Acquired !

ประมาณต้น-กลางเดือนที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจอยู่สามข่าวที่เกือบจะเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน และเกิดขึ้นในเวลาห่างกันไม่กี่วัน

เรื่องแรก คือการที่ Oracle เข้าซื้อกิจการของ Innobase บริษัทที่สร้างเอ็นจินฐานข้อมูล InnoDB ที่เป็นหนึ่งในเอ็นจินของ MySQL … แม้ว่า MySQL จะมีเอ็นจินอื่นๆ ใช้งานแต่ฟีเจอร์ขั้นสูงๆ หลายๆ อย่างยังจำเป็นต้องทำงานบน InnoDB (e.g., cascade) หาก MySQL AB ยังต้องการใช้งาน InnoDB ในผลิตภัณฑ์ตัวขาย ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะต้องจ่ายค่าสัญญาอนุญาตให้กับ Oracle ซึ่งจะทำให้ราคาของซอฟต์แวร์ MySQL สูงขึ้นแน่ ส่วนซอฟต์แวร์ตัวที่ยังเปิดเสรี การจะต่อรองให้ Oracle ยอมให้ MySQL ตัวเสรีใช้ InnoDB ได้ฟรี/เสรีแทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะที่ผ่านมา Oracle ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่ต่อรองได้ยากที่สุด การเข้ามาของ Oracle เลยดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามชุมชนโอเพนซอร์ โดยเฉพาะผู้ใช้งาน MySQL .. อย่างไรก็ตามรหัส InnoDB รุ่นล่าสุดยังคงเป็น GPL อยู่ ถึง Oracle จะซื้อกิจการ Innobase ไปแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนสัญญาอนุญาตนี้ได้ จุดนี้จึงเป็นโอกาสของชุมชนหรือ MySQL AB ที่จะพัฒนา InnoDB ตัวเสรีต่อได้ ถ้าต้องการจะทำกันจริงๆ .. แตแน่นอนว่า InnoDB รหัสเสรีคงชะงักไปสักพัก

เรื่องที่สอง Check Point บริษัทที่เชี่ยวชาญระบบความปลอดภัยเข้าซื้อกิจการของ Sourcefire ที่เป็นผู้สร้าง Snort – Network-based IDS .. งานนี้ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สและผู้ใช้ในลักษณะเดียวกับกรณีของ Oracle/Innobase .. แต่ยังมีความต่างตรงที่ Check Point ได้ส่งสัญญาณเชิงบวกว่าจะ fully committed กลับไปยังรหัสเสรีของชุมชน .. Snort ยังมีความต่างอีกอย่างคือ มูลค่าเชิงพาณิชย์ไม่ได้อยู่ที่ซอร์ส หรือบริการของตัวซอฟต์แวร์ แต่ไปอยู่ที่ rules ในการตรวจจับการบุกรุก .. ส่วนนึง Sourcefire ได้รวมกฏให้ฟรีใน Snort (GPL) อยู่แล้ว แต่ก็มีการทำธุรกิจของ rules ที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูงๆ ด้วย และผู้ใช้หลายๆ คนก็ได้ซื้อหา rules เหล่านี้มาใช้เป็นเรื่องเป็นราวอยู่พอสมควร หากผู้ใช้ยังยินดีจ่ายเพื่อซื้อ rules เหล่านี้ การจะเปลี่ยนจาก Sourcefire เป็น Check Point คงไม่ทำให้รู้สึกอะไร กรณีของ Check Point/Sourcefire เลยผลกระทบค่อนข้างเบากว่า Oracle/Innobase

เรื่องที่สาม Nessus เลิก GPL และหันไปเลือกวิธีการพัฒนาแบบปิดรหัสต้นฉบับแทน เหตุผลก็คือ Nessus มีชุมชนที่ร่วมพัฒนาเล็กมากและประสบความล้มเหลวในการหานักพัฒนามาช่วยกันทำ nessus และบริษัทเองมีไอเดียว่า หากทำเป็น GPL แล้วทำธุรกิจได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย (เพราะทุกคนเข้าถึงรหัสได้ฟรี/เสรี) แถมผู้ร่วมพัฒนาจากภายนอกก็แทบจะไม่มี ก็ไม่มีเหตุผลที่จะคง GPL ไว้ ปิดรหัสแล้วขายเชิงพาณิชย์ไปเลยดีกว่า ..

สรุป จะเห็นว่าภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สไม่ได้มีเพียงแค่ FUDs เหมือนแต่ก่อนแล้ว การเข้าซื้อกิจการก็เริ่มเป็นมุกที่เล่นกันบ่อยขึ้น ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีศูนย์กลางที่ชุมชนนักพัฒนา หากชุมชนเล็ก อ่อนแอและยังต้องพึ่งพา source maintainer ที่เป็นบริษัทมากๆ (อย่าง Innobase, Nessus) การเข้าซื้อกิจการก็จะส่งผลกระทบค่อนข้างแรง โอกาสที่การพัฒนารหัสเสรีจะหยุดชะงัก หรือหยุดไปอย่างถาวรก็มีสูง ..

แต่ในแง่ดี เรื่องนี้น่าจะพอตอบคำถามเรื่องคุณภาพของซอฟต์แวร์เสรีได้ว่ามันดีถึงขนาดที่บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Oracle หรือ Check Point เริ่มหนาวๆ ร้อนๆ ได้เหมือนกัน :)

The Man Who Loved Only Numbers

ภาษาไทยในชื่อ ‘ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข’ .. เรื่องของ พอล แอร์ดิช (Paul Erdos) นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ที่มีคำเปรียบกันว่า หากวงการฟิสิกส์มีไอน์สไตน์ วงการคณิตศาสตร์ก็มีแอร์ดิช ..แอร์ดิชมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เกือบๆ พันห้าร้อยชิ้น วงการคณิตศาสตร์ยกย่องอัจฉริยภาพของแอร์ดิชอย่างมากถึงกับจัดให้มีเลขแอร์ดิช โดยมีนิยามว่า แอร์ดิช 1 คือผู้ที่ทำงานร่วมกับแอร์ดิชโดยตรง แอร์ดิช 2 คือร่วมงานกับผู้ร่วมงานของแอร์ดิช and so on ราวกับว่าแอร์ดิชคือศูนย์กลางของคณิตศาสตร์ในยุคนี้เลยทีเดียว

หนังสือเริ่มด้วยการกล่าวถึงความเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และตัวตนของแอร์ดิช แล้วค่อยๆ กระจายออกไปสู่คนคนรอบตัว และเพื่อนร่วมงานของแอร์ดิช แทรกด้วยปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่สนุกๆ และยิ่งใหญ่ซึ่งมักจะพูดถึงที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ อ่านแล้วจะได้พบกับชื่อที่คุ้นเคยจำนวนมาก ตั้งแต่นักคณิตศาสตร์สมัยก่อนอย่าง ยูคลิด, เฟอร์มาต์, ออยเลอร์, เกาส์, เชบีเชฟ จนถึงยุคคาบเกี่ยวกับแอร์ดิชอย่าง ก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้, ศรินิวาสา รามานุจัน, จอห์น แนช รวมไปถึงวงการอื่นๆ เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ริชาร์ด เฟย์นแมน, จอห์น วอน นอยแมนน์, คาร์ล เซแกน และรุ่นหลังๆ อย่าง เค็น ริเบ็ต ผู้ปูทางให้กับ แอนดรูว์ ไวลส์ ในการพิสูจน์ Fermat’s Last Theorem

ในหนังสือเล่มนี้บอกไว้ด้วยว่า ‘Algorithm’ เป็นคำที่เกิดมาจากชื่อ Abu Abdullah Muhammad bin Musa al-Khwarizmi นักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซียที่มีชีวิตประมาณช่วง ค.ศ. 700-800 .. ผมว่าคนที่เรียนคอมพิวเตอร์ 99 ใน 100 คน ไม่รู้ที่มาของคำนี้ :P

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วนึกถึง P’Thep .. ท่านพี่ต้องชอบแน่ๆ :)

Canon EOS Kiss Digital N

น้องสาวเพิ่งซื้อกล้องดิจิทัลใหม่ Canon EOS Kiss Digital N .. บอกชื่อนี้ไปหลายคนไม่รู้จัก เพราะบ้านเราทำตลาดในชื่อ Canon EOS 350D (ยุโรป อเมริกา = Rebel XT) .. เป็น DSLR ที่เล็กกระทัดรัดดี ยืมมาบันทึกภาพรอบๆ บ้าน .. ได้ mini gallery มาให้ดู

[nggallery id=47]

Breezin’ Breezy

เพิ่งจะได้ลง Ubuntu 5.10 Breezy Badger วันนี้ โดยรวมก็น่าใช้ดี.. GNOME/GTK+ ที่ย้ายมาใช้ Cairo นี่ไม่ได้รู้สึกว่าช้าลงอย่างที่หลายคนกลัว .. Evolution 2.4 สนับสนุน inline pgp signature/encryption แล้ว :D … อื่นๆ ก็ไม่ค่อยรู้สึกว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เพราะที่ใช้ Hoary อยู่ก็ backport จาก Breezy มาซะหลายตัวแล้ว :P แต่สำหรับคนที่ใช้ Hoary เดิมๆ อัปเกรดมาเป็น Breezy ก็คงจะเห็นความแตกต่างอยู่บ้างกับซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ๆ รวมถึงการใช้งานที่อยู่กะร่องกะรอย เป็นระเบียบมากขึ้น

พอติดตั้งใช้งานแล้วก็เลยถือโอกาส build package + จัดระเบียบ repository ซะเลย .. คาดว่าจะคงโครงสร้างนี้ไปอีกนาน .. สำหรับ repository ของ ubuntu ที่ kitty.in.th maintain จะแยกเป็นสอง dists คือ ‘hoary’ กับ ‘breezy’:

ใครยังใช้ Hoary Hedgehog อยู่ให้ใช้

deb ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty hoary unstable

ส่วนใครที่ใช้ Breezy Badger แล้วก็

deb ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty breezy unstable

นับจากวันนี้ kitty.in.th จะไม่ update package ของ Hoary แล้วนะครับ .. ส่วน Breezy คงจะ update ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะอัปเกรดเป็น Ubuntu 6.04 The Dapper Drake ในเดือนเมษายนปีหน้า :) ..

อ่อ .. GPG Key สำหรับ kitty.in.th โหลดได้ที่ ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty/kitty.in.th.gpg ใช้ได้ทั้ง hoary และ breezy ครับ

Travelers !

ช่วงนี้ชีพจรลงเท้า เดินทางกระหน่ำมาก เข้า กทม. เกือบทุกอาทิตย์ .. ช่วงนี้คงได้ดองเค็ม blog สักพัก :P

เอางานเขียนเก่าๆ มาขัดตาทัพก่อนละกัน

  1. e-paper: กระดาษยุคดิจิทัล
  2. อินเทอร์เน็ตกับความเป็นส่วนตัว
  3. ลิฟต์ – พาหนะสู่อวกาศ

GDictThai 0.0.2 คาดว่าจะออกต้นเดือนหน้า :P

ความเสียหายหลังไปงานหนังสือ

เรียงลำดับความเสียหายตามนี้ …

  1. หลง
  2. กลลวง
  3. สุขสันต์วันฆาตกรรม
  4. คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 3 บทเพลงปิศาจ
  5. มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ ตอน นิทรรศการฆาตกรรม
  6. ซายากะ สาวน้อยยอดนักสืบ ตอน กระเป๋าสะพายใบเล็กสีเขียวอ่อน
  7. ซายากะ สาวน้อยยอดนักสืบ ตอน สีฟ้าบนผืนผ้าใบ
  8. เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ
  9. ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข
  10. อาร์ทิมิส ฟาวล์ ตอน โอปอลตลบหลัง
  11. จันทราปฏิวัติ

รวม 2,025 บาท โหะๆๆๆ …

ประกาศ ใครยืมชุดริง (4 เล่ม) ชุดอาร์ทิมิส ฟาล์ว (3 เล่ม) และ อย่าบอกใคร ส่งคืนด้วยนะ T_T

GDictThai 0.0.1

GDictThai 0.0.1 เขียนเลียนแบบ KDictThai ของท่าน donga .. ดาวน์โหลดได้ที่นี่

 

ก็เพิ่งได้เขียน GTK+ apps ครั้งแรกก็หนนี้แหละ (ที่ผ่านมาแฮ็คโค้ดชาวบ้านตลอด) รุ่นนี้การแสดงผลยังไม่ค่อยสวย ทนๆ ใช้ไปก่อน .. เอาไว้รุ่นหน้าจะปรับปรุงการแสดงผล พร้อมกับย้ายไปใช ้libglade :P

comments | bug reports ส่งไปยัง kitty at kitty dot in dot th เน้อะ

Back Focus !

คาใจมาตั้งนานแล้วว่า D70 ที่ใช้มันโฟกัสไปด้านหลังของจุดโฟกัสนิดหน่อย เรียกอาการนี้ว่า back focus ซึ่งมีข่าวมาว่า D70 มีอาการนี้เป็นจำนวนพอสมควร เคยลองทดสอบเมื่อต้นปีไปแล้วหนนึง แล้วก็พบว่ามัน back focus นิดหน่อย วันนี้เลยตัดสินใจปรับระบบ AF เอง ดูว่าจะดีขึ้นหรือเปล่า

ก่อนอื่นโหลด focus test chart มาก่อน (google & download ได้ทั่วไป) ถ่ายภาพทำมุม 45 องศากับ chart โดยโฟกัสที่เส้นโฟกัส ถ้าภาพที่ได้มีเส้นโฟกัสคมชัดก็แสดงว่า AF ทำงานได้ดีแล้ว ไม่ต้องปรับ หากเส้นโฟกัสเบลอ แล้วไปชัดที่ระยะอื่น แสดงว่า AF โฟกัสไม่ค่อยตรง ก็ค่อยมาตั้ง AF กัน ..

สำหรับ Nikon D70 วิธีตั้ง AF แบบนอกตำราช่างคือ ปิดสวิตช์กล้อง ถอดเลนส์ออก หันหน้ากล้องเข้าหาตัวแล้วกระดกกระจกขึ้น จะมองเห็นน็อตเล็กๆ สองตัวอยู่ทางขวามือ ด้านหน้าอยู่ต่ำๆ หนึ่งตัว และด้านหลังอยู่ใกล้ๆ ม่านชัตเตอร์อีกหนึ่งตัว น็อตตัวที่อยู่ใกล้ม่านชัตเตอร์เป็นตัวปรับระยะ AF วิธีปรับให้เอาหกเหลี่ยมขนาด 2mm หมุนเพื่อปรับระยะโฟกัส ถ้าหมุนตามเข็ม จะเป็นการปรับโฟกัสให้ขยับมาด้านหน้า และถ้าหมุนทวนเข็มจะปรับระยะโฟกัสไปด้านหลัง ค่อยๆ หมุนแล้วประกอบเลนส์บันทึกภาพทดสอบกับ focus test chart ดูไปเรื่อยๆ

การบันทึกภาพทดสอบให้ใช้ขาตั้งกล้อง + remote หรือไม่ก็ตั้งเวลาถ่ายภาพเอา กล้องจะได้ไม่สั่น ปรับหน้ากล้องให้กว้างสุด (F ต่ำสุด) และให้อยู่ใกล้วัตถุที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ที่ AF จะทำงาน ถ้ามีเลนส์หลายตัว ให้ทดสอบดูทุกตัว

สุดท้ายละ .. งานนี้ต้องการพื้นที่ทำงานที่สะอาด แนะนำว่าหาถุงมือ latex มาใส่จะได้ไม่มีฝุ่น ข้อมูลเรื่องนี้จากบางเว็บแนะนำให้ใช้ CCD cleaning mode เพื่อกระดกกระจกค้างไว้ ผมว่าไม่ค่อยปลอดภัย เพราะฝุ่นผงอาจจะหลุดไปติดที่ CCD ได้ หรือเกิดหกเหลี่ยมไปกระทบหน้า CCD คงจะดูไม่จืด .. และการปรับถึงจะดูเหมือนง่าย แต่ถ้าไม่มั่นใจ ยังอยู่ในระยะประกัน และยอมเสียเวลาไปศูนย์ฯ ที่สีลมได้ ก็ถือกล้องไปดีกว่านะ :P