งานแห่เทียนพรรษาปี 2548

ทริปสั้นสองวันหนึงคืน ไปเที่ยวงานแห่เทียนพรรษาที่ จ. อุบลราชธานีกะที่บ้าน แห่เทียนอลังสุดๆ คนก็เยอะสุดๆ เหมือนกัน ไปถึงที่อุบลฯ เย็นวันอาสาฬหบูชา เติมพลังแล้วทุ่มนึงก็ลุยฝูงคนไปดูรถเทียนพรรษา เพิ่งเห็นว่ามันมีสองแบบคือแบบเอาเทียนมาแกะ กับแบบที่เอาเทียนที่หล่อออกจากพิมพ์เป็นลายสวยๆ มาแปะๆ เอา อย่างแรกจะเห็นเป็นไขเทียนเหลือง เหมือนเทียนจุดไหว้พระ อย่างหลังมักจะเห็นเป็นสีแดง เขียว น้ำเงิน แล้วก็มีลายพิมพ์แปะๆ เป็นสีขาว พนักงานก็ต้องคอยเอาน้ำมาฉีดๆ ไม่ให้เทียนละลาย กลางคืนก็คาดว่าถ่ายรูปมาคงเละๆ .. เช้าวันเข้าพรรษา เลยไปถ่ายซ่อมแต่เช้า คนน้อยกว่าตอนกลางคืนแต่ก็เยอะอยู่ดี ถ่ายซ่อมเสร็จก็กินข้าวเช้า ก่อนจะมารอขบวนแห่เทียน เขาก็เอารถเทียนพรรษามาแห่นั่นแหละ แต่ที่เพิ่มมาก็คือมีผู้ร่วมเดินในขบวนแห่ มีการแสดง ฟ้อนรำ ฯลฯ .. ที่เด็ดคือพิธีกรมีสี่ภาษา ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น จีนกลาง .. โดยได้นักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดมาช่วยในภาษาต่างประเทศ .. อินเตอร์โคตร .. ยืนเก็บภาพจนเกือบๆ เที่ยง ขบวนก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะหมดง่ายๆ ..คนเยอะ แดดไม่ค่อยออกแต่ก็ร้อนโคตรแล้ว เลยออกมาจากงาน กลับบ้านดีกว่า

ระหว่างทางกลับบ้านก็แวะทานข้าวหาดคูเดื่อ แล้วก็แวะกู่สันตรัตน์ สร้างสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 .. แวะพระธาตุนาดูน ที่เคยมีข่าวว่ามีงูออกออกมาจากรอยแตกของพระธาตุ .. แล้วก็เดินทางกลับบ้าน

เก็บมาราวๆ สองร้อยรูป ใช้ได้สัก 50-60 รูปก็ดีใจแล้ว (- -‘)

[nggallery id=44]

A stray cat

แมวมาจากไหนไม่รู้ตั้งนานแล้ว มาเป็นครอบครัวอาศัยอยู่หลังคาบ้านข้างๆ .. ที่บ้านเอาข้าวของลูกๆ เหลือๆ ให้กินทุกวัน ถ้ามันย้ายมาอยู่ที่บ้านได้มันคงย้ายมาแล้วล่ะ แต่ที่บ้านมีลูกๆ หลายตัวคอยไล่ มันเลยไม่กล้าเข้ามาสักเท่าไหร่

เจ้าตัวนี้เคยเผลอข้ามรั้วเข้ามาในบ้านทีนึง โดนทอมมีมันไล่ ปีนไปหลบแถวๆ กรองอากาศใต้กระโปรงรถ ดีที่เปิดเจอก่อน หวิดตายคารถแล้วมั้ยล่ะ :P

3 new packages

เพิ่มอีก 3 แพ็คเกจเข้า kitty repo

  1. Stellarium 0.6.2 – โปรแกรมไม่ใหญ่ แต่เสียเวลา build นานมาก ทดสอบทีไร segfault ทุกที พึ่งมานึกออกทีหลังว่าเครื่องที่ใช้ build (belldandy) ใช้ NVIDIA-GLX เวลา build พวก OpenGL มักจะมีปัญหาบ่อยๆ เลยย้ายไป build บนเครื่องอื่นแทน (urd) . ..เฮ่อ
  2. Celestia 1.3.2 – ทนความโบราณของ hoary ไม่ไหว เลย backport มาจาก breezy .. อันนี้ก็ต้อง build บน urd เหมือนกัน
  3. ScummVM 0.7.1 – อันนี้ก็ backport มาจาก breezy ด้วยความขี้เกียจ

สงสัยว่า kitty repo จะกลายเป็น backport repo ซะแล้ว … :P

Public Key for Kitty Repository

ที่จริงแล้ว kitty repository ทำระบบ public key ตามวิธีการของ Debian/Ubuntu ไว้ตั้งนานแล้ว แต่ดูเหมือนมันจะใช้ไม่ได้ ฟ้องว่า unknown gpg error ประจำ แล้วก็แก้ไม่ได้ซักที .. วันนี้ไล่ดูละเอียดๆ ไปเจอว่าไฟล์ Release.gpg เป็นคนละแบบกับที่ Debian/Ubuntu เขาใช้กัน คือมันเป็น signature ธรรมดา (i.e., สร้างโดยสั่ง gpg -s) ที่ถูกมันควรจะเป็น detached signature (gpg -b) … (- -)a

เอาเป็นว่า ตอนนี้ใช้จะให้ apt ตรวจ signature ของ kitty repo. ก็สามารถทำได้แล้ว โดยดาวน์โหลด ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty.in.th.gpg public key ของ kitty repository] ไป แล้วก็ import public key เข้าไปใน trusted key ของ apt ก็เป็นอันเรียบร้อย e.g.,

$ wget ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty.in.th.gpg
$ sudo apt-key add kitty.in.th.gpg

ทีนี้ทั้ง apt / synaptic / ubuntu update manager ก็จะตรวจสอบ signature ได้โดยใช้ public key ที่ import เข้าไป

Relay ข่าว: พฤหัสนี้ (7 ก.ค. 48) เวลา 20.00 น. (GMT+7) ห้อง #tlwg @ irc.linux.in.th จะมี meeting .. มีวาระอะไรบ้าง ขออุบไว้ก่อน เพราะจริงๆ แล้วก็ไม่รู้เหมือนกัน … :P

Digital Inspiration by Mr. Bill Gates

เวลาสั้นๆ ที่บิล เกตส์แวะมาประเทศไทย บิลได้บรรยายเรื่อง Digital lifestyle ที่กำลังจะเกิดในอนาคตอีกไม่เกินสิบปีข้างหน้าว่าเป็นยังไง ความสำคัญของเว็บเซอร์วิสและ XML ที่จะเชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ในอนาคตมากขนาดไหน เน้นว่าทำไมซอฟต์แวร์ถึงจำเป็น และทำไมไลฟ์สไตล์ที่ว่ามันเป็นไปได้ในอนาคต (e.g., by The Moore’s Law) หยอดท้ายด้วยการสนับสนุนโครงการ Partners in Learning , e-government, และ Thailand.NET

รู้สึกผิดหวังพอสมควร .. ที่บิลบรรยายไปไม่มีอะไรใหม่ .. อ่าน blog รายวัน ยังรู้อะไรดีๆ ซะมากกว่านี้ .. ที่ทำงานได้บัตรเชิญมา 2-3 ใบ .. ดีแล้วที่ไม่ไปฟัง

.. มีท่อนหนึ่ง บิลกล่าวว่า

“เป้าหมายของเรานั่นง่ายมาก เราอยากให้เด็กทุกคน ธุรกิจทุกแห่ง สามารถเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะที่ไหน เมื่อไหร่”

และบิลก็เสริมว่า ดีใจที่ประเทศไทยมีการใช้คอมพิวเตอร์กระจายไปทั่ว มีตัวเลขการใช้บรอดแบนด์เยอะขึ้น และโครงการ Partners in Learning ระยะแรกก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง .. ก็ต้องดีใจแหงละ ปริมาณผู้ใช้วินโดว์สกับบรอดแบนด์เป็นสองปัจจัยหลักที่ไมโครซอฟต์อยากได้ใจจะขาด เพราะเป็นหนทางที่จะไปสู่การเกิดเว็บเซอร์วิสที่ใช้งานได้สะดวกทั่วโลก .. ทำไมไมโครซอฟต์สนับสนุนเว็บเซอร์วิส / .NET นัก ? .. ในแง่นึงเว็บเซอร์วิสเป็นซอฟต์แวร์รวมศูนย์ดีๆ นี่เอง ถ้าเจ้าของซอฟต์แวร์สามารถให้ผู้ใช้ๆ ซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ต้องเผยแพร่ตัวซอฟต์แวร์กระจายไปที่ผู้ใช้ จะใช้ MS Office .NET ก็ไม่ต้องซื้อมาใช้แล้ว ถ้ามีเครื่องต่อกับบรอดแบนด์ + always on + nomadic computing ก็ใช้ผ่านเว็บเซอร์วิสได้เลย แต่ไม่ได้หมายความว่าเว็บเซอร์วิสทุกอันจะใช้ได้ฟรีๆ หรอกนะ อาจจะได้จ่ายทุกวินาทีที่ใช้งานเหมือนโทรศัพท์มือถือเลยแหละ .. ทุกวันนี้มีคนใช้ MS Office ราวๆ พันล้านคน สมมติไมโครซอฟต์เก็บค่าบริการ เอาซักเท่าๆ ค่าบริการมือถือ เดือนละสามร้อย วันละสิบบาท .. หมื่นล้านต่อวัน ได้นิ่มๆ ..

การที่ไมโครซอฟต์มาสนับสนุนโครงการทั้งสาม จะเป็นอะไรได้ถ้าไม่ใช่เรื่องการผูกขาดซอฟต์แวร์ กระตุ้นให้ใช้ผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟต์ ..โครงการ Partners in Learning เมื่อหลายปีก่อนไมโครซอฟต์ยอมจ่ายสองพันกว่าล้าน ประเทศไทยได้อะไร ? ผลิตผู้ใช้และผู้สอน, a.k.a. ทาส, ตั้งแต่ในห้องเรียน ..ทั้งครูทั้งเด็ก ถ้าเจออะไรที่ไม่ใช่วินโดว์สไม่เพียงใบ้แดกแต่เป็นง่อยไปเลย .. แบบนี้มันเรียกว่าการพัฒนาทักษะไอที ? .. เที่ยวนี้ไมโครซอฟต์มาขอแจม e-government โครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาและบริหารประเทศ รัดบานที่ปกติหน้าบานอยู่แล้วก็ยิ่งบานไปใหญ่ .. ตูล่ะเซ็ง

ที่จริงแล้วผมค่อนข้างชอบบิล เกตส์ แต่เกลียดความห่วยของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์ เกลียดการผูกขาด และการดำเนินธุรกิจแบบที่ไมโครซอฟต์กำลังทำอยู่ .. ถ้าบิลไม่ใช่ไมโครซอฟต์เขาคงไม่ต่างไปจาก geek/nerd (หรือ dork) อย่างเราๆ ท่านๆ สักเท่าไหร่ .. การมาของ บิล เกตส์ น่าผิดหวังในแง่เนื้อหาสาระของการบรรยาย มันก็ pre-sale/soft-sale เห็นแล้วรู้สึกกร่อยๆ .. และไอ้ที่เซ็งที่สุดก็คือรัดบานหัวลูกเต๋าของเรานี่แหละ

Linux Kernel 2.6.12(.2)

หลังจากวุ่นวายกับปัญหาเรื่อง bitkeeper การพัฒนา kernel ก็สะดุดไประยะหนึ่ง ในที่สุด kernel 2.6.12 ก็ออกมาจนได้ ลืมเช็คไปเลย เข้าไปอีกที 2.6.12.2 ซะแล้ว :P .. ส่ิงที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ (based on my oldconfig) ก็มี :

  • Processor family เพิ่ม GeodeGX1 (MGEODEGX1) ของ AMD
  • Enable X86 board specific fixups for reboot (X86_REBOOTFIXUPS) – สำหรับ Chipset/Board/BIOS ที่มีปัญหาเวลาสั่ง reboot ตอนนี้ fix ได้เฉพาะ Geode GX1/CS5530A/TROM2.1
  • Enable seccomp to safely compute untrusted bytecode (SECCOMP) – แยก address space ของแต่ละ process ออกจากกันโดย seccomp ใน seccomp แต่ละอันจะ execute ได้เฉพาะ syscalls ที่ปลอดภัย เหมาะกับ untrusted bytecode execution
  • ‘conservative’ cpufreq governor (CPU_FREQ_GOV_CONSERVATIVE) – ปรับ frequency เพิ่ม/ลดทีละนิดๆ แทนที้จะกระโดดไป 100% ทันทีที่ workload เยอะขึ้น วิธีนี้ช่วยประหยัดพลังงานได้อีกนิด เมื่อเทียบกับ on-demand และการทำงานกับคอมพิวเตอร์บางระบบที่มีปัญหาในการเปลี่ยน state จาก min max ในทันที
  • Emulex LightPulse Fibre Channel Support (SCSI_LPFC) – สนับสนุน Emulex LightPulse Family Fibre Channel PCI host adapters
  • Broadcom NetXtremeII support (BNX2) – สนับสนุน Broadcom NetXtremeII gigabit Ethernet cards.
  • สนับสนุน Joystick มากขึ้น บางอันมันก็เคยมีอยู่ใน kernel เดิม ไม่รู้ทำไมมัน status = NEW (- -‘) :
    • Classic PC analog joysticks and gamepads (JOYSTICK_ANALOG) – analog joystick และ gamepad ทั่วไป รวมไปถึง CH Flightstick Pro, ThrustMaster FCS, Saitek Cyborg
    • Assasin 3D and MadCatz Panther devices (JOYSTICK_A3D) – FPGaming / MadCatz controller (A3D protocol)
    • Logitech ADI digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_ADI) – Logitech controller (ADI protocol)
    • Genius Flight2000 Digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_GF2K) – Genius Flight2000 / MaxFighter joystick / gamepad
    • Creative Labs Blaster Cobra gamepad (JOYSTICK_COBRA)
    • Gravis GrIP joysticks and gamepads (JOYSTICK_GRIP) – Gravis controller (GrIP protocol)
    • Gravis GrIP MultiPort (JOYSTICK_GRIP_MP)
    • Guillemot joysticks and gamepads (JOYSTICK_GUILLEMOT)
    • InterAct digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_INTERACT)
    • Microsoft SideWinder digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_SIDEWINDER) – SideWinder (Digital Overdrive protocol)
    • ThrustMaster DirectConnect joysticks and gamepads (JOYSTICK_TMDC) – ThrustMaster controller (DirectConnect (BSP) protocol)
    • Twiddler as a joystick (JOYSTICK_TWIDJOY) – ใช้ Handykey Twiddler มาทำ joystick
  • Game Ports ก็สนับสนุนมากขึ้นด้วย
    • Gameport data dumper (JOYSTICK_JOYDUMP) – สำหรับ log / debug ข้อมูลที่รับ-ส่งผ่าน gameport
    • Classic ISA and PnP gameport support (GAMEPORT_NS558)
    • PDPI Lightning 4 gamecard support (GAMEPORT_L4)
    • SB Live and Audigy gameport support (GAMEPORT_EMU10K1)
    • Aureal Vortex, Vortex 2 gameport support (GAMEPORT_VORTEX)
    • ForteMedia FM801 gameport support (GAMEPORT_FM801)
    • Crystal SoundFusion gameport support (GAMEPORT_CS461X)
  • Digi International NEO PCI Support (SERIAL_JSM) – สนับสนุน NEO series multi serial port PCI cards ของ Digi International
  • TPM Hardware Support (TCG_TPM) – สนับสนุน TPM security chip implement ตาม Trusted Computng Group’s specification
  • nVidia Framebuffer Support (FB_NVIDIA) – สนับสนุน framebuffer สำหรับ nVidia chips >= TNT
  • AMD Geode family framebuffer support (EXPERIMENTAL) (FB_GEODE) สนับสนุน framebuffer สำหรับ AMD Geode processors
  • Epson S1D13XXX framebuffer support (FB_S1D13XXX) – สนับสนุน framebuffer สำหรับ Epson S1D13xxx (ตอนนี้ใช้ได้เฉพาะ S1D13806)
  • Intel HD Audio (SND_HDA_INTEL) – ไดรเวอร์ ALSA สำหรับ Intel High Definition Audio (Azalia)
  • USBAT/USBAT02-based storage support (EXPERIMENTAL) (USB_STORAGE_USBAT) – สนับสนุน USB storage ที่ใช้ SCM/Shuttle USBAT/USBAT02 processors เช่น:
    • CompactFlash reader ที่มากับ Kodak DC3800 camera
    • Dane-Elec Zmate CompactFlash reader
    • Delkin Efilm reader2
    • HP 8200e/8210e/8230e CD-Writer Plus drives
    • I-JAM JS-50U
    • Jessops CompactFlash JESDCFRU BLACK
    • Kingston Technology PCREAD-USB/CF
    • Maxell UA4 CompactFlash reader
    • Memorex UCF-100
    • Microtech ZiO! ICS-45 CF2
    • RCA LYRA MP3 portable
    • Sandisk ImageMate SDDR-05b
  • USB Philips Cameras (USB_PWC) – PWC กลับมาแล้ว .. เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก (- -‘)
    • Philips PCA645, PCA646
    • Philips PCVC675, PCVC680, PCVC690
    • Philips PCVC720/40, PCVC730, PCVC740, PCVC750
    • Askey VC010
    • Logitech QuickCam Pro 3000, 4000, ‘Zoom’, ‘Notebook Pro’ and ‘Orbit’/’Sphere’
    • Samsung MPC-C10, MPC-C30
    • Creative Webcam 5, Pro Ex
    • SOTEC Afina Eye
    • Visionite VCS-UC300, VCS-UM100
  • USB ZD1201 based Wireless device support (USB_ZD1201) – สนับสนุน ZyDAS ZD1201 WLAN
  • USB Monitor (USB_MON) – สำหรับ monitor ข้อมูลที่รับ-ส่งผ่าน USB
  • USB AirPrime CDMA Wireless Driver (USB_SERIAL_AIRPRIME) – สนับสนุน AirPrime CDMA Wireless PC card.
  • USB CP2101 UART Bridge Controller (USB_SERIAL_CP2101) – สนับสนุน CP2101/CP2102 based USB to RS232converter
  • USB HP4x Calculators support (USB_SERIAL_HP4X) – สนับสนุนการเชื่อมกับเครื่องคิดเลข HP4x
  • Show timing information on printks (PRINTK_TIME) – แสดง Timestamp เวลา printk จาก kernel
  • NSA SELinux checkreqprot default value (SECURITY_SELINUX_CHECKREQPROT_VALUE) – default แฟล็กสำหรับ SELinux เลือกว่าจะเช็ค protection ที่ request จาก kernel หรือ applications
  • Tiger digest algorithms (CRYPTO_TGR192) – สนับสนุน Tiger hash algorithm 192, 160 and 128-bit hashes ใน kernel

สนใจรายละเอียดมากกว่านี้ อ่าน changelog ได้ เที่ยวนี้ ~ 1.0 MB ถ้านับจากขนาดไฟล์แล้วก็น้อยกว่า 3-4 เวอร์ชั่นที่ผ่านมา