apt-cacher

ใช้ apt-proxy มานาน เพิ่งจะเจอปัญหาหลังจากอัปเกรดเป็น edgy .. แก้ยังไงก็ไม่ดีขึ้น อาการก็แปลกๆ ที่โดน reset connection เกือบจะทุกครั้งที่มันพยายามจะโหลดข้อมูลจาก repositories .. ระยะนี้ก็เลยหาทางเลือกอื่นๆ ..

อันแรกคือ apt-move .. ลองใช้อยู่วันนึงก็พบว่ามันไม่ค่อยได้อย่างที่ต้องการ พยายามแยก dist แยก repo ก็ไม่สำเร็จ .. อันนี้ปัญหาใหญ่เลย เพราะที่ใช้อยู่มันมีทั้ง edgy, edgy-updates, edgy-security, wine, beryl, etc.. เลยโละทิ้งอีก

วันนี้ลอง apt-cacher .. เออ เข้าท่าแฮะ .. สวมรอย apt-proxy ได้เลย ว่าแล้วก็ aptitude purge apt-proxy ไปซะ .. คอนฟิก apt-cacher ก็ไม่ได้ยากอะไร แก้ไฟล์ /etc/apt-cacher/apt-cacher.conf ไม่กี่บรรทัด

daemon_port=9999

พอร์ต default เป็น 3142 .. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนก็ได้ .. แต่ที่เปลี่ยนเป็น 9999 เพื่อจะสวมรอย apt-proxy ไปเลย ไม่ต้องตามแก้ sources.list เครื่อง clients เกือบๆ โหล .. แล้วก็ตั้ง mapping ตาม repo ที่จะcache ตามนี้

path_map = ubuntu th.archive.ubuntu.com/ubuntu ;
           ubuntu-security th.archive.ubuntu.com/security ;
           wine wine.budgetdedicated.com/apt ;
           beryl ubuntu.beryl-project.org/

สุดท้าย แก้ AUTOSTART ใน /etc/default/apt-cacher จะได้รัน apt-cacher อัตโนมัติตอนบูตเครื่่อง

AUTOSTART=1

ใครอยู่ใกล้ มข. อาจจะมาใช้ cache ด้วยกัน จะได้โหลด package ได้เร็วขึ้นโดยแก้หรือเพิ่มเติม /etc/apt/sources.list ตามนี้

# ubuntu
deb http://belldandy.kitty.in.th:9999/ubuntu/ edgy main restricted  ...
deb http://belldandy.kitty.in.th:9999/ubuntu/ edgy-updates main ...
deb http://belldandy.kitty.in.th:9999/ubuntu-security/ edgy-security main ...

# wine - from budgetdedicated.com
deb http://belldandy.kitty.in.th:9999/wine/ edgy main

# beryl - from beryl-project.org
deb http://belldandy.kitty.in.th:9999/beryl/ edgy main

/me ..

# aptitude --purge-unused purge apt-proxy apt-move

— edited — ลืมแก้ hostname (- -‘)

The Jazz King

เพื่อนส่งซีดี The Jazz King มาให้ในวันปีใหม่ ถูกใจหลายๆ

แผ่น The Jazz King ประกอบด้วยเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 9 เพลง ได้แก่ อาทิตย์อับแสง แสงเทียน ชะตาชีวิต ยามเย็น ค่ำแล้ว แสงเดือน ไกลกังวล ดวงใจกับความรัก และ แก้วตาขวัญใจ ทุกเพลงได้รับการเรียบเรียงใหม่โดย ลาร์รี คาร์ลตัน บรรเลงโดย ศิลปินแจ๊สแนวหน้าหลายคน อาทิ แลร์รี คาร์ลตัน (กีต้าร์) เนธาน อีสต์ (เบส) ฮาร์วี เมสัน (กลอง) ทอม สก็อต (แซ็กโซโฟน) เจฟ เบ็บโก้ (คีย์บอร์ด) .. มี เอิร์ล คลูห์ (กีต้าร์) มาแจมหนึ่งเพลง .. มิเชลล์ พิลลาร์ มาขับร้องเพลงค่ำแล้วเวอร์ชันภาษาอังกฤษ และปิดท้ายด้วยเพลง Celebration ประพันธ์ขึ้นมาใหม่โดย แลร์รี คาร์ลตัน ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ภาพรวมทั้งอัลบั้มอาจจะเป็นแจ๊สที่ติดบลูส์สักหน่อยตามต้นฉบับเพลงพระราชนิพนธ์ที่นำมาเรียบเรียงใหม่ ประกอบกับเป็น แลร์รี คาร์ลตัน เข้าไปอีก แต่ไม่ใช่ว่าจะใส่บลูส์ลูกเดียว สำเนียงแจ๊สแนวอื่นๆ ก็ปรากฏเจืออยู่ด้วย .. ถ้าไม่ยึดติดกับบริบทเดิม ชอบสไตล์ แลร์รี คาร์ลตัน อยู่แล้วก็น่าจะชอบอัลบั้มนี้ได้ไม่ยาก ..

/me อัลบั้มนี้ชอบเพลง แสงเทียน ยามเย็น กับ ไกลกังวล …โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง :D

โป้งแปะกะเค้าด้วย (- -‘)

lulu โป้งแปะมา .. เล่นด้วยก็ได้ :P

  1. ในห้อง #tlwg ใช้ชื่อ peorth มีที่มาจากการ์ตูน AMG! … ความหมายของ peorth เคย อธิบายไว้แล้ว .. ชื่อเซิร์ฟเวอร์ของ kitty.in.th ก็มาจาก AMG! เหมือนกัน
  2. หัดเขียนโปรแกรมครั้งแรก ตอน ม.1 ใช้ BASIC บนโฮมคอมพิวเตอร์ Aquarius ของ Mattel (Z-80, RAM 4 kB) .. รับจ้างเขียนโปรแกรมครั้งแรกตอน ม.4 เป็นโปรแกรมร้านอาหาร ใช้ FoxBase
  3. เกมส์คอมพิวเตอร์เกมส์แรกที่เล่นน่าจะเป็น pong บน console อะไรซักอย่างที่เก่ามากๆ … เกมส์สุดท้ายที่เล่นจบคือ NFS Carbon .. เกมส์ที่เล่นจบแล้วเอากลับมาเล่นบ่อยสุดน่าจะเป็น Final Fantasy ตั้งแต่ภาค 1 ถึง 8 .. ตอนนี้ก็เล่นภาค 5 ค้างอยู่นะ :P
  4. uptime ของตัวเองนานสุดคือ 4 วัน 3 คืน .. เดี๋ยวนี้ตื่นอยู่ได้สัก 20 ชั่วโมงก็เก่งแล้ว
  5. FLOSS .. เที่ยว .. ถ่ายรูป .. เล่นกีต้าร์

แปะต่อ: พี่เทพ | พี่หน่อย | เสี่ยต้น |MrChoke | veer … :P

The 2006 Linux and free software timeline

ปีที่ผ่านมา พลาดข่าวอะไรไปบ้าง ?

ดูสรุปข่าวลินุกซ์และซอฟต์แวร์เสรี พร้อม quote ที่น่าสนใจตลอดปี 2006 ได้ที่ “the 2006 Linux and free software timeline

fwiw, I recently took a position with Google.

— Andrew Morton releases 2.6.18-rc3-mm1

/me .. ตกข่าว (- -‘)

คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 6 – เจดีย์สามเศียร

โอโทเนะสาวน้อยที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยสตรี กำลังเริ่มต้นชีวิตที่ราบเรียบด้วยการช่วยงานที่บ้าน .. พ่อแม่เธอเสียตั้งแต่ยังเธอยังเล็ก ลุงกับป้ารับเธอเป็นลูกบุญธรรมเพราะไม่มีลูก เธอได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักมาตลอด แล้ววันหนึ่งเธอก็ได้รับข่าวจากทวดของเธอที่เธอคิดว่าเสียชีวิตไปนานว่าจริงๆ แล้วเขายังมีชีวิตอยู่ แต่คงอยู่ได้อีกไม่นาน ทวดของเธอเขียนพินัยกรรมจะยกมรดกหมื่นล้านเยนให้กับเธอ โดยมีเงื่อนไขว่าเธอต้องแต่งงานกับชายคนหนึ่งที่ทวดเธอเลือกไว้ .. ทาคาโตะ ชุนซากุ คือชายคนนั้น .. เว้นเสียแต่ชุนซากุตายเสียก่อนมรดกถึงจะแบ่งให้กับเครือญาติทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน .. หมื่นล้านเยน .. เงินขนาดนี้มากพอที่จะทำให้ญาติพี่น้องกลายเป็นศัตรูกันได้ไม่ยากเลย ..แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เหตุร้ายๆ ก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกทั้งกับตัวเธอ และญาติๆ ของเธอ ทุกคนมีแรงจูงใจที่จะก่อฆาตกรรม แต่คดีแต่ละครั้งล้วนแปลกประหลาดที่ไม่พบเงื่อนงำใดๆ ที่โยงถึงฆาตกร .. โอโทเนะที่เคยมีแต่ชีวิตที่ราบเรียบ กลับมีเรื่องราวโลดโผนเกิดกับเธอมากมาย เธอถูกชายคนหนึ่งย่ำยี ชายผู้นี้ช่างเป็นคนที่ชั่วร้าย กระนั้น เธอยังไม่สามารถหนีพ้นชายคนนี้ได้ เพราะลึกๆ แล้วเธอหลงรักชายคนนี้เข้าให้แล้ว .. และยิ่งเธอติดตามชายผู้นี้นานเข้า เธอก็มีโอกาสเข้าไปใกล้ชิดกับฆาตกรรมแทบทุกครั้ง .. วันนี้ เส้นทางชีวิตนำพาเธอมาสิ้นสุดที่เจดีย์สามเศียร .. สถานที่ลึกลับอันเป็นจุดเริ่มต้นของความชิงชัง ชั่วร้าย และเป็นจุดเริ่มต้นชะตากรรมของเขาและเธอ

เรื่อง mitsukubi-to เขียนโดย โยโคมิโซะ เซชิ เป็นอีกหนึ่งเล่มในซีรีส์คินดะอิจิที่สนุก ลึกลับ มีสเน่ห์ เล่มนี้เปลี่ยนผู้แปลเป็น คุณบุษบา บรรจงมณี ได้อรรถรสไม่แพ้เล่มที่ผ่านๆ มา … ที่จริงเล่มนี้ยังคงคล้ายกับอีกหลายเล่มที่การดำเนินเรื่องไม่ได้เล่าผ่านสายตาของคินดะอิจิ แต่สุดท้ายก็ต้องเป็นคินดะอิจินี่แหละที่ไขคดีและอธิบายที่มาที่ไปของเรื่องราวทั้งหมดในบทท้ายๆ .. :)

Students should go to class, take notes

Your job as a student is to go to class and pay attention. You’re rewarded for your presence with a grade and a step closer to a degree. When you don’t go to class and let others take notes for you, or purchase them from other source, you aren’t doing your job.

So why should you get paid? You aren’t even guaranteed that the notes you get will pay off at all. Go to class; take your own notes — it’s cheaper that way.

From http://www.purdueexponent.org/2001/02/12/opinions/index.html