Tag Archives: linux

Genius MousePen 5×4

กลับมาจากกรุงเทพฯ ซื้อ tablet ของ Genius รุ่น MousePen 5×4 มาตัวนึง ..คิดว่า Genius ก็ทำ tablet มาหลายรุ่นแล้วน่าจะใช้งานบนลินุกซ์ได้ไม่ยาก .. tablet ตัวนี้มี wireless tablet mouse ให้มาด้วย เสียบ USB ก็ใช้งาน mouse ได้เลย .. แต่ปากกาไม่ทำงาน – -”

จะว่าปากกามันเสีย ก็ลองบน Windows แล้วมันก็ทำงานได้ .. เลยต้องหาทางใช้บนลินุกซ์ .. tablet ของ Genius หลายๆ ตัวใช้ไดรเวอร์ SummaSketch บน XFree86/Xorg ได้ แต่ MousePen นี่ไม่ได้แฮะ .. ค้นไปค้นมาก็เจอ WizardPen เป็นไดรเวอร์ของ tablet รุ่น WizardPen .. อืม USB ID ตรงกัน น่าจะใช้ด้วยกันได้ ผลลัพธ์ก็เป็นอย่างที่เห็น :)

พอปากกาใช้งานได้ ทีนี้ tablet mouse ใช้ไม่ได้แทน (- -‘) .. แต่ไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ เพราะที่เครื่องก็ต่อ mouse ไว้อยู่แล้ว และถึงไม่มี mouse เลย ปากกาก็ใช้แทน mouse ได้อยู่ดี :)

Public Key for Kitty Repository

ที่จริงแล้ว kitty repository ทำระบบ public key ตามวิธีการของ Debian/Ubuntu ไว้ตั้งนานแล้ว แต่ดูเหมือนมันจะใช้ไม่ได้ ฟ้องว่า unknown gpg error ประจำ แล้วก็แก้ไม่ได้ซักที .. วันนี้ไล่ดูละเอียดๆ ไปเจอว่าไฟล์ Release.gpg เป็นคนละแบบกับที่ Debian/Ubuntu เขาใช้กัน คือมันเป็น signature ธรรมดา (i.e., สร้างโดยสั่ง gpg -s) ที่ถูกมันควรจะเป็น detached signature (gpg -b) … (- -)a

เอาเป็นว่า ตอนนี้ใช้จะให้ apt ตรวจ signature ของ kitty repo. ก็สามารถทำได้แล้ว โดยดาวน์โหลด ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty.in.th.gpg public key ของ kitty repository] ไป แล้วก็ import public key เข้าไปใน trusted key ของ apt ก็เป็นอันเรียบร้อย e.g.,

$ wget ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty.in.th.gpg
$ sudo apt-key add kitty.in.th.gpg

ทีนี้ทั้ง apt / synaptic / ubuntu update manager ก็จะตรวจสอบ signature ได้โดยใช้ public key ที่ import เข้าไป

Relay ข่าว: พฤหัสนี้ (7 ก.ค. 48) เวลา 20.00 น. (GMT+7) ห้อง #tlwg @ irc.linux.in.th จะมี meeting .. มีวาระอะไรบ้าง ขออุบไว้ก่อน เพราะจริงๆ แล้วก็ไม่รู้เหมือนกัน … :P

Linux Kernel 2.6.12(.2)

หลังจากวุ่นวายกับปัญหาเรื่อง bitkeeper การพัฒนา kernel ก็สะดุดไประยะหนึ่ง ในที่สุด kernel 2.6.12 ก็ออกมาจนได้ ลืมเช็คไปเลย เข้าไปอีกที 2.6.12.2 ซะแล้ว :P .. ส่ิงที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ (based on my oldconfig) ก็มี :

  • Processor family เพิ่ม GeodeGX1 (MGEODEGX1) ของ AMD
  • Enable X86 board specific fixups for reboot (X86_REBOOTFIXUPS) – สำหรับ Chipset/Board/BIOS ที่มีปัญหาเวลาสั่ง reboot ตอนนี้ fix ได้เฉพาะ Geode GX1/CS5530A/TROM2.1
  • Enable seccomp to safely compute untrusted bytecode (SECCOMP) – แยก address space ของแต่ละ process ออกจากกันโดย seccomp ใน seccomp แต่ละอันจะ execute ได้เฉพาะ syscalls ที่ปลอดภัย เหมาะกับ untrusted bytecode execution
  • ‘conservative’ cpufreq governor (CPU_FREQ_GOV_CONSERVATIVE) – ปรับ frequency เพิ่ม/ลดทีละนิดๆ แทนที้จะกระโดดไป 100% ทันทีที่ workload เยอะขึ้น วิธีนี้ช่วยประหยัดพลังงานได้อีกนิด เมื่อเทียบกับ on-demand และการทำงานกับคอมพิวเตอร์บางระบบที่มีปัญหาในการเปลี่ยน state จาก min max ในทันที
  • Emulex LightPulse Fibre Channel Support (SCSI_LPFC) – สนับสนุน Emulex LightPulse Family Fibre Channel PCI host adapters
  • Broadcom NetXtremeII support (BNX2) – สนับสนุน Broadcom NetXtremeII gigabit Ethernet cards.
  • สนับสนุน Joystick มากขึ้น บางอันมันก็เคยมีอยู่ใน kernel เดิม ไม่รู้ทำไมมัน status = NEW (- -‘) :
    • Classic PC analog joysticks and gamepads (JOYSTICK_ANALOG) – analog joystick และ gamepad ทั่วไป รวมไปถึง CH Flightstick Pro, ThrustMaster FCS, Saitek Cyborg
    • Assasin 3D and MadCatz Panther devices (JOYSTICK_A3D) – FPGaming / MadCatz controller (A3D protocol)
    • Logitech ADI digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_ADI) – Logitech controller (ADI protocol)
    • Genius Flight2000 Digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_GF2K) – Genius Flight2000 / MaxFighter joystick / gamepad
    • Creative Labs Blaster Cobra gamepad (JOYSTICK_COBRA)
    • Gravis GrIP joysticks and gamepads (JOYSTICK_GRIP) – Gravis controller (GrIP protocol)
    • Gravis GrIP MultiPort (JOYSTICK_GRIP_MP)
    • Guillemot joysticks and gamepads (JOYSTICK_GUILLEMOT)
    • InterAct digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_INTERACT)
    • Microsoft SideWinder digital joysticks and gamepads (JOYSTICK_SIDEWINDER) – SideWinder (Digital Overdrive protocol)
    • ThrustMaster DirectConnect joysticks and gamepads (JOYSTICK_TMDC) – ThrustMaster controller (DirectConnect (BSP) protocol)
    • Twiddler as a joystick (JOYSTICK_TWIDJOY) – ใช้ Handykey Twiddler มาทำ joystick
  • Game Ports ก็สนับสนุนมากขึ้นด้วย
    • Gameport data dumper (JOYSTICK_JOYDUMP) – สำหรับ log / debug ข้อมูลที่รับ-ส่งผ่าน gameport
    • Classic ISA and PnP gameport support (GAMEPORT_NS558)
    • PDPI Lightning 4 gamecard support (GAMEPORT_L4)
    • SB Live and Audigy gameport support (GAMEPORT_EMU10K1)
    • Aureal Vortex, Vortex 2 gameport support (GAMEPORT_VORTEX)
    • ForteMedia FM801 gameport support (GAMEPORT_FM801)
    • Crystal SoundFusion gameport support (GAMEPORT_CS461X)
  • Digi International NEO PCI Support (SERIAL_JSM) – สนับสนุน NEO series multi serial port PCI cards ของ Digi International
  • TPM Hardware Support (TCG_TPM) – สนับสนุน TPM security chip implement ตาม Trusted Computng Group’s specification
  • nVidia Framebuffer Support (FB_NVIDIA) – สนับสนุน framebuffer สำหรับ nVidia chips >= TNT
  • AMD Geode family framebuffer support (EXPERIMENTAL) (FB_GEODE) สนับสนุน framebuffer สำหรับ AMD Geode processors
  • Epson S1D13XXX framebuffer support (FB_S1D13XXX) – สนับสนุน framebuffer สำหรับ Epson S1D13xxx (ตอนนี้ใช้ได้เฉพาะ S1D13806)
  • Intel HD Audio (SND_HDA_INTEL) – ไดรเวอร์ ALSA สำหรับ Intel High Definition Audio (Azalia)
  • USBAT/USBAT02-based storage support (EXPERIMENTAL) (USB_STORAGE_USBAT) – สนับสนุน USB storage ที่ใช้ SCM/Shuttle USBAT/USBAT02 processors เช่น:
    • CompactFlash reader ที่มากับ Kodak DC3800 camera
    • Dane-Elec Zmate CompactFlash reader
    • Delkin Efilm reader2
    • HP 8200e/8210e/8230e CD-Writer Plus drives
    • I-JAM JS-50U
    • Jessops CompactFlash JESDCFRU BLACK
    • Kingston Technology PCREAD-USB/CF
    • Maxell UA4 CompactFlash reader
    • Memorex UCF-100
    • Microtech ZiO! ICS-45 CF2
    • RCA LYRA MP3 portable
    • Sandisk ImageMate SDDR-05b
  • USB Philips Cameras (USB_PWC) – PWC กลับมาแล้ว .. เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก (- -‘)
    • Philips PCA645, PCA646
    • Philips PCVC675, PCVC680, PCVC690
    • Philips PCVC720/40, PCVC730, PCVC740, PCVC750
    • Askey VC010
    • Logitech QuickCam Pro 3000, 4000, ‘Zoom’, ‘Notebook Pro’ and ‘Orbit’/’Sphere’
    • Samsung MPC-C10, MPC-C30
    • Creative Webcam 5, Pro Ex
    • SOTEC Afina Eye
    • Visionite VCS-UC300, VCS-UM100
  • USB ZD1201 based Wireless device support (USB_ZD1201) – สนับสนุน ZyDAS ZD1201 WLAN
  • USB Monitor (USB_MON) – สำหรับ monitor ข้อมูลที่รับ-ส่งผ่าน USB
  • USB AirPrime CDMA Wireless Driver (USB_SERIAL_AIRPRIME) – สนับสนุน AirPrime CDMA Wireless PC card.
  • USB CP2101 UART Bridge Controller (USB_SERIAL_CP2101) – สนับสนุน CP2101/CP2102 based USB to RS232converter
  • USB HP4x Calculators support (USB_SERIAL_HP4X) – สนับสนุนการเชื่อมกับเครื่องคิดเลข HP4x
  • Show timing information on printks (PRINTK_TIME) – แสดง Timestamp เวลา printk จาก kernel
  • NSA SELinux checkreqprot default value (SECURITY_SELINUX_CHECKREQPROT_VALUE) – default แฟล็กสำหรับ SELinux เลือกว่าจะเช็ค protection ที่ request จาก kernel หรือ applications
  • Tiger digest algorithms (CRYPTO_TGR192) – สนับสนุน Tiger hash algorithm 192, 160 and 128-bit hashes ใน kernel

สนใจรายละเอียดมากกว่านี้ อ่าน changelog ได้ เที่ยวนี้ ~ 1.0 MB ถ้านับจากขนาดไฟล์แล้วก็น้อยกว่า 3-4 เวอร์ชั่นที่ผ่านมา

Breezy is now too bleeding edge .. for me :P

จากการเดามั่วๆ เกี่ยวกับ development cycle บ่อยครั้งจะเห็นว่า development branch ของแอพพลิเคชัน หรือดิสโตร มักจะขาดเสถียรภาพเมื่ออยู่ช่วงกลางๆ cycle .. เหตุอาจจะมาจากต้น cycle มันเพิ่งเป็นส่วนต่อมาจาก stable branch ที่ยังมีความเสถียรดีอยู่ และปลาย cycle ตามธรรมชาติแล้วเป็นช่วงที่ freeze เพื่อให้ระบบเสถียร .. แต่ไอ้กลาง cycle นี่มักจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย และมีโอกาสพังโน่นพังนี้ได้เยอะ บางทีก็เยอะจนผู้ใช้ที่อัปเกรดไม่ลืมหูลืมตาอย่างผมเจ็บตัวไปด้วย (ก็มัน bleeding edge นิ !)

อย่าง Ubuntu 5.10 Breezy Badger นี่ก็เหมือนกัน ตอนรีลีสใหม่ๆ มันก็เสถียรดี .. สักพักก็เริ่ม break dependencies .. ก็มี apt + synaptic พอจะช่วย resolve depend. ได้ .. แต่ไม่นานนักก็เริ่มจะ resolve depends ของบางแพ็คเกจไม่ได้ อย่างเช่นไลบรารีของ X.Org ที่ยังอัปเกรดไม่ได้อีก 3-4 ตัว (ถ้าฝีนอัปเกรดจะต้องถอนแอพพลิเคชันหลายตัวออก .. ) .. เวลานี้หลายๆ แพ็คเกจใน Breezy เริ่มทยอยมาใช้ release เลขคี่กันเยอะ โดยเฉพาะ GNOME ซึ่งแปลว่า Breezy กำลังก้าวเข้าสู่ช่วง unstable จริงๆ แล้ว

เมื่อวานเป็นคิวของ evolution และไลบรารีต่างๆ ของ evolution ที่กำลังทยอยออก unstable .. evolution ทั้งชุดมีแพ็คเกจรวมกันเยอะมาก (เฉียดๆ สิบตัวหรืออาจจะมากกว่า) และมี dependencies ที่ยุ่งเหยิงเป็นอย่างยิ่ง .. อย่างไรก็ตามภาพรวมของ evolution แยกการทำงานเป็นสองส่วนคือมี evolution เป็น frontend และมี evolution-data-server (e-d-s) เป็น backend .. ที่เขาทำไว้อย่างนี้ก็เพื่อให้แอพพลิเคชันอื่นๆ ที่ต้องการแชร์ข้อมูลกับ evolution มี depend ถึงแค่ e-d-s โดยไม่ต้อง depends evolution ทั้งชุด .. การอัปเกรดเมื่อวานนี้ dependencies ไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่ที่เกิดปัญหาคือ e-d-s ตัวใหม่บริการ calendar ไม่ได้ ต้องถอยกลับมาเป็น e-d-s ตัวเก่าของ Hoary ซึ่งใช้งาน calendar ได้ แต่ใช้งานเมล์ไม่ได้ (- -‘) .. นั่งแก้ปัญหาอยู่พักนึง แล้วก็ยอมแพ้ .. ขาดเมล์ ขาดปฏิทินนัดหมาย ขาด todos นี่ประสาทจะกินเอา (- -‘) .. อย่ากระนั้นเลย ตัดสินใจหยุดใช้ Breezy ดีกว่า รู้สึกว่ามันเริ่มไม่เสถียรหนักขึ้นเรื่อยๆ ชักไม่ค่อยปลอดภัยกับข้อมูลซะแล้ว

เมื่อวานเลยติดตั้ง Hoary ลงพาร์ติชันสะอาดๆ + อัปเกรดบางแพ็คเกจเป็นของ Kitty กับ Hoary Backports …อืม ค่อยสงบสุขหน่อย

ไว้เดือน สิงหา – กันยา อาจจะกลับไปใช้ Breezy อีกที (ยังไม่เข็ด :P) … หรือไม่ก็รออัปเกรตเป็น stable ในเดือนตุลาเลยทีเดียว

Breezy is getting scary

ระยะนี้ Ubuntu 5.10 Breezy Badger เริ่มขยับตัวแรงๆ อีกหน (GNOME -> 2.11) ผลที่ตามมาคือ dependencies แตกกระจายไปหลายตัว จะอัปเกรดช่วงนี้ต้องระวังหน่อย

Bleeding Edge with Breezy Badger

Ubuntu 5.04 Hoary Hedgehog รีลีสไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา หลายๆ คนคงได้เอาไปใช้กันบ้างแล้ว .. ขณะเดียวกัน development branch ของ Ubuntu ก็เริ่มขยับตัวแล้วเหมือนกัน เวอร์ชันถัดไปของ Ubuntu คือ 5.10 ใช้โค้ดเนม Breezy Badger กำหนดรีลีสตามหมายเลขเวอร์ชัน คือ ปี 2005 เดือนตุลาคม .. แพ็กเกจใน Breezy ใหม่กว่า Hoary แน่นอน และก็มีโอกาสจะ break dependencies ได้เหมือนๆ กับทุก development branch .. ส่วนตัวแล้ว คิดว่าน่าจะเอาอยู่ เพราะพอจะมีประสบการณ์ resolve dependencies ตอนอัปเกรดจาก Warty -> Hoary มาบ้าง ตอนนี้เครื่อง peorth กับ yggdrasil เลยหนีมาใช้ Breezy ได้สัก 1-2 สัปดาห์แล้ว เสถียรภาพก็ใช้ได้ dependencies มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเหมือนกัน เวลาอัปเกรดต้องคอยดูว่ามันจะถอดแพ็คเกจตัวที่ติดตั้งอยู่ปัจจุบันออกบ้างหรือเปล่า เมื่อวานตามล่า dependencies ชุดใหม่ของ evolution เพื่อ rebuild แพ็กเกจก็เริ่มต้อง resolve บ้างแล้ว .. ถ้าจะมา bleeding edge ด้วยกันก็เพิ่ม apt repository เข้าไปใน /etc/apt/sources.list

# breezy badger
deb http://archive.ubuntu.com/ubuntu/ breezy main restricted universe multiverse
deb http://archive.ubuntu.com/ubuntu/ breezy-security main restricted universe multiverse
deb http://archive.ubuntu.com/ubuntu/ breezy-updates main restricted universe multiverse

จากนั้นก็ update/upgrade .. แล้วก็ตัวใครตัวมันล่ะ :P

Red Hat Enterprise Linux Clones

ไปอ่าน http://lwn.net มา เจอเรื่อง RHEL Clones เห็นหลายคนเคยถามว่าจะหา RHEL มาใช้ได้ไง ? เลยคิดว่าอันนี้น่าจะช่วยได้ เรื่องของเรื่องก็คือ RHEL ไม่มี binary ให้ดาวน์โหลดเหมือน RHL/FC ก็เลยเกิด distro ที่เอา srpm ของ RHEL มา rebuild + customize อีกนิดหน่อย ถ้าไม่อยาก rebuild เอง หรือซื้อ RHEL มาใช้เป็นเรื่องเป็นราว ก็ลองหา distro พวกนี้มาใช้ก็ได้:

BTW, สวัสดีปีใหม่ แบบไทยๆ เน้อะ

Ubuntu Customization

ติดตั้ง apache2 + php4 + mysql

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo apt-get install apache2 php4 libapache2-mod-php4 php4-mysql

Config:

/etc/apache2/apache2.conf
/etc/apache2/mods-enabled/php4.conf
/etc/php4/apache2/php.ini
/etc/mysql/my.cnf

Locale ภาษาไทย

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo dpkg-reconfigure locales

เลือก en_US ISO-8859-1, en_US.UTF-8 UTF-8, th_TH TIS-620 และ th_TH.UTF-8 UTF-8

ตั้งคีย์บอร์ดภาษาไทย

System -> Preferences -> Keyboard
Layouts -> Add ... -> Thai (Kedmanee) -> OK
Layout Options -> Group Shift/Lock behavior -> Alt+Shift changes group

ฟอนต์ภาษาไทย

  1. ดาวน์โหลดฟอนต์ TrueType ภาษาไทยจาก LTN ไฟล์ thai-ttf-x.x.x.tar.gz
  2. แตกไฟล์ thai-ttf-x.x.x.tar.gz
  3. สำเนา / ย้ายฟอนต์ TrueType (*.ttf) ไปไว้ที่ ~/.fonts

แก้ปัญหาตัวอักษรไทยแสดงผลเพี้ยนเมื่อใช้ hinting (autohinting)

auto hinting อาจจะทำให้การแสดงผลตัวอักษรไทยเพี้ยน ปิด auto hinting โดยแก้ในไฟล์ /etc/fonts/local.conf ค้นหาข้อความ “autohint” แก้ bool จาก true เป็น false

TrueType -> X11 Fonts

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ cd /path/to/fonts
$ mkfontdir
$ ttmkfdir > fonts.scale

เพิ่ม font path (/path/to/fonts/) ใน /etc/X11/xorg.conf

เพิ่ม font path ทันที

$ cd /path/to/font
$ xset fp+ `pwd`
$ xset rehash

ติดตั้ง TrueType ด้วย defoma

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ defoma-hints -c --no-question truetype /path/to/fonts/*.ttf > /etc/defoma/hints/myfonts.hints
$ defoma-font reregister-all /etc/defoma/hints/myfonts.hints
$ xset fp rehash

ใช้ bitmap fonts ใน fontconfig

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ cd /etc/fonts/conf.d/
$ sudo ln -sf /etc/fonts/conf.d/yes-bitmaps.conf 30-debconf-yes-bitmaps.conf
$ sudo fc-cache

root shell

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo -s -H

หรือ

$ sudo su -

กรอกรหัสผ่านของ user ให้ sudo

เปลี่ยนรหัสผ่าน root

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo passwd root

กรอกรหัสผ่านของ user ให้ sudo ก่อน จึงตั้งรหัสผ่านของ root

ล็อกอิน GDM ด้วย root

  1. ตั้งรหัสผ่านของ root
  2. System -> Administration -> Login Screen Setup

#แท็บ Security -> Allow root to login with GDM

ควบคุม services

  1. ไฟล์ใน /etc/rc?.d/ เป็น symlink ไป start up scripts ใน /etc/init.d
  2. Symlink name = S??* = run
  3. Symlink name = K??* = not run
  4. ทุก runlevels จะรัน /etc/rcS.d/*
  5. Default runlevel ของ Ubuntu คือ 2 ระบบจะ start up ที่ /etc/rc2.d/

ตั้ง debconf ให้ใช้ GUI

รันเทอร์มินัล

sudo dpkg-reconfigure debconf

เลือก Interface เป็น GNOME หรือ KDE

เลือก Priority ตามต้องการ (Low = ถามเยอะ, Critical = ถามน้อย)

ตั้ง mplayer ให้ใช้ XVideo และ ALSA

ใช้ text editor เปิดไฟล์ ~/.mplayer/config เพิ่มบรรทัด

vo=xv
ao=alsa

ตั้ง Nautilus CD Burner ให้ใช้งาน Burnproof

  1. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  2. apps -> nautilus-cd-burner
  3. เลือก burnproof

ตั้ง Nautilus CD Burner ให้ใช้งาน Overburn

  1. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  2. apps -> nautilus-cd-burner
  3. เลือก overburn

ตั้งอัตราเร็วในการเขียนซีดีสำหรับ Nautilus CD Burner

  1. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  2. apps -> nautilus-cd-burner
  3. แก้ default_speed เป็นค่าที่ต้องการ

ตั้ง Spatial Mode เป็นแบบต้นฉบับของ GNOME

  1. Ubuntu (Hoary) patch Nautilus ให้ spatial mode ทำงานโดยปิดวินโดว์ของไดเรกทอรีเดิมทุกครั้งที่เปิดวินโดว์ใหม่
  2. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  3. apps -> nautilus -> preferences
  4. เลือก no_ubuntu_spatial

ติดตั้ง NVIDIA driver

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo apt-get install nvidia-glx nvidia-settings
$ sudo nvidia-glx-config enable

เพิ่ม apt repository

  1. แก้ไฟล์ /etc/apt/sources.list .. หรือ
  2. เพิ่มบน Synaptic: Settings -> Repositories

Config Dial-Up Connection

  1. รัน pppconfig .. and follow the text-based user interface
  2. Authentication method ทดลองใช้ PAP ก่อน ถ้าไม่สามารถ login ได้ ให้ใช้ Chat
  3. Profile จะเก็บไว้ที่ /etc/chatscripts/
  4. รัน pon เพื่อ connect
  5. รัน poff เพื่อ disconnect

แอพพลิเคชันเสริม

ติดตั้งด้วย apt-get หรือ synaptic

Applications Packages
Macromedia Flash plug-in for Mozilla Firefox flashplayer-mozilla
Adobe Acrobat Reader acroread
Adobe Acrobat Reader plug-in for Mozilla Firefox acroread-plugin
Microsoft Core Fonts msttcorefonts
Planner (Project Management) planner
Scribus (Desktop Publishing) scribus
Blender (3D Modeller/Renderer) blender
Inkscape (Vector Drawing) inkscape
Xine xine-ui
Mplayer mplayer-{386|586|686|k6|k7}
Win32 Codec sw32codecs

ควรติดตั้ง recommended packages ด้วย

มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ ตอน สังหารโหดอาจารย์

งดบันทึก blog + อื่นๆ ไปซะนาน วันนี้ release ซักหน่อย

ตอนที่สองของมิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ ต่อจากเล่มแรก ทาคายามา โยชิทาโร ตัดสินใจยื่นใบลาออกจากการเป็นตำรวจ แต่จนแล้วจนรอด เจ้านายของเขาก็ยังไม่ยอมให้เขาออกเสียที ฮารูมิ น้องสาวของทาคายามาเปลี่ยนงานจากพนักงานห้างสรรพสินค้า มาเป็นพนักงานต้อนรับอยู่โรงเรียนสอนพิเศษ เธอพยายามจับคู่พี่ชายกับ ทาเคโมริ ยูคิโกะ เจ้านายของเธอ ขณะเดียวกัน ก็มีนักเรียนท่าทางแปลก เข้ามาสมัครทุกคอร์สของโรงเรียน ฮารูมิแปลกใจเพราะหลายๆ คอร์สนั้นมีเวลาเรียนพร้อมกัน ผู้สมัครไม่สามารถจะเรียนพร้อมๆ กันทุกคอร์สได้แน่ แถมเบอร์โทรติดต่อของผู้สมัครรายนี้มันคุ้นๆ เหลือเกิน ด้วยความสงสัยเธอจึงให้พี่ชายติดตามสืบดู .. ภายหลังถึงรู้ว่าเบอร์นั้นเป็นเบอร์ใกล้เคียงกับเบอร์โทรของตำรวจนครบาล ที่ทำงานของพี่ชายเธอนั่นเอง .. แถมชื่อผู้สมัครรายนั้นก็ตรงกับชื่อของเหยื่อฆาตกรรมเมื่อสองปีที่แล้ว ที่ยังไม่สามารถปิดคดีได้! และที่อยู่ที่กรอกในใบสมัครก็เป็นสถานที่เกิดเหตุนั่นเอง ! .. ทาคายามาคิดว่าเรื่องนี้ต้องมีเบื้องหลังแน่ๆ เขาได้รับอนุญาตให้รื้อฟื้นคดีนี้ ระหว่างตามสืบก็เกิดเหตุประหลาดขึ้นอีก อาจารย์ประจำโรงเรียนที่ฮารูมิทำงานอยู่ก็ทยอยกันตายทีละคนสองคน ปริศนาได้ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ทาคายามาซึ่งหลวมตัวเข้ามาสืบเรื่องนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ ทำอย่างอื่นไม่ได้แล้วนอกจากพยายามแก้มันให้ได้ .. ที่แปลกไปอีกอย่างคือ ครั้งนี้ทำไมโฮล์มส์ไม่ค่อยอยากช่วยอะไรเลย มันทำตัวเหมือนรู้ แต่ไม่ยอมบอกใบ้ทาคายามาเลยสักอย่างเดียว .. แมวตัวนี้แปลกจริงๆ

BTW, Ubuntu 5.04 Hoary Hedgehog release แล้ว :D

RFD: Kernel release number

ต้นเดือนที่ผ่านมา Linus เสนอให้มีการเปลี่ยนรูปแบบของเลขรีลีสของเคอร์เนลใหม่ เพราะ cycle การรีลีสเดิม e.g. 2.4.x. -> 2.5.x ช้า ทำให้ต้องมีการ backport / forwardport กันบ่อยๆ อีกทั้ง users ไม่ค่อยจะทดสอบ pre/rc ทำให้ไม่เจอบั๊กที่ควรจะแก้ก่อนรีลีส ก็เลยจะเปลี่ยนรูปแบบใหม่โดยเลขรีลีสสามตัวจะมีความหมายทุกตัว

from Linus's email :

- 2.6.<even>: even at all levels, aim for having had minimally intrusive
  patches leading up to it (timeframe: a week or two)

with the odd numbers going like:

- 2.6.<odd>: still a stable kernel, but accept bigger changes leading up
  to it (timeframe: a month or two).
- 2.<odd>.x: aim for big changes that may destabilize the kernel for
  several releases (timeframe: a year or two)
- <odd>.x.x: Linus went crazy, broke absolutely _everything_, and rewrote
  the kernel to be a microkernel using a special message-passing version
  of Visual Basic. (timeframe: "we expect that he will be released from
  the mental institution in a decade or two").

แปลว่ามันจะกลายเป็นแบบนี้ (bugfixes + features) -> เลขคี่ -> bugfixes -> เลขคู่ -> .. maintainer หลายคนก็ดูจะเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ .. แต่ปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาก็คือ users จะเลือกใช้เฉพาะเคอร์เนลเลขคู่ทำให้เคอร์เนลไม่ได้รับการทดสอบ/ใช้งานมากอย่างที่ควรจะเป็น .. มีคนเสนอให้ใช้ 2.6.x.y เหมือนตอน 2.6.8 -> 2.6.8.1 คือจะใช้ .y เมื่อต้องการรีลีส bugfixes/security fixes ก่อนจะ x += 1 ซึ่งคาดกันว่าจะช่วยให้ cycle สั้นลง เคอร์เนลจะได้รับการทดสอบมากขึ้น และ users ก็จะได้เอาไปใช้กันเร็วขึ้นตามไปด้วย .. หลังจากคุยกันยาว ก็ตกลงว่าจะใช้ scheme 2.6.x.y กัน โดย Greg K. H. กับ Chris Wright อาสา maintain 2.6.x.y tree (a.k.a, sucker tree) .. ต่อจากนี้ คาดว่า bugfixes / security fixes จะเข้าทาง 2.6.x.y tree .. Linux จะ pull ไปรวมกับ bk tree เอง ซึ่งจะไปโผล่ใน stable ถัดไป (x +=1) .. หรืออีกทางนึงคือ Greg กับ Chris ส่ง patch ผ่านทาง Andrew Morton ซึ่งช่วย Linus maintain ‘testing’ tree (-mm) ของ 2.6 ซึ่งท้ายที่สุดก็จะไปรวมกับ bk เหมือนกัน

ณ. วันนี้ 2.6 stable = 2.6.11.3 แล้ว :)