Many things happened

win32 codecs loading problem: ที่ผ่านมาลินุกซ์บางเครื่องไม่สามารถใช้งาน win32 codecs ได้ไม่ว่าจะผ่านทาง mplayer หรือ xine .. เรื่องนี้เคยเกิดกับผมเหมือนกัน เป็นๆ หายๆ อยู่พักนึง ก็เลยพยายามกูเกิ้ลจนพบว่า ปัญหานี้เกิดจาก combination ของ prelink + exec-shield + โปรแกรมที่ใช้งาน win32 codecs .. อธิบายนิดฟีเจอร์ exec-shield เพิ่มเข้าไปในเคอร์เนลเมื่อปีที่แล้ว (โดย Ingo Molnar @ Red Hat) exec-shield จะ remap address เวลาโหลดไลบรารีเป็นการป้องกัน buffer/stack/pointer overflow attack .. เดิม address remapping ทำโดยการสุ่มพื้นที่เวลาโหลดไลบรารี .. ภายหลัง Red Hat ก็เอาฟีเจอร์ prelink มาใช้งาน การสุ่มพื้นที่เลยเปลี่ยนไปทำตอน full prelink ซึ่งปกติจะทำงานทุกสองสัปดาห์ (อันนี้เองที่เป็นสาเหตุว่าทำไมมันเป็นๆ หายๆ) .. โอเค ร่ายมายาว ประเด็นคือ dll ใน win32codecs หลายๆ ตัวจำเป็นต้องโหลดลงพื้นที่ๆ กำหนดไว้เท่านั้น (e.g., 0x400000) ถ้า exec-shield/prelink เลือกโหลดไลบรารีบางตัวในพื้นที่ไปแล้ว ก็จะไม่สามารถโหลด win32codecs ได้ ผลก็จะกลายเป็น segmentation fault .. วิธีแก้ คือ ยกเลิกการใช้ exec-shield แล้วทำ full prelink โดย

แก้ไฟล์ /etc/sysconfig/prelink จาก

PRELINK_OPTS=-mR

เป็น

PRELINK_OPTS="-mR --no-exec-shield"

** สังเกตดีๆ อย่าลืมใส่ double quote

สร้างไฟล์ เป็นแฟล็กสำหรับ force full prelink

touch /var/lib/misc/prelink.force

สั่ง prelink

/etc/cron.daily/prelink

รอพักนึง

set executable stack flag สำหรับโปรแกรมที่ใช้ win32codecs i.e., mplayer, xine

execstack -s /usr/bin/mplayer
execstack -s /usr/bin/xine

ขั้นตอนนี้เท่าที่ลอง บางครั้งก็ไม่ต้องทำ YMMV ..

ข้อเสียของวิธีนี้คือ มีความเสี่ยงกับ overflow attack มากกว่าระบบปกติ .. tradeoff กันเอาเองเน้อะ (ref: http://mplayerhq.hu/DOCS/HTML/en/faq.html )

cdrecord กับ kernel 2.6.8.1: ใช้งานร่วมกันแล้วมีปัญหา cdrecord ไม่สามารถส่งคำสั่งผ่านเคอร์เนลไปเขียนซีดีได้ .. workaround คือถอยกลับไปใช้ 2.6.7 หรือใช้ cdrecord as root (me: setuid เอาก็ไม่ได้) .. fix ใช้แพตช์ (ตามหาใน LKML เอาเอง :p) หรือไม่ก็รอ mm-patch หรือเคอร์เนลตัวถัดไป .. OT: สำหรับคนที่อยู่กับ LKML มานานพอสมควร เห็นหัวข้อ cdrecord มาพร้อมกับ kernel คงพอเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น .. Joerg Schilling (คนเขียน cdrecord) เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เก่ง แต่พี่แกไม่ฟังใครเลย เอาแต่ใจเป็นที่สุด .. ครั้งนี้ก็เช่นกัน ต่อความยาวสาวความยืดกับ Jens Axboe (@ SuSE – kernel hacker – I/O) เรื่องเดิมๆ อีกแล้ว .. ลอล

Keyboard ของ peorth เจ๊ง: ยกไปเซอร์วิสที่ Zeer รังสิต คราวที่แล้วไปเคลมฮาร์ดดิสก์พนักงาน Acer Service ที่ Zeer พูดจาแย่มาก ผมเดินออกมาเลย รวย ไม่เคลมก็ได้ ไม่ง้อหรอกเว้ย .. เที่ยวนี้ดีขึ้น เลยเอาดิสก์ไปเคลมด้วยเลย นึกว่าจะได้ “สู้ว๊อย” ซะแล้ว .. ลอล .. anyway, อะไหล่ไม่มี เลยเอาเครื่องกลับมาใช้งานก่อน ..

kernel 2.6.8.1: มีผลของ make oldconfig (จาก 2.6.7-mm5) อีกเครื่องนึงมาเพิ่มเติม

  • Message Signaling Interrupts (MSI and MSI-X)
  • Sensor: Analog Device ADM1025 and compatible
  • Sensor: Analog Device ADM1031 and compatible
  • Sensor: National Semiconductor LM77

เด็กกับรางรถไฟ / kitty-extras updated

อ่าน เรื่องเด็กกับรางรถไฟ ที่ blog ของพี่เทพ แล้วชอบใจ .. “คนกลุ่มน้อยมักจะถูกเสียสละให้กับผลประโยชน์ของคนหมู่มาก แม้ว่าคนกลุ่มน้อยจะฉลาด มองการณ์ไกล และคนหมู่มากจะโง่เง่า ไม่ใส่ใจก็ตาม” … หุๆๆๆ ..

ปั่นแพ็กเกจ kitty-extras สำหรับทะเล 7.0 (build/rebuild บนอ่าวไทย) .. เสร็จไป 30% แล้ว .. ปลายๆ สัปดาห์นี้คงเสร็จทั้งหมด .. เซ็งแอพพลิเคชันบน KDE เป็นที่สุด .. build ช้ามากๆๆๆๆ กินแรมช่วง build ก็เยอะมากๆๆๆๆ … เกลียด KDE ว๊อยย ..

อยากดูโอลิมปิก แต่ไม่มีทีวี ? channel #tlwg มีรายงานสดเกือบทุกรายการที่นักกีฬาไทยลงแข่งขันครับ .. ลอล :D

XP Starter Edition

ได้อ่าน รีวิว Windows XP Starter Edition จาก Gartner แล้ว .. คันปาก .. โอ้ ไม่น่าเชื่อเลยจอร์จ มันห่วยจริงๆ !

  • อย่างที่เคยบอกกล่าวกันก่อนหน้านี้ อินเทอร์เฟซทุกอย่างปรับแต่งเป็นภาษาไทย เพื่อให้คน(ที่รู้ภาษา)ไทยใช้เท่านั้น เป็นการกันไม่ให้ XPSE หลุดไปขายในประเทศอื่น .. ก็โอเคแหละ ยอมรับได้
  • รันโปรแกรมได้พร้อมกัน 3 โปรแกรม … ข้อนี้ข้อเดียวก็เลิกสนใจ XPSE ไปเลย .. บ้าป่าววะ
  • สนับสนุนผู้ใช้หลายคนเหมือน XP แต่แชร์โปรไฟล์ของเดสก์ท็อปอันเดียวกัน .. แปลว่าทุกคนแชร์หน้าจอเดสก์ท็อปเดียว ไม่ได้แยกหน้าจอเหมือน XP .. ก็พอทน ส่วนใหญ่ก็ใช้หนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่องอยู่แล้ว
  • รวม Service Pack 2 มาแล้ว แต่ไม่ได้บอกอะไรเลยเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบ … แอบทำโน่นทำนี่เงียบๆ ตามเคย

กับราคาประมาณพันสี่ร้อยบาท ห่วยกว่าที่คิดมากๆ .. หรือทำแบบนี้เพื่อบีบให้คนซื้อชุดเต็ม ? … ครั้งแรกที่มีข่าว XPSE ที่ตัดฟีเจอร์บางอย่างออกไป ชาวต่างชาติที่ /. บางคนบอกว่า ถ้าฟีเจอร์ที่ตัดออก คือ IE, MSN, และฟีเจอร์บรมห่วยทั้งหลายออก จะลงทุนเรียนภาษาไทยเพื่อใช้ XPSE .. ตอนนี้คงได้แต่ส่ายหัว .. เฮ่อ

สรุปว่า ไม่คุ้มที่จะลงทุน ไม่ว่าจะใช้เอง หรือจะใช้ในองค์กร เพราะเชื่อว่าถ้าซื้อไปใช้ไม่นานก็ต้องหันมาใช้ตัวเต็มจนได้ กลายเป็นเสียเงินสองต่อ (เข้าทางไมโครซอฟต์) โดยเฉพาะคนที่เคยใช้ของเถื่อนมาก่อนยิ่งไม่มีทางที่จะเปลี่ยนไปใช้ของถูกกฎหมายที่ห่วยลงมากขนาดนี้ ..

XP ตัวเต็มก็ห่วยอยู่แล้ว ยังมีหน้าทำ XPSE ให้มันห่วยลงไปอีก .. สมแล้วที่เป็นไมโครซอฟต์ หน้าไม่อายจริงๆ

Linux Kernel 2.6.8 / 2.6.8.1

อยู่บ้าน ทำงานออนไลน์ไม่สะดวกเท่าไหร่ เลยพยายามเคลียร์งานออฟไลน์ต่างๆ .. อ่านหนังสือ ทำรายงาน เขียนเว็บ ฯลฯ .. พอออนไลน์ทีก็เข้า Planet /. FM][ gnomedesktop ฯลฯ อ่านข่าว สำรวจหาอัปเดต .. แล้วก็เห็นว่าเคอร์เนล 2.6.8 ถูกปล่อยออกมาแล้ว ..

เคอร์เนล 2.6.8 นี่เกือบๆ จะออกตั้งแต่ rc4 แล้ว แต่ ลินุสอยากให้มีการแก้ไขอะไรบางอย่างให้สะอาดก่อน เช่นเคยเคอร์เนลใหม่สนับสนุนฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้น และแก้บั๊ก ARM, PPC, Sparc64, SATA, SCSI, Prism, อื่นๆ อีกบาน .. ห้าชั่วโมงหลังออก 2.6.8 ก็มี 2.6.8.1 ออกตามมาเพื่อแก้บั๊ก NFS… แพตช์แก้ IRQ Routing ใน BIOS ของ TravelMate 360 เข้าไปอยู่ในเคอร์เนลแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้อยู่ใน mm-patch (และก่อนหน้า mm-patch ผม maintain แพตช์ตังนี้แยกไว้ใช้ส่วนตัว)… อยู่ในเคอร์เนลอย่างนี้ต่อไปก็สบายแล้ว :)

มีอะไรใหม่ ? .. เช็คถึกๆ โดย make oldconfig ก็มีดังนี้ :

  • IBM Power Linux RAID Adaptor
  • EtherExpress Pro/100+ Rx Polling (NAPI)
  • I2C Dallas’s 1-wire bus
  • USB SN9C10[12] PC Camera Controller
  • AES cipher algorithms (i586)
  • TEA and XTEA cipher algorithm
  • Khazad cipher algorithms
  • CRC-CCITT functions

คิดว่า 2.6.8.1 คงมีอะไรใหม่ๆ มากกว่านี้นะครับ เพราะ kernel config เดิมผมเลือกตามฮาร์ดแวร์ของเครื่อง ต้องใช้ หรือมีโอกาสสูงที่จะได้ใช้เท่านั้น (เช่น USB devices ต่างๆ)

OT: ไทยได้หนึ่งเหรียญทองแดงแล้ว จากยกน้ำหนักหญิง รุ่น 48 ก.ก. .. :)

gvim + latex / repository updated

นั่งเตรียมเอกสาร ขี้เกียจเขียน *.layout เองแล้ว เลยเลิกใช้ lyx .. หันไปใช้ gvim + สั่งงานบน command line แทน .. ไม่ต่างจากเขียน HTML ซักเท่าไหร่ จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายาก ก็ อืมม ตอนนี้ไม่ยากเหมือนลองเขียนครั้งแรกแล้ว ถ้าคล่องๆ แล้วอาจจะเลิกใช้ lyx ไปเลย .. ใช้เอดิเตอร์ธรรมดาดูจะควบคุมอะไรได้ง่ายกว่า ได้ซอร์สที่สะอาดกว่าด้วย .. ปัญหาเฉพาะหน้าตอนนี้มีเล็กน้อยเรื่อง pseudocode ของอัลกอริทึม .. ตอนแรกจะ verbatim เอา แต่มันไม่งามเท่าไหร่ .. พรุ่งนี้จะลองเอา algorithm style มาใช้

อัปเดต & sync repo ทั้ง unstable และ kitty-extras .. อัปเดตไปหลายตัวเหมือนกัน

  • evolution 1.5.92.1 + ximian connector 1.5.92 + evolution data server 0.97 .. GNOME ช่วงนี้เร่งกันน่าดู ถ้าเช็คอัปเดตที่ ftp.gnome.org จะเห็นว่ามีใหม่ๆ มาทุกวันๆ ละหลายๆ ตัว .. เหลือเวลาอีกเดือนนิดๆ เท่านั้นก็จะรีลีส 2.8 แล้ว เลขเวอร์ชันของแพ็กเกจหลายๆ ตัวก็เลยจวนเจียนๆ
  • cdrecord เวอร์ชันล่าสุด gmake ไม่ได้ ต้อง smake เอา เลยได้ build smake เพิ่มเข้ามาอีกตัว …
  • k3b ใช้ libtools ซึ่งต้องใช้ *.la ในการ link แต่ทะเลเคยตกลงกันไว้ว่าให้ exclude *.la เพราะมีผลกระทบกับแพ็กเกจใน GTK/GNOME . งานนี้เลยวุ่นวายนิดๆ .. ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเอาไงกับ *.la .. ไว้ค่อยตกลงกัน
  • Blender 2.34 เรียบร้อยแล้ว yafray 0.0.7 ยัง build ไม่ผ่าน ติด undefined symbols ใน library ของ yafray เอง .. ทำไงดีเนี่ยะ (- -‘)
  • Stellarium 0.6.0 ตัวใหม่สวยกว่าเดิม .. เจ๋งๆ
  • Rosegarden 0.9.9 .. นี่ก็จวนเต็มทีแล้วเหมือนกัน … ดูจากหน้าตาก็เหมือนๆ เดิม .. ช้าเหมือนๆ เดิมด้วย :P
  • Gimp 2.1.3 Unstable ล่าสุด
  • Povray 3.6.1 แก้บั๊ก
  • Liferea 0.5.2c แก้บั๊ก
  • VideoLAN Client (vlc) rebuild ให้ใช้กับ wxGTK ตัวใหม่ใน unstable
  • wxPythonGTK rebuild ให้ใช้กับ wxGTK ตัวใหม่ + Python 2.3
  • XFce 4.0.6 . แก้บั๊ก เพิ่มฟีเจอร์ + ใส่ plugin ไปอีกหลายตัว .. 4.0.6 อาจจะเป็นรีลีสสุดท้ายของ 4.0 แล้ว .. stable ถัดไปจะเป็นเวอร์ชัน 4.2 ครับ

ฯลฯ ..

me: อยากได้คนทดสอบแพ็กเกจของ aowthai / people .. ไม่ใช่แค่ช่วงใกล้รีลีส แต่อยากให้ใช้ติดขอบไปตลอดเลย จะได้เป็นกลไกในการทดสอบเสถียรภาพของแพ็กเกจในวงจรการพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ .. อืมม .. ชักจะเหมือน Debian เข้าไปทุกที :P ..

#tlwg @ Speed Net Club

ไปเยี่ยมร้าน Speed Net Club ของพี่หน่อย .. Speed Net Club อยู่ระหว่างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับร้านมนต์นมสดเสาชิงช้า .. นัดกับเสี่ยต้นบ่ายๆ ขับรถไปจอด park & ride ที่ลาดพร้าว (park & ride เขาเขียนเป็นภาษาไทยว่า “จอดแล้วจร” .. อุวะ คิดได้ไงเนี่ยะ) นั่งรถไฟใต้ดินมาลงที่หัวลำโพงแล้วก็ต่อแท็กซี่ ถึงที่ร้านก็มีสมาชิก #tlwg มากันหลายคนแล้ว ที่จำได้คือ วีร์ กับคุณไป๋ (cwt) . ท่านอื่นๆ ผมจำไม่ได้อย่าได้น้อยใจ ผมเป็นโรคจำชื่อคนไม่ค่อยได้ในครั้งแรก (มีโรคนี้เปล่าฟะ) ..ทักทายกันพอหอมปากหอมคอ .. พี่หน่อยพูดถึงเครื่องที่มัน crash ว่าแล้วก็ลองเช็คเครื่องดูว่าเป็นเพราะอะไร .. รอกันนานมันก็ไม่ crash ซักที พี่หน่อยลงทุนปลอบเครื่องบอกว่าเขาไม่ได้มาทำอะไรแกนะ แต่เครื่องก็ไม่ยอม crash ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี .. เลยมานั่งทำแพ็กเกจไป รอไป ฟังเสวนากันไป .. สักพักคุณนุ (phumrieng) ก็ตามมาสมทบ คุณอาคม (KoM) ก็มาด้วย ปิดท้ายเย็นๆ modeller ก็แวะมา สนุกสนานเฮฮากันจนใกล้ๆ สองทุ่ม ผม เสี่ยต้น วีร์ ขอตัวกลับก่อน .. เครื่องพี่หน่อยไม่กล้า crash (กลัวหมอ :p) เลยฝากให้ strace เก็บไว้เผื่อจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

กลับมาถึงห้องแล็บ ออนไลน์ได้แป็บนึงแล้วก็หมดสติไป

ICT Expo

ไปงาน ICT Expo มา คาดหวังจากโฆษณาว่าจะได้เห็นเทคโนโลยี นวัตกรรม ใหม่ๆ.. แล้วก็ผิดหวังตามระเบียบ .. เซ็งนิดๆ ..

น่าสนใจที่สุดคงเป็น QRIO หุ่นยนต์ในฝันของ Sony .. ยืนรอจนขาแข็ง (นานพอๆ กับรอดูพอลล่าในงาน motor expo ที่ผ่านมา :P) .. QRIO = Quest for Curiosity .. มีอะไรเจ๋งๆ แฝงในตัวหุ่นนี้เยอะเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องการเคลื่อนไหวทำได้ราบรื่นดี ตอบสนองเร็วพอที่จะทำให้หุ่นกระโดดลอยจากพื้นได้ เดโมดูจะเน้นเรื่องการเคลื่อนไหวเยอะ โชว์รำไทยประกอบเพลงค้างคาวกินกล้วยอีกต่ะหาก .. ขนาดของหุ่นเป็นเรื่องนึงที่หลายคนคาดไม่ถึงว่าจะตัวกะเปี๊ยกแค่นี้ .. คือผมเชื่อว่ามันต้องมีเหตุผลแหละว่าทำไมต้องเล็กแค่สองฟุต เพราะทางการค้า หรือไม่ก็ทางเทคนิค หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง .. ผมเดาว่าถ้าหุ่นขนาดใหญ่กว่านี้ จะเปลืองพลังงานมาก และต้องแบกน้ำหนักตัวเองมากกว่าด้วย พอน้ำหนักมากๆ เข้าพวก motor actuator อาจจจะตอบสนองได้ไม่เป็นธรรมชาตินัก .. QRIO มี face recognition จำหน้าคนใด้สิบใบหน้า มีไมโครโฟนจับทิศทางเสียง มี voice recognition มี speech synthesis มี NLP ง่ายๆ มี ฯลฯ .. ในวิดีโอที่ Sony เปิดให้ดูระหว่างรอดูตัวจริง มีช็อตเด็ดๆ ที่ชอบเป็นพิเศษคือ QRIO เดินเล่นกับ Aibo แล้วก็มีคนจูงหมาเดินสวนมา .. ดูแล้วก็ อืมม .. นะ ภาพนี้มีประเด็นว่ะ .. ช็อต QRIO ไปดูงานแฟชั่นโชว์ หันหัวดูนางแบบแทบไม่ทัน ยังกะคน .. ลอล .. ค่าตัวของ QRIO ยังไม่แจ้งเป็นทางการ ลองเทียบกับ Aibo แล้ว เดาว่าราคา QRIO อาจจะซื้อรถคันเล็กๆ ได้หนึ่งคัน

รองลงมาเป็น home network ที่บูธไมโครซอฟต์ .. ดูจากข้างนอก เขาจำลองบ้านมาให้ดู เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหลายๆ ชิ้นเชื่อมเครือข่าย สื่อสารกันได้ ต่ออินเทอร์เน็ตได้ .. ผมไม่ได้เข้าไปดูเพราะคนเยอะ แล้วเขาจัดเดโมเป็นรอบๆ พาเดินดูในบ้าน + อธิบายการทำงานให้ฟัง .. home network ไม่ใช่ของใหม่สำหรับผม 1. บิล เกตส์ เคยพูดถึง home network มานานมากแล้ว ตั้งแต่ก่อนจะเขียน The Road Ahead เสียอีก … 2. ราวๆ ปี 2000 ผมมีโอกาสใกล้ชิดกับกลุ่มพัฒนา IPv6 ที่ญี่ปุ่น และ IPv6 เป็น infrastructure ที่จำเป็นอย่างนึงของ home network หากจะทำ end-to-end communication อย่างแท้จริง จึงพอจะรู้ว่าเขาจะนำไปประยุกต์อะไรได้บ้าง … 3. ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็ได้ยินข่าวว่าไมโครซอฟต์มีพันธมิตรเป็นกลุ่มผลิต home appliance อยู่หลายสิบบริษัท ร่วมมือกันทำวิจัยเรื่อง home network กันมาพักนึงแล้ว มีต้นแบบออกมาแล้วด้วย .. สรุปก็เลยรู้สึกเฉยๆ

IBM มี Linux Watch :) .. เพิ่งรู้ว่าคนของ IBM มี Nobel Laureate ถึง 5 คน

Apple บูธหลบโคตร .. เอา Dual G5 มาโชว์ .. น่าจะเอา Cinema Display 30 นิ้วมาด้วยเน้อะ ..

แวะไปบูธเล็กๆ ของทะเลก่อนกลับ ตั้งอยู่ใกล้ๆ kapook.com พริตตี้ตรึม (me: กุ้งเพียบ :P … กุ้งคือ หุ่น ผิวก็ดีแหละ แต่ต้องเด็ดหัวออกถึงจะกินได้ .. ที่มา: IBM Singapore มั๊ง .. มุขอินเตอร์นะเนี่ยะ – -‘)

บูธอื่นๆ อีกหลายบูธ โดยเฉพาะของไทย ก็งั้นๆ .. พวกโทรศัพท์ทั้งหลายก็ hard sale โพด ชั้นล่าง (hall 10) ยิ่งไปกันใหญ่ .. Towards becoming the new ICT hub of ASEAN ? ..

55 more packages updated

ลืมบอกไปว่าที่อัปเดตในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้เป็นแพ็กเกจใน kitty-tle อย่างเดียว วันนี้ทำเสร็จไปอีก 55 แพ็กเกจ รวมทั้งหมดก็ราวๆ 180 – 190 แพ็กเกจแล้ว ตอนนี้เหลือที่ยังไม่อัปเดต/re-link อยู่สิบกว่าแพ็กเกจ พวกที่เหลือนี่ค่อนข้างจุกจิก หรือไม่โค้ดก็เก่าจนคอมไพล์ด้วย gcc 3.3.3 ไม่ผ่าน เลยเสียเวลาแก้โน่นแก้นี่นานหน่อย .. ไว้ค่ำๆ ค่อยทำ :P

อื่นๆ: เคลียร์พื้นที่ในดิสก์ของ yggdrasil ไปหลายสิบกิ๊ก นั่งเผาแผ่นไปราวๆ 30 แผ่น .. ตอนนี้ $home บน yggdrasil เหลือแค่ 2xx MB / 10 GB .. รู้สึกว่าบ้านตัวเองรกเกินไปแล้ว คงต้องจัดบ้านใหม่เร็วๆ นี้ .. หรือจะย้ายบ้านเลยดีหว่า :P

140 Packages Updated ! / Spatial or Navigational

ยังเหลืออีกประมาณสิบกว่าแพ็กเกจที่ยากๆ และอีกราวๆ 50 – 60 แพ็กเกจที่ยังอยู่ในคิว T_T

คุณ densin ได้โดเมนภาษาไทย ลินุกซ์.th แล้ว .. ถ้าใครเข้า “http://ลินุกซ์.th/” ก็จะไปโผล่ที่ LTN .. หุๆๆ :)

ทะเลกำลังพิจารณาค่าปริยายของ nautilus ว่าจะให้เป็น spatial หรือ navigational (a.k.a browser mode) ดี ?.. เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ผู้ใช้พูดถึงตั้งแต่รีลีส GNOME 2.6 ทั้งแง่บวกและลบในจำนวนพอๆ กัน ก็เลยเป็นเรื่องที่ตัดสินยากอยู่เหมือนกัน .. คนที่ไม่เคยใช้ spatial มาก่อน ส่วนใหญ่จะเรียกหา browser ด้วยคุ้นชินกับระบบเดิม หรือไม่ก็คุ้นกับ Konqueror / Windows Explorer .. แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่หัดใช้ spatial mode อยู่พักนึงแล้วชอบ spatial mode มากกว่า ..

ส่วนตัว ตั้งแต่ GNOME 2.0 เป็นต้นมา ผมแทบไม่ใช้ nautilus ในการจัดการไฟล์เลย สาเหตุหลักๆ คือมันช้า เลยใช้แต่ command line ไม่ก็ mc .. แต่พอได้ลองใช้ nautilus ใน GNOME 2.6 ที่ใช้ spatial mode by default ก็ติดใจ เริ่มใช้ nautilus จัดการไฟล์มากขึ้น เดี๋ยวนี้ใช้คล่องแล้ว บวกกับผมตั้งให้แสดง $home บน desktop เลย และทำ GnomeVFS ไปยัง $home บนเครื่องอื่นๆ ผ่าน sftp ด้วย เลยเข้าถึงไฟล์ได้ง่ายและสะดวกกว่า แถม spatial ยังทำงานเร็วได้กว่า navigational ชนิดวัดด้วยความรู้สึกก็เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน .. สรุปว่าโหวตให้ spatial ก็แล้วกัน :P

มีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร ? อยากให้ทะเลใช้ mode ไหนเป็น default ? แวะไป comment ได้ที่ blog.opentle.org ครับ ..

Time’s up

หมดเวลาพักผ่อนแล้ว! .. กลับมาประจำที่กรุงเทพฯ เหมือนเดิม .. ไม่ได้เช็คเมลสามวัน เจอไปสองพันกว่าฉบับ .. กรองๆ เหลือที่จำเป็นต้องอ่านจริงๆ 4 – 5 ฉบับเอง เก็บ mailing list ทั้งหลายไว้สแกนอ่านทีหลังประมาณร่วมๆ พัน ที่เหลืออีกพันนึงไม่อ่านแน่ๆ -> ลบทิ้ง .. สุดสัปดาห์นี้มีสแปมราวๆ ร้อยฉบับ หลุดออกมาถึงเมลบ็อกซ์สามฉบับ ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

งาน: วันนี้วันเดียวทำแพ็กเกจไปร่วมๆ 70 แพ็กเกจ .. มีข้ามๆ ตัวที่มีปัญหาไปหลายตัวเหมือนกัน เอาไว้ทำทีหลัง หรือไม่ก็อาจจะตัดไปเลย ..

แผน: วันที่ 7 #tlwg นัดไปถล่มร้าน SpeedNetClub .. โฮ่ๆๆ .. ไม่น่าพลาด :)

ลืม: เอ .. บอกไปยังว่าตอนนี้ผมรัน primary/secondary DNS ของโดเมน “แมวเหมียว.th” เองแล้วนะ โดยขอให้ THNIC ชี้มาที่เซิร์ฟเวอร์ของ kitty.in.th แทนที่จะ resolve โดเมนภาษาไทยบนเซิร์ฟเวอร์ของ THNIC เหมือนโดเมนภาษาไทยอื่นๆ .. ตอนนี้ก็เลยทำ subdomain ภาษาไทยได้ ตั้ง hostname เป็นภาษาไทยได้ ทำอะไรๆ ได้เหมือนโดเมนภาษาอังกฤษทุกอย่าง .. ไว้ว่างจากทำแพ็คเกจแล้วจะทำเว็บเพจบอกวิธีทำนะครับ ไม่ยากเลย :)

แจ้งข่าวไม่ค่อยดี: kitty.in.th เริ่มจะป่วยเสียแล้ว คาดว่ามีปัญหาที่แรมหรือไม่ก็ (พัดลม+) ซีพียู .. ช่วงนี้ความเสถียรอาจจะลดลงไป .. ทนๆ ไปก่อนละกัน .. เฮ่อ .. {: