ภารกิจหลักของผมในช่วงนี้คือนั่งเขียนดุษฎีนิพนธ์ .. จากที่เคยคิดเพียงแค่ว่า ทำอะไรก็รายงานไป จบ .. ไม่ใช่แล้ว .. นั่นมันเขียนรายงาน อย่างดีสุดคือเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ .. เขียนดุษฎีนิพนธ์ไม่ง่ายอย่างนั้นหรอก
ดุษฎีนิพนธ์ที่ดีต้องเป็น self-contained มีเนื้อหาที่จำเป็นครบถ้วน อ่านจากต้นจนจบจะได้รายละเอียดครบ จนไม่จำเป็นต้องตามอ่าน references ที่อ้างอิง .. จะเหมือนกับเขียน technical book หนึ่งเล่มที่สมบูรณ์ในตัวเอง .. งานเขียนต้องแสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มีความเป็นปราชญ์ รู้ในเชิงลึกมากๆ และมักจะต้องมากกว่าที่ใครเคยศึกษากันมาก่อน .. อ.สอนผมมาว่า ช่วงเขียนดุษฎีนิพนธ์ เป็นช่วงที่เราจะได้ความรู้มากที่สุด ข้อความแค่ประโยคเดียวที่เราเขียนบางทีต้องใช้เวลาอ่าน ศึกษากันหลายชั่วโมง ต้องตกผลึกแล้วจริงๆ ถึงจะเขียน สิ่งที่เรากำลังบอกต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เราพิสูจน์แล้ว และมั่นใจแล้ว จะผิดไม่ได้แม้แต่น้อย .. บางครั้งการเขียนดุษฎีินิพนธ์อย่างเดียวอาจจะต้องใช้เวลาเป็นปีๆ (- -‘)
การวางโครงสร้างของงานเขียนทั้งหมด การผูกประโยค เลือกใช้คำก็สำคัญมากเหมือนกัน .. โครงสร้างเอกสารควรไหลลื่น ไม่วกวน หัวข้อแต่ละเรื่องมีความชัดเจน แยกแยะเนื้อหาได้เหมาะสม ประโยคสละสลวย (ผมมีปัญหากับเรื่องนี้มากๆ .. ประโยคเดียวนั่งแก้อยู่เป็นสัปดาห์ก็มี) สื่อได้ตรงจุด ถูกต้อง คมชัด ไม่อ้อมค้อม .. บทที่ยากที่สุดในดุษฎีนิพนธ์ คือ Introduction .. บ่อยครั้งที่บทนี้จะเป็นบทสุดท้ายที่ลงมือเขียน .. Intro ดีๆ จะต้องบอกได้ว่าตำแหน่งของงานเราในงานวิจัยอยู่ตรงจุดไหนของสาขานั้นๆ .. และที่สำคัญมากๆ คือต้องบอกถึง ‘contributions’ ของงานว่าอะไรคือสิ่งที่การศึกษาของเราได้ให้ไว้กับวงการวิจัยระดับนานาชาติ .. งานวิจัยระดับ ป.เอก หนึ่งชิ้นจะต้องมี contributions อย่างน้อย 3 เรื่อง .. เป็น 3 เรื่องที่ทั้งโลกไม่มีใครรู้ ศึกษา หรือได้คำตอบมาก่อน ..
สิ่งสำคัญอีกอย่างที่มักมองข้ามกันบ่อยๆ คือการอ้างอิง ในวงการวิจัย การอ้างอิงเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งแง่เทคนิคและมารยาท ทุกครั้งที่มีการหยิบยกข้อความจาก reference ใดๆ จะต้องมีการอ้างอิงเสมอ ไม่ว่าข้อความนั้นจะดูธรรมดาแค่ไหนก็ตาม หลายครั้งที่เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ อาจจะเพราะเป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ เรียนมาตั้งแต่ ป.ตรี เห็นจนชินแล้วก็เลยไม่คิดว่าจำเป็นต้องอ้างอิง หรือที่เกิดขึ้นกับบางคนคือไม่อยากอ้างอิงเพราะกลัวคนอ่านตำหนิว่าเรื่องธรรมดาแค่นี้ก็ต้องหยิบงานคนอื่นมาใช้ .. ในความเป็นจริงแล้วการหยิบข้อความจาก reference มาใช้ ไม่ใช่เรื่องไม่ดี อย่างน้อยที่สุดคือเป็นการบอกว่าเราได้ศึกษา reference นั้นมาแล้ว .. ไอ้ที่ไม่ดีจริงๆ คือ เอามาใช้โดยไม่ refer ต่ะหาก
ผมเพิ่ง rewrite งานใหม่หมดได้ประมาณสิบกว่าหน้า เลยมีประสบการณ์จาก comment ต่างๆ ที่ได้รับเพียงเท่านี้ .. หวังว่าซักวันผมจะเขียนเสร็จ :P
แถม: เครื่องมือในการเขียน = gvim + latex + ghostscript + ghostview + gnuplot + xfig + homemade ‘thesis.cls’ … ไอ้อันสุดท้ายนี่เสียเวลาทำอยู่นานเหมือนกัน ที่ AIT มีแต่ template ของ MS Word เลยต้องมานั่งเขียน document class from scratch ตาม style guide ของ AIT .. ไอ้เราก็ใช่จะเก่ง LaTeX ทุกวันนี้ยังงูๆ ปลาๆ ก็เลยใช้เวลาเยอะ .. แต่พอมี document class แล้ว ก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องจัดหน้าให้สวยอีกเลย นั่งเขียนสิ่งที่ตั้งใจจะเขียนก็พอ สมแล้วที่เป็น WYSIWYM ไม่ผิดหวังเลยที่ตัดสินใจมาใช้ LaTeX แทน MS Word หรือ OO.o .. LaTeX rulez !