของเราใน ICQ นั่นล่ะครับ… ทีนี้การจะยืนยันว่าเราเป็น identity ที่เราอ้างจริงๆ ก็ต้องใช้ Authentication เข้ามาเป็นกลไกในการตรวจสอบ ซึ่งมีทางเลือกมากมายเช่น password (e.g. cleartext password, LDAP, Kerberos), certificate-based, OTP, biometrics เป็นต้น .. เมื่อตรวจสอบ identity ได้ก็จะสามารถเข้าถึง characteristics ต่างๆ ของ identity นั้นได้จาก directories เช่น LDAP.. และสุดท้าย identity นั้นจะสามารถทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหนก็จะขึ้นอยู่กับกลไกของ authorization… ปัจจุบันมี middleware ที่พัฒนาขึ้นมาบนโครงสร้างของ Internet2 แล้วหลายอย่างครับ อย่างเช่น Shibboleth ซึ่งเป็น web access control component และ SPARC (Space Physics and Astronomy Reserach Collaboratory) ซึ่งเป็น library/toolbox สำหรับใช้ในการศึกษาทางอวกาศและดาราศาสตร์

Engineering

ใน ส่วนของ engineering เป็นงานทางด้านวิศวกรรมเครือข่ายเป็นหลัก ดังนั้นก็จะเกี่ยวข้องกับ protocol ในระดับของเครือข่าย สำหรับ Internet2 ได้แบ่งงานทางวิศวกรรมออกเป็น 7 กลุ่มดังนี้ครับ

  1. IPv6 Working Group เป็นกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับ IPv6 โดยตรง เพื่อดูว่า IPv6 จะสามารถรองรับการทำงานของ Internet2 ได้อย่างไรบ้าง
  2. Measurement Working Group จะทำการตรวจวัดและเผยแพร่ผลการตรวจวัดการทำงานของเครือข่าย Abilene/Internet2 รวมถึงการออกแบบเครื่องมือตรวจวัดค่าต่างๆ ในเครือข่าย
  3. Multicast Working Group วางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำ multicasting ตั้งแต่ระดับ backbone, gigaPoPs, จนถึง members ในเครือข่าย
  4. Quality of Service Working Group เน้นการสนับสนุนการให้บริการ QoS โดยใช้ Differentiated Services (DiffServ) ปัจจุบัน Internet2 มีเครือข่ายที่รองรับการทำงานของ QoS แล้ว เรียกว่า QBone
  5. Routing Working Group รับผิดชอบการออกแบบและดูผลกระทบของการทำ routing แบบต่างๆ ในเครือข่าย Internet2
  6. Security Working Group ศึกษาเทคโนโลยีทางด้าน network security เผยแพร่ความรู้ให้กับสมาชิก Internet2 และให้คำปรึกษาในการตัดสินใจในเรื่องของ Security
  7. Topology Working Group เน้นการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย Internet2, gigaPoPs, Campus Networks, Exchange Points ต่างๆ เพื่อจะได้มั่นใจว่าสามารถรองรับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการ สำคัญในส่วนของ Internet2 Engineering ก็คือโครงการ QBone (Quality of Service Backbone) ครับ… QBone เป็น experimental backbone ที่สนับสนุนการให้บริการ QoS โดยใช้วิธีของ Differentiated Service (เดี๋ยวจะเขียนให้อ่านเร็วๆ นี้ครับ) เพราะ flexibility, scalability, และ interoperability .. อันที่จริง QBone ไม่ได้เป็น backbone จริงๆ ในทางกายภาพ แต่เป็น overlay network คือเป็น network ที่วางซ้อนอยู่บน physical network ของ Abilene อีกที โดยที่มันจะทำงานเสมือนเป็น backbone อันนึงจริงๆ .. ตอนนี้ QBone สามารถใช้งานได้จริงๆ ในกลุ่มมหาวิทยาลัย Internet2 โดย QBone จะมีบริการที่เรียกว่า QBone Premium Service (QPS) ถือว่าเป็นบริการระดับสูงสุดของ DiffServ โดยจะ guarantee ว่าไม่มี loss และ jitter (delay variation) จะไม่เกิน worst-case ตามทฤษฎียกเว้นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ multimedia traffic ต้องการเพราะถ้าควบคุม jitter ได้ก็จะคำนวณ buffer ได้และจะได้คุณภาพของภาพที่ดี .. อันที่จริง QoS บน Abilene ของ Internet2 ได้เอาไป demo และได้รางวัล Most Captivative and Tuned Award จากงาน SC2000 ครั้งที่ผ่านมา (SC2000 หรือ SuperComputing 2000 ไม่ใช่ SimCity 2000 นะครับ – -” เป็น annual conference ใหญ่ที่สุดงานนึง มีผู้เข้าร่วมฟังเป็นพันคนเชียวล่ะครับ หัวข้อของ conference เน้นเรื่อง high performance computing เป็นหลัก นอกจากการเสนองานวิจัยในเชิงวิชาการแล้วก็จะมีรางวัลสำหรับงานวิจัย หรือการทดลองที่ทำผลงานได้ดีทั้งทางด้าน algorithm, computing, และ networking)

Applications

สุดท้ายเรามาดูเรื่องของ applications กันบ้างครับ.. ใน Internet2 นี้มี application ที่น่าสนใจดังนี้ครับ

  • Tele-immersion/Tele-cubicle เป็นการสร้างสภาพเสมือนจริงสำหรับการทำงานร่วมกันโดยที่ผู้ร่วมงานไม่จำเป็น ต้องอยู่ในที่เดียวกัน ผมคิดว่าหลายๆ คนคงเดาออกว่า technology เบื้องหลัง tele-immersion นี้ก็คือ virtual reality นั่นเอง .. ในกรณีของ tele-immersion จะเอา VR มาใช้ในการสร้างสภาพเสมือนจริงสำหรับผู้ใช้แต่ละจุด ใบหน้าของผู้ใช้จะถูก sampling และ synthesis เป็นภาพสามมิติที่จะปรากฏบนจอภาพของสมาชิกอื่นๆ .. ลองจินตนาการว่าเป็น virtual room ที่เราเห็นหน้าคู่สนทนาจริงๆ สามารถหยิบจับวัตถุต่างๆ ที่จำลองขึ้นมาในห้องนั้นได้ .. tele-immersion คาดว่าจะถูกใช้ในงานประเภท CAD ที่สามารถร่วมกันออกแบบ ทดสอบ simulate ฯลฯ ได้ในห้องทำงานเสมือน หรืออาจจะได้ใช้งานทางการแพทย์ในลักษณะของการประชุมเพื่อวิเคราะห์ผลการตรวจ ต่างๆ โดยที่แพทย์ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาพบกัน..application ลักษณะนี้เป็น application แบบ real-time/interactive ซื่งต้องการการประมวลผล และ ช่องทางสื่อสารที่รวดเร็ว .. Internet2 จะมีส่วนในการรับส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลระหว่างผู้ใช้นั่นเอง
  • Digital Libraries เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก ARPA, NASA และ NSF ..ดูจากชื่อก็คงเดาได้ไม่ยากนะครับ มันก็คือห้องสมุด digital ที่สามารถสืบค้นได้ง่าย ไมเพียงแต่ข้อมูลที่เป็น text แต่จะรวมไปถึงข้อมูลทุกอย่างที่สามารถเก็บในรูปแบบ digital ได้ .. เมื่อเราสามารถสร้าง digital libraries ได้ .. การยืม-คืนสื่อเหล่านี้ก็จะสามารถทำได้ทางเครือข่าย สิ่งที่จำเป็นสำหรับเครือข่ายก็คือต้องสามารถส่งข้อมูล digital ต่างๆ ได้อย่างราบเรียบ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็น stream อย่าง audio/video.. สิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือเมื่อเราสามารถเก็บข้อมูลเป็น digital ได้ เราก็สามารถจะทำสำเนา แก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ง่าย โดยไม่ทำให้คุณภาพของเอกสารลดลง ปัญหาที่คณะทำงานของ Digital Libraries เป็นห่วงจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่าง digital libraries ที่อยู่ในที่ต่างๆ .. แต่จะเป็นเรื่องของการป้องกันการ copy เรื่องของลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา
  • Virtual Laboratories เป็น solution สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ และทำการทดลองร่วมกันระหว่างนักวิจัยหรือนักศึกษาที่อยู่ต่างสถาบันกันผ่าน ทางเครือข่าย เนื่องจากว่าอุปกรณ์สำหรับทำการทดลองบางอย่างมีราคาแพงมาก หรือมีข้อจำกัดในการทดลองเนื่องจากสถานที่หรือเวลา ยกตัวอย่างเช่นการทดลองทางดาราศาสตร์ที่ต้องใช้กล้องดูดาวจับภาพ ซึ่งจะมีปัญหาว่าไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเพราะโลกเราหมุนอยู่ตลอด เวลา หรือการทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเฉพาะบางจุดบนโลก เช่นการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติ ฯลฯ .. อันนี้เป็นตัวอย่างนะครับ . Virtual laboratories จึงเป็นการใช้เครือข่ายความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสารที่นักวิจัยทั่วโลก สามารถใช้ทำการทดลองร่วมกัน วิเคราะห์ผล และหาข้อสรุปจากปัญหาหนึ่งๆ ได้อย่างสะดวก เครือข่ายจะเชื่อมต่อกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ฐานข้อมูล supercomputer สำหรับวิเคราะห์ผล มี tool สำหรับทำงานร่วมกัน (เช่น tele-immersion/tele-cubicle) และมี software ที่ใช้ในการทำการทดลองร่วมกัน ในปี 1995 Internet2 ได้สร้าง infrastructure ในการรองรับการใช้งาน virtual laboratories โดยคลุมพื้นที่ทั่วสหรัฐ เรียกว่า I-Way .. I-Way ได้ถูกนำไปสาธิตใน SuperComputing 95 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปใด้ในการสร้าง virtual lab. .. I-Way ทำให้เกิดโครงการตามมาอีกมากมายเช่น ARPA Globus, DOE Legion และ Gigabit CORBA ซึ่งเป็น middleware สำหรับสนับสนุนการทำ virtual laboratories และการทำงานวิจัยอื่นๆ

ในส่วนของ Application ใน Internet2 ยังมี working group ทางด้าน Digital Imaging, Digital Video, Health Science, Arts and Humanities, Voice-over-IP และอื่นๆ อีกมากมาย เวลานี้ก็ก็เริ่มมีการวางแนวทางของ application ออกมาบ้างแล้ว ใครที่สนใจว่าอนาคต application เหล่านี้จะเกิดขึ้นมาบน Internet ได้อย่างไรก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับ

เครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยในเมืองไทย ?

อัน ที่จริง Internet2 ไม่ได้เป็นเครือข่ายหนึ่งเดียวที่ทำงานวิจัยทางด้าน advanced networking หรอกครับ ยังมีเครือข่ายลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายแห่งอย่างที่กล่าวมาแล้ว เช่น CANARIE, APAN, JAIRC, AI3 .. จะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสำคัญกับการเครือข่ายเพื่อการศึกษา และงานวิจัยกันเกือบทั้งนั้น เหตุผลก็คือเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในสาขา IT ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น .. Internet ก็เป็นส่วนนึงที่ถือว่าจำเป็นเพราะ Internet ต่อไปไม่ได้อยู่ในขอบเขตสถานศึกษาเหมือนแต่ก่อน Internet จะไม่ได้อยู่ใน Internet Cafe’ เหมือนปัจจุบัน แต่จะติดตัวเราไปทุกหนทุกแห่ง มันจะเป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุดอันหนึ่งในอนาคต .. ความรู้ความสามารถทางด้าน IT จึงมีความจำเป็นหากจะพัฒนาประเทศเราให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ … ไปดูไปฟังการบรรยายเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยของต่างประเทศแล้วก็น่า อิจฉาครับ มาเลเซียเค้าก็มี สิงคโปร์ก็มีแล้วและค่อนข้าง active ด้วย ไต้หวันมีตั้งแต่ผมยังอยู่ปี 3 โน่น .. ยิ่งญี่ปุ่น เกาหลี ไม่ต้องพูดถึงครับ บางเรื่องอเมริกา-ยุโรปยังตามไม่ทันเลย ทำไมเมืองไทยถึงไม่มีเครือข่ายแบบนี้บ้าง ? แล้วบุคลากรในประเทศจะมีความสามารถด้าน IT ทัดเทียมกับต่างชาติได้เหรอ ?? .. เอ.. เห็นทีก่อนจบบทความนี้ต้องมาบ่นให้ฟังซักเล็กน้อยล่ะครับ ..

ครั้ง นึงมีนักเรียน ม. ปลาย คนหนึ่งที่ผมรู้จักใน ICQ ส่งข้อความมาให้ เข้าใจว่าตัดมาจากข่าวนะครับ ใจความมีอยู่ว่า “สมเด็จพระเทพฯทรงมีพระราชดำรัสอีกว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ค่อย ใช้ประโยชน์ทางการศึกษา ทั้งครูและนักเรียน ต่อเว็บเพื่อดูเล่น พอถามบอกว่าพักผ่อน ถ้าจะใช้เพื่อพักผ่อนก็ต้องไปเล่นที่บ้าน ของโรงเรียนเป็นของรัฐบาล เงินภาษีอากร มีให้ใช้ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด แต่ละโรงที่ไปดูบางทีนั่งอยู่ห้องเดียวกัน ส่งเมล์ส่งไอซีคิวให้กัน เปิดเว็บอะไรก็ไม่รู้ ” .. ผมได้อ่านแล้วก็ต้องนั่งคิดไปพักนึงเหมือนกัน ถ้าถึงขนาดที่พระองค์ตรัสขึ้นมาเฃ่นนี้ ผมว่าคงต้องคิดทบทวนกันแล้วล่ะครับ..ประเทศเราลงทุนเรื่อง IT ไปไม่น้อยนะครับ แต่เรากลับใช้มันไม่เป็นเลย .. เพราะเราไม่เข้าใจมันว่าจริงๆ แล้ว IT ทำอะไรได้มากกว่าแค่เล่น Web เหมือนทุกวันนี้..

ที่จริง ..R & E network ในเมืองไทยจะว่าไม่มีก็ไม่เชิงครับ ถ้าพูดถึงเครือข่ายสำหรับทำวิจัยโดยเฉพาะมันก็พอจะมีแต่ค่อนข้างอยู่ในวง แคบๆ มากกว่า อย่างเช่น AI3 ซึ่งเป็นเครือข่ายสำหรับทำงานวิจัยโดยเฉพาะสำหรับประเทศในทวีปเอเซีย เวลานี้ IRL/AIT ก็เป็นจุดเชื่อมสำหรับประเทศไทยอยู่ และมีงานวิจัยเรื่อง webcache กำลังทดลองใช้งานในสมาชิก AI3 .. นอกจากนี้ AI3 ยังเป็นส่วนนึงของเครือข่ายของ APAN ซึ่งเชื่อมเข้ากับ Internet2 ผ่านทางเครือข่าย StarTAP .. เรียกว่าเป็นกิ่งเล็กๆ ของ Internet2 ที่หลงเข้ามาในเมืองไทยซะมากกว่า – -” .. APAN เองก็จัดสรร IPv6 address มาให้ AIT block นึงเพื่อจะได้ตั้งเครือข่าย IPv6 ในการศึกษาวิจัยกันต่อไปในอนาคต (block เดียวที่ว่านี่เหมือนจะน้อยนะครับ แต่จริงๆ แบ่งได้หลายหมื่น network เลยล่ะครับ) … ปัญหาก็คือเราเข้าถึงจุดนี้ได้ค่อนข้างยาก .. ok ผมอาจจะเข้าถึงได้ง่ายหน่อย แต่สถาบันการศึกษาอื่นอย่าว่าแต่ติดต่อขอ join เลยครับ.. เอาแค่รู้ว่ามี AI3/APAN นี่ก็น้อยเต็มทีแล้ว..

อย่างไรก็ ตาม ถ้ามองภาพรวมในระดับประเทศ เรามีเครือข่ายที่สนับสนุนทางการศึกษา เช่น ThaiSARN (& K-12 ??) และ UniNet ซึ่งพอจะเอามาทำวิจัยได้เพราะดูแลกันโดยมหาวิทยาลัยด้วยกันเอง ซึ่งสะดวกในการปรับแต่ง configuration หรือขอความร่วมมือในด้านอื่นๆ มากกว่า Internet ที่ใช้จาก ISP (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎีนะครับ ส่วนระเบียบปฏิบัติจะทำได้รึเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน – -“) .. ที่ผ่านมาเราเน้นการใช้งาน Internet มากกว่าการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Internet .. จะว่าใช้ก็ไม่เชิงล่ะครับ.. เราก็พอรู้ๆ กันอยู่ว่าเราเอา UniNet มา “เล่น Internet” มากกว่าจะเอาไปใช้งานตามที่มันควรจะเป็น เรากลับมองว่า UniNet เป็นอีกช่องทางนึงสำหรับการใช้งาน Hotmail.com หรือ Yahoo.com (หรือ maebia.com – -“) .. แทนที่จะมองว่ามันมี resources งานวิจัยดีๆ journals, papers, conference proceedings มากมายหลายสาขาวิชาที่เราเข้าถึงได้ง่ายๆ และฟรีๆ … แค่เข้า IEEE/IEE Online ได้นี่ก็สุดๆ แล้วครับ (ถ้าเป็นหนังจีนก็คงประมาณ “ในที่สุดคัมภีร์ในตำนานก็มาอยู่ในมือเรา…หึๆๆๆๆ”) เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีปัญญา ซื้อมาอ่าน แล้วก็ไม่ได้หา download กันได้ทั่วไป .. ในส่วนของ UniNet จะเห็นว่ารัฐลงทุนเพื่องานวิจัยไปส่วนนึงแล้ว วาง Infrastructures ให้ เอา resources มาให้ มี applications ให้ใช้บางส่วนแล้ว ถึงจะไม่มากนักแต่ก็ใช้ประโยชน์ได้.. ในอนาคตผมคาดว่า UniNet จะเชื่อมเข้ากับ Internet2, APAN และ R & E Networks อื่นๆ เพื่อ value added ให้กับ UniNet เอง .. เช่นเดียวกับทาง NECTEC ก็น่าจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อหาความร่วมมือในเชิงวิชาการมากขึ้น.. จะเหลือก็แต่ตัวเราล่ะครับว่าจะยังใช้งาน R & E network เหมือนเดิมอยู่รึเปล่า เรากำหนดคุณค่าของ R & E network ของประเทศไว้เพียงเท่านั้นหรือ ? .. หรือว่าจะหันกลับมาใช้มันในการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน IT ในประเทศให้แข็งแกร่งมากขึ้น .. ที่จริงบุคลากรที่มาความสามารถในประเทศเรามีพอสมควรนะครับ ผมคิดว่ามากพอที่จะผลักดันให้เกิดอะไรที่น่าสนใจได้อีกมากทั้งในแง่งานวิจัย เชิงวิชาการ และการพัฒนา application บน R & E network เองด้วย เพียงแต่บุคคลเหล่านี้ไม่ได้มีโอกาสในการใช้ความสามารถที่มีอย่างเต็มที่ .. บางทีหากมีการเริ่มต้นที่ดี มีการร่วมมือกันที่ดี..อนาคตเราอาจจะได้เห็น R & E network ที่เป็น superhighway ที่เชื่อม supercomputing sites ในมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ เข้าด้วยกัน .. มก. อาจจะพัฒนา national wide-area clustering สามารถใช้งานได้ทั่วประเทศ.. ม.ข. อาจจะพัฒนา toolbox หรือ image processing ทางการแพทย์ทำงานบน cluster ของ มก. อีกที .. ม.จุฬา ม.มหิดล อาจจะเอา toolbox ไปพัฒนา application สำหรับวิเคราะห์ X-ray, MRI, CT หรือ slide images .. หรือาจจะเห็น มร. มสธ. พัฒนาการถ่ายทอด Digital Audio/Video บนเครือข่ายสำหรับใช้ในการศึกษาทางไกล แต่ละมหาวิทยาลัยมี virtual laboratories ที่สามารถ remote control จากจุดใดก็ได้ในเครือข่าย มอ. อาจจะดูภาพเนื้อเยื่อจากกล้องจุลทรรศ์ที่ มช. ได้ .. ฯลฯ .. แค่คิดก็มันส์แล้ว :D .. งานอย่างที่ผมกล่าวมามันไม่ได้ทำยากเย็นอะไรเลย ไม่ได้ใช้เงินลงทุนมากมาย เพราะ infrastructure มันก็มีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ต้องลงทุนอย่างมากก็คือสมองและความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการ ศึกษาและรัฐ .. ผมว่าถ้าทำได้ก็จะเป็นภาพรวมที่ดูดีทีเดียวล่ะครับ อย่างน้อยก็สะท้อนให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาในประเทศมีการพัฒนา know-how ทางด้าน IT ที่แข็งขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับนักศึกษาที่จะจบไปทำงานให้กับประเทศในยุคนี้.. ถึงจะดูเหมือนว่าเราทำตามฝรั่ง และต้องใช้เวลาพัฒนา know-how มากพอสมควร แต่อย่างน้อย เราก็จะได้พัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง ไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยีต่างชาติ ไม่ต้องเสียตังค์ซื้อ software ..เสียค่า training ที่ต่างประเทศราคาแพงๆ .. หากคนในประเทศมีพื้นฐานทาง IT ที่ดีแล้ว ก็ไม่แน่ว่าอนาคตเราอาจจะได้มีคำภีร์ในตำนานของเราเอง หรือไม่ก็ export IT ออกไปดึงเงินจากต่างชาติมาบ้างก็ได้ :D :D :D ..


References

  1. The Internet2
  2. The Abilene
  3. UniNet, Ministry of University Affairs, Thailand.