ความลับ

ซึงิตะ เฮซึเกะ กำลังฟังข่าวจากโทรทัศน์ ผู้ประกาศข่าวรายงานข่าวอุบัติเหตุรถโดยสารที่มุ่งหน้าไปนางาโนะคว่ำ จะว่าไปแล้วนาโอโกะกับโมนามิภรรยาและลูกสาวของเขาก็เพิ่งออกเดินทางไปเยี่ยมบ้านที่นางาโนะเหมือนกัน .. รายงานข่าวดำเนินไปจนถึงการแจ้งชื่อผู้เสียชีวิต ไม่มีชื่อที่เขาคุ้นจนกระทั้งมาถึงชื่อ นาโอโกะ

ภรรยาเขาเสียชีวิตในอุบัติเหตุ ส่วนลูกสาวรอดตายอย่างปาฏิหารย์ ไม่มีแม้รอยขีดข่วน กระนั้นโมนามิก็ยังไม่ฟื้นเสียที เฮซึเกะเฝ้าดูโมนามิตลอดเวลาที่ว่างจากงานศพของภรรยา แล้วโมนามิก็ลืมตาในที่สุด .. ในความโศกเศร้าแม้จะมีเรื่อยยินดีที่ลูกสาวฟื้นขึ้นมาได้ แต่ก็เกิดเรื่องประหลาดเมื่อวิญญาณหรือดวงจิตจะเรียกว่าอะไรก็ตามที่อยู่ในร่างโมนามิกลับเป็นของนาโอโกะ! จากนี้ทั้งสองจะใช้ชีวิตกันอย่างไร ? ควรจะใช้ชีวิตโดยคิดว่าร่างภายนอกนั้นเป็นของลูกสาว หรือภายในร่างนั้นคือภรรยา? เรื่องนี้เขาทั้งสองจะเก็บเป็นความลับตลอดไปได้หรือ ?

"ความลับ" แปลโดยคุณ บุญชู ตันติรัตนสุนทร มาจากเรื่อง Himitsu (秘密) ของฮิงาชิโนะ เคโงะ (東野 圭吾) นิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัล Mystery Writers of Japan Inc award ในปี 1999 ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ นาโอโกะ (Naoko) และเป็นอีกหนึ่งเรื่องของเคโงะที่นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ .. ฮิงาชิโนะ เคโงะ ตั้งกรอบเงื่อนของ ความลับ ที่ยากและท้าทายผู้อ่านในการตอบโจทย์ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนทั้งระหว่างซึงิตะในฐานะสามีของนาโอโกะ ซึงิตะในฐานะพ่อของ(ร่าง)โมนามิ ความสัมพันธ์ของนาโอโกะกับหนุ่มๆ เมื่อร่างของโมนามิโตเป็นสาว ความสัมพันธ์กับซึงิตะกับเหยื่ออุบัติเหตุ และกับครอบครัวคนขับที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ชิวิตเขาพลิกผัน ดีหรือเลว ถูกหรือผิด ยุติธรรมหรือไม่ เป็นคำถามที่จะเกิดขึ้นกับผู้อ่านตลอดเล่มโดยมีเส้นกั้นคำตอบสองด้านที่บางเฉียบ คำตอบที่เคโงะเลือกให้กับตัวละครบ่อยครั้งอึดอัด กระอักกระอ่วน สุขปนเศร้า ด้วยในร่างหนึ่งดวงจิตของอีกคนหนึ่ง การตีความจึงมีได้สองด้านเสมอ สำหรับผู้อ่านคงได้ลุ้นติดตามไปกับซึงิตะว่าเคโงะจะกำหนดชะตากรรมให้กับตัวละครตัวนี้อย่างไร เงื่อนปมที่ท้าทายเช่นนี้จะจบสวยๆ ได้อย่างไร ?

Linux Kernel 2.6.24

2.6.24 ออกแล้ว

  • CFS improvement .. เดิม context switch ของ CFS ช้ากว่า O(1) sched > 10% .. ตอนนี้ 2.6.24 (เคลมว่า) context switch ใน CFS เร็วกว่า O(1) นิดๆ
  • Fair Group Scheduling .. ตั้ง group ของ processes (ผ่าน /proc – ถ้าจำไม่ผิด) แล้วกำหนดน้ำหนัก CPU scheduling .. ถ้าประกอบกับ CFS มันก็จะประมาณ WFQ สำหรับ CPU scheduling นั่นเอง
  • Tickless สำหรับ x86-64, PPC, UML, ARM, MIPS … ปัญหาที่เคยเกิดกับ VirtualBox (กิน CPU > 10% ตลอดเวลาทั้งที่ไม่ได้รัน VM) หายแล้ว .. อย่างน้อยก็ในเครื่องที่ใช้อยู่
  • Driver ใหม่อีกหลายตัว ทั้ง 802.11 (stack ใหม่) 802.3 (10/100/GbE/10GbE) ALSA (Intel HDA แยก chipset แล้ว) PATA/SATA ฯลฯ

สำหรับคนใช้ macbook (top case แตกๆ) .. อย่าลืม co mactel patch สำหรับ 2.6.24 มา apply patch ด้วยเน้อ

wireless ใช้ ndiswrapper 1.51 ได้ ไม่มีปัญหา

iSight เอา revision 140 มาใช้ + patch อีกนิดหน่อย

--- uvc_driver.c.orig   2007-11-04 20:54:44.000000000 +0700
+++ uvc_driver.c        2008-01-28 20:35:02.000000000 +0700
@@ -1439,7 +1439,7 @@
        vdev->dev = &dev->intf->dev;
        vdev->type = 0;
        vdev->type2 = 0;
-       vdev->hardware = 0;
+/*     vdev->hardware = 0; */
        vdev->minor = -1;
        vdev->fops = &uvc_fops;
        vdev->release = video_device_release;

ก็จะใช้งาน iSight ได้ แถมได้ขนาด 640×480 และ support suspend/resume ด้วย .. ใช้ Ekiga ได้สบาย ใช้ Cheese ก็ได้ด้วย ไม่ต้องง้อ Photo Booth แว้วว :D