Category Archives: Blog

Atom Fixed / News

Feed เข้า Planet TLWG แล้ว ปรากฏว่ามีบั๊กนิดหน่อย แสดงผลเพี้ยนๆ .. อาศัยลอก atom.xml ของคนอื่นก็พบว่า เขาทำ content ให้เป็น escaped ก่อน แล้วใน tag content ก็กำหนด mode เป็น escaped ไว้เลย .. ตอนนี้แก้ไข feed แล้วคิดว่าคงจะใช้งานได้

พักนี้ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวมาก วันนี้เลยสแกน gnomedesktop.org อย่างเร็วไปรอบนึง

  • Football Management Game for Linux เหมือน cman ? … เข้าคิว build (kitty-extras)
  • Monkey Bubble ตระกูล bubble มาอีกแล้ว เล่นผ่านเครือข่ายได้ :) … เข้าคิว build(kitty-extras)
  • Customizing GNOME for KDE/Win/Mac Users ….เห็นสกรีนช็อตแล้วก็ ขออวดมั่ง .. bluecurve control + simple border + scalable gorilla icons + customized gtkrc / iconrc .. :P
  • Screen Corner & Edge daemon .. น่าใช้ดี แต่ Havoc ไม่ชอบแฮะ … เข้าคิว build (kitty-testing)
  • BEAST/BSE 0.6.2 … เข้าคิว rebuild (kitty-extras)
  • KDE 3.3 beta 1 …. มองแล้วเมิน .. ลอล …หลังๆ นึกถึง KDE ทีไรก็อยากย่อยแพ็กเกจ KDE ในทะเลซะทุกที ทำไมต้องลง kdenetwork ทั้งกระบิเพื่อใช้ kppp ตัวเดียวด้วยฟะ .. (จริงๆ ก็ไม่ได้ใช้ kppp แหละ .. ifup เอา)
  • QEMU .. เจ๋งมาก สมาชิกห้อง #tlwg แนะนำมา บอกว่าเลิกใช้ vmware ไปเลย .. โอ นะ … เข้าคิว build (kitty-extras)

อ่อ .. ตั้งแต่ใช้ X.org ผมใช้ x2x ไม่ได้แล้ว .. x2x เป็นซอฟต์แวร์สำหรับใช้เมาส์/คีย์บอร์ดชุดเดียวสลับไปควบคุมคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง คล้ายๆ KVM switch แต่เป็นซอฟต์แวร์ .. ใช้งานง่ายมาก คอนฟิกว่าจะให้จอไหนอยู่ ซ้าย-ขวา แล้วจอมันจะเสมือนเชื่อมกัน ลากเมาส์ผ่านขอบจอไปโผล่อีกจอนึงได้ เมาส์อยู่บนจอไหนก็คุมการทำงานกับเครื่องนั้น สะดวกดี

.. พอ x2x ใช้ไม่ได้ ตอนนี้เลยเอา synergy มาใช้แทน ก็โอเค ไม่ชอบเท่า x2x เพราะต้องสั่งเครื่องที่ต่อเมาส์/คีย์บอร์ดเป็นเซิร์ฟเวอร์ แล้วค่อยสั่งเครื่องที่เหลือเป็นไคลเอนด์เชื่อมเข้ามา ขณะที่ x2x สั่งจากเครื่องที่ต่อเมาส์/คีย์บอร์ดไปคุมเครื่องอื่นได้เลย .. ก็ยังดีกว่าไม่มีใช้แหละ :P

Mail Config. Day

เช้าๆ ราชบุรีแจ้งมาว่า หลังจากอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ไปแล้วมีปัญหาเรื่องเมล เช็คดูสักพักก็พบว่าเป็นที่ MX ของโดเมนอื่นชี้มาที่เซิร์ฟเวอร์ แต่ไม่ได้ตั้งให้ postfix รับเมล แก้ไขแล้วก็ใช้งานได้ .. ปล่อยให้มีปัญหาเสียตั้งหลายวัน เฮ่อ

ที่เครื่อง gear.kku.ac.th ก็มีปัญหาเหมือนกัน แต่เป็นคนละเรื่อง ระบบเมลของ gear ใช้ postfix + amavisd + clamav + spamassassin กรองทั้งไวรัสและสแปม เมื่อวานได้รับรายงานว่า amavisd มันทำงานบนฟรีบีเอสดีแล้วเพี้ยนๆ ไม่ยอมกักไวรัสกับสแปมเข้า quarantine .. ตอนแรกคิดว่าเป็นคนเดียว แต่พอ google หาก็เจอว่าหลายคนมีปัญหาเดียวกัน แล้วก็ยังแก้กันไม่ได้ .. เข้าไปแกะสคริปต์ก็มี comment ว่าสคริปต์จะมีปัญหาเวลารัน perl -T ซึ่งเกิดเฉพาะ perl บางเวอร์ชันเท่านั้น แต่ดันเป็นเวอร์ชันที่ใช้บนฟรีบีเอสดีพอดีเลย (- -‘) .. ตอนนี้แก้ไม่ถูก เลย workaround ไปก่อนโดยรัน perl ธรรมดา (ไม่ -T) แล้ว chroot ไว้กันเหนียว .. ลอง tail -f /var/log/maillog มอนิเตอร์พักใหญ่ก็ไม่เจอปัญหาเดิมแล้ว

ไหนๆ ก็ดู amavisd แล้ว เลยลองตรวจ SpamAssassin ดูด้วย ทดสอบยิงสแปม 40 ฉบับ 40 แบบที่สะสมไว้จาก quarantine ในเซิร์ฟเวอร์ที่ AIT ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้ง 40 ฉบับโดนตีตราเป็นสแปมหมดเลย แม่นโคตร ตอนนี้ที่ห่วงจะเป็น false positive มากกว่า เลยต้องเฝ้าดูเมลมากเป็นพิเศษ .. จะว่าไป SpamAssassin เก่งไม่เบาเลย ไม่นานมานี้ก็เพิ่งมีคนทดสอบสแปมฟิลเตอร์แล้วได้ผลว่า SpamAssassin ทำงานได้แม่นยำเป็นอันดับหนื่ง เหนือกว่าพวกที่ขายแพงๆ ซะอีก .. ตอนนี้ได้เครื่องแรงเลยลองเปิด Bayes auto learn ด้วย .. ถ้าสแปมหลุดรอดออกมาได้ก็แสดงว่าเจ๋งจริงแหละ .. หุๆๆ

บ่น: เดือนที่แล้วกับเดือนนี้ไม่รู้เป็นอะไร ภาระงานเยอะแทบไม่มีเวลาหายใจ .. แต่คิดในแง่ดี งานเยอะๆ ก็ดีแล้วแหละ ถ้ายังเป็นงานที่ชอบอะนะ ตอนนี้ยังพอมีตังค์กินข้าว ให้ทำฟรีก็ทำ :P

FYI: เปลี่ยนแปลงเวลาบันทึกปูมเว็บ (ปูมเว็บ = weblog – พอได้มั้ยหว่า) เล็กน้อย เลื่อนขึ้นมา 24 ชั่วโมง จะได้เหมือนคนอื่นๆ เขา แปลว่าสิ่งที่ได้อ่านของวันที่ n เป็นสิ่งที่เกิดในวันที่ n-1 ครับ

Upgrading gear.kku.ac.th

วันอาทิตย์ เข้าไปทำงานที่ภาควิชาฯ ไม่ได้อัปเกรด gear.kku.ac.th – เซิร์ฟเวอร์ของภาควิชาฯ – มาระยะนึงแล้ว กลับมาเที่ยวนี้ต้องอัปเกรดเสียหน่อย พอดีว่ามีเครื่องใหม่มาใช้งานแทนเครื่องเดิมด้วย ก็เลยลงแบบสะอาดๆ ได้ .. ใช้ฟรีบีเอสดีเช่นเคย (4.10-RELEASE) ติดตั้งแบบ customize เสร็จแล้วก็ cvsup ports sys คอมไพล์เคอร์เนล ติดตั้ง server software + tools ที่จำเป็นจาก ports .. จากนั้นก็ย้าย /home ของระบบเดิมมาเครื่องใหม่ (จะมาเสียเวลาเยอะก็ตรงนี้แหละ นานกว่าตอน cvsup ports ซะอีก – -‘) .. เสร็จเรียบร้อย สลับ IP เครื่องเก่ากับเครื่องใหม่ สั่ง reboot พร้อมกัน ตู้มม .. ssh เข้าระบบใหม่ แก้ไขอีกนิดหน่อยก็เรียบร้อย ของกล้วยๆ :D

ถ้าจำไม่ผิด gear.kku.ac.th เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ลินุกซ์ตัวแรกของ ม.ข. (เครื่องที่สองเป็นของ ชีวเคมี คณะแพทย์ฯ เครื่องที่สามคือ ftp.kku.ac.th) .. ถ้านับตั้งแต่ติดตั้งเครื่องนี้สำเร็จเป็นครั้งแรก อายุก็มากกว่าสิบปีแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย จากลินุกซ์ที่มีแผ่นติดตั้งเกือบๆ สี่สิบแผ่น ดาวน์โหลดจาก ฟินแลนด์ สวีเดน และอเมริกา ใช้เวลาเป็นเดือน (แบนด์วิดธ์ของ ม.ข. ในสมัยนั้น19.2Kbps) .. ต่อมาก็ไช้ Slackware, Red Hat – เริ่มติดตั้งจาก CD, gzipslack (ที่เอา zipslack มาทำเป็น mini distro. เอง) ก่อนจะเปลี่ยนแปลกครั้งใหญ่เป็นฟรีบีเอสดี 4.2 จากนั้นก็ตามอัปเดตฟรีบีเอสดีมาตลอด ฮาร์ดแวร์จาก 486DX2-66MHz RAM 16 MB ก็ค่อยๆ เพิ่มเป็น 32 MB (~3 ปี) เป็น Pentium 75 MHz (~3 ปี), Pentium MMX 233 MHz (~3 ปี), Pentium II 266 MHz (~1 ปี) ล่าสุดตอนนี้เป็น Pentium-4 2 GHz .. มีแค่เครื่องแรกสุดเครื่องเดียวที่สเปคทันสมัย (ในยุคนั้น) หลังจากนั้นมากสเปคล้าหลังตลอด .. gear.kku.ac.th เปิดใช้งาน 24×7 มาตั้งแต่วันแรกๆ พอเปลี่ยนมาใช้ฟรีบีเอสดีก็ x100% เข้าไปอีกเพราะมี seti@home (ที่ nice 15) ด้วย .. ระบบไม่เคยงอแงเลย รับภาระงานได้สบายๆ ไม่รู้สึกว่าหน่วง ยิ่งเป็นฟรีบีเอสดีแล้วเสถียรภาพของระบบดีมากๆ uptime ครั้งละหลายๆ เดือน (i.e., จนกว่า UPS ดับ) ปัญหาจุกจิกน้อย ดูแลรักษาก็ง่าย .. ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมค่าเฉลี่ยจำนวนเซิร์ฟเวอร์/ผู้ดูแล ของลินุกซ์/ยูนิกซ์จะสูงได้ถึง 44 เซิร์ฟเวอร์/คน ในขณะที่วินโดว์สอยู่ที่ราวๆ 10 เซิร์ฟเวอร์/คน .. อัปเกรดฮาร์ดแวร์คราวนี้ได้ Pentium-4 2 GHz จะว่าแรงเกินจำเป็นก็อาจจะได้ แต่ไหนๆ ก็มีเครื่องเร็วๆ ใช้ เลยตั้งให้ฟิลเตอร์สแปมกับไวรัสหนักๆ หน่อย เปิดได้วันเดียวก็มีรายงานไวรัส W32* มาแล้ว รายงานฟิลเตอร์สแปมได้อีกตรึม .. workunit ของ seti@home ก็น่าจะไปได้เร็วกว่าเดิมอีกหลาย .. ลอล

วันจันทร์เช้ากลับมานอนพักที่บ้าน .. ตื่นบ่ายๆ ก็ขับรถมากรุงเทพฯ มีงานต้องทำอีกเป็นกอง .. ส่งศุกร์นี้แล้วด้วย T_T

X.org + GNOME 2.6.2 + Live CD@home

วันศุกร์ตั้งใจจะลง X.org กับ GNOME 2.6.2 แต่ตื่นมาก็เย็นแล้ว ที่ว่าจะกลับบ้านเลยเลื่อนเป็นตอนเช้าเสาร์แทน

คืนศุกร์นั่งอัปเกรดระบบทั้ง Peorth และ Yggdrasil .. ลงที่ Yggdrasil โดยใช้ Synaptic ช่วยเลือกแพ็กเกจ พอเลือกได้สั่ง Execute โหลดแพ็กเกจมา 4-500 แพ็กเกจเห็นจะได้ เริ่มติดตั้งไปสักพัก ค้าง .. Synaptic เอาอีกแล้ว .. ตัดสินใจว่าลงใหม่เลยดีกว่า เริ่มต้นใหม่ที่ TLE Lite เปลี่ยน XFree86 เป็น X.org ตามด้วยอัปเกรดเป็น 2.6.2 และเป็น aowthai/TLC เต็มตัว (รายงานการติดตั้ง aowthai) ขั้นตอนอัปเกรดยุ่งยากพอสมควร ถึงจะมี apt ช่วยไว้เยอะแล้วก็ตาม .. และเพราะไลบรารีมีการเปลี่ยนแปลง เลยเป็นการบังคับให้ต้อง rebuild gimp abiword gaim aalib และ trafshow ใหม่สำหรับไลบรารีใหม่ๆ ด้วย .. พอทำบน Yggdrasil ได้เลยอัปเกรด Peorth ต่อ .. เรียบร้อยแล้วก็ genbasedir + sync ขึ้นเซิร์ฟเวอร์ เสร็จราวๆ หกโมงกว่าๆ .. เก็บของกลับบ้าน …

วันเสาร์ ออกเดินทางหกโมงครึ่ง ถึงขอนแก่นราวๆ สิบโมงครึ่ง .. เที่ยวนี้พก TLE Live CD กับ MandrakeMove มาด้วย เลยได้ลองใช้กับเครื่องที่บ้าน (Urd) .. MandrakeMove ผ่านฉลุย ใช้งานได้ราบรื่นมากๆ .. ส่วน TLE LiveCD สแกนหา image ไม่เจอ เลยยุ่งยากหน่อย เล่นเอามึนไปเหมือนกัน

อัปเดตแพ็กเกจ The GIMP 2.1.0 Unstable นอกจาก rebuild ให้ใช้ไลบรารีของ GNOME 2.6.2 แล้วก็คอมไพล์ให้ใช้ Little CMS สำหรับ Color Management และ libwmf สำหรับ Windows Meta File ด้วย .. ใครอยากใช้ก็ตามมาใช้ aowthai กับผมได้นะ :)

A long day .. and night

คืนก่อนโน้นไม่ได้หลับได้นอน เมื่อคืนได้นอนบนเก้าอี้ห้องแล็บสี่ชั่วโมง วันนี้เปรี้ยว ทำงานทั้งวันตั้งแต่หกโมงเช้า คอมพิวเตอร์สองเครื่องทำงานให้ไม่ทัน มีแอบหลับประปรายรอเครื่องประมวลผล ภาระงานลดลงไปบ้างแล้ว .. เป็นอีกหนึ่งวันที่ใช้ CPU 100% เกือบตลอดวัน และใช้ workspaces ที่เปิดไว้สี่หน้าจอจนเกลี้ยงทั้งสองเครื่อง .. อุปาทานไปว่าใช้งานคอมพิวเตอร์ได้คุ้มค่าดี … ลอล

เครื่อง Yggdrasil ใช้อัปเดตแพ็กเกจตามที่บอกไว้ mono, mod_mono, gtk-sharp อัปเป็น 1.0 หมดแล้ว สาวก .Net เอาไปใช้กันซะ ตามด้วย Liferea, TeXmacs, cdrtools (cdrecord, readcd, mkisofs, cdda2wave, … ) ใครที่เคยมีปัญหาเวลา copy cd / clone cd บน K3b ลองอัปเดต ทั้ง K3b (0.11.12) และ cdrtools (2.1a32) นะครับ อย่าลืมเข้าเมนู settings -> configure K3b -> Programs เช็คให้ชัวร์ๆ ว่าเป็นตัวใหม่ด้วยนะครับ

build แถม – xmms-crossfade rebuild เพราะตัวเดิมใช้แล้ว memory leak อย่างแรง .. เพิ่มแพ็กเกจ monopd + gtkatlantic ( + dependencies) มันก็คือเกมส์เศรษฐี (Monopoly ®) ออนไลน์แหละ .. monopd เป็นเซิร์ฟเวอร์ ส่วน gtkatlantic หรือ atlantic (KDE) เป็นไคลเอ็นด์ ยังไม่มีเวลาลองเล่นนะครับ โหลดไปเล่นแล้วรายงานผลมาให้ฟังก็จะดีครับ

เครื่อง Peorth .. วันนี้จำลองเครือข่ายหาจำนวนเส้นทางทั้งหมดเพื่อเทียบกับจำนวนเส้นทางเมื่อใช้ routing algorithm ที่ออกแบบใหม่ และเทียบกับจำนวนเส้นทางใน full-meshed network .. ใช้ modified BFS/DFS หาจำนวนเส้นทางในกราฟธรรมดา .. แรกๆ จำนวน node น้อยๆ ก็แป๊บเดียว แต่พอเครือข่ายใหญ่เกิน 20 nodes ทีนี้ไม่อยากนับแล้ว ขึ้น 30 nodes ใช้ 32-bit integer ชักไม่พอ ต้องเอา 64-bit long มาใช้แทน .. จำนวนเส้นทางใน full-meshed network ยิ่งมหาศาลไปใหญ่ แต่คำนวณจากสูตรได้ไม่ต้อง simulate แล้ววัด … พอคิดจะคำนวณกลับไม่มีโปรแกรมคณิตศาสตร์ติดมาบนลินุกซ์เลย จะ octave / scilab ก็ไม่ใช่งานมัน MuPAD ก็ยังใช้ไม่เป็น maxima ยิ่งไปกันใหญ่ จะโปรแกรมเอง/สคริปต์ก็ไม่เอาแล้ว .. สุดท้ายขุด MathCAD 2.5 เพื่อนเก่า มาใช้บน DOSBox เอา .. หุๆๆๆ .. ทำไมไม่มีใครทำอะไรแบบ MathCAD บนลินุกซ์มั่งหว่า ใช้ก็ง่าย อินเทอร์เฟสก็เข้าใจง่าย ทำงานก็เร็วดี สมัยเรียนใช้ทำแล็บแห้งประจำ :P

รวบรวมผลได้ครบก็เอาเข้า gnumeric คำนวณอีกนิดหน่อยแล้ว export เป็น csv มา plot ด้วย gnuplot อีกที .. อืมม แบบนี้ก็เวิร์กแฮะ :)

เว็บ kitty.in.th .. ตอนแรกก็จะแก้แค่ code ของห้องเก็บของ เอาไปเอามา เจอบั๊กเล็กๆ น้อยๆ อยู่ประปราย แก้มันทุกห้องเลยทีนี้ .. ใครเข้าไปเยี่ยมชมอาจจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ แต่เฉลยให้ฟังก็ได้ว่า ก่อนหน้านี้เผางานสุดๆ ไม่กล้าเอา code ให้ใครดูเลย .. ตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว code สะอาดกว่าเดิม .. ไว้ว่างๆ จะมาจัดระเบียบอีกที :)

พรุ่งนี้ตั้งใจว่าจะกลับบ้าน น้ำมันแพงก็ไม่สน ไม่ได้เห็นหน้าลูกๆ เดือนกว่าแล้ว.. เบื่ออาหารแถวนี้แล้วด้วย อืมม.. อยากกลับไปกินแหนมเนือง แหนมคลุก ส้มตำ เนื้อย่างเกาหลี เบียร์โครเนนกับไส้กรอกเยอรมัน ข้าวเหนียวหมูปิ้ง กาแฟหลังมอด้วย .. :D~~

Things to do

  • code repository page
  • rebuild (mono 1.0, gtk-sharp 1.0, liferea 0.5.1, TeXmacs 1.0.3.10, cdrtools 2.01a32… )
  • hacks (Evolution, GNU Cash, … )
  • อ่าน (Helix community .. เอาให้เคลียร์ๆ)
  • up system เป็น GNOME 2.6.2 … ฮุๆๆๆ :)
  • เขียน thesis
  • เก็บข้อมูล simulation … รันมาสามวันแล้ว ได้คำตอบแค่ 25% .. เฮ่อ
  • เตรียมคอร์สอบรม ฯลฯ
  • เว็บแปล PO
  • อ่านหนังสืออีกหลายเล่ม

..

.. ทำแล้วมีความสุขก็ทำต่อไป .. อะนะ..

.. อายุยังน้อย จะนอนอะไรกันนักกันหนา .. ไว้อีก 40 – 50 ปีข้างหน้า นอนไม่ตื่นก็ไม่มีใครว่า … ลอล

Atom feed activated !

นั่งมั่วๆ อยู่สองวัน และแล้วก็ทำ atom feed เสร็จแล้ว โดย feed ของ blog จะอยู่ที่ http://kitty.in.th/index.php/feed/atom/ ครับ

เพื่อเป็นการยืนยันว่า feed conform กับ atom จริงๆ ผมทดสอบด้วย feed validator ที่ http://atomenabled.org/feedvalidator ผลที่ได้ก็เป็น ดังนี้ ครับ

เขียน feed ยังไง ? .. atom มี specification อยู่แล้ว ผมแค่ลอกๆ ตัวอย่างมาใช้ + ใช้ feed ของ blogger มาเปรียบเทียบ ก็เขียน xml output ได้แล้ว (ขโมย atom css ของ blogger มาใช้ด้วย ใช้ browser ที่สนับสนุน xml เข้าไปดูก็จะเห็นหน้าตาคล้ายๆ feed จาก blogger :P) .. ที่เสียเวลาจะเป็นตรงที่ต้องแปลง html ที่เก็บในฐานข้อมูลจาก tis-620 เป็น utf-8 ซึ่งวิธีง่ายสุดคือ compile php ใหม่ให้สนับสนุน iconv จากนั้นใน .php ก็ประมาณ

iconv("tis-620", "utf-8", $string)

เพื่อแปลงข้อมูลทุกชิ้นที่ query มาจากฐานข้อมูลจาก tis-620 เป็น utf-8 .. เรื่อง convert ก็ผ่านไปได้

ที่เสียเวลาอีกอย่างคือผมไม่ได้บันทึก content เป็น well-formed html ก็เลยต้องมาแก้ content อยู่เหมือนกัน โดยเบื้องต้นนี้แก้ไปเฉพาะที่จะ feed ออก (บันทึกล่าสุด 7 รายการ) .. และต่อจากนี้เวลาบันทึก blog และอื่นๆ ก็ต้องไม่ลืมที่จะบันทึกเป็น well-formed html .. ทำเป็นนิสัยเลยก็ดีเหมือนกัน

ย้าย mailing list เกือบทุกตัวให้ส่งไปที่ gmail แทน ฮุๆ ที่ก็เยอะ ค้นก็ง่าย .. เท่าที่คำนวณหยาบๆ gmail ให้พื้นที่ 1 GB น่าจะเต็มประมาณปีหน้าโน่น .. ถึงตอนนั้น ถ้า gmail ยังฟรีอยู่ก็ค่อยทำความสะอาดกัน :)

Repo. มีอัปเดตเล็กน้อย k3b 0.11.12, glibmm 2.4.3, gtkmm 2.4.3, gkrellm 2.2.1, acroread 5.0.9 แก้ไขให้ plugin ติดตั้งกับ browser อื่นๆ ได้, และ เพิ่ม latex-xft-fonts ใน unstable แพ็กเกจนี้บรรจุ math fonts (*.otf) สำหรับ latex/lyx :)

Extras มี xmms-crossfade, pearpc 0.2.0, และ firefox 0.9.1.. ตัวหลังนี้เป็น binary re-package – เอา pre-compiled binary มา package เป็น rpm ให้ติดตั้ง/ถอดถอนได้ง่าย พร้อมกับทำเมนู ไอคอนให้เรียบร้อยแล้ว ตัวนี้จะติด dependency ไลบรารีตัวนึงที่ไม่มีในทะเล (libcom_err.so.3) นะครับ ผมลองตัด depend ออกและทดลองใช้ดูตลอดทั้งคืน ยังไม่เจอปัญหาอะไรครับ .. มี issue อีกเล็กน้อยสำหรับ firefox 0.9.1 คือ ถ้าติดตั้งแล้ว user ธรรมดารันไม่ได้ ให้รัน /opt/firefox/firefox ด้วย root หนึ่งครั้ง แล้วหลังจากนั้น user ธรรมดาควรจะใช้งานได้ครับ

Dream

ว่ากันว่า ความฝันเป็นภาพขาวดำที่เราคิดว่าเป็นสี จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ .. แตที่แน่ๆ เมื่อคืนฝันว่าไปถ่ายภาพขาวดำมาจำนวนนึง ทุกภาพมีองค์ประกอบแปลกตา .. ซึ่งจริงๆ แล้วผมจัดองค์ประกอบอย่างนั้นไม่เป็นหรอกนะ .. ตื่นมา ก็ยังจำภาพถ่ายในฝันได้ชนิดที่ไม่หายไปจากหัวเลยทั้งวัน สำหรับผมถือว่าเป็นเรื่องแปลกก็พอได้เพราะไม่เคยฝันแล้วจำภาพได้ชัดขนาดนี้มาก่อน .. สักวันจะถ่ายทอดความฝันนี้มาให้ดู (แต่ต้องซื้อ D70 ให้ได้ก่อนนะ .. ลอล)

ปกติผมเป็นคนที่จำความฝันไม่ได้ ชนิดหัวพ้นหมอนก็ลืมไปแล้ว มีคนอธิบายว่าที่เรามักจะจำความฝันไม่ได้ ถือเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ในการขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือมีความสำคัญต่อการอยู่รอดน้อยมากๆ ออกไปจากสมอง ถ้ามีการบันทึกความฝันไว้ในสมองก็คงจะจัดเก็บในส่วนลึกมากๆ ต้องใช้เวลาค้นนาน .. กระนั้น ก็จะมีฝันแบบนึงที่ผมจำได้ถึงทุกวันนี้ แล้วก็สังเกตได้ว่าทุกครั้งที่ฝันแล้วจำได้ จะเกิดเหตุการณ์บางอย่างในชีวิตจริงที่เกี่ยวเนื่องกับความฝันนั้น มีผลกระทบโดยตรงกับตัวเอง พอเกิดบ่อยๆ เข้าก็เลยทำนายได้ .. ผมเลยเรียกว่าเป็น ‘ฝันบอกเหตุ’ .. จำได้ว่าเคยฝันแบบนี้ครั้งแรกตอน ป.สี่ แต่มาถี่สุดๆ สมัยเรียน ม.ปลาย ซึ่งตอนนั้นทำนายสิ่งที่จะเกิดได้แม่นจนน่ากลัว (ทำไมไม่ฝันเป็นเลขก็ไม่รู้ .. ลอล) … เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยมีฝันบอกเหตุแล้ว มีก็แค่ปีละหนสองหน จะว่าไปผมไม่ค่อยฝันเลยด้วยมั๊ง .. ไม่รู้ดิ จำไม่ได้ .. ลอล

ตกลง ‘ฝัน’ คืออะไรผมก็ไม่รู้เหมือนกัน คงมีความจำเป็นบางอย่างตามธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์ยังมีความฝันเมื่อหลับตานอน หรือฝันอาจจะไม่จำเป็นแล้วและมนุษย์กำลังวิวัฒนาการเพื่อขจัดความฝันออกไป ฯลฯ .. ทุกวันนี้เราอาจจะคิดไปว่าการเชื่อมโยงระหว่างความฝันกับความจริงเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ เป็นสัมผัสที่หก เจ็ด แปด ฯลฯ .. จริงๆ แล้วมันอาจจะเป็นธรรมชาติเพียงแต่เรายังไม่เข้าใจก็ได้ :)

พักนี้มีงานต้องทำเยอะมาก แถมเป็นงานเร่งเกือบทั้งนั้น เคลียร์ได้เมื่อไหร่ ตั้งใจว่าจะหลบไปเที่ยวไกลๆ สงบๆ สักอาทิตย์ท่าจะดี …

ลงอ่าวไทยแล้วนะ

ได้ฤกษ์ติดตั้ง Aowthai ซะที พอดีว่า KDE 3.2.3 มาแล้วด้วย .. วิธีติดตั้งก็ ลง 5.5 Lite ก่อนแล้ว apt-get ทับอีกที .. ยุ่งยากนิดหน่อยเพราะเปลี่ยน dependencies หลายตัว … ติดตั้งผ่านไปได้ ก็มาทดสอบ รัน X.org ได้แล้ว chroot ได้แล้ว ทั้งจาก 5.5 -> aowthai และจาก aowthai -> 5.5 (ทำไม MrChoke บอกว่าไม่ได้หว่า – -‘) .. ยังติดปัญหาเรื่อง libstdc++ ยัง upgrade ไม่ได้ แปลกแฮะ ..

แวะเข้าไปดู Planet TLWG (http://radiomir.homelinux.net/planet/tlwg/) .. สมาชิกทุกคนใช้ blogspot เลย feed เข้าไม่ยาก .. แต่ผมเขียน blog engine เอง ต้องเขียน backend feed เองดิ (T_T)

2-3 วันนี้อัปเดตแพ็กเกจไปนิดหน่อย proposed-update/unstable มี acroread 5.0.9 กับ gaim 0.79 .. Extras มีหลายตัว รายละเอียด ดูที่ ห้องเก็บของ ครับ

วันนี้อัปเกรดเคอร์เนลเป็น 2.6.7-mm2 เห็นแวบๆ ว่า patch irq routing เข้าไปอยู่ใน mm-patch แล้ว .. ต่อไปก็สบายละ :)

Thailand Linux Expo 2004

เมื่อวานตื่นมาทำงานเอาตอนเย็นๆ เลยนอนไม่ค่อยหลับ กว่าจะหลับก็เช้าแล้ว นัดกับเสี่ยต้นว่าจะไปงาน Linux Expo กับรถตู้ของเนคเทคตอนแปดโมงเช้า เพราะ 1. ไปตึก UN ถูกแต่เข้าไปไม่เป็น 2. น้ำมันแพง เจ็ดโมงสี่สิบห้าเสี่ยโทรมาปลุก เวงแล้ว .. ตาลีตาเหลือก โกยของจากห้องแล็บใส่เป้ กลับห้องอาบน้ำ แล้วบึ่งเข้าเนคเทค ทันรถตู้พอดี .. แต่ ลืมเอามือถือติดตัวไปด้วย เซ็งไปทั้งวัน เฮ่อ..

Linux Expo 2004 จัดร่วมกับ Government IT Forum ก็เลยมีคนเข้ามาชมงานเยอะ มาถึงที่งานเก้าโมงนิด มีคนต่อคิวผ่านเครื่องตรวจโลหะยาวจนล้นออกไปข้างนอก UN .. งานนี้มีคนเข้าใจผิดเยอะ คิดว่าเข้างานต้องเสียตังค์หมด จริงๆ แล้วเดินชมบูธไม่ต้องเสียตังค์ ฟังบรรยายที่บูธก็ไม่ต้องเสียตังค์ จะไปเสียเฉพาะฟังบรรยายในห้องประฃุมอย่างเดียว ช่วงเช้านี้อยู่เฝ้าบูธ Linux Showcase .. เจอคุณชาญวิทย์ กับ พี่หน่อยตอนสายๆ .. พี่หน่อยมีคิวบรรยายที่บูธ อุตส่าห์ปิดร้านมางานนี้เลยโดยเฉพาะ แต่มาถึงก็ตามล่าถ่ายรูปกับพริตตี้บูธต่างๆ เสยย แถมขอเมลเขามาได้อีก .. ลอล .. โชคกับหินเอาของมาส่งในงาน เลยโดนจับมาบรรยายที่บูธด้วย .. ลอล

คนเดินชมงานคึกคักดี โดยเฉพาะช่วงเช้า แต่ที่ทราบมาผู้ชมหลายคนหน่วยงานอนุญาตให้มาได้ครึ่งวัน บ่ายๆ คนเลยเริ่มหายไปบ้าง งานเสียตังค์ ถึงคิวบรรยายแยกเป็นสามแทร็คอีก เจอแบบนี้เลยเหลือคนฟังน้อยไปใหญ่ เข้าห้องบรรยายบ่ายสองครึ่ง เอ่อ มันเหมือนห้องประชุมที่เห็นในข่าวเลยแฮะ มีแถวหน้าเป็นเก้าอี้ประธานหันเข้าหาผู้ฟัง แล้วก็มีโต๊ะเป็นวงล้อมร้อม ไม่ได้เป็นแถวๆ เหมือนห้องบรรยายทั่วไป บรรยากาศแปลกๆ ดี .. จบบรรยายแล้วลงมาเจอ อ.ภุชงค์ ทักทายกันเล็กน้อย อ. ก็แซวว่า ลินุกซ์ก็ต้องเอาพริตตี้หน้าตาดีๆ มาดึงดูดแบบนี้แหละ .. ลอล ..อ่อ พริตตี้งานนี้เก๋ามาก ลูกเล่นแพรวพราว ต้องชม .. คุณอาคมมาตอนบ่ายแก่ๆ บอกว่าลงลินุกซ์บน Joybook ได้แล้ว แต่ใช้ Sound ไม่ได้ เช็คดูกับเว็บ ALSA ยังไม่เห็นว่ามีชิพตัวนี้เลย เหอะๆ คงต้องรอไปอีกพักนึง … คุณนุมาตอนเลิกงานแล้ว ได้ติดรถตู้กลับไปลงระหว่างทาง ..

สรุปวันนี้ ดูคึกคักกว่างานโอเพนซอร์สเมื่อเดือนที่แล้ว (ทั้งที่จริงคนอาจจะน้อยกว่าก็ได้ สถานที่เขาจัดหลอกตาเหมือนจะเยอะ) เรื่องการเดินทาง ผู้สนใจทั่วไปจะมางานนี้ออกจะลำบากหน่อย จะเอารถส่วนตัวมาจอดรถตึก UN นี่ลืมได้เลย ต้องไปจอดที่วัดมกุฏฯ แล้วเดินมา จะมีแต่ผู้จัด วิทยากร และผู้ที่ได้รับเชิญถึงจะได้บัตรจอดในตึก .. ให้ดีก็นั่งรถเมล แท็กซีมาครับ .. อาหารการกินนอกเหนือจากที่ผู้จัดงานเตรียมไว้สำหรับผู้ชมที่ลงทะเบียนเสียตังค์แล้วก็หากินยากพอสมควร .. พรุ่งนี้ (24 มิ.ย.) ยังมีอีกหนึ่งวัน สนใจก็ไปเยียมชมกันได้ครับ

กลับมาถึงที่เอไอที ตามหามือถือที่ลืมไว้ตอนเช้า .. ที่ห้องแล็บ (ซึ่งคาดว่าจะลืมไว้) ไม่เจอ .. ที่ห้องพักก็ไม่เจอ บนรถก็ไม่มี .. กลับมาห้องแล็บ รื้อของจากเป้ออกมาเก็บ .. ปรากฏว่ามือถือมันนอนอยู่ในเป้ที่แบกไปทั้งงานนั่นแหละ .. อนาถจริงๆ … ลอลลล