ผมเริ่มทดลองติดตั้งเคอร์เนล 2.6 บน peorth ตั้งแต่ 2.6.0-test10 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จซักที ก็เลยไม่ได้เขียนวิธีการติดตั้งเป็นเรื่องเป็นราว ปัญหาใหญ่สุดของผมคือ usbmouse ไม่ทำงาน และ touchpad ก็มีอาการกระโดดๆ จนถึง 2.6.0 released อาการนี้ก็ยังไม่หาย จนไม่นานนี้เอา 2.6.0-1.30 ของ Fedora Core 2 (FC2) เป็น rpm มาติดตั้งรวดเดียวผ่านฉลุย ก็เลยได้กลับมาลองเคอร์เนล 2.6 อีกครั้ง
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ 2.6 ที่ต่างไปจากวานิลลา 2.4.24 ก็มีเยอะเหมือนกัน และก็จะมีบางส่วนที่ removed/deprecated/obsoleted ด้วย ที่เห็นชัดจะมีเรื่องการสนับสนุนฮาร์ดแวร์ และระบบขนาดใหญ่ … รายละเอียดปลีกย่อยมันเยอะ (มากๆๆ) ครับ ลองหาอ่านเอาเองนะครับ อย่างไรก็ตามอยากแนะนำให้เริ่มเปลี่ยนเคอร์เนลเป็น 2.6 กันได้เลยครับ เพราะข่าวจาก Marcelo Tosatti ที่เป็น 2.4 kernel maintainer จะเป็นรีลีสสุดท้ายของเคอร์เนล 2.4 และจะเริ่มเข้าสู่ maintainance mode ซึ่งจะไม่มีการพัฒนาฟีเจอร์เพิ่มกันอีก จะเหลือแต่แก้ไขบักเล็กน้อยเท่านั้น นักพัฒนาเคอร์เนลก็จะมุ่งไปที่เคอร์เนล 2.6 (stable branch) และ 2.7 (development branch) แทน .. (2.4.24 จะเป็นรีลีสสุดท้ายหรือเปล่า ตอนนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ เพราะออกก่อนกำหนดตั้งเดือนครึ่ง ด้วยต้องการแก้บักด้านความปลอดภัยหลายๆ ตัว)
Configuration
หลังจากลอง kernel-2.6.0-1.30 ของ FC2 แล้วประสบผลสำเร็จดี ผมก็เลยเอา kernel-source-2.6.0-1.30 มาทำ custom kernel แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ลินุสก็ออก 2.6.1 ผมเลยเอามาติดตั้งด้วย แล้วไม่กี่ชั่วโมงต่อมาก็มีแพตช์ mm1 ของ แอนดรูว์ มอร์ตัน ออกมา ตามด้วย mm2 ในวันเดียวกันอีก สรุปว่าผมลงเคอร์เนล 2.6 ห้าตัวในวันเดียว เล่นเอาพื้นที่ในดิสก์เกือบจะไม่พอ
วิธีการคอนฟิกเคอร์เนลหากใช้ make menuconfig จะเห็นว่าอินเทอร์เฟซแทบไม่เปลี่ยนเลย แต่ถ้าใช้ make xconfig จะกลายเป็นอินเทอร์เฟซที่ใช้ QT แทนที่จะเป็น tcl/tk และที่เพิ่มมาอีกอันคือ make gconfig สำหรับอินเทอร์เฟซที่ใช้ GTK .. แรกๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นนัก แต่ลองได้คอนฟิกบ่อยๆ เดี๋ยวก็ชิน มาดูส่วนที่น่าสนใจกันสักนิด
- General setup -> Loadable module
- Automatic kernel module loading : เคอร์เนลจะสั่ง modprobe อัตโนมัติเมื่อต้องการใช้โมดูลบางตัว -> Y
- Power Management support
- ถ้าฮาร์ดแวร์สนับสนุน ACPI แนะนำให้ใช้ ACPI แทน APM ครับ
- โน๊ตบุ๊คที่ใช้ CPU/Chipset ที่สนับสนุน CPU Frequency scaling (e.g., Speedstep-ICH, Pentium-M, PowerNow!, LongRun, …) แนะนำให้ enable CPU Frequency scaling ด้วยครับ
- Device drivers -> ATA/ATAPI/MFM/RLL support
- ถ้ามี IDE/ATAPI CD Writer .. เคอร์เนล 2.6 ไม่จำเป็นต้องใช้ SCSI emulation (BLK_DEV_IDESCSI) แล้วครับ
- Device drivers -> Input Device
- ต้องเลือก Y สำหรับออพชั่นหลักสี่ตัวคือ
- หากต้องการใช้ PC Speaker ต้องเลือก PC Speaker support (INPUT_PCSPKR) ในเมนู Misc ด้วยครับ
- ต้องเลือก Y สำหรับออพชั่นหลักสี่ตัวคือ
- File systems -> Pseudo filesystems
- /proc file system support (PROC_FS) -> Y
- sysfs support (SYSFS) -> Y จำเป็นมากๆ
- Device drivers -> Character devices
- Virtual terminal (VT) -> Y
- Support for console on virtual terminal (CONSOLE_VT) -> Y
- Device drivers -> Graphics support -> Console display driver support
- ถ้าต้องการใช้ Framebuffer ต้องเลือก Y ออพชั่นต่อไปนี้ครับ
- VGA Text console (VGA_CONSOLE)
- Video mode selection support (VIDEO_SELECT)
- Framebuffer Console support (FRAMEBUFFER_CONSOLE)
- ถ้าต้องการใช้ Framebuffer ต้องเลือก Y ออพชั่นต่อไปนี้ครับ
- Sound
- แนะนำให้ใช้ ALSA แทน OSS ครับ เท่าที่ทดสอบคือต้องคอมไพล์เป็นโมดูลเท่านั้นครับถึงจะใช้งานได้ ดังนั้นสำหรับ ALSA ให้เลือกเป็น M แทน Y นะครับ และควร config เพื่อให้ ALSA จำลองตัวเองเป็น OSS สำหรับแอพพลิเคชั่นที่ยังไม่สนับสนุน ALSA ครับ
- OSS API emulation (SND_OSSEMUL)
- OSS Mixer (SND_MIXER_OSS)
- API OSS PCM API (SND_PCM_OSS)
- OSS Sequencer API (SND_SEQUENCER_OSS)
- แนะนำให้ใช้ ALSA แทน OSS ครับ เท่าที่ทดสอบคือต้องคอมไพล์เป็นโมดูลเท่านั้นครับถึงจะใช้งานได้ ดังนั้นสำหรับ ALSA ให้เลือกเป็น M แทน Y นะครับ และควร config เพื่อให้ ALSA จำลองตัวเองเป็น OSS สำหรับแอพพลิเคชั่นที่ยังไม่สนับสนุน ALSA ครับ
Installation
2.6 ไม่ต้อง make dep แล้วครับ ขั้นตอนการ build จะเหลือเพียง
make make modules_install make install
และรายละเอียดช่วงคอมไพล์ก็จะถูกตัดทอนไปเยอะ เหลือเพียงสถานะบอกว่ากำลังทำอะไรกับโมดูลไหนเท่านั้น
Post Installation
หลังจากติดตั้งแล้ว ทีนี้ก็เป็นเรื่องคอนฟิกระบบสำหรับใช้กับเคอร์เนล 2.6 นะครับ มีจุดที่ต้องแก้อยู่นิดหน่อย
ใน 2.6 ‘จำเป็น’ ต้องใช้ sysfs ครับ ดังนั้น /etc/fstab ต้องเพิ่ม entry สำหรับ sysfs เข้าไป โดยเพิ่มบรรทัด
none /sys sysfs defaults 0 0
และสร้างไดเรคทอรี่ /sys เตรียมไว้โดย
mkdir /sys
ใน /etc/rc.sysinit ส่วนของ HID คอมเมนต์บรรทัด keybdev กับ mousedev ออกครับ เพราะใน 2.6 ส่วนของ HID (Human Interface Device) ออกแบบใหม่ครับ และจะไม่มี keybdev กับ mousedev แล้ว ถ้าไม่คอมเมนต์ออกมันจะฟ้องตอนบูตว่า modprobe หาโมดูลไม่ได้ .. ที่จริงก็ไม่ได้สร้างปัญหาอะไรครับ แต่มันน่ารำคาญเท่านั้นล่ะ :P
คอนฟิกโมดูลใน 2.4 จะใช้ /etc/modules.conf แต่ใน 2.6 จะเป็น /etc/modprobe.conf ครับ ดังนั้นต้องย้ายคอนฟิกใน /etc/modules.conf ไปไว้ที่ /etc/modprobe.conf ด้วย ผมใช้วิธีถึกๆ แบบนี้
cat /etc/modules.conf > /etc/modprobe.conf
แล้วค่อยไปแก้ไขเอาทีหลัง
สำหรับ ALSA ต้องเพิ่มข้างล่างนี้ใน /etc/modprobe.conf ด้วย คอนฟิก ALSA ของ 2.4 กับ 2.6 จะต่างกันเล็กน้อยครับ ลองตรวจเช็คดูครับ ตัวอย่างข้างล่างเป็นคอนฟิกสำหรับ Intel AC’97 นะครับ โมดูลที่ใช้ชื่อ snd-intel8x0 สำหรับเครื่องที่ใช้ซาวด์การ์ดต่างไปจากนี้ก็แก้ที่สองบรรทัดแรกให้ตรงกับโมดูลที่ต้องการใช้ครับ
alias snd-card-0 snd-intel8x0 alias sound-slot-0 snd-intel8x0 alias char-major-116 snd alias char-major-14 soundcore alias sound-service-0-0 snd-mixer-oss alias sound-service-0-1 snd-seq-oss alias sound-service-0-3 snd-pcm-oss alias sound-service-0-8 snd-seq-oss alias sound-service-0-12 snd-pcm-oss install sound-slot-0 /sbin/modprobe --ignore-install sound-slot-0 && { /bin/aumix-minimal -f /etc/.aumixrc -L >/dev/null 2>&1; /bin/true; } remove sound-slot-0 { /bin/aumix-minimal -f /etc/.aumixrc -S >/dev/null 2>&1; /bin/true; }; /sbin/modprobe -r --ignore-remove sound-slot-0
NVIDIA Driver ลำบากสักหน่อยครับเพราะติดตั้งกับ 2.6 ตรงๆ ไม่ได้ ต้องแพตช์กันเล็กน้อยก่อนครับ โดยดาวน์โหลดแพตช์สำหรับ NVIDIA Driver ได้ที่ http://www.minion.de ครับ เลือกแพตช์ที่ตรงกับเวอร์ชั่นของไดรเวอร์นะครับ ตัวอย่างของผมคือใช้ไดรเวอร์ NVIDIA-Linux-x86-1.0-5328-pkg1.run ก็จะต้องใช้แพตช์ NVIDIA_kernel-1.0-5328-2.6.diff ขั้นตอนการติดตั้งต้องทำตามนี้ครับ
# sh NVIDIA-Linux-x86-1.0-5328-pkg1.run --extract-only
เพื่อแตกซอร์สที่อยู่ในแพคเกจออก ซอร์สจะแตกไว้ที่ ./NVIDIA-Linux-x86-1.0-5328-pkg1 จากนั้นก็ต้องแพตช์
cd NVIDIA-Linux-x86-1.0-5328-pkg1/usr/src/nv cat ../../../../NVIDIA_kernel-1.0-5328-2.6.diff | patch -p1 ln -s Makefile.kbuild Makefile cd ../../../
เสร็จแล้วก็คอมไพล์และติดตั้ง
make SYSSRC=/usr/src/linux-2.6.1-mm2/ install
อย่างที่บอกว่า IDE/ATAPI CD Writer ไม่ต้องจำลอง SCSI กันแล้ว ทำให้ลดภาระงานของเคอร์เนลที่ต้องจำลอง SCSI ลงไปเยอะครับ เท่าที่ทดสอบเขียน CD ที่ 24X ไดรว์ Lite-On 40x12x48 บนเครื่อง Athlon XP 2000+ ใช้ SCSI emulation กินซีพียูไปเกือบๆ 100% ในขณะที่ไม่ใช่ SCSI emulation เหลือราวๆ 5% เท่านั้น เบากว่ากันเยอะเลย แถม disk throughput ก็สูงกว่าด้วย :D
ทีนี้มาดูเรื่องการสั่งงานนิดนึง เพราะเราไม่ได้จำลอง SCSI แล้ว คำสั่งในการเขียนแผ่นด้วย cdrecord กับ ATAPI CD Writer ก็เลยเปลี่ยนไปเล็กน้อยครับ คือไม่ได้ระบุเป็น dev=bus,target,lun แล้ว แต่จะระบุดีไวซ์ตรงๆ เป็น dev=/dev/hdd เลย อย่างจะ simulate การเขียน ISO อิมเมจลงแผ่นก็ประมาณ:
[kitt@yggdrasil kitt]$ cdrecord -v dev=/dev/hdd speed=40 -dao -dummy driverop ts=burnfree -overburn -data 4.9-i386-mini.iso Cdrecord-Clone 2.01a19 (i686-redhat-linux-gnu) Copyright (C) 1995-2003 Jฟrg Schi lling TOC Type: 1 = CD-ROM scsidev: '/dev/hdd' devname: '/dev/hdd' scsibus: -2 target: -2 lun: -2 Warning: Open by 'devname' is unintentional and not supported. Linux sg driver version: 3.5.27 Using libscg version 'schily-0.7' cdrecord: Warning: using inofficial libscg transport code version (schily - Red Hat-scsi-linux-sg.c-1.75-RH '@(#)scsi-linux-sg.c 1.75 02/10/21 Copyright 1 997 J. Schilling'). Driveropts: 'burnfree' SCSI buffer size: 64512 atapi: 1 Device type : Removable CD-ROM Version : 0 Response Format: 2 Capabilities : Vendor_info : 'LITE-ON ' Identifikation : 'LTR-40125S ' Revision : 'ZS0N' Device seems to be: Generic mmc CD-RW. Current: 0x0002 Profile: 0x000A Profile: 0x0009 Profile: 0x0008 Profile: 0x0002 (current) Using generic SCSI-3/mmc CD-R/CD-RW driver (mmc_cdr). Driver flags : MMC-3 SWABAUDIO BURNFREE FORCESPEED Supported modes: TAO PACKET SAO SAO/R96P SAO/R96R RAW/R16 RAW/R96P RAW/R96R FIFO size : 4194304 = 4096 KB Track 01: data 206 MB Total size: 237 MB (23:30.98) = 105824 sectors Lout start: 237 MB (23:32/74) = 105824 sectors Current Secsize: 2048 ATIP info from disk: Indicated writing power: 7 Is not unrestricted Is not erasable ATIP start of lead in: -11597 (97:27/28) ATIP start of lead out: 359849 (79:59/74) Disk type: Short strategy type (Phthalocyanine or similar) Manuf. index: 20 Manufacturer: Princo Corporation Blocks total: 359849 Blocks current: 359849 Blocks remaining: 254025 cdrecord: Operation not permitted. WARNING: Cannot set RR-scheduler cdrecord: Permission denied. WARNING: Cannot set priority using setpriority(). cdrecord: WARNING: This causes a high risk for buffer underruns. Forcespeed is OFF. Starting to write CD/DVD at speed 40 in dummy SAO mode for single session. Last chance to quit, starting dummy write 0 seconds. Operation starts. Waiting for reader process to fill input buffer ... input buffer ready. BURN-Free is ON. Sending CUE sheet... Writing pregap for track 1 at -150 Starting new track at sector: 0 Track 01: 206 of 206 MB written (fifo 100%) [buf 99%] 27.5x. Track 01: Total bytes read/written: 216727552/216727552 (105824 sectors). Writing time: 77.203s Average write speed 18.3x. Min drive buffer fill was 98% Fixating... WARNING: Some drives don't like fixation in dummy mode. Fixating time: 3.531s BURN-Free was never needed. cdrecord: fifo had 3414 puts and 3414 gets. cdrecord: fifo was 0 times empty and 2436 times full, min fill was 85%. [kitt@yggdrasil kitt]$
ข่าวดีคือ K3B ก็สนับสนุนการสั่งงานแบบนี้แล้ว ถ้าใช้ K3B เป็น frontend ให้ cdrecord อยู่แล้วก็ใช้งานได้ทันทีครับ K3B จะใส่พารามิเตอร์ที่เหมาะสมให้เอง
ส่วน cdrdao ไม่มีการอัพเดตมาเป็นปีแล้ว ดังนั้นตัวต้นฉบับแท้ๆ ยังจำเป็นต้องใช้ SCSI emulation ครับ … แต่ .. ข่าวดีอีกแล้ว .. cdrdao ใช้ไดรเวอร์ของ cdrecord ครับ ก็เลยมีคนแฮ็คเอาไดรเวอร์ตัวใหม่ของ cdrecord ไปใส่ใน cdrdao ผลก็คือได้ cdrdao รุ่นพิเศษที่สนับสนุน ATAPI CD Writer ในทำนองเดียวกับ cdrecord .. อันนี้ผมแฮ็คและทำเป็น rpm ไว้แล้ว (เพราะยังไงผมก็ใช้เองอยู่ดีล่ะ) พารามิเตอร์ในการระบุดีไวซ์สำหรับ cdrdao (hacked) ก็จะประมาณ --device=/dev/hdc ครับ ส่วน --driver ก็ใช้เป็นตัวเดิม เช่นสั่ง cdrdao ให้ simulate การเขียน toc/cue อิมเมจก็จะได้ดังนี้ครับ
[kitt@yggdrasil kitt]$ cdrdao simulate --device /dev/hdd --driver generic-mmc test.toc Cdrdao version 1.1.7-tle - (C) Andreas Mueller SCSI interface library - (C) Joerg Schilling Paranoia DAE library - (C) Monty Check http://cdrdao.sourceforge.net/drives.html#dt for current driver tables. Warning: This version of libscg has not been configured via the standard autoconfiguration method of the Schily makefile system. There is a high risk that the code is not configured correctly and for this reason will not behave as expected. Using libscg version 'schily-0.8' /dev/hdd: LITE-ON LTR-40125S Rev: ZS0N Using driver: Generic SCSI-3/MMC - Version 2.0 (options 0x0000) Starting write simulation at speed 40... Pausing 10 seconds - hit CTRL-C to abort. Process can be aborted with QUIT signal (usually CTRL-). WARNING: No super user permission to setup real time scheduling. Turning BURN-Proof on Writing track 01 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 02 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 03 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 04 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 05 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 06 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 07 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 08 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 09 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 10 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 11 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 12 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Writing track 13 (mode MODE2_FORM_MIX/MODE2_FORM_MIX )... Wrote 650 of 650 MB (Buffer 100%). Wrote 289952 blocks. Buffer fill min 81%/max 100%. Flushing cache... Simulation finished successfully. [kitt@yggdrasil kitt]$
.. นอกจากนี้ผมแฮ็ค K3B ให้สนับสนุนการสั่งงาน cdrdao ให้ใช้กับ ATAPI CD Writer ด้วย .. สรุปว่า ใครที่ใช้เคอร์เนล 2.6 และ ATAPI CD Writer สามารถถอด SCSI emulation ออกแล้วใช้ cdrecord + cdrdao (hacked) + K3B (hacked) ได้เลยครับ ดาวน์โหลด cdrdao (hacked) กับ k3b (hacked) ได้ที่ ftp://ftp.kitty.in.th/pub/TLE/5.5/kitty-tle/RPMS ครับ :)
สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ rpm วิธีแฮ็ค cdrdao ที่ใช้คือ เปลี่ยนไดรเวอร์ scg ของ cdrdao-1.1.7 เป็นของ cdrecord 2.01a2? ครับ วิธีการคือ
- untar ซอร์สของ cdrdao-1.1.7 กับ cdrecord-2.01a2?
- ลบไดเรคทอรี่ scsilib/libscg ใน cdrdao-1.1.7/ ออก
- ก๊อปปี้ไดเรคทอรี่ libscg ของ cdrecord-2.01 มาใส่ใน scsilib/ ของ cdrdao-1.1.7
- build ด้วยขั้นตอนปกติครับ
สรุป
เท่าที่ใช้งานเคอร์เนล 2.6 เสถียรดีครับ ผลการทดสอบจากหลายๆ แห่งก็แสดงให้เห็นว่า 2.6 ทำงานได้เร็วกว่า 2.4 เมื่อระบบต้องรับภาระงานหนักๆ เช่น พวกเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องรันแอพพลิเคชั่นหลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน ตรงนี้เข้าใจว่าเป็นเพราะ scheduler ของ 2.6 มี scalability ดีกว่า 2.4 .. ในแง่การใช้งานเป็นเดสก์ท็อป 2.6 มีฟีเจอร์ preemptible kernel ที่ช่วยให้ระบบตอบสนองต่อการทำงานแบบ interactive หรือ real-time ได้ดีขึ้น มี NPTL ที่ทำให้การทำงานกับเธรดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามเท่าที่ผมและหลายๆ คนเจอคือถ้ารันแอพพลิเคชั่นตัวเดียวเดี่ยวๆ อาจจะพบว่าการทำงานบน 2.6 ช้ากว่า 2.4 ดังนั้นจะสรุปว่า 2.6 ทำงานเร็วกว่า 2.4 ทุกด้านคงไม่ได้ แต่โดยภาพรวมแล้วการทำงาน 2.6 จะตอบสนองได้ดีกว่า การทำงานราบรื่นกว่า 2.4 ครับ
หลายคนอาจจะมีคำถามในใจว่าจะอัพเกรดเป็น 2.6 ดีหรือไม่ ผมว่าอัพเกรดน่ะต้องทำแน่ๆ อยู่แล้ว แต่ว่าเมื่อไหร่แค่นั้นเอง ณ เวลานี้ 2.4 ยังถือว่าใช้งานได้ดี แต่หลังจาก 2.4.24 ที่เพิ่งรีลีสไปไม่นานนี้ และอาจจะไม่มี 2.4 รีลีสอีกแล้ว ผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงถูกกระตุ้นให้ย้ายไปใช้ 2.6 โดยปริยาย เน้นว่า ‘กระตุ้น’ นะครับ ไม่ใช่ ‘บังคับ’ เพราะการสนับสนุนเคอร์เนล 2.4 จะยังอยู่อีกนาน (เช่นเดียวกับ 2.2 ซึ่งหยุดพัฒนาไปนานแล้ว แต่ยังมีการสนับสนุนอยู่จนถึงทุกวันนี้)
โดยส่วนตัว ผมย้ายมาใช้ 2.6 อย่างเต็มตัวแล้ว (แต่ยังแอบมี 2.4 มีไว้สำรองไว้เผื่อใช้เปรียบเทียบ) .. เวลานี้บรรดาดิสโตรฯ เริ่มทดสอบ และทำแพคเกจเคอร์เนลใหม่กันมาพักนึงแล้ว อย่าง FC2 ก็ทำ 2.6 ไว้แล้ว SuSE Mandrake ก็ทำไว้แล้วเหมือนกัน ผมว่ารีลีสหน้าของดิสโตรเหล่านี้คงเปลี่ยนมาใช้เคอร์เนล 2.6 กันแน่ๆ … คำถามก็อาจจะกลายเป็นว่า เราจะเริ่มเองวันนี้ ? หรือจะรอใช้ 2.6 ที่มากับดิสโตรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ? … ตัดสินใจเอาเองครับ :)
อัพเดตครับ ตะกี้เห็นแวบๆ ที่ http://kernel.org มี 2.4.25-pre6 แล้ว (พร้อมกับ 2.6.1-mm4) .. ถ้า Marcelo ยังยืนยันกำหนดการเดิม 2.4.25 น่าจะรีลีสราวๆ กลางเดือนกุมภาพันธ์ครับ (Updated on Fri Jan 16 2004 22:22)