ปรับขนาดพาร์ติชันบนลินุกซ์โดยไม่ต้องลบ/ย้ายข้อมูล

อยากลองใช้ transcode แปลง DVD เป็น VCD ดูสักหนล่ะครับ แต่พาร์ติชันขนาด 5 GB ที่กันไว้ตอนแรกไม่พอเสียแล้ว .. ก็แค่ซอร์สของ DVD แผ่นนึงก็หมดไป 4 กิ๊กแล้ว .. อิมเมจของ VCD ที่จะสร้างด้วย transcode ก็ใช้พื้นที่อีกประมาณ 1.4 GB (เท่ากับแผ่นซีดี 700 MB สองแผ่นไง) แต่เวลา encode ต้องมีพื้นที่ว่างๆ ประมาณสามเท่าของอิมเมจ รวมๆ กันแล้วต้องใช้พื้นที่ 8-9 GB .. เฮ่อ .. ฮาร์ดดิสก์ 60 GB จะหมดก็คราวนี้ล่ะฟะ .. วกกลับมาเรื่องพาร์ติชัน 5 GB กันต่อ .. ในเมื่อมันไม่พอก็ขยายพาร์ติชันสิ ข่าวดี (หรือหรือข่าวเก่าแล้วก็ไม่รู้) คือพาร์ติชันที่ใช้ไฟล์ซิสเต็มแบบ ext2/ext3 สามารถย่อ/ขยาย ได้โดยข้อมูลไม่สูญหาย ไม่ต้องลบ หรือย้ายข้อมูลก่อนด้วย .. โอ๊ะ .. ทำได้ไงๆๆ …

สิ่งที่ต้องทำมีสองส่วนคือปรับขนาดของไฟล์ซิสเต็ม และปรับขนาดของพาร์ติชันครับ .. การปรับขนาด ext2/ext3 ทำได้ด้วย resize2fs ส่วนขนาดของพาร์ติชันก็ใช้ fdisk นี่ล่ะ .. เริ่มกันเลย ..

สมมติว่าต้องการขยาย /dev/hda7 ก่อนอื่นต้อง fdisk ก่อน ดูให้แน่ใจว่ามีที่ว่ามีที่ว่างต่อจากพาร์ติชันที่ต้องการขยาย จากนั้นทำตามขั้นตอนนี้

  1. unmount file system ที่จะขยายเสียก่อน
  2. เรียกโปรแกรม fdisk
  3. จดตัวเลข start ของ /dev/hda7 .. จดสิๆๆ
  4. ลบ {{/dev/hda7 ทิ้ง ..เอ่อ.. ไม่ต้องห่วงๆ เพราะข้อมูลทุกอย่างยังไม่หายไปไหน มันแค่ลบ entry ในตารางพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้ลบข้อมูล .. แต่ถ้าต้องการให้มันกลับมาก็ต้องสร้างพาร์ติชันที่มีตำแหน่งเริ่มต้นตรงที่เดิม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องจด start ของ /dev/hda7 ไว้ ..
  5. สร้างพาร์ติชัน /dev/hda7 เริ่มต้นที่เลข start ตัวเดิม กำหนดขนาดตามต้องการ แต่ไม่เกินพื้นที่ว่างที่เหลืออยู่
  6. บันทึกการเปลี่ยนแปลง ออกจาก fdisk
  7. รีบูต .. เพื่อความแน่นอน.. รีบูตเลยครับ .. ผมเคยพลาดมาแล้ว ใจร้อน ไม่ยอมรีบูต ไฟล์ซิสเต็มหาย ข้อมูลไปหมดเลย กู้กันสามวันสามคืน ได้ข้อมูลสำคัญๆ กลับมา 3-4 MB แต่ชีวิตหลังจากนั้นเหมือนกลับไปอยู่อดีต 3 เดือนก่อน เพราะแบคอัพล่าสุดอายุประมาณนั้น
  8. หลังจากรีบูตแล้ว e2fsck -f /dev/hda7 พาร์ติชันก่อนหนึ่งที
  9. จากนั้นสั่ง resize2fs /dev/hda7 แล้วก็ลุ้น.. ไม่ต้องกลั้นหายใจนะครับ ถ้าขยายไฟล์ซิสเต็มให้โตขึ้นใหญ่มากๆ ก็ต้องรอนานเป็นนาทีเหมือนกัน :)

ส่วนการย่อขนาดพาร์ติชัน ต้องสั่ง resize2fs เพื่อเปลี่ยนขนาดไฟล์ซิสเต็มก่อน แล้วค่อย fdisk ไปแก้ขนาดพาร์ติชัน สมมติว่าจะย่อ /dev/hda7 ให้เหลือแค่ 1048576 blocks ก็สั่ง

resize2fs /dev/hda7 1048576

จากนั้นก็เข้า fdisk จดตำแหน่งเริ่มต้นของพาร์ติชัน ลบพาร์ติชันของ /dev/hda7 ทิ้ง แล้วสร้างใหม่แบบเดียวกับการขยาย ข้อควรระวังคือ ต้องกำหนดขนาดพาร์ติชันไม่ให้เล็กไปกว่าขนาดที่ระบุตอน resize2fs (เช่น ในตัวอย่างนี้คือ 1048576 blocks) เพราะจะทำให้ข้อมูลหายได้

เสร็จแล้ว ขอตัวไป RIP DVD ก่อนละคร้าบบบ

แชร์ไฟล์/พรินเตอร์ผ่านโปรโตคอล AppleTalk ด้วยลินุกซ์

ที่ห้องแล็ป IRL พรินเตอร์จะต่อตรงกับเครื่อง Yggdrasil แล้วก็แชร์ผ่าน Samba ให้คนอื่นๆ ได้ใช้ แต่แล้วก็เกิดมีเครื่อง Apple PowerBook และ Apple iBook โผล่เข้ามาในเน็ตเวิร์ค แรกๆ ก็ไม่คิดว่าจะยุ่งยากอะไรจนกระทั่งได้รู้ว่า MacOS X มันไม่สามารถพิมพ์ผ่าน SMB ได้ …แปลกแฮะ ที่จริง OSX ก็มี SMB นะครับ แต่ว่ามันใช้ได้กับไฟล์เท่านั้น .. เท่าที่ google หาดูก็มีทางออกอยู่ 2-3 ทางคือ ซื้อ DAVE มาใช้ โปรแกรมนี้คงเรียกได้ว่าเป็น Samba for Mac แต่ไม่ฟรี (~ US$150) .. หรืออีกทางนึงก็คือคอนฟิกให้ Yggdrasil รู้จัก AppleTalk แล้วแชร์ไฟล์และพรินเตอร์ผ่าน netatalk .. อืมม.. วิธีหลังนี่น่าสนใจครับ :)

เคอร์เนลของลินุกซ์มี AppleTalk นานพอสมควรแล้ว และมีแพคเกจสำหรับแชร์ไฟล์ ไดเรคทอรี่ และพรินเตอร์ได้ .. แพคเกจที่ว่านี่ก็คือ netatalk (อ่านว่า เนต–ทอล์ค ลากเสียง ‘เนต’ ยาวๆ) .. ก่อนอื่น จัดการกับเคอร์เนลซะก่อน เช็คดูก่อนว่าเคอร์เนลสนับสนุน AppleTalk หรือยัง ถ้ายังก็ต้อง recompile เคอร์เนลครับ

CONFIG_ATALK=y or m

จากนั้นติดตั้ง netatalk มี rpm เยอะแยะ หาดาวน์โหลดเอา ดีฟอลต์คอนฟิกฯ จะแชร์โฮมไดเรคทอรีให้อัตโนมัติ ค่อนข้างสะดวก ที่ต้องเพิ่มเข้าไปก็เป็นพวก แชร์พรินเตอร์ หรือ ไดเรคทอรีอื่นๆ

สำหรับลินุกซ์ทะเล ใช้ CUPS ก็แก้ /etc/atalk/papd.conf โดยเพิ่ม

HP4:
:pr=|/usr/bin/lpr:
:op=root:
:pd=/etc/cups/ppd/HP4.pdd:

บรรทัดแรก เป็นชื่อพรินเตอร์ที่จะปรากฏเมื่อเชื่อมผ่าน AppleTalk

บรรทัดที่สอง เป็นคำสั่งในการพิมพ์งาน กรณีของ CUPS จะใช้คำสั่งอย่างที่ปรากฏในตัวอย่างนี้ ส่วนอื่นๆ .. google เอา

บรรทัดที่สาม เป็น queue operator ของทะเลใช้ lp หรือไม่ก็ root ไปเลย

บรรทัดสุดท้าย เป็น ppd ที่จะใช้ ..ปกติแล้วเมื่อติดตั้งพรินเตอร์ CUPS จะสร้าง ppd เก็บไว้ที่ /etc/cups/ppd ก็เอามาใช้ได้เลย

ส่วนแชร์ไดเรคทอรี สามารถเพิ่มใน /etc/atalk/AppleVolumes.default เช่น

/usr2/public "Shared Space"

จากนั้นก็สตาร์ทเซอร์วิส atalk และ/หรือ คอนฟิกให้เรียกใช้เมื่อบูต

ทางฝั่งเครื่องแมค ให้ enable AppleTalk ใน System Preference -> Network จากนั้นก็เพิ่มพรินเตอร์เข้าไปในระบบโดยเลือกตามรูป

อย่าลืมเลือก Printer Model เป็น Generic เพราะเท่าที่ทดสอบดูถ้าเลือกเป็นอย่างอื่นจะพิมพ์ไม่ออก หลังจากเพิ่มเข้าไปแล้วเน็ตเวิร์คพรินเตอร์นี้ก็จะเข้าไปเป็นพรินเตอร์ตัวนึงของระบบ ตั้งเป็นดีฟอลต์ก็ได้ถ้าต้องการ

จากนั้นก็ลองสั่งพิมพ์เอกสารดู ..

ถ้าไม่สำเร็จ ให้ลองดู log ของ atalk และ cups ที่เซิร์ฟเวอร์ครับ จากนั้นก็ตัวใครตัวมันละครับ แก้ปัญหากันเอาเอง :P .. ที่จริงยังเหลือไม้ตายอีกทางหนึ่งคือ พิมพ์ผ่าน IPP (Internet Printing Protocol) ไปที่ CUPS บน Yggdrasil .. แต่เอาไว้โอกาสหน้าก็แล้วกัน

เมาท์เมโมรีสติ๊กบน Sony Clie T-665C

รอมานานแสนนานกว่าจะหาวิธีคอนฟิกให้เมาท์ memory stick ของ Clie PEG T-665C และ Clie รุ่นหลังๆ ได้ .. ปัญหาติดอยู่ที่ไดรเวอร์ USB Storage ในเคอร์เนล ดังนั้นงานนี้จะต้องแก้ซอร์สของเคอร์เนลและต้อง recompile เคอร์เนลกันใหม่

ไฟล์ที่ต้องแก้คือ /usr/src/linux/drivers/usb/storage/transport.c .. ในไฟล์นี้ ให้เปลี่ยน

   /* was this a command-completion interrupt? */
 if (us->irqbuf[0] && (us->subclass != US_SC_UFI)) {
   US_DEBUGP("-- not a command-completion IRQ");
   return;
 }

เป็น

 us->irqbuf[0] = 0;

แก้เสร็จก็ recompile เคอร์เนล

เสร็จแล้วก็มาทดสอบกัน .. ต่อ Clie เข้ากับพอร์ต USB เรียกโปรแกรม MS Import บน Clie .. ลอง lsmod ดูน่าจะเห็นบรรทัด usb-storage (ถ้าไม่ขึ้นลอง modprobe usb-storage) .. /var/log/messages ควรจะมีข้อความประมาณนี้ :

[root@admin root]# tail /var/log/messages
Apr 11 15:37:01 admin kernel: hub.c: USB new device connect on bus1/2, assigned device number 2
Apr 11 15:37:01 admin kernel: usb.c: USB device 2 (vend/prod 0x54c/0x99) is not claimed by any active driver.
Apr 11 15:37:04 admin /etc/hotplug/usb.agent: Setup usb-storage for USB product 54c/99/100
Apr 11 15:37:04 admin kernel: Initializing USB Mass Storage driver...
Apr 11 15:37:04 admin kernel: usb.c: registered new driver usb-storage
Apr 11 15:37:04 admin kernel: scsi0 : SCSI emulation for USB Mass Storage devices
Apr 11 15:37:04 admin kernel:   Vendor: Sony      Model: CLIE MGMS         Rev: 1.00
Apr 11 15:37:04 admin kernel:   Type:   Direct-Access                      ANSI SCSI revision: 02
Apr 11 15:37:04 admin kernel: Attached scsi removable disk sda at scsi0, channel 0, id 0, lun 0
Apr 11 15:37:04 admin kernel: usb-uhci.c: interrupt, status 3, frame# 24
Apr 11 15:37:04 admin kernel: SCSI device sda: 126848 512-byte hdwr sectors (65 MB)
Apr 11 15:37:04 admin kernel: sda: Write Protect is off
Apr 11 15:37:04 admin kernel:  sda: sda1
Apr 11 15:37:04 admin kernel: USB Mass Storage support registered.

หรือจะดูที่ /proc/scsi/scsi ก็ได้

[root@admin root]# cat /proc/scsi/scsi
Attached devices:
Host: scsi0 Channel: 00 Id: 00 Lun: 00
  Vendor: Sony     Model: CLIE MGMS        Rev: 1.00
  Type:   Direct-Access                    ANSI SCSI revision: 02

ทีนี้ก็ลองเมาท์กันเลย

mount -t vfat /dev/sda1 /mnt

เท่านี้ก็เรียบร้อย .. เมื่อเลิกใช้ให้สั่ง

umount
rmmod usb-storage

แล้วค่อยกดปุ่ม disconnect ที่ MS Import .. ฮุๆๆ ได้อย่างนี้แล้วก็โหลด mp3 ไปฟังล่ะคร้าบบบ :D

เขียนแผ่นซีดีบนลินุกซ์ด้วย cdrecord และ mkisofs

ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เริ่มเยอะขึ้นๆ ทุกวัน สงสัยต้องเขียนลงแผ่นซีดีซักหน่อย แต่ในลินุกซ์ทะเล 5.0 ไม่มีโปรแกรมสำหรับเขียนซีดีง่ายๆ เลยครับ .. เอาวะ เล่นมันถึกๆ นี่ล่ะ ใช้ mkisofs + cdrecord ก็ได้ :D .. สองโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมหลักที่ใช้เขียนซีดีบนลินุกซ์ ส่วนโปรแกรมที่เป็นอินเทอร์เฟซสวยๆ ใช้ง่ายๆ อย่างพวก EClipt Roaster เป็นแค่หน้ากากที่ช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเอง และเอาเข้าจริงๆ แล้วใช้ mkisofs + cdrecord ก็ไม่ได้ยากอะไรเลย จำแค่สองคำสั่งก็ใช้ได้แล้วครับ .. ที่เราจะทำก็คือใช้โปรแกรม mkisofs สร้างอิมเมจของแผ่นซีดีก่อน แล้วจึงเอาอิมเมจที่ได้ไปเขียนลงแผ่นจริงๆ อีกทีด้วย cdrecord ..

สร้าง ISO อิมเมจ

เริ่มกันที่สร้างอิมเมจก่อน คำสั่งพื้นฐานในการสร้างอิมเมจก็คือ

[root@yggdrasil kitt]$ mkisofs -o image.iso /source/tree

mkisofs จะสร้างไฟล์ซิสเต็มและจัดโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลเสมือนกับว่า image.iso เป็นแผ่นซีดีแผ่นนึง แล้วก๊อปปี้ข้อมูลทั้งหมดจากไดเรคทอรี่ /source/tree ลงไป .. แต่การใช้งานจริงเรามักต้องการให้ซีดีใช้กับวินโดวส์หรือโอเอสอื่นๆ ได้ด้วย .. นอกจากนั้นอาจจะต้องการใช้ชื่อไฟล์ยาวๆ และชื่อไฟล์ภาษาไทยอีก จึงต้องระบุออพชันเพิ่มเติมเข้าไป ..อืมม.. เอาเป็นว่าจำคำสั่งนี้ไปเลยก็แล้วกันครับ:

mkisofs -V "My Label" -v -r -jcharset cp874 -o image.iso /source/tree

อธิบายสักนิด

-V "My Label" เป็นการกำหนด volume label ของแผ่น เป็น “My Label” .. เปลี่ยนข้อความตามใจชอบ แต่อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูดกันไว้สักหน่อย

-v หมายถึง verbose ที่จริงไม่จำเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องระบุก็ได้ แต่ผมชอบให้มันแสดงข้อความเยอะๆ จะได้รู้สึกว่ามันกำลังทำงานอยู่ :P

-r ตั้ง permission เป็น public permission อันนี้ใส่กันเอาไว้ เผื่อเอาแผ่นไปใช้กับลินุกซ์หรือยูนิกซ์อื่นๆ จะได้ไม่มีปัญหาเรื่อง permission ของไฟล์..

-jcharset cp874 เป็นการกำหนดให้ใช้ Joliet ซึ่งทำให้เก็บชื่อไฟล์ได้ยาว 64 ตัวอักษร และตั้ง charset สำหรับ Joliet เป็นภาษาไทย (cp874 คือ codepage ภาษาไทย) .. ออพชันนี้ทำให้วินโดวส์แสดงชื่อไฟล์และไดเรคทอรี่ภาษาไทยได้ถูกต้อง

หลังจากได้ไฟล์ image.iso แล้ว อาจจะอยากทดสอบดูก่อนเขียนลงแผ่นซีดี.. ไม่ยากๆ .. เพราะเราสร้าง image.iso เสมือนเป็นแผ่นซีดีอยู่แล้ว การทดสอบจึงทำได้โดยการเมาท์ไฟล์ image.iso ..

[root@yggdrasil kitt]# mount -o loop image.iso /mnt

คำสั่งนี้จะเมาท์ไฟล์ image.iso ไว้ที่ /mnt ออพชัน -o loop เป็นการระบุว่าเราต้องการเมาท์อิมเมจของไฟล์ซิสเต็ม .. เมาท์ได้แล้วก็ลอง ls -lR /mnt ดู .. ถ้าทุกอย่างดูเรียบร้อยดีแล้วก็ umount /mnt แล้วก็เตรียมเขียนลงแผ่นจริงๆ กันล่ะครับ

เผาแผ่นกันล่ะ

ก่อนอื่นต้องสแกนหาไดรว์ที่จะใช้เขียนเสียก่อน โดยใช้คำสั่ง:

[root@yggdrasil kitt]# cdrecord -scanbus
Cdrecord 2.0 (i686-pc-linux-gnu) Copyright (C) 1995-2002 J#rg Schilling
Using libscg version 'schily-0.7'
scsibus0:
        0,0,0     0) 'LITE-ON ' 'LTR-40125S      ' 'ZS0N' Removable CD-ROM
        0,1,0     1) *
        0,2,0     2) *
        0,3,0     3) *
        0,4,0     4) *
        0,5,0     5) *
        0,6,0     6) *
        0,7,0     7) *

จากตัวอย่างจะเห็นว่าไดรว์เขียนซีดีเป็นดีไวซ์ 0,0,0 .. หมายเลขดีไวซ์นี้จะเอาไปใช้ระบุไดรว์เมื่อสั่ง cdrecord ..

[root@yggdrasil kitt]# cdrecord -v speed=32 dev=0,0,0 -data image.iso

ออพชันที่ระบุประกอบด้วย

-v หมายถึง verbose .. เช่นเคย

speed=32 หมายถึงเขียนที่ 32x แต่อัตราการเขียนจริงๆ อาจจะไม่ตรงกับค่านี้

dev=0,0,0 เป็นการระบุให้ใช้ดีไวซ์หมายเลข 0,0,0 ในการเขียนซีดี

-data image.iso เป็นการระบุให้เอาไฟล์ image.iso ไปเขียนลงซีดี

ทีนี้ก็นั่งรอ ไม่กี่นาทีก็ได้แผ่นซีดีอุ่นๆ ออกมา :)

Cdrecord 2.0 (i686-pc-linux-gnu) Copyright (C) 1995-2002 J#rg Schilling
TOC Type: 1 = CD-ROM
scsidev: '0,0,0'
scsibus: 0 target: 0 lun: 0
Linux sg driver version: 3.1.24
Using libscg version 'schily-0.7'
atapi: 1
Device type    : Removable CD-ROM
Version        : 0
Response Format: 2
Capabilities   :
Vendor_info    : 'LITE-ON '
Identifikation : 'LTR-40125S      '
Revision       : 'ZS0N'
Device seems to be: Generic mmc CD-RW.
Using generic SCSI-3/mmc CD-R driver (mmc_cdr).
Driver flags   : MMC-3 SWABAUDIO BURNFREE FORCESPEED
Supported modes: TAO PACKET SAO SAO/R96P SAO/R96R RAW/R16 RAW/R96P RAW/R96R
Drive buf size : 1422080 = 1388 KB
FIFO size      : 4194304 = 4096 KB
Track 01: data   676 MB
Total size:      776 MB (76:56.77) = 346258 sectors
Lout start:      777 MB (76:58/58) = 346258 sectors
Current Secsize: 2048
ATIP info from disk:
  Indicated writing power: 7
  Is not unrestricted
  Is not erasable
  ATIP start of lead in:  -11597 (97:27/28)
  ATIP start of lead out: 359849 (79:59/74)
Disk type:    Short strategy type (Phthalocyanine or similar)
Manuf. index: 20
Manufacturer: Princo Corporation
Blocks total: 359849 Blocks current: 359849 Blocks remaining: 13591
Forcespeed is OFF.
Starting to write CD/DVD at speed 32 in real TAO mode for single session.
Last chance to quit, starting real write    0 seconds. Operation starts.
Waiting for reader process to fill input buffer ... input buffer ready.
BURN-Free is ON.
Turning BURN-Free off
Performing OPC...
Starting new track at sector: 0
Track 01:  676 of  676 MB written (fifo 100%) [buf  98%]  32.9x.
Track 01: Total bytes read/written: 709132288/709132288 (346256 sectors).
Writing  time:  177.016s
Average write speed  27.3x.
Min drive buffer fill was 97%
Fixating...
Fixating time:   26.745s
cdrecord: fifo had 11170 puts and 11170 gets.
cdrecord: fifo was 0 times empty and 6789 times full, min fill was 51%.

สำหรับใครที่มีเครื่องเร็วพอ จะเขียนซีดีจากข้อมูลในไดเรคทอรีโดยไม่ต้องสร้างอิมเมจก็ได้ โดยสั่ง

[root@yggdrasil kitt]# mkisofs -V "My Label" -v -r -jcharset cp874 /source/tree
 | cdrecord -v fs=8m speed=36 dev=0,0,0 -

จะเห็นว่าเราไม่ได้ระบุ -o image.iso ใน mkisofs กรณีนี้ mkisofs จะส่งเอาท์พุตออก stdout แทน เราจึง pipe เข้าไปเป็นอินพุตของ cdrecord ได้โดยระบุออพชัน – (อยู่ท้ายบรรทัด) ซึ่งเป็นการกำหนดให้ cdrecord รับอินพุตจาก stdin … ส่วนออพชัน fs=8m เป็นการกำหนดขนาดของบัฟเฟอร์ในการเขียนซีดีให้มีขนาดเป็น 8 MB (ถ้าไม่ระบุจะเป็น 4 MB) .. ตามเอกสารของ cdrecord บอกไว้ว่าบัฟเฟอร์ควรมีขนาด 4 – 32 MB และแนะนำว่าขนาดอย่างน้อยควรจะเท่ากับบัฟเฟอร์ของไดรว์เขียนซีดี และอย่างมากไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยความจำของเครื่อง .. โดยทั่วไป 8 MB ก็เพียงพอแล้วครับ

สำหรับการก๊อปปี้ซีดีจากแผ่นนึงไปอีกแผ่นนึง ทำได้โดยสร้างอิมเมจของแผ่นต้นฉบับ ด้วยคำสั่ง

[root@yggdrasil kitt]# dd if=/dev/cdrom of=image.iso bs=1k

จากนั้นก็เอา image.iso ไปเขียนลงซีดีด้วย cdrecord หรือกรณีที่มีไดรว์สองตัวจะก๊อปแผ่นโดยไม่ทำอิมเมจก็ได้เหมือนกัน

สมมติว่า /dev/hdd เป็นไดรว์ที่ใส่แผ่นต้นฉบับ และ /dev/hdc เป็นไดรว์สำหรับเขียนแผ่นซีดี มี dev=0,0,0 ก็จะสามารถสั่งให้ก๊อปปี้แผ่นได้โดยใช้คำสั่ง

[root@yggdrasil kitt]# dd if=/dev/hdd bs=1k | cdrecord -v fs=8m speed=36 dev=0,0,0 -

เห็นเปล่า สั่งไม่เกินสองบรรทัดก็เขียนซีดีได้แล้ว ไม่ยากเลย :D