เกือบครบเดือนแล้วที่ลินุกซ์ทะเล 4.1 ออกวางให้ดาวน์โหลด ก็คงจะมีหลายคนที่ได้ลองใช้กันบ้าง สำหรับตัวผมเองก็ใช้มาพักใหญ่ๆ เป็นโอกาสดีที่จะได้เขียนรีวิวดูซักรอบ.. งานนี้ก็เป็นรีวิวสไตล์ e-mag ละครับ มีชมมีบ่นปนๆ กันไป .. ใครที่ยังไม่แน่ใจกับทะเล 4.1 หรือลินุกซ์ตัวอื่นๆ ลองอ่านดูอาจจะพอช่วยในการตัดสินใจได้บ้าง .. อ่อ.. ทั้งหมดนี่เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ .. อันไหนจริง อันไหนเท็จ อันไหน bias อันไหนเชื่อไม่ได้ก็ติดสินใจกันเอาเองละกันครับ :P
พาน้องโน๊ตลงทะเล
อะ ฮ้า..น้องโน๊ตที่ว่านี่ไม่ใช่ โน๊ต-ตูน หรือโน๊ตที่ไหนนะครับ โน๊ตที่ว่านี่คือโน๊ตบุ๊ค เครื่องที่ใช้งานอยู่ทุกวันๆ นี่ละครับ..และทะเลที่ว่าไม่ใช่แถวๆ พัทยา บางแสน หรืออ่าวไทยแต่ประการใด แต่ที่กำลังจะพูดถึงก็คือ Linux TLE 4.1 หรือ ลินุ๊กซ์ทะเล 4.1 นั่นล่ะ.. หลังจากทาง NECTEC เปิดให้ดาวน์โหลด เพื่อนผม (หนึ่งในทีมพัฒนาทะเล 4.1) ก็ icq มาบอกว่า mirror ให้หน่อยสิ.. ok ได้เลย.. ว่าแล้วก็สั่ง wget ทันที 2 sessions. …. 5 ชั่วโมงต่อมา ISO สองแผ่นของทะเล 4.1 ก็มานอนอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของ gear.kku.ac.th เป็นที่เรียบร้อย … พอหาเวลาว่างๆ ได้ก็จัดการเขียน ISO ลงซีดี .. ในใจก็ลังเลๆ จะลงดีมั้ยน้อ ไม่อยากแบ่งพาร์ติชันใหม่น่ะครับ .. แต่ก็ เอาวะ ลองดูซักตั้งเถอะน่า..
First Look
ทะเล 4.1 พัฒนามาจาก RedHat 7.2 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลินุกซ์ที่เหมาะจะติดตั้งเป็นเวิร์กสเตชั่นมากที่สุดตัว หนึ่ง .. RH7.2 ค่อนข้างสมบูรณ์ในด้านแพ็คเกจ และความง่ายในการใช้งาน ทะเล 4.1 ก็ได้อานิสงค์จุดนี้ไปด้วย .. สมัยนี้ติดตั้งลินุกซ์ง่ายพอๆ กับวินโดวส์นั่นล่ะครับ หน้าจอเป็นกราฟิค อินเตอร์เฟสสวยงาม ดูง่ายและ user-friendly ดี ภาษาไทยตอนติดตั้งอาจจะมีตัดคำผิดบ้างเล็กน้อย แต่น้อยจริงๆ พอให้อภัยได้ .. เอาเป็นว่าง่ายกว่าสมัยที่ผมลงลินุกซ์ครั้งแรกก็แล้วกัน (สมัยนั้นยังไม่มีเป็นซีดีเลย .. มาเป็น image แผ่นฟลอปปี้ดิสก์เกือบ 40 แผ่น ดาวน์โหลดกันเป็นเดือน ลงกันแต่ละทีนานเป็นชั่วโมงๆ .. ขอบอกๆ) .. เรื่องที่ยากที่สุดในการติดตั้งเห็นจะเป็นเรื่องพาร์ติชันครับ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้ต่างจากติดตั้งวินโดวส์ ถ้าลงในฮาร์ดดิสก์เปล่าๆ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรมากเพราะตัวติดตั้งมันจะจัดการเองอัตโนมัติ แต่ถ้าแบ่งพาร์ติชันไว้ก่อนแล้วก็อาจจะต้องระวังไม่ให้เผลอไปลบเท่านั้น .. file system ของ RH7.2/TLE4.1 โดย default จะเป็น Ext3 ซึ่งจะว่าไปก็คือ Ext2 + Journal File System นั่นเอง ระบบไฟล์จึงมีความปลอดภัยพอๆ กับ UFS ของ *BSD แต่ยังคงความ compatible กับ Ext2 อยู่ .. Boot Manager ติดตั้งคราวนี้ผมลองใช้ Grub แทน Lilo .. ส่วนที่ใช้เวลานานที่สุดในการติดตั้ง (สำหรับผม) คือตอนเลือก แพ็คเกจของซอฟต์แวร์ครับ.. โอ้โห มันเยอะแบบว่า เป็นพันๆ เลยมั้ง ..นั่งเลือกกันครึ่งชั่วโมงเลย .. ที่จริงผมก็หาเรื่องเองล่ะครับ เพราะถ้าเอาตาม default ที่เค้าเลือกมาให้แล้วก็จะติดตั้งเสร็จภายในเวลาไม่กี่สิบนาที .. การติดตั้งผ่านไป ก็ OK ครับ ง่ายและไม่สับสน ประทับใจระดับนึงทีเดียว .. พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ก็หมดไป 1.4 GB ได้มา 400 กว่าแพ็คเกจ แอพพลิเคชันเพียบครับ จนถึงวันนี้ยังไม่แน่ใจเลยว่าใช้ครบตามที่ตั้งใจเลือกไว้หรือยัง ^-^
เป็นทะเลก็ต้องเค็มกันบ้าง..
ติดตั้ง เป็นที่เรียบร้อยก็ต้องรีบูตกัน แล้วก็เป็นอย่างที่กะไว้คือ อะไรๆ ก็คงไม่ได้ใช้งานได้ทันทีเหมือนอย่างวินโดวส์ โดยเฉพาะขึ้นชื่อว่าเป็นลินุกซ์ก็จะมีปัญหาใหญ่ในเรื่องของ configuration ที่ต้องทำผ่าน command line เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าระยะหลังจะมีแพ็คเกจที่ช่วยจัดการ configuration ด้วย GUI แต่ถ้าเป็นรายละเอียดลึกๆ แล้วก็ต้องทำมือเหมือนเดิม ข้อด้อยอีกประการคือไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ บนลินุกซ์ยังมีไม่ครบครันเหมือนวินโดวส์ทำเอาหลายคนกล้าๆ กลัวๆ กับลินุกซ์อยู่ .. .. ไอ้เรื่อง configuration ผ่าน command line ผมเฉยๆ เพราะใช้ลินุกซ์มาจนชินแล้ว แต่เรื่องไดรเวอร์นี่สิที่ยังหวั่นๆ .. ไม่มีทางที่ลินุกซ์จะปล่อยให้ผ่านไปได้ง่ายๆ หรอกครับ เหอะๆๆ..
เริ่ม กันที่ไดรเวอร์การแสดงผลสำหรับ X Window system .. คือน้องโน๊ตของผมเนี่ย ใช้ชิพแสดงผลของ Silicon Motion ซึ่งยังไม่ popular เหมือน nVidia S3 ATI .. แต่ก็ยังใจชื้นเพราะ XFree86 เขียนใน document ไว้ชัดเจนว่า XFree86 4.1 + siliconmotion driver ใช้ได้ชัวร์ .. เอาเข้าจริงๆ สั่งรันแล้วมันแฮงค์ไปเลยครับ แบบต้อง cold boot เลยด้วย .. ผมลองเปลี่ยนมาใช้ XFree86 4.1 + XF86_SVGA ซึ่งเป็นไดรเวอร์ของ XFree86 3.3.6 ตัวเก่า .. อ๊ะ ใช้ได้ครับ แต่ว่า XFree 3.3.6 ขาด feature ในการแสดงผลหลายๆ อย่างทีมีใน XFree4.1 เช่น anti-aliasing .. ดีที่ silicon motion เป็น VESA 2.0 compatible ผมก็เลยใช้ XFree86 4.1 + vesa driver แทน ถึงจะทำงานช้ากว่า accelerated driver แต่ก็ต้องทนเอา .. เรื่องการแสดงผลของ X-Window ก็ผ่านไปได้.. และผมก็ใช้ X-Window และ GNOME ในที่สุด .. อ่อ. เกือบลืม งานนี้ผมติดตั้ง GNOME เป็น Desktop ใช้ Sawfish เป็น Window Manager ครับ .. เหตุผลก็คือ มันเล็กกว่า KDE ประมาณ 50 MB (..น้องโน๊ตเธอตัวเล็กครับ จุได้ไม่เยอะ..)
มาถึง soundcard กันบ้าง..น้องโน๊ตมี onboard sound ของ Yamaha OPL3 SAx ISA PnP ซึ่งตัว Yamaha OPL3 SAx นี่ลินุกซ์สนับสนุนมานานแล้ว แต่มันยุ่งๆ ก็ตรงที่เป็น ISA PnP นี่ล่ะ (ถ้าเป็น PCI ก็คงง่ายกว่านี้) .. บนลินุกซ์ก็มีแพ็คเกจสำหรับจัดการ ISA Plug-and-Play นะครับ ก็ติดตั้งไปแล้วปกติก็ควรจะใช้งานได้ แต่ต้องของน้องโน๊ตเธอพิเศษกว่าหน่อยตรงต้อง config เอง เพราะคำสั่ง sndconfig ที่เป็นตัวจัดการ configuration ของ soundcard อัตโนมัติมัน config ให้ไม่ถูก ก็ตามแก้กันอีก.. เครื่องอื่นๆ ไม่เห็นเป็นอย่างนี้เลย เฮ่อๆๆ ..
Network Adaptor อันนี้สำคัญมาก ถ้ามันใช้ไม่ได้ก็คงบอกลาลินุกซ์แน่ๆ .. น้องโน๊ตเธอใช้ Linksys Combo PCMCIA Ethernet Adaptor ซึ่งดูเหมือนจะยุ่งยากเพราะเป็น PCMCIA เป็นบัสที่มี Hotswap ฯลฯ .. แต่ที่จริงตรงกันข้ามเลยครับ ลินุกซ์สนับสนุน PCMCIA มานานหลายปีแล้ว เรื่องนี้จึงสบายหายห่วง แค่เสียบการ์ดเข้าไปก็ใช้งานได้ทันทีเลย ถ้าตั้งให้ใช้ DHCP อยู่แล้วก็ยิ่งง่ายเข้าไปอีก ไม่ต้อง config ซักแอะเดียวก็เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้ .. ส่วนพอร์ต USB, IrDA ที่กลัวว่าจะใช้ไม่ได้ กลับใช้งานได้ง่ายๆ เลยครับ ลองต่อกล้องดิจิตอลเข้ากับ USB ก็ mount เป็น external storage ได้เลย IrDA ก็คุยกับปาล์มได้ไม่มีปัญหา มีคนลองใช้กับมือถือรุ่นที่มี IrDA ก็ใช้ได้ ส่วนโมเด็มน้องโน๊ตมี built-in ตัวนึงเป็น winmodem ของ PCTel (HSP) ผมได้ยินว่ามันใช้งานบนลินุกซ์ได้แล้วโดยติดตั้ง PCTel Driver ลงไป แต่ก็ยังไม่ได้ลอง คาดว่าคงใช้ได้ (บนโฮมเพจของ http://www.linmodem.org เขาว่างั้น)
เอา ล่ะครับ..หมดเรื่องของฮาร์ดแวร์และ configuration แล้ว .. ลินุกซ์ก็รู้จักอุปกรณ์ทุกชิ้นของน้องโน๊ตเป็นที่เรียบร้อย .. ทีนี้ก็มาว่ากันในเรื่องแอพพลิเคชันกันบ้าง..
มีอะไรในทะเล ?
เริ่ม กันที่ภาษาไทยบนทะเล 4.1 ก่อนเลย อันนี้ต้องยอมรับว่าทำได้ดีครับ ใช้งานกับแอพพลิเคชันบน X-Window ได้อย่างไม่มีปัญหา และถือเป็นจุดดีของทะเล 4.1 ที่ติดตั้งภาษาไทยให้อัตโนมัติ เพราะถ้าเป็น distro อื่นๆ ก็ต้องหาดาวน์โหลดฟอนท์และ config ภาษาไทยทีหลัง แป้นสลับภาษาสามารถตั้งได้ตามต้องการ ใครคุ้นกับวินโดวส์ก็ตั้งให้เหมือนกับวินโดวส์ได้เลย มีตัวแสดงสถานะของภาษาไทย/อังกฤษ คนที่ยังกังวลเรื่องภาษาไทยก็สบายใจได้แล้วครับ
แอพพลิเคชันที่ผมจำเป็นต้องใช้ก็หาได้จากแผ่นติดตั้งเกือบทั้งหมดครับ ลองมาดูกันเป็นแนวทางสักหน่อยว่ามีอะไรกันบ้าง..
เริ่ม กันที่เวบเบราว์เซอร์ สำหรับ GNOME ก็มี Mozilla กับ Netscape 4.x ให้เลือก .. ผมก็เอา Mozilla มาใช้ เพราะใช้ที่น้อยกว่า (อีกแล้ว) และที่สำคัญคือสนับสนุน TIS-620 ซึ่งเป็น encoding มาตรฐานของภาษาไทย จุดเด่นของ Mozilla ยังมีอีกเยอะแต่ไปหาอ่านเอาเองละกันครับ ข้อเสียก็มีเหมือนกันคือมันช้าาา ผมก็เลยลองเอา Opera 5/6 for Linux มาใช้ .. อืมม Opera ยังเร็วสมคำร่ำลือครับ แต่หลังจากตั้ง option/preference ก็พบว่าหล่อนยังไม่สนับสนุน i18n (internationalization) .. ที่เป็นข้อเสียอีกอย่างของ Opera for Linux คือ widget ใหญโตเหลือเกิน กินพื้นที่แสดงเวบไปเยอะ (ต่างจากบนวินโดวส์มาก) แล้วยังมี ads. อีกต่างหาก …. อย่างนี้ก็ไม่ต้องคิดมาก rpm -e ไปซะ.. สุดท้ายผมก็ได้ใช้ Galeon เป็นเบราว์เซอร์ครับ … ที่จริง Galeon นี้เป็น official web browser ของ GNOME เลยล่ะ แต่ต้องติดตั้ง Mozilla ก่อนถึงจะใช้ได้เพราะ Galeon ใช้ Gecko engine ของ Mozilla เป็นตัว render เวบเพจ .. อินเตอร์เฟสสะอาดตาดีครับ และทำงานได้เร็วพอสมควร ยังไงก็เร็วกว่า Mozilla ล่ะนะ .. แสดงภาษาไทยได้ไม่มีปัญหา ตัดคำสวยไม่แพ้ IE บนวินโดวส์
ถัด มาก็คงจะเป็น ICQ ถือเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้วครับ .. ใช้ GNOME ก็ต้องเลือก GnomeICU เป็น ICQ client ใช้งานได้ดี ถึงจะมี feature ไม่ครบเหมือน ICQ บนวินโดวส์ แต่ผมใช้แค่รับส่งข้อความกับไฟล์เท่านั้นก็เลยไม่มีปัญหา เรื่องภาษาไทยก็ OK ครับ
มาดู e-mail client กันบ้าง.. ไม่รู้เป็นไร ผมหา e-mail client ที่ถูกใจไม่ได้เลย .. Mozilla Mail ก็ช้ามาก .. Balsa ที่เป็น official mail client ของ Gnome ก็ไม่ถูกใจ จะใช้ mail, pine, mutt ก็กระไรอยู่ สุดท้ายผมก็ไปเจอ mail client ชื่อ sylpheed ..อืมม ตัวนี้ใช้ได้ครับ หน้าตาและการใช้งานคล้าย Outlook Express ..
Office Suite งานนี้ก็คงไม่พ้น Pladao Office 1.0 ครับ ใช้ภาษาไทยสมบูรณ์ดีทีเดียว มีครบทั้ง word processor, spreadsheet, presentation, drawing, html editor ใช้งานร่วมกันได้ดี และใช้กับ GNOME ได้ด้วย (copy/paste กับ application ตัวอื่นใน GNOME ได้) .. เสียแต่ว่ามันช้าาาา และใช้หน่วยความจำแบบสุดๆ ไปเลย (บางจังหวะเขมือบไป 300 กว่าเม็ก…งงหล่อนจริงๆ).. ผมก็เลยได้แต่ลงทิ้งไว้แต่ไม่ได้เอามาใช้งานจริงๆ .. ก็กะไว้ใช้เฉพาะเวลาที่ต้อง share document กับคนอื่นๆ ที่ใช้ MS Office เท่านั้นเอง .. โปรแกรมด้านเอกสารที่ผมใช้จริงๆ ก็คือ latex + lyx เพราะ 90% ของเอกสารที่ผมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ และ latex เองก็เป็นมาตรฐานสำหรับเตรียม manuscripts อยู่แล้ว ส่วน spreadsheet ก็ใช้ gnumeric ตัวนี้มีฟังก์ชั่นของ Excel อยู่ถึง 95% อิมพอร์ตเอกสารของ Excel ได้ สร้างชาร์ตง่ายๆ ได้ด้วย Guppi ซึ่งเป็น component ที่ผนวกเข้ากับ gnumeric .. แต่ Guppi ตอนนี้ยังไม่เก่งครับ แรกๆ ผมพยายามใช้สร้างชาร์ต แต่สุดท้ายก็ยอมแพ้ เพราะ Guppi มันทำงานไม่ได้ดั่งใจ ก็เลยหันมาใช้ gnuplot แทน .. เจ้า gnuplot เป็นโปรแกรมวาดกราฟ/ชาร์ตสำหรับยูนิกซ์หลายๆ แพลตฟอร์มเรียกได้ว่าเป็น de facto ไปแล้ว และก็มีข้อดีที่เอาชาร์ตที่ได้ไปใช้งานกับ Latex ได้เลยด้วย
JDK 1.3 อันนี้ต้องดาวน์โหลดมาเอง พอได้ JDK ผมก็หา editor มาใช้เขียนโปรแกรม .. แรกๆ ก็ vi เลยครับ ใช้ๆ ไปเผลอกด shortcut ของ UtraEdit บ่อยเหลือเกิน เขียนโปรแกรมทีไรลืมตัวนึกว่าใช้ UltraEdit ซะทุกที ใช้ vi ท่าจะไม่เหมาะเสียแล้ว เลยต้องหา editor ที่คุ้นมือมาใช้ ที่ให้มากับทะเล 4.1 ก็จะมี gEdit, gnotepad+ ใช้บน GNOME แต่ที่เจ๋งสุดๆ คือ Nedit ครับ เป็น editor บน X-Window (ใช้ Lesstif library) ที่ดีมากๆ ตัวนึง very configurable ตั้ง options ได้มากพอๆ กับ UltraEdit/Edit Plus และยังใช้ Keyboard shortcut เหมือนวินโดวส์เกือบ 100% ใครใช้ editor บนวินโดวส์ในการเขียนโปรแกรมมาก่อนก็แทบไม่ต้องปรับตัวอะไรเลย .. editor อีกตัวที่ผมใช้อยู่ก็คือ ManyaPad ตัวนี้เล็กดี ผมเอาไว้ใช้แทน notepad .. เจ้า ManyaPad นี่ ผมตั้งฟอนต์เป็นภาษาไทยเอาไว้ กะเอาไว้ใช้กับ text file ทั้งไทยและอังกฤษ (ที่จริง Nedit ก็ใช้ได้ และใช้ได้ดีกว่าด้วย .. แต่ Nedit ผมตั้งฟอนต์เป็น Courier ซึ่งเหมาะเอาไว้เขียนโปรแกรม ก็เลยขี้เกียจตั้งฟอนต์กลับไปกลับมา)
งานกราฟฟิคแต่งภาพก็ไม่พ้น The GIMP ครับ .. ก็ Photoshop ดีๆ นี่เอง มี filter/plugins เยอะแยะครับ การใช้งาน เทคนิคต่างๆ ก็หาอ่านบนเวบได้ไม่ยาก ส่วนโปรแกรมวาดรูปแบบเวกเตอร์ก็มี Sodipodi กับ Sketch ทั้งสองตัวก็ใช้งานได้ดีทีเดียว ถึงจะไม่ดีเท่า Illustrator/FreeHand แต่ก็สร้างผลงานดีๆ ได้ไม่แพ้กัน งานวาด diagram ก็มี DIA ซึ่งใช้งานได้เหมือนๆ กับ VISIO .. picture viewer ก็มีหลายตัว ผมเลือก GQview ใช้ง่ายคล้ายๆ ACDSee ครับ
ดูหนังฟังเพลงล่ะ ?? (ขาดไม่ได้เลย..^-^) อันนี้ก็เป็นหน้าที่ของ Xine และ Xmms ตามลำดับครับ .. ใช้แทน PowerDVD และ WinAmp ได้สบายๆ
Zip ? .. อ่ะ ต้องบอกก่อนว่าส่วนใหญ่ลินุกซ์ ไม่ใช้ zip ครับ แต่ใช้ tar, gzip, bzip ซึ่งมีคำสั่ง command line อยู่แล้ว แต่ใครที่เกิดมาก็ใช้วินโดวส์ เลยคงรู้สึกว่าใช้ command line มันไม่สะดวก ก็ลง garchiver หรือ GuiTAR ไว้ได้ครับ ใช้ง่ายทั้งสองตัว
เกือบลืม เรื่องของไฟล์เบราว์เซอร์ไปเลย .. ปกติถ้าเลือกติดตั้ง GNOME จะได้ Nautilus มาด้วยครับ ตัวนี้จะเหมือน Windows Explorer ตรงที่รวมเวบเบราเซอร์และไฟล์เบราเซอร์ไว้ด้วยกัน อินเตอร์เฟสสวย ปรับแต่งหน้าตาได้พอสมควร แต่เพราะผมใช้ไดรเวอร์ VESA การทำงานก็เลยช้าๆ หน่วงๆ ผมเลยเอา Nautilus ออก แล้วก็หันไปใช้ GNOME (Midnight) Commander แทน .. GMC ทำหน้าที่เป็นไฟล์เบราเซอร์อย่างเดียวครับ แบบนี้ผมชอบมากกว่า เพราะปกติก็ไม่เคยใช้เวบเบราว์เซอร์ปนกับไฟล์เบราว์เซอร์อยู่แล้ว
สุดท้ายสำหรับคนที่ตัดวินโดวส์ไม่ขาด หรือจำเป็นต้องใช้โปรแกรมบนวินโดวส์บางตัว .. ก็ต้องใช้ Wine ล่ะครับ ไม่ใช่ไวน์ดื่มแล้วเมา (ไม่ขับ) นะครับ Wine ที่ว่านี่ย่อมาจาก Wine Is Not Emulator .. ^-^ ครับ เป็น package ที่ทำให้ใช้งาน Windows Application (บางตัว) บน X-Window ได้ wine จะจำลองรีจิสตรี ไดรว์ C: D: ฯลฯ รวมทั้งไดเรคทอรีของวินโดวส์ให้ด้วย โปรแกรมที่ไม่ต้องอาศัย DLL ส่วนใหญ่จะใช้งานผ่าน wine ได้ครับ ส่วนโปรแกรมที่ใช้ DLL ก็ต้องเสี่ยงกันเอาเอง .. แต่ถึงอย่างนั้นก็มีคนเล่น Starcraft, CS บน wine กันได้แล้ว …^-^
บ้านนี้ไม่มีหน้าต่าง .. แต่อยู่ติดทะเล
ความคิด แรกๆ ที่ติดตั้งทะเล 4.1 ผมกะว่าจะลองดูเฉยๆ ไม่ได้คิดจะใช้เป็นเรื่องเป็นราว แต่หลังจาก ปรับแต่งระบบ หาวิธีแก้โน่นปรับนี่ เลือกโปรแกรมที่ถูกใจมาใช้งาน ฯลฯ จนทุกอย่างลงตัวแล้ว ก็พบว่าผมไม่จำเป็นต้องใช้วินโดวส์เลย งานทุกอย่างผมทำบนลินุกซ์ทะเลได้หมด .. เวลานี้ผมย้ายบ้านมาอยู่ทะเลเสียแล้ว ฮาร์ดดิสก์ก็เต็มไปด้วยฟรีซอฟต์แวร์ .. ก็เหลือเพียงอย่างเดียวที่อาจต้องพึ่งวินโดวส์นั่นก็คือ .. เกมส์ ^^”
จะ ว่าไปแล้วบนลินุกซ์มีแอพพลิเคชันครบพอสมควรเลยนะครับ ผมยังไม่ได้พูดถึงอีกหลายตัวที่น่าสนใจ เช่น Octave ซึ่ง compatible และใช้แทน Matlab ได้ประมาณนึง หรือ Evolution ซึ่งเป็น PIM คล้ายๆ MS Outlook และเชื่อมกับ MS Exchange ได้ หรือจะเป็น Eclipse Roaster ซึ่งเป็น package สำหรับ burn CD
จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสลินุกซ์ตั้งแต่ Kernel 1.0.x มาจนถึงลินุกซ์ในวันนี้ ข้อด้อยของลินุกซ์ไม่ใช่เรื่องของที่แอพพลิเคชันอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นที่ไดรเวอร์และการปรับตั้งระบบอย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ แม้ว่าทุกวันนี้ ลินุกซ์สนับสนุนฮาร์ดแวร์เยอะกว่าแต่ก่อนมาก แต่ก็ยังเทียบวินโดวส์ไม่ได้ สังเกตได้ง่ายๆ ว่า เวลาไปดาวน์โหลดไดรเวอร์ตามเวบไซต์ผู้ผลิด เกือบจะ 100% จะมีแต่ไดรเวอร์สำหรับวินโดวส์ หากในอนาคตการจัดการฮาร์ดแวร์และปรับแต่งระบบทำได้ง่ายๆ หลายคนก็คงอุ่นใจและยินดีจะย้ายมาใช้ลินุกซ์มากกว่านี้ อีกจุดหนึ่งที่เป็นปัญหาเล็กๆ ก็คืออินเตอร์เฟสของโปรแกรมบน X-Window ค่อนข้างหลากหลาย แอพพลิเคชันบางอันใช้ GTK+ บางอันใช้ QT บางอันใช้ Lesstif บางอันวาด widget เอง .. หน้าตาของโปรแกรมบน X-Window และ keyboard shortcut ที่ binding ไว้จึงต่างกันไป ไม่ universal เหมือนวินโดวส์ จึงมีโอกาสสับสนได้เหมือนกัน
แต่โดยภาพรวมลินุกซ์ในวันนี้เป็นทาง เลือกที่ดีสำหรับใครก็ตามที่ต้องการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะทะเล 4.1 จะมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดก็คือเรื่องภาษาไทย และยังได้ความสมบูรณ์ของแอพพลิเคชันที่หลากหลายของ RH7.2 มาเสริมอีก ด้านการใช้งานทะเล 4.1 อาจเรียกได้ว่าเป็นลินุกซ์ไทยตัวแรกที่ง่ายพอสำหรับผู้ใช้ทั่วไปจะเอาไป ใช้งานได้ ใช้เวลาเรียนรู้น้อยกว่าแต่ก่อนเยอะ อินเตอร์เฟสก็ user-friendly มากขึ้น ทีมสนับสนุนก็มี ชุมชนออนไลน์สำหรับปรึกษาถามตอบปัญหาก็มี ผู้รู้ที่ใจกว้างมีเยอะพอสมควร สบายใจได้ว่ามีที่พึ่งแน่ .. ใครที่ยังลังเลๆ ว่าจะใช้ลินุกซ์ดีหรือเปล่า ..หรือไม่รู้จะเลือกใช้ distro ไหนดี.. ลองตัดสินใจเริ่มต้นกับทะเล 4.1 .. คุณอาจจะกลายมาเป็นชาวเลฯ แบบผมอีกคน.. :)