DNS Flag Day

Background
0. อินเทอร์เน็ตอาศัยเลข IP address ในการระบุที่อยู่ของ devices ที่เชื่อมต่อกัน แต่มนุษย์จำเลข IP address พวกนี้ไม่ได้หรอก จึงเกิด Domain Name System (DNS) เพื่อให้เราใช้ชื่อเครื่อง (hostname) ที่จำได้ง่ายกว่า แทน IP address ได้ โดย DNS จะไปหา (resolve) มาให้ว่า hostname นี้ใช้ IP address อะไร

1. บริการของ DNS ทำผ่าน name servers ซึ่งมีกระจายทั่วโลก คอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตเกือบทั้งหมดจะได้รับการกำหนดค่า name server(s) เสมอเพื่อจะได้ถามหา IP address ของ hostname ที่ผู้ใช้จะเชื่อมต่อได้ถูก

Problems
2. มันควรเป็นปกติสุข จนระบบ DNS มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ (ตอนนี้ RFC เกี่ยวกับ DNS เป็นร้อยฉบับแล้ว) มีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ name server บางตัวก็ใช้ software ที่ทำงานได้ไม่ครบ บางตัวก็เหมือนจะครบแต่ไม่ compliance ทั้งหมด

3. เพื่อให้ทำงานได้ปกติสุข มี dev ของ software / providers ยอมทำ workaround เพื่อให้ทำงานกับ software ที่ไม่ comply ตามมาตรฐาน .. มันก็ทำงานได้ user ก็ happy แต่มันทำให้ resolve ช้ากว่าที่ควรจะเป็น และพัฒนา software ไปข้างหน้ายากขึ้นเรื่อย ๆ

4. workaround ไม่ได้เกิดครั้งสองครั้งแต่มันทับถมมาเรื่อย ๆ เป็น case by case จนถึงจุดที่แบกต่อไม่ไหว เลยตกลงว่า วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 software / providers ที่ทำ workaround ไว้ จะเอา workaround ออกหมด ใครยังไม่ comply ก็จะโดนเท เรียกว่า DNS Flag Day

DNS Flag Day
5. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป ถ้า hostname ของ domain ไหนไปอยู่กับ name servers ที่ไม่ comply ตาม EDNS จะมีผลกระทบถึงขั้น resolve จาก hostname เป็น IP address ไม่ได้ เสมือนกับว่า hostname นั้นหรือ domain นั้นไม่มีอยู่บนโลกนี้ เรียกง่าย ๆ ว่าเหมือนถูกตัดขาดจากอินเทอร์เน็ต

6. ผู้ดูแลระบบ DNS/name servers จำนวนหนึ่งทราบเรื่องนี้มากันตั้งแต่ปีที่แล้ว และพยายามแจ้งข่าวกันเรื่อย ๆ เพื่อช่วยกันตรวจสอบและแก้ไข name servers ในการดูแลของตัวเองให้ระบบ comply กับ EDNS ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562

7. ตรวจสอบ EDNS compliance ได้ที่ https://ednscomp.isc.org/ednscomp ถ้า All OK ก็รอด