เหตุที่ฆ่า

กลับจากการเดินทางแล้ว .. หอบหนังสือไปอ่านระหว่างเดินทาง 2-3 เล่ม .. เล่มแรกที่อ่านจบไปคือ ‘เหตุที่ฆ่า’ .. เรื่องก็มีอยู่ว่า คืนฝนตก ณ ห้อง 2025 ของคอนโดหรู มีเหตุฆาตกรรมสังหารหมู่ทั้งครอบครัว ตำรวจเริ่มงานสืบสวนทันทีที่ได้รับการแจ้งเหตุ เนื่องจากห้อง 2025 มีการเปลี่ยนผู้อาศัยบ่อยขนาดทีี่ผู้ดูแลเองก็ยังไม่รู้จักสมาชิกในครอบครัว นอกเหนือจากการสืบหาฆาตกรแล้วเจ้าหน้าที่จึงต้องสืบหาว่าครอบครัวนี้เป็นใครมาจากไหน แต่พอเจ้าหน้าที่ได้ข้อมูลมากขึ้นๆ ก็พบเรื่องประหลาดว่า สมาชิกในครอบครัวที่เสียชีวิตทั้งสี่ ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกันอย่างที่ใครๆ เข้าใจ และคดีนี้ดูเหมือนจะวุ่นๆ กับ ‘ห้อง’ นี้เป็นพิเศษ .. ทั้งสี่คนเป็นใคร ทำไมถึงมาอาศัยอยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน ทำไมจึงถูกฆาตกรรม และใครคือฆาตกร ?

‘เหตุที่ฆ่า’ แปลมาจาก Ri Yu (理由 แปลว่า เหตุผล) ของ มิยาเบะ มิยูกิ ยังคงเอกลักษณ์ในการให้รายละเอียดเชิงลึกของตัวละครแต่ละตัวเหมือนกับเล่มที่เคยอ่านผ่านมา ตัวคดีค่อนข้างตรงไปตรงมา ไม่ได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อน หากแต่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ในการโยงผู้คนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน การดำเนินเรื่องแบบ reportage เสมือนหนังสือคือบันทึกการสัมภาษณ์ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ เงื่อนปมของ ‘เหตุที่ฆ่า’ น่าสนใจหลายจุด อาทิ แนวคิดของเด็กที่มีต่อพ่อแม่และครอบครัว ความกดดัน ตึงเครียด ของสถาบันครอบครัว ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดเพี้ยนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม มีคำถามที่ชวนให้คิดว่า จริงๆ แล้ว ‘อดีต’ กับ ‘ตัวตน’ ของคนๆ นึงนั้น แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ ? ..

ปิดท้าย เล่มนี้แปลโดย คุณ อาจารี สัตยาประเสริฐ เป็นหนังสือแปลในค่าย Nation Books อรรถรสไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าผลงานของมิยาเบะ มิยูกิที่แปลโดยค่ายอื่นแต่อย่างใด .. ใครชอบหนังสือของ มิยาเบะ มิยูกิ เล่มนี้เป็นอีกเล่มที่ไม่ควรพลาด

ซายากะ สาวน้อยนักสืบ ตอน แจ็กเก็ตสีน้ำตาลอ่อน

ต่อจาก มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ เล่มแปด ก็ตามด้วยงานของ อาคากะวา จิโร่ ต่อเลย .. ซายากะ สาวน้อยนักสืบ เล่มสาม .. เล่มแรกของซีรีส์ซายากะเธออายุ 15 ดังนั้นเล่มสามซายากะก็อายุ 17 ปี แล้ว .. คราวนี้เหตุไม่ได้เริ่มต้นที่ซายากะแต่เธอก็เข้าไปพัวพันจนได้สิน่า .. เรื่องเริ่มกันที่ นายตำรวจคาวามุระกำลังออกเดทกับคุณครูคุนิโกะ คาวามุระกำลังจะเอ่ยขอแต่งงาน ก็มีหญิงสาวตัวเปียกโชก ถือแจ็กเก็ตสีน้ำตาลอ่อน ร้องขอความช่วยเหลือ แล้วก็หมดสติไป .. ขณะที่คาวามุระและคุนิโกะดูแลหญิงสาวกลางดึกคืนนั้นก็เกิดเรื่องขึ้น มีคนทำร้ายคาวามุระ คุนิโกะก็เกือบจะถูกฆ่า! โชคดีเหลือเกินที่ซายากะโทรศัพท์มาทำให้คนร้ายตกใจหนีไป .. เป้าหมายคนร้ายไม่น่าใช่คาวามุระหรือคุนิโกะ แต่น่าจะเป็นหญิงสาวผู้ลึกลับ .. เธอเป็นใคร และทำไมถึงมีคนพยายามฆ่าเธอหลายต่อหลายครั้ง .. เมื่อซายากะรู้เรื่องนี้เข้า เธอย่อมไม่พลาดที่จะเข้าไปร่วมวงสืบสวนด้วยแน่ๆ

ตอนแจ็กเก็ตสีน้ำตาลอ่อน แปลมาจาก Ama-iro No Jaketto เรื่องค่อนข้างพื้นๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ชวนคิด .. อ่านแล้วก็เฉยๆ .. YMMV

blog นี้บันทึกไว้ล่วงหน้า .. จริงๆ แล้ว เวลานี้คงเดินทางอยู่ที่ใดที่หนึ่งในชมพูทวีป :)

มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ ตอน ปราสาทอัศวิน

เริ่มเคลียร์หนังสือที่ได้มาจาก งานสัปดาห์หนังสือ เริ่มกันที่เล่มเล็กๆ ก่อน … มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์

สำหรับเล่มใหม่นี้ พี่น้องคาตายามา โฮล์มส์ และ อิชิสึ โกอินเตอร์ซะแล้ว .. หนนี้คดีเกิดที่ปราสาทเก่าแก่แห่งหนึ่งในเยอรมันที่น้องชายมหาเศรษฐีญี่ปุ่นเพิ่งจะซื้อตามความต้องการของภรรยาสาวที่เพิ่งพบและแต่งงานกันไม่นาน แต่เพียงแค่ไปชมปราสาทครั้งแรกฝ่ายภรรยาสาวก็ถูกฆาตกรรมอย่างลึกลับด้วยเครื่องมือประหารสมัยโบราณ .. อีกสามปีต่อมา พี่น้องคาตายามา ก็ได้รับเชิญให้ไปปราสาทแห่งนี้พร้อมกับครอบครัวของมหาเศรษฐี .. เดินทางมาถึงปราสาทไม่ทันไร ก็มีคนตายไปทีละคนๆ เส้นทางมายังปราสาทก็โดนตัดขาด แถมตัวน้องชายมหาเศรษฐีผู้เป็นเจ้าของปราสาทยังหายตัวไปอย่างลึกลับเสียอีก .. สองพี่น้อง โฮล์มส์ และอิชิสึ เลยตกกระไดพลอยโจนต้องคลี่คลายคดีนี้

ซีรีส์แมวสามสีเล่มที่แปด คุณสมเกียรติ เชวงกิจวณิช แปลมาจากต้นฉบับตอน Mikeneko Homozu No Kishido ความสนุกสนานยังอยู่ในมาตรฐานของ อาคากะวา จิโร ปริศนาคราวนี้มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ตัดทิ้งไม่ได้พอสมควร อ่านช้าๆ คิดดีๆ ถึงจะมองเห็นกุญแจที่ช่วยคลี่คลายคดีได้ .. :)

Offline for ten days

วาระแจ้งเพื่อทราบ – ข้าน้อยจะ unplug ตัวเองออกจากโลกไซเบอร์เป็นเวลาสิบวัน … เจอกันอีกทีวันที่ 16 เม.ย 49

อ่อ .. โปรแกรมอัปเดต blog ไว้ .. ถ้าอยู่ๆ blog โผล่ช่วงที่ offline นี้ก็ไม่ต้องแปลกใจเน้อะ

Linux Kernel 2.6.16

ออกมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว (ตอนนี้ 2.6.16.1 แล้ว) รู้สึกว่าราบรื่นกว่า 2.6.15 ใช้กับ udev เก่าๆ หน่อยก็ยังใช้งานได้ดี อย่างไรก็ตาม มีรายงานเหมือนกันว่า up เป็น 2.6.16 แล้วเครื่อง crash มั่ง ไม่ boot มั่ง … so YMMV

  • สนับสนุน Geode GX/LX (MGEODE_LX) ของ AMD
  • Virtual Memory Split แยก address ระหว่าง low กับ high memory แนะนำว่าใช้ default
  • Network packet debugging (NETDEBUG) สำหรับ debug packets โดยเฉพาะที่ส่งเข้ามาโจมตี
  • Netfilter Xtables (NETFILTER_XTABLES) {ip|ip6|arp}_tables ต้องใช้
  • TIPC Protocol (TIPC) Transparent IPC ออกแบบไว้สำหรับ inter-cluster communication ออกแบบโดย บ. Ericsson ใช้งานจริงกันมาพอสมควรแล้ว
  • สนับสนุน QLogic QLA2XXX Fibre Channel (SCSI_QLA_FC) FC interface ที่ใช้ชิพของ QLogic QLA2XXX
  • สนับสนุน SysKonnect Yukon2 (SKY2) Gigabit Ethernet ชิปของ Marvell Yukon 2 เห็นหลายบอร์ดใช้กัน
  • ระบุจำนวน 8250/16550 serial port (SERIAL_8250_RUNTIME_UARTS) ปกติก็ 4 พอร์ต
  • สนับสนุน AMD CS5535/CS5536 GPIO (CS5535_GPIO)
  • สนับสนุน Serial Peripheral Interface (SPI) ส่วนใหญ่ใช้กับ microcontroller สำหรับอ่านข้อมูลจาก sensor หรืออ่าน/เขียนลง flash memory, etc.
  • สนับสนุน hardware monitoring ของ Fintek F71805F/FG (SENSORS_F71805F)
  • ดีบัก V4L Video (VIDEO_ADV_DEBUG)
  • สนับสนุน ALSA dynamic device allocation (SND_DYNAMIC_MINORS)
  • สนับสนุน ALSA API

ตำหนักพระแม่กวนอิม

สองสัปดาห์ก่อนเข้า กทม. เลยไปตำหนักพระแม่กวนอิมกับครอบครัว.. ตำหนักฯ อยู่โชคชัย 4 ซอย 39 นี่เอง

[nggallery id=55]

ว่างๆ ก็แวะไปชม ไปทำบุญได้ .. อย่าลืมถือกล้องไปด้วย :P ..

ความเสียหายหลังไปงานสัปดาห์หนังสือฯ

สัปดาห์หนังสือฯ ต้นปี 49 .. ซื้อมา 9 เล่ม ลำดับความเสียหายมีดังนี้

  1. มิเกะเนะโกะโฮล์มส์ เล่ม 8 ตอน ปราสาทอัศวิน (Mikeneko Homozu No Kishido) ปก 180 ราคาในงาน 145
  2. ซายะกะ เล่ม 3 ตอน แจ๊คเก็ตสีน้ำตาลอ่อน (Ama-Iro No Jaketto) ปก 170 ราคาในงาน 135
  3. คินดะอิจิ เล่ม 4 ตอน ร่างทรงมรณะ (Mirei No Hanayome) ปก 220 ราคาในงาน 175
  4. คินดะอิจิ เล่ม 5 ตอน คดีฆาตกรรมบนเกาะโกะกุมน (Gokumoto) ปก 195 ราคาในงาน 155
  5. อิโค (Ico) ปก 280 ราคาในงาน 225
  6. รหัสลับรัสปูติน (The Romanov Prophecy) ปก 265 ราคาในงาน 225
  7. เล่ห์ (Fade Away) ปก 235 ราคาในงาน 200
  8. เหตุที่ฆ่า (Riyu) ปก 285 ราคาในงาน 228
  9. เครดิตมรณะ (Kasha) ปก 285 ราคาในงาน 228

รวมราคา 2,115 จ่ายไป 1,716 ประหยัดไป 399 บาท .. โหะๆๆๆๆ มีความสุข :D