Acer Aspire One D150

หลังจาก topcase ของ Macbook แตกไปสองครั้ง อาการยอดฮิตของ Macbook อีกอย่างก็เกิดขึ้นจนได้ .. แบตเตอรี่บวม .. มันก็บวมมาได้พักใหญ่แล้ว แต่อาการมันหนักเมื่อช่วงอากาศร้อน แบตมันดัน touchpad จนกดแทบไม่ได้ .. ถึงขั้นนี้ประมาทไปอาจตายเพราะแบตระเบิดได้ .. ว่าแล้วก็ไปหาซื้อแบต เผื่อจะฟลุก แต่ก็เป็นไปตามคาด มันไม่มีขายตามร้านทั่วไป หรือแม้แต่ร้าน iStudio ของ Apple .. ต้องส่ง MCC ที่ กทม. โน่นน .. งั้นตูไม่รอแล้ว ว่าจะซื้อ netbook มาใช้ ก็ได้โอกาสซะที .. กะจะสอย Lenovo S10 ก็ดันหายไปจากหน้าร้าน .. HP Mininote 1000 ก็ดูก๊องๆ แก๊งๆ บอกไม่ถูก .. เดินมาเจอ Aspire One D150 วางขายแล้ว เฮ่ย มาเร็วจัง .. ลองจิ้มๆ ทดสอบบน MS Windows XP (preloaded) .. อืมม ราคาสด + up RAM เป็น 2 GB ก็ 17k นิดๆ .. ซื้อโลด :P

มาถึงบ้าน ย้าย HDD ของ Macbook มาเสียบ AO D150 แทน .. บูต .. ใช้งานได้เสยยย ปรับนิดๆ หน่อยๆ ก็เข้าที่เข้าทางพร้อมเป็นเครื่องทำงานหลักแทน MacBook เลย .. ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากใช้ในการทำงานปกติ ก็ลองทดสอบโน่น นี่ นั่น ไปเรื่อย .. ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้างแต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต คือ cpufreq scaling ได้แค่ 800 MHz – 1.33 GHz ทั้งที่ Atom N280 ทำงานได้สุดที่ 1.66 GHz .. อันนี้พอมีทางแก้แล้ว (e.g. ทำ custom DSDT) แต่เรื่องนี้รอได้ คาดว่าหลังจากนี้คงมีคนแก้ให้ :P

ถ้าไม่นับเรื่อง cpufreq scaling ก็แทบไม่เจอปัญหาอะไร .. ที่คาดไม่ถึงคือ ลองเอา mplayer เปิด Big Buck Bunny กับ Elephant’s Dream ที่ 1080p (เน้น! 1080p!) เล่นได้ ไม่มีกระตุก .. ตะลึงไหมล่ะนั่น ! .. เรื่องนี้ หลักๆ มันอยู่ที่ video CODECs กับ display driver นะ .. ตัวไหนเป็นคอขวดก็ playback ไม่ออก มันถึงได้มีการจับคู่ Atom + GN40 หรือ NVIDIA Ion ออกมา .. อย่าง Big Buck Bunny / Elephant’s Dream มันใช้ MPEG-4 FFmpeg มันไม่กิน CPU มาก + GMA950 ก็ playback ไหว ก็เล่นได้สบาย .. แต่ถ้าเป็น H.264 นี่เอาแค่ 720p ก็ต้องจูน mplayer กันหน้ามืด กระนั้น บางไฟล์ก็เล่นได้ บางไฟล์ก็กระตุกจนดูไม่ได้ .. รายละเอียด เรื่องการปรับแต่ง .. ค่อยว่ากันวันหลังเน้อะ :P

UTC+7 UNIX Time = 1234567890 @ St. Valentine’s Day

วันก่อนสอนหนังสือเห็นเลข UNIX time ใกล้จะวินาทีที่ 1234567890 แล้ว กำลังจะหาว่าเมื่อไหร่ ก็เห็นใน http://tech.slashdot.org/article.pl?sid=09/02/08/2043206 พูดถึงพอดี สรุปว่า UNIX time = 1234567890 ในวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 23:31:30 UTC

สำหรับ timezone บ้านเรา UTC+7 จะตรงกับ วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 06:31:30 :)

Cross Processing Script-Fu for GIMP 2.6

เขียน Cross Processing โดยใช้เทคนิคปรับ curve แบบเดียวกันกับหลายๆ ที่เขาใช้

ลอง mouse over เทียบกับต้นฉบับดู (รอโหลดนิดนึง)

สนใจใช้งาน ดาวน์โหลด kitty.in.th – cross processing เอาไปลงใน ~/.gimp-2.6/scripts/ จะปรากฎเมนูใน Filters -> kitty.in.th -> Cross Processing :)

Arietta & Codetta

สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอีกครั้งที่ได้คุยเรื่องการแสดงผล สระอำ ที่ยังมีปัญหาบน OO.o 3.0 สำหรับคนที่ใช้ฟอนต์ TTF ของวินโดว์ส ในขณะที่ฟอนต์ของลินุกซ์แสดงได้ไม่มีปัญหา แล้วก็เกิดบรรเจิดว่า ถ้าแก้ OO.o 3.0 ไม่ได้ ตูก็แก้ฟอนต์ซะก็สิ้นเรื่อง :P .. ว่าแล้วก็เริ่มทดสอบกับ Cordia New เอา FontForge เขียน GSUB แยก สระอำ เป็น นิคหิต กับ สระอา … เกิดมาก็เพิ่งได้ใช้ FontForge นี่แหละ ! .. งมไปงมมาพักใหญ่ ได้ผล ! ตัดคำถูกแล้ว :D .. ฟอนต์รุ่นนี้อาจจะมีบางคนได้เห็นในชื่อ Cordia Newer :P

แต่ ! ก็เกิดปัญหาต่อมาคือ วรรณยุกต์ลอย (อาจจะเป็นเพราะ FontForge มันอ่านมาไม่ได้) .. งั้นยำ Umpush กับ Cordia New เลยดีกว่า ก๊อปปี้ glyph ของ Cordia ไปใส่ตาราง Umpush .. rename glyph ให้ถูกกับที่ต้องใช้ใน GSUB ของ Umpush … ก็เป็นว่า วรรณยุกต์อยู่ในตำแหน่ง .. ทั้งหมดนี้แจกไม่ได้ .. จริงๆ แล้ว Cordia Newer ก็ไม่ควรจะเกิด เพราะมัน(อาจ)ละเมิดลิขสิทธิ์ฟอนต์ และ EULA ของ Microsoft .. หลังจากทดลองเสร็จเลยลบทิ้งหมด

ในเวลาเดียวกัน .. คุยกับพี่เทพได้ความว่า Cordia กับ Angsana เขาให้ใช้ฟรีแล้ว .. แต่ต้นฉบับกับพี่เทพหายไปพร้อมฮาร์ดดิสก์ .. ไปถามเอากับ Mr.Choke ได้มาเป็น TTF ที่ distribute ใน TLE 9.0 ทดลองยำไปๆ มาๆ … ก่อนจะมาเริ่มต้นทำจริงๆ จังๆ วันนี้นี่เอง ได้เป็นฟอนต์ Arietta และ Codetta ซึ่งใช้ glyphs ของ Angsana และ Cordia ตามลำดับ ทั้งสองฟอนต์ import GSUB และ GPOS ของ Umpush มาใช้ + ปรับ Anchor สำหรับสระ และวรรณยุกต์นิดหน่อย

ดูผลได้

คำว่า “แนะนำลินุกซ์” เป็นคำที่ผมใช้ทดสอบสระอำว่าทำให้สระ/วรรณยุกต์ บน/ล่างที่ตามมาแสดงผลผิดหรือเปล่า ส่วน “วิญญูมุ่งรู้พิฆาตปื้นขี้ฝุ่นเลษฏุ” ได้มาจากพี่เทพสำหรับดูตำแหน่งของสระ/วรรณยุกต์ บน/ล่างในกรณีพิเศษๆ

เพิ่มเติม  Codetta แสดงผล pangram ภาษาไทย | Arietta และ Codetta (Regular, Italic, Bold, Bold-Italic) PDF

ฟอนต์ทั้งสองดาวน์โหลดได้ที่ ftp://ftp.kitty.in.th/pub/sources/fonts/ ไฟลที่ไม่มี -ttf จะมีทั้ง *.sfd และ *.ttf ไฟล์ที่มี -ttf จะมีเฉพาะ *.ttf

ถ้าต้องการใช้แทนฟอนต์ของวินโดว์ส แก้ ~/.fonts.conf นิดหน่อย โดยเติมข้างล่างนี้เข้าไป

<!-- Synthesize Windows AngsanaUPC and Angsana New with Arietta -->
<match target="pattern">
    <test qual="any" name="family" mode="eq">
        <string>AngsanaUPC</string>
        <string>Angsana New</string>
    </test>
    <edit name="family" mode="assign" binding="same">
        <string>Arietta</string>
    </edit>
</match>
<!-- Synthesize Windows CordiaUPC and Cordia New with Codetta -->
<match target="pattern">
    <test qual="any" name="family" mode="eq">
        <string>CordiaUPC</string>
        <string>Cordia New</string>
    </test>
    <edit name="family" mode="assign" binding="same">
        <string>Codetta</string>
    </edit>
</match>

ข้อจำกัดของทั้ง Arietta และ Codetta คือมี glyphs เฉพาะอักขระไทยเท่านั้น เพราะต้นฉบับ Angsana และ Cordia มีเฉพาะ glyphs ไทย .. อย่างที่สองคือ hint มันจะไม่สวยเท่าไหร่ เข้าใจว่าต้นฉบับ Angsana/Cordia ใช้ hints คนละแบบกับตระกูล UPC/New ในไมโครซอฟต์ (ติดลิขสิทธิ์ของ hints ?)

สุดท้าย .. Arietta และ Codetta เป็นศัพท์ทางดนตรี :P

Thanks: พี่เทพ & Mr.Choke