Final Fantasy – The Spirits Within

เกริ่นนำซะหน่อย.

Final Fantasy นี่มันเกมส์ RPG สุดคลาสสิคเลยล่ะคะ ตั้งแต่ FF I บน Famicom เมื่อสิบปีก่อนโน้น จนถึงเดี๋ยวนี้ FF X กำลังจะออกบน PS2 แล้ว.. เกมส์นี้เปิดตัวแต่ละครั้งก็ฮือฮาล่ะค่ะ หลายคนคงไม่ลืม video clip ของ FF VIII นะคะ .. ตอนนั้นเห็นภาพเส้นผมปลิวเป็นเส้นๆ ทำเอา อ้าปากค้างไปเป็นแถวๆ .. เฮียเกี๊ยกกับเฮียจุ๊บ ดูแล้วก็อุทานขึ้นมาว่า .. “เฮ้ยย.. มันทำได้ยังไงฟะ” .. เรื่อง นี้เอาไปคุยที่ร้านกาแฟหลังมอได้อีกหลายวันแน่ะ – -”

เวลาผ่านไป หลัง FF VIII ออกได้ไม่นานก็ได้ยินข่าวว่า Final Fantasy จะกลายมาเป็นภาพยนตร์.. ไม่ใช่ภาพยนตร์ธรรมดาซะด้วย แต่จะเป็นภายนตร์ที่สร้างโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิค 100% ค่ะ >:o .. แหม เรื่องอย่างนี้เข้าหูน้องมิ้นท์แล้วมีหรือจะรอเฉยๆ .. ว่างๆ เมื่อไหร่ก็เป็นอันต้องควานหา clip หาภาพตัวอย่างของ Final Fantasy the Movie มาดู เวลานั้นยังไม่มีชื่อเป็นทางการเลยมังคะ และแล้ววันนึงก็ได้ video clip มาดูสมใจ .. เอ่อ.. จะว่าสมใจก็ไม่เชิงค่ะ คือมันเป็นเหมือนหนังซูมล่ะ (- -“) คนที่เค้าเอามาให้ดูเค้าอัดมาจากจอ LCD ที่เค้าฉายเป็น demo ในประชุมวิชาการและสัมมนาของ ACM SIGGRAPH (SIGGRAPH = Special Interest on Computer Graphics เป็นกลุ่มคนที่ทำงานด้าน Computer Graphics ที่ใหญ่ที่สุดของโลกเลยล่ะ ทั้ง Industrial Light & Magic (ILM), Pixar, Digital Domain, PDI/DreamWorks, Silicon Graphics, Alias|WaveFront, Avid Technology แม้แต่ MIT, Stanford,หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็มีส่วนในงานนี้ และเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้าน CGI มาอวดกันทุกๆ ปีค่ะ) .. เป็นภาพนางเอกกระพริบตา กับภาพฉากแรกๆ ในหนังอีกนิดนึง.. แต่ก็อ้าปากค้างกันอีกรอบ .. แถมอุทานเหมือนเดิมค่ะ “เฮ้ยย.. มันทำได้ยังไงฟะ” .. เอิ้กๆๆๆ

ผ่านไปอีกหลายปี น้องมิ้นท์ไปดูการ์ตูนเรื่อง The Emperor’s New Groove ระหว่างดูตัวอย่างภาพยนตร์ ก็เจอภาพคุ้นตาอีกรอบ .. ภาพนางเอกกระพริบตา.. อ๊ะ.. ตัวอย่างหนัง Final Fantasy นี่นา >:o .. ไม่นานก็ไปหา download teaser trailer หนังเรื่องนี้มาจนได้ค่ะ เป็น QuickTime อะโห.. น่าดูๆๆๆ .. น้องมิ้นท์ก็เลยแวบๆ ไปหาข้อมูลการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่องนี้มาให้ได้อ่านกันหล๊ะค่ะ :D

The Spirits Within

ภาพยนตร์เรื่องนี้ชื่อเต็มคือ “Final Fantasy – The Spirits Within” ความยาว 107 นาที แปะว่าเป็น “SCI-FI ACTION VIOLENCE” แถมติด rate ว่าเป็น PG-13 ค่ะ เรียกว่าเป็นภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่องแรกที่ติด rate นี้ ปกติภาพยนตร์แอนนิเมชันจะเป็น G หรือไม่ก็ PG เท่านั้นเอง .. แต่เพราะผู้สร้างต้องการขยายกลุ่มผู้ชมให้กว้างขึ้น (เป้าหมายคือกลุ่มอายุ 12-34 ปีค่ะ) ก็เลยเลือก rate ที่สูงขึ้น ถ้าจะให้ถึง rate R มันก็ดูจะหนักไปหน่อย .. พอเลือกว่าจะเป็น rate PG-13 เนื้อเรื่องและการดำเนินเรื่องจึงมีข้อจำกัดน้อยกว่าภาพยนตร์แอนนิเมชัน หลายๆ เรื่องที่ผ่านมา และก็ทำให้การสร้างยากขึ้นด้วย เพราะต้องมีโครงเรื่องที่แข็งพอ และต้องทำให้สมจริง มากกว่าจะเป็นภาพเหมือนการ์ตูน โดยเฉพาะเรื่องอารมณ์ และการแสดงสีหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักสร้าง CG ทั้งหลาย.. ภาพยนตร์เริ่มสร้างเมื่อ 4 ปีที่แล้วค่ะ และเข้าฉายที่ อเมริกาวันที่ 11 กรกฏาคมที่ผ่านมา .. น้องมิ้นท์เขียนบทความนี้วันที่ 15 กรกฏา.. ร้านขายของชำแถวๆ นี้มีแผ่น VCD ให้เช่าแล้วอ่ะ …ไม่ต้องถามค่ะ.. Zoom ชัวร์ – -”

สมาคมภาพยนตร์แห่งอเมริกา (Motion Picture Association of America : MPAA) เค้าจัด rate ไว้ดังนี้ค่ะ
G – General audiences ดูได้ทุกเพศทุกวัย
PG – Parental guidance suggested ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำในการชม
PG-13 – Parents strongly cautioned ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำในการชม และมีภาพที่ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
R – Restricted ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 17 ชมโดยไม่มีผู้ปกครองให้คำแนะนำ
NC-17 – No one 17 and under admitted – อันนี้ห้ามเด็กอายุ 17 และต่ำกว่าดูเด็ดขาด
ส่วน rate X หรือ XXX หรือ จะอีกกี่ X นั่นไม่มีค่ะ ^-^

ครั้ง แรกที่ได้ดู trailer เรื่องนี้น้องมิ้นท์ว่ามันดูเหมือน StarCraft ยังไงชอบกลอ่ะ ^-^ .. ชุดเกราะของทหารหน่วย Deep Eye เหมือน uniform ของ Terran เลยค่ะ มีเอเลี่ยนฝังตัวในร่างนางเอกอีกต่ะหาก (เหมือน Kerrigan ใน StarCraft มั้ยเนี่ย ^-^) เรื่องนี้ผู้สร้างเค้าออกมาบอกว่า ภาพยนตร์จะใกล้เคียงกับเกมส์ Final Fantasy ภาคหลังๆ ค่ะ คือเป็นภาพของอนาคตที่มีความไฮเทค มากกว่าจะเป็นภาพอดีตที่เป็นโลกของเวทมนตร์ ในภาพยนตร์จึงไม่มีดาบวิเศษ แก้ววิเศษ หรือเวทมนตร์ หลายคนที่ได้ดูภาพยนตร์เลยรู้สึกว่าไม่ค่อยจะเป็น Final Fantasy .. เหตุผลอีกอย่างที่ผู้สร้างตั้งใจสร้างภาพยนตร์ออกมาคนละแบบกับคอนเซปของ เกมส์ก็คือ ภาพยนตร์ที่ลอกแบบมาจากเกมส์ที่ผ่านมามักจะล้มเหลว เพราะมันเหมือนเอาเกมส์มาสร้างเป็นหนังให้ดู แถมบางเรื่องยังดำเนินเรื่องตามเกมส์อีกต่ะหาก ไม่ต้องเดาก็รู้ว่าจะจบยังไง มันก็ไม่สนุกสิคะ.. เค้าเลยเลือกสร้างโดยใช้ theme เดียวกันกับเกมส์ มีเพลงประกอบคล้ายกัน มีตัวละครที่ขนานกับตัวละครในเกมส์ อย่างตัวละครของซิดที่ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักประดิษฐ์ และไฮด์ที่ต้องเป็นผู้ร้ายอะไรแบบนั้น แต่ทำออกมาเป็นอีกแบบเลย คือมีความเป็นภาพยนตร์จริงๆ ไม่ใช่เป็นภาพยนตร์จากเกมส์เหมือนเรื่องอื่นๆ .. ส่วนของเนื้อเรื่องน้องมิ้นท์ดูจนจบแล้วก็พอจะบอกได้ว่ามันยังคงมีกลิ่นของ Final Fantasy อยู่เหมือนกัน ไม่ถึงกับหายไปจนหมด .. แน่นอนค่ะว่า พล็อตของเรื่องเข้มข้นกว่าในเกมส์ เพราะในหนังจะภาพความสัมพันธ์ของตัวละครได้ชัดเจน ตัวร้ายก็แสนจะร้าย ผูกความสัมพันธ์ของตัวละครได้ชัดกว่าในเกมส์เยอะค่ะ ตัวละครเด่นๆ บางตัวถูกเลือกให้เสียชีวิต เพื่อสร้างอารมณ์ของหนังให้ถึงขีดที่ต้องการ (คล้ายๆ FF VII เน้อะ..จำได้มั้ยคะว่า ใน FFVII ตามโครงเรื่อง Aeris ที่เป็นนางเอกยอมสละชีวิตเพื่อช่วยโลก .. ปรากฏว่าเด็กญี่ปุ่นคนนึงเล่นเกมส์นี้แล้วอินมากๆ ..ฆ่าตัวตายตามหล๊ะค่ะ >:o .. เล่นเอา SquareSoft เศร้าไปเลยเพราะคาดไม่ถึงว่าจะมีอิทธิพลมากขนาดนั้น .. น้องมิ้นท์ยังเจอ case ของพี่ๆ ที่เล่น FF VII พอ Aeris ตายถึงกับหงอยไปหลายวัน ..บ่นแล้วบ่นอีกว่าไม่น่าตายเลย… เพราะอย่างนี้ล่ะค่ะ ถึงต้องเป็น rate PG-13) .. หนังจึงออกมาเป็นดราม่าด้วย ซึ่งก็ตรงกับที่ผู้สร้างเค้าตั้งใจไว้ค่ะ .. เรื่องราวจะเป็นยังไงให้ไปดูเองดีกว่าค่ะ…เรื่องนี้คนที่ไม่รู้จัก Final Fantasy เลยก็ดูได้สบาย เพราะมันไม่เกี่ยวอะไรกับเกมส์เลย ส่วนคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ FF ก็ไม่ควรพลาดค่ะ ยิ่งสนใจ CGI ด้วยล่ะก็..พลาดไม่ได้เด็ดขาดเลยค่ะ >:o ..

Computer Graphic Imagery : ศิลปะในการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์

เนื่อง จากผู้สร้างเค้าต้องการให้ผู้ชมเปรียบเทียบกับมนุษย์จริงๆ ก็เลยสร้างสถานการณ์ทุกอย่างให้เกิดบนโลก และมีมนุษย์ดำเนินเรื่อง และเรื่องยากก็เกิดขึ้นตรงนี้เอง การสร้างมนุษย์ CG 100% ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย คนที่ไม่เข้าใจอาจจะรู้สึกเฉยๆ หรืออาจจะคิดว่าเหมือนกับ scan รูปถ่ายเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ..แต่ที่จริง CG 100% หมายความว่าทุกอย่างที่เห็นในภาพยนตร์ ไม่มีอะไรที่มาจากธรรมชาติเลย ผิวหนัง เส้นผม ของตัวละคร สร้างด้วยสมการคณิตศาสตร์ กล้ามเนื้อเป็นโมเดลวัตถุสามมิติ เสื้อผ้า เส้นผมที่ชี้ไปชี้มา หรือปลิวตามลม ทุกอย่างมาจากคอมพิวเตอร์ล้วนๆ สร้างเทียมขึ้นมาหมดเลย เท่านี้ก็เริ่มจะมึนๆ แล้วล่ะค่ะ @_@ นี่ยังไม่รวมสิ่งของและวัตถุตามธรรมชาติอื่นๆ ต้นไม้ ดิน น้ำ ฝุ่น ฯลฯ ที่ต้องสร้างขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์.. งานนี้จึงเป็นงานที่ท้าทายมากๆ ทั้งสำหรับคนสร้างและสำหรับคอมพิวเตอร์ค่ะ >:o

ที่จริงการสร้างตัว ละคร CG ที่เหมือนมนุษย์นี่เป็นความฝันของศิลปิน CG เลยล่ะค่ะ .. ทำไมการสร้าง CGI ถึงได้ยากเย็นนัก ?? แหม ที่จริงแล้วจะว่ายากก็ไม่ถึงกับอาศัยพรสวรรค์หรอกนะคะ แต่จะว่าง่ายก็ไม่ง่ายค่ะ.. อธิบายอย่างนี้ดีกว่า.. CGI เนี่ยต้องอาศัยความเข้าใจในหลายๆ ด้านค่ะ ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์อย่างเดียว ถ้าลองไล่ๆ ดูก็มีดังนี้ค่ะ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ฟิสิกส์ โปรแกรมมิ่ง พวกนี้จะเป็นตัวหลัก..ในกรณีที่สร้าง CG ที่เป็นมนุษย์ ผู้สร้างต้องเข้าใจโครงสร้างของมนุษย์ กายวิภาค (อ๊ะๆ อย่าแปลกใจนะคะ .. น้องมิ้นท์เรียนศิลปะมาก่อนยังได้เรียนกายวิภาคเลย ตั้งเทอมนึงเต็มๆ T_T) จำเป็นต้องสร้างให้มีการแสดงออกทางสีหน้า มีการขยับตัวที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ และจับผิดได้ง่ายเพราะเป็นสิ่งที่เราเห็นทุกวัน สิ่งเหล่านี้จะต่างจาก T-Rex ใน Jurassic Park หรือ Draco ใน Dragonheart ที่เป็นสิ่งในจินตนาการ กรณีอย่าง T-Rex/Draco เราจึงบอกได้แค่ว่า”สมจริง” และพอใจกับความสมจริงนั้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามัน “เหมือนจริง” แค่ไหน เพราะไม่มีตัวจริงมาเปรียบเทียบ …

ตัวละคร CG เต็มตัวครั้งแรกที่น้องมิ้นท์เคยเห็นก็คือ Kyoko Date ค่ะ .. เป็นตัว CG ในโปรเจค DK-96 ของบริษัท CG แห่งหนึ่งฝนญี่ปุ่น มีเป้าหมายในการสร้าง virtual idol ขึ้นในปี 1996 บริษัทที่สร้างเค้าทำทุกอย่างให้ Kyoko กลายเป็นคน มีประวัติส่วนตัว วันเกิด หมู่เลือด นิสัย ชายในฝัน ฯลฯ เหมือนคนๆ นึงจริงๆ เลยล่ะค่ะ. จะว่าไปแล้ว Kyoko Date ออกเทปด้วยนะคะ ขายอยู่ญี่ปุ่นโน่น มีถ่ายรูปลงปกนิตยสาร มีถ่ายโฆษณา .. อ๊ะ..ใช่ๆๆ ถ่าย MV ด้วย น้องมิ้นท์เคยก๊อปไว้ ^-^” .. ความรู้สึกตอนนั้นคือตื่นเด้นเหมือนกัน แม้ว่ามันจะดูเหมือนกับการ์ตูนมากกว่าคนจริงๆ แต่เวลานั้นทำได้อย่างที่เห็นก็ดีสุดๆ แล้ว.. ตอนนั้นภาคคอมฯ ได้เครื่อง SGI Impact 10000 มาก็ยังคิดเล่นๆ กันเลยค่ะว่าน่าจะทำ CG ผู้ชายไปเป็นแฟน Kyoko เอิ้กๆๆ ^-^ …. CG ถัดมาที่น่าสนใจในช่วงที่ผ่านมาก็คงหนีไม่พ้น Toy Story, A Bug’s Life, Antz และ Dinosaur .. แต่อย่างไรก็ตามทั้งสี่เรื่องนี้ยังไม่ได้แสดงให้เห็น CG ที่เป็นมนุษย์.. มาเห็นอีกทีก็ FF VIII ค่ะ.. MV เพลง Eyes on me สุดฮิต หลายคนคงได้เห็นกันแล้ว แถมด้วย trailer ของ FF VIII ที่ขนาดเห็นเส้นผมปลิว เป็นเส้นๆ อย่างที่บอกล่ะค่ะ .. เรียกได้ว่าพัฒนาเทคโนโลยีมาอยู่ในระดับที่สูงกว่า Kyoko Date เยอะเลย …แต่ทั้งหมดที่ผ่านมานี่ เทียบไม่ได้กับเทคโนโลยีที่เอามาสร้าง Dr. Aki Ross นางเอกของ The Spirits Within เลยค่ะ.. สวยผิดกันเลย.. (หมายถึงความเหมือนจริงนะคะ ^-^” ) …

มาดูกันค่ะว่า ใน The Spirits Within พัฒนา CG ไปถึงไหนบ้าง..

การ เคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติเวลานี้ยังทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ยากค่ะ ใครที่เคยใช้ software สร้าง CG จะรู้ว่าเวลาทำบนคอมพิวเตอร์มันดูเก้ๆ กังๆ ยังไงชอบกล ^-^” ดังนั้นวิธีที่ง่ายกว่าคือจับภาพการเคลื่อนไหวของมนุษย์ไปใส่คอมพิวเตอร์แทน .. เค้าเรียกกันว่า “Motion Capture” ค่ะ ที่จริง motion capture นี้เป็นวิธีที่ทำกันมานานมากๆ แล้ว .. น้องมิ้นท์กะๆ ไว้ก็ไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้วค่ะ ในปัจจุบันการทำ motion capture เค้าจะให้ผู้แสดงสวมชุดแนบเนื้อ ติด retro-reflective marker ไว้ตามตำแหน่งต่างๆ 37 จุดค่ะ เจ้า marker นี่เราจะเห็นเป็นลูกกลมๆ สีขาว เหมือนลูกปิงปองค่ะ เวลาจะ capture เค้าจะใช้กล้องพิเศษยิงแสงสีแดงไปยังผู้แสดงเป็นจังหวะๆ แล้วก็จับภาพสะท้อนที่ได้จาก marker ไว้.. กล้องนี้ต้องใช้หลายๆ ตัวค่ะเพื่อจะได้เก็บภาพได้สมบูรณ์และได้ภาพในพื้นที่สามมิติจริงๆ อย่างที่ทีม The Spirits Within ใช้กล้องทั้งหมด 16 ตัวในการจับการเคลื่อนไหว ข้อมูลจากกล้องก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะไป match กับ skeleton ที่เป็นเหมือนโครงกระดูกของตัวละคร CG อีกที .. แล้วเราก็จะได้การเคลื่อนไหวที่เหมือนมนุษย์เป๊ะๆ ล่ะค่ะ ..

มาดูที่ โมเดลกันบ้าง … พื้นผิวที่เป็นผิวหนังเป็นส่วนที่ยากที่สุดส่วนนึงในการสร้าง CG ของมนุษย์ค่ะ.. ที่ผ่านมาเราเห็น CG ที่ผิวเหมือนพลาสติก บางโมเดลนี่เงาขึ้นหน้าเลยค่ะ ต้องเอาแป้งมิสทีนโปะซะให้เข็ด เอิ้กๆๆ ^-^ .. ผิวหนังมีรายละเอียดมีเยอะมากค่ะ อย่างริ้วรอย รูขุมขน รอยแผล สิว ขี้แมลงวัน รอยตกกระ ฯลฯ .. ถ้าจะให้เหมือนจริงมันก็ต้องมีหมดเลยล่ะค่ะ เท่านั้นยังไม่พอ ต้องทำให้ดูเป็นธรรมชาติด้วย แสงเงาต้องถูกต้องพอดี โดยเฉพาะผิวหน้าที่ต้องสมบูรณ์จริงๆ เพราะต้องปรากฏภาพบนแผ่นฟิล์มหลายช็อตเหมือนกัน เทคนิคที่ทีมงานใช้คือการสร้าง texture สองมิติที่แนบเนียนมากๆ มาแปะบนโครงตัวละคร CG ที่เป็นสามมิติ แล้วก็ซ้อนด้วย bumping layer ที่ทำให้ผิวดูไม่เรียบ ไม่เป็นพลาสติก สุดท้ายก็ปิดด้วย layer ที่ควบคุมการสะท้อน และกระจายแสงถูกต้อง ..

โมเดลของกล้ามเนื้อ ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากพอสมควร เพราะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อจะมีความสัมพันธ์กัน เท่าที่เห็นเค้าก็จะสร้างเป็นวัตถุสามมิติแต่ละส่วนจะเป็นโมเดลของกล้าม เนื้อที่ยึดติดกัน แล้วก็เขียนสมการเป็นตัวโยงถึงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ คำนวณว่าถ้าออกแรงขยับกล้ามเนื้อชิ้นนึงเท่านี้จะมีผลต่อรูปร่างของกล้าม เนื้ออื่นๆ เท่าไหร่ โมเดลจะต้องเปลี่ยนรูปไปอย่างไร อะไรทำนองนี้ล่ะค่ะ .. เช่นเดียวกับเสื้อผ้า ที่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อมีการขยับตัว มีรอยยับ รอยย่น หรือพริ้วไหวเมื่อผู้แสดงเปลี่ยนอิริยาบถ (cloth simulation กำลังจะนำไปใช้ในเกมส์แล้วค่ะ) ถ้าทำให้เหมือนจริง ดูเป็นธรรมชาติ ก็จะช่วยให้ภาพบนจอมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โมเดลกล้ามเนื้อที่ยากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น ใบหน้า เหมือนเดิมค่ะ จะให้ยิ้ม เศร้า หัวเราะ โกรธ ทำยังไงถึงจะเหมือนจริง แถมใบหน้านี่มัน capture ไม่ค่อยได้ด้วยสิคะ ก็เลยกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีก ที่ผ่านมา CG ไม่ว่าการ์ตูนหรือมนุษย์ก็ต้องทำทั้งนั้น อย่างที่เห็นใน Toy Story, A Bug’s Life, Antz, และ Shrek เค้าก็มีเหมือนกัน แต่เป็นวิธีที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าเพราะเป็นโมเดลในจินตนาการ และเผยอารมณ์ได้เต็มที่กว่าในเชิงของภาพการ์ตูน (อย่างฉีกยิ้ม ก็ยิ้มสุดๆ ไปเลย อะไรอย่างนี้น่ะค่ะ) .. แต่การสร้างสีหน้าของมนุษย์บนคอมพิวเตอร์จะมีความละเอียดอ่อนกว่านั้น เท่าที่อ่านๆ มานะคะ ว่ากันว่าใน The Spirits Within นี้ CG แสดงความเศร้า กับรอยยิ้มได้ดีทีเดียว …. จริงรึเปล่าต้องพิสูจน์กันค่ะ

เส้นผม ก็เป็นเรื่องยากเพราะมันไม่เป็นระเบียบ ปกติเค้าใช้การวาดผมเป็นก้อนๆ ทั้งหัวเลย แต่ใน The Spirits Within ใช้วิธีการแปะเส้นผมทีละเส้น (ทั้งหมดมี 60000 เส้น) บนหนังศรีษะของ CG ซึ่งทำให้ได้ภาพที่เหมือนจริงกว่าวิธีวาดเอาทั้งหัว การสร้างเส้นผมทีละเส้นทำให้ควบคุมภาพที่ออกมาได้ง่ายขึ้น และเหมือนจริงมากๆ อย่างเช่นเวลาที่ผมโดนลมพัด เวลาสะบัดผม ยังกะโฆษณายาสระผมเลยค่ะ .. เช่นเดียวกับ หนวด เครา ซึ่งว่ากันว่าทำให้เหมือนจริงได้ยากที่สุดอย่างนึง แม้ว่าหลักๆ จะสร้างได้เหมือนกับเส้นผม แต่มันจะมีการขยับและการซ้อนทับที่ไม่แน่นอน มีแสงเงาที่เปลี่ยนไปเมื่อกล้ามเนื้อบนใบหน้าขยับ หรือเพียงแค่ขยับปากพูด .. ทำซับซ้อนขนาดนี้ render ที รอกันเงกแน่เลยค่ะ .. แต่เพื่อความสมจริง มันก็คุ้มที่จะรอชมผลค่ะ ^-^

คงเดากันได้ไม่ยากนักว่างาน CG แบบนี้ ไม่พ้น Silicon Graphics แหงๆ .. สำหรับ The Spirits Within นี่ก็เหมือนกันค่ะ animators/programmers ทุกคนมีเครื่อง SGI Octane Visual Workstations อย่างน้อยคนละเครื่อง (รวม 167 เครื่องค่ะ) ส่วน Server หลักเป็น SGI Origin series 2000 ขนาดเท่าตู้เย็นโตๆ อีก 4 ตัว .. นอกจากนี้ก็มี SGI Onyx2 จำนวน 4 เครื่องเป็น visualization system สำหรับทำ key animation เอาทุกอย่างมารวมกันในฉากเพื่อดูภาพคร่าวๆ ว่าจะเป็นอย่างไร ก่อนจะลงมือ render จริงๆ .. บริษัท Square มี Render Farm ประมาณ 900+ CPU ค่ะ เป็น Linux Cluster .. หลายคนอาจจะแปลกใจตรงนี้นะคะ แต่ที่จริงแล้วบริษัท Digital Domain เคยใช้ Linux ในการ render ภาพมาตั้งแต่เรื่อง Titanic โน่นแล้วหล่ะค่ะ .. ส่วน Software งานนี้หลักๆ เพียงไม่กี่ตัวเอง ที่นับๆ มาก็มี Alias|Wavefront Maya for SGI สำหรับ 3D animation และ Pixar RenderMan for Linux สำหรับ render ภาพ ส่วนงานวาดภาพ งานเพนท์ งานวาดฉาก พื้นผิวที่จะเอาไปแปะบนโครงสามมิติหนีไม่พ้น Adobe PhotoShop PC/Mac ค่ะ .. รายละเอียดปลีกย่อยก็มีพวก software/plug-ins ที่ทีมงานพัฒนากันเองเพื่อให้ได้ effect ที่ต้องการ โดยใช้ Maya API, Maya Embedded Language (MEL) หรือแม้แต่ C/C++ ในงานที่ต้องการความเร็ว..

พูด ถึงความเร็ว.. เวลานี้ฝ่าย CGI ของหลายๆ ค่าย (เช่น ILM, Digital Domain, PDI/DreamWorks) เริ่มขยับมาใช้ Intel-based Worktstation กันมากขึ้นแล้วค่ะ เพราะทำงานได้เร็วสูสีกับ SGI Workstation แต่ราคาถูกกว่าเยอะเลย (จะว่าไป SGI Workstation เดี๋ยวนี้มีที่เป็น Intel-based ด้วยค่ะ) .. Software หลายๆ อันเริ่ม port ลงมาที่ Linux หรือไม่ก็ลงบน Windows NT/2000 แล้ว… Alias|WaveFront Maya นอกจากบน SGI/IRIX แล้วก็ลงมาอยู่บน Windows NT/2000, MacOS และ RedHat Linux ด้วย .. ส่วนเรื่อง render ตอนนี้ Pixar RenderMan for Linux เป็นตัวหลักเลยค่ะ อย่างที่ PDI/DreamWorks มี Render Farm ขนาด 1000+ CPU เป็น Linux ซะ 80% SGI 20% .. ข้อดีของ Render Farm ที่เป็น Intel-based คือมีขนาดเล็ก (Dual PIII 1 GHz หนาแค่ 1.75 นิ้ว – เสียบ rack 19 นิ้วกินพื้นที่แค่ U เดียวเองค่ะ) ติดตั้งง่าย กินไฟน้อยกว่า ราคาถูกกว่าของ SGI มาก แค่ค่า license ของ OS ก็ทุ่นไปได้เยอะแล้วค่ะ เรื่องนี้น่าติดตามเพราะที่ผ่านมา SGI เป็นหนึ่งในด้านนี้มาตลอด แต่เวลานี้กำลังถูกท้าทายด้วย PC Workstation ที่ใช้ Linux .. ส่วนด้าน software 3D animation เวลานี้ Avid Technologies ซึ่งซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ SoftImage มาจาก Microsoft เมื่อปี 1998 ก็ต้องสู้กับ Alias|WaveFront ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SGI เหมือนกัน .. แข่งกันเยอะๆ ก็ดีค่ะ ผลประโยชน์จะได้ตกมาที่ผู้ใช้อย่างเรา :D

เอาต์โทร…

.. คงต้องหาทางจบบทความแล้วค่ะ.. เรื่องนี้หลายคนที่ดูที่อเมริกาแล้วก็วิจารณ์ว่าเนื้อเรื่องก็งั้นๆ แหละ แต่ CG นี่ถือว่าเป็นการก้าวขึ้นมาอีกระดับเลย ..แต่ก็นั่นล่ะค่ะ บางคนเค้าไม่เข้าใจว่าการสร้าง CG มนุษย์มันยากก็อาจจะรู้สึกไม่ประทับใจ เพราะที่ผ่านมา CG สร้างความเหมือนจริง และความน่าทึ่งให้เห็นในภาพยนตร์หลายเรื่องแล้ว ก็อาจจะคิดว่าสร้าง CG มนุษย์ ก็คงเหมือนสร้างทอร์นาโดใน Twister หรือคลื่นยักษ์ใน Perfect Storm .. แหม .. ที่เห็นผ่านๆ มานั้นมันเป็นแค่เอา CG ไปสร้าง visual effect หรือ special effect เท่านั้นค่ะ ในขณะที่ The Spirits Within เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างแบบ realistic CGI

ทุกครั้งที่มีแอนนิเมชันดีๆ ออกมาก็ต้องถามคำถามยอดฮิตค่ะ “ดาราดิจิทัลจะมาแทนมนุษย์ได้หรือเปล่า ?? ” .โฮะๆๆ ….เรื่องนี้ตั้งเป็นสภากาแฟหลังมอหลายต่อหลายหนแล้วค่ะ.. แม้ว่าจะได้ข้อสรุปกันในความคิดของพวกเราที่ไปนั่งคุยกัน แต่ก็.. นะคะ.. พอมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาก็ยังอดถามกันอีกครั้งไม่ได้ .. ทีมของ SquareSoft ซึ่งเคยทำงานกับ Digital Domain, ILM เคยได้ Academy Awards มาแล้ว ตอบอย่างมั่นใจเลยค่ะ..”ไม่” >:o …อนาคตอาจจะมีภาพยนตร์ CG 100% เหมือน The Spirits Within หรือ เราอาจนำมันมาช่วยสร้างภาพที่เกินขอบเขตของแสตนอิน/สตันท์แมน/ช่างภาพในบาง ฉากได้ ใช้ทำ visual effect/special effect ได้.. แต่เราไม่อาจใช้ CG สร้างภาพยนตร์ได้ทุกเรื่องทุกประเภทไม่ว่ามันจะเหมือนจริงขนาดไหนก็เถอะ ค่ะ… เหตุผลมีมากมายเลย สิ่งที่แน่นอนก็คือแอนนิเมชันไม่ใช่จะเหมาะที่จะแทนมนุษย์ในหนังทุกเรื่อง คือถ้าทำหนังอย่าง The Matrix เนี่ยพอได้ และเหมาะสม เพราะคิดดีๆ แล้ว The Matrix มีโครงของเรื่องที่เป็นการ์ตูน เราคงจะพอนึกภาพออกว่ามันสร้างได้ แต่ถ้าเอาไปทำ Big Daddy หรือ Cast Away ล่ะก็มึนไปเลยล่ะค่ะ ถึงจะทำได้ก็คงออกมาได้ไม่ดีเท่า Adam Sandler หรือ Tom Hanks แสดงแน่ๆ เนื่องจากธรรมชาติของหนังแต่ละเรื่องมันต่างกัน มีโครงที่ต่างกัน และมีจุดในการนำเสนอที่ต่างกันไงคะ… ข้อจำกัดอีกอย่างคือ .. ต่อศิลปิน CG ทั้งหลายสร้างภาพได้เหมือนจริงแค่ไหน มันก็เป็นแค่ความเหมือนจริงภายนอกของตัวละคร แต่การทำให้ตัวละครนั้นมีชีวิตขึ้นมาจริงๆ ยังต้องอาศัยมนุษย์อีกกลุ่มนึงค่ะ….ใครน่ะเหรอ ?? “นักพากษ์” ไงคะ .. ลองคิดดูสิคะว่าทำไมผู้สร้างถึงเลือก Micheal J. Fox มาพากษ์ Stuart Little ..ทำไม Woody ต้องเป็น Tom Hanks ทำไม Buzz Lightyear ต้องเป็น Tim Allen ไม่ใช่ว่าเพราะคนเหล่านี้เป็นดาราดังหรอกนะคะ (อาจจะใช่ก็ได้ นิ๊ดนึงอ้ะ แผนโปรโมทๆๆ ^-^”) แต่เพราะคนเหล่านี้เป็นนักเสดงที่ใส่วิญญาณให้ตัวละคร CG ได้อย่างสมบูรณ์น่ะสิคะ คนเหล่านี้ต่างหากที่เป็นผู้แสดงในเรื่อง .. อย่างน้อยก็ในเวลานี้ค่ะ.. คงจะอีกหลายปี หรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คอมพิวเตอร์จะเลียนแบบอารมณ์มนุษย์ได้ .. ก็สำหรับมนุษย์เราน่ะ..จะมีอะไรซับซ้อนไปกว่าเรื่องของอารมณ์อีกล่ะคะ.. ใช่มั้ย ? ^-^

อ๊ะ.. เกือบลืม ได้ยินว่าจะมีภาคสองค่อนข้างจะแน่นอนแล้วนะคะ หรืออย่างน้อย Aki Ross ก็เกิดในวงการแน่ๆ แล้วค่ะ และอาจจะมีผลงานออกมาให้เราเห็นอีก .. เวลานี้ทีมพัฒนาเค้ากำลังเขียนโปรแกรมที่สร้างภาพขึ้นมาใหม่ หลักๆ คือเรื่องของความแสง การกระดอนของแสง ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องประมวลผลเพิ่มขึ้นอีกเยอะ ว่ากันว่าอาจจะใช้เวลามากขึ้นเป็น 20, 30 หรือ 100 เท่า เพื่อให้ได้ภาพที่เหมือนจริงยิ่งกว่า The Spirit Within .. แต่ตอนนี้ยังเป็นเพียงการทดลองอยู่ค่ะ จะใช้งานจริงก็จะต้อง optimize กันให้มันเร็วขึ้นแน่นอน

เอาล่ะค่ะ..จบดีกว่า .. อ่านมาถึงขนาดนี้คงพอรู้แล้วว่าจะดูหนังเรื่องนี้ ต้องดูอะไร ตรงไหนบ้าง ต้องสังเกตอะไรในตัวละคร.. น้องมิ้นท์ดูหนัง zoom ไปรอบนึงแล้ว และแน่นอนว่าจะต้องไปดูในโรง อีกรอบ แถมด้วย VCD ไม่ก็ DVD อีกแผ่นนึง .. จะได้ซื้อ DVD Drive จริงๆ ก็คราวนี้หล๊ะค่ะ .. แหมเป็นแฟน Final Fantasy มาตั้งแต่ FF I จะพลาดได้ไง คาดว่าขาประจำอย่าง พี่เคโระ พี่จุ๊บ เฮียเกี๊ยก ไม่พลาดแน่นอนเหมือนกัน ^-^ … จะไปดูกันวันไหนก็อย่าลืมชวนน้องมิ้นท์นะคะ .. อย่าลืมจ่ายค่าตั๋วให้ด้วยล่ะ เอิ้กๆๆ.. วันนี้ต้องไปก่อนล่ะค่ะ บ๊ายบาย ^-^