apt | aptitude : Ouch! Got SIGSEGV

จะลง kernel-package สักหน่อย

# aptitude install kernel-package
Ouch! Got SIGSEGV, dying..
Segmentation fault (core dumped)

เอ แปลกๆ … apt-get ดูซิ

# apt-get install kernel-package
Segmentation fault (core dumped)

เหวอๆๆ … เกิดไรขึ้นล่ะเนี่ยะ … ไม่ขำนะ .. T_T

# strace -o xxx aptitude
# less xxx
....
stat64("/var/cache/apt/pkgcache.bin", {st_mode=S_IFREG|0644, st_size=9454080, ...}) = 0
open("/var/cache/apt/pkgcache.bin", O_RDONLY) = 4
fcntl64(4, F_SETFD, FD_CLOEXEC)         = 0
fstat64(4, {st_mode=S_IFREG|0644, st_size=9454080, ...}) = 0
mmap2(NULL, 9454080, PROT_READ, MAP_SHARED, 4, 0) = 0xb7195000
stat64("/var/lib/apt/lists/belldandy:9999_ubuntu_dists_edgy_main_binary-i386_Packages", {st_mode=S_IFREG|0644, st_size=5491154, ...}) = 0
--- SIGSEGV (Segmentation fault) @ 0 (0) ---

เหมือนจะเดี้ยงแถวๆ จังหวะอ่าน package จาก cache .. hmm.. cache น่าจะลบทิ้งได้ล่ะนะ ..

# cd /var/cache
# mv apt apt-saved
# mkdir -p apt/archives/partial
<code>
แล้วก็ลองรันอีกรอบ
<code>
# aptitude install kernel-package
Reading package lists... Done
Building dependency tree
Reading state information... Done
Reading extended state information
Initializing package states... Done
...

ทำงานได้จริงๆ ด้วย ! .. เย้ .. :D :D … ใครเจอปัญหาประมาณนี้จะลองทำตามดูก็ได้ .. แต่ถ้าเดี้ยงจริงๆ ก็ตัวใครตัวมันนะ :P

Linux Kernel 2.6.19

2.6.19 มีอะไรน่าตื่นเต้นมั่ง ?

  • Extended File System 4 (Ext4) ปรากฏตัวแล้วในรุ่นนี้ โดยแปะไว้ว่า ext4dev และจะแปะว่า ‘dev’ ไปอีกสักพักจนกว่าจะนิ่งจริง อาจจะประหลาดๆ หน่อยๆ ที่เอา ‘dev’ มาใส่ในเคอร์เนล ‘stable’ .. แต่น่าจะทำให้มีคนทดสอบและมีความคืบหน้าเร็วกว่าจะแยก patch นะ … จากที่ ext3 = ext2 + journal + extras นิดๆ ซึ่งเหมือนออกมาขัดตาทัพด้วย FS แบบ journaling .. ใน ext4 ตั้งเป้าไว้ว่าจะพัฒนาให้มันเจ๋งๆ ไปเลย คาดว่าฟีเจอร์คงมีอีกบาน ในเบื้องต้นมีการปรับเรื่อง scalability เช่น ระบบไฟล์ขนาดใหญ่ >= 16 TB, ไดเรกทอรี > 32K, 64-bit (large) file .. และมีโครงสร้างรองรับให้เสถียรภาพของระบบไฟล์ดีขึ้น …ส่วนตัว ยังไม่ได้ทดสอบแต่หวังไว้ว่าจะเร็วกว่า ext3 (ซึ่งนับว่าช้าเมื่อเทียบกับ FS อื่นๆ) …ใครใจถึงก็ลุยได้
  • GFS2 clustering file system ของ Sistina ซึ่ง Red Hat ซื้อมาปรับปรุง + เปิดเผยซอร์ส เป็นอีกทางเลือกนอกเหนือจาก OCFS2 ของ Oracle
  • Ecryptfs ของ IBM เป็น encryped looped file system แนวๆ เดียวกับพวก cryptoloop/dmcrypt .. ไอเดียที่ IBM วางไว้คือเอาความยืดหยุ่นของ GnuPG มา encrypt ข้อมูลภายในเคอร์เนล
  • Merge Parallel ATA กับ Serial ATA .. แห่ไปใช้ libata กันให้หมด … ว่ากันว่าไดรเวอร์เดิมใน ATA/ATAPI/MFM/RLL ไม่ค่อยมีการดูแลกันมากอย่างที่ควร ในขณะที่ไดรเวอร์ ใหม่ที่ใช้กับ libata กำลังพัฒนากันอย่างเป็นล่ำเป็นสันโดยมี อลัน ค็อกซ์ เป็นหัวหอก .. เวลานี้ยังไม่มีแผนจะ deprecated ไดรเวอร์เดิม แต่คาดว่าในอนาคตคงย้ายมาใช้ libata กันหมด เพราะการออกแบบและโครงสร้างดีกว่าแบบเดิม .. สำหรับเวอร์ชัน 2.6.19 Serial ATA อยู่ระดับ production แล้ว ในขณะที่ Parallel ATA เพิ่งจะ experimental .. จริงๆ PATA ก็น่าจะใช้งานได้ระดับนึงแล้วแหละ ถ้าใจถึง หรือมีไดรว์ใหม่ๆ ว่างๆ ก็น่าจะลองดู หรือจะ bleeding edge ไปกว่านั้นก็ใช้คู่กับ Ext4 ด้วยเลย :P … อ่อ เปลี่ยนเป็น libata แปลว่า label/device จะอ้างอิง Parallel ATA แบบ SCSI device (/dev/sd??) เช่นเดียวกับ SATA
  • ถอดไดรเวอร์ OSS ออกหลายตัว .. ก็ใช้ ALSA ได้แล้วแหละนะ
  • สนับสนุน Amtel AVR32
  • Disable block layer บางอย่างได้ เหมาะกับพวก embedded systems
  • Track maximum allowable latency ตรวจหา latency ที่นานที่สุดที่เป็นไปได้เพื่อยืดเวลาการ execute code ไปให้นานที่สุด ส่งผลให้ใช้พลังงานน้อยลงได้
  • Sleepable RCU เดิม RCU บังคับว่า critical section ของ read-side ใน RCU จะถูก block หรือ sleep ไม่ได้ แต่ Paul McKinney บอกว่ามี request มาจากฝั่ง real-time อยากให้ read-side ของ RCU มัน preemptible หรือ sleepable ได้เพื่อให้การตอบสนองดี .. ก็เลยจัดให้ใน 2.6.19
  • เปลี่ยน default TCP congestion algorithm จาก BIC (Binary Increase Congestion) เป็น CUBIC (BIC + cubic function)
  • สนับสนุน Mobile IPv6
  • สนับสนุน multiple routing table ใน IPv6
  • สนับสนุน I2C สำหรับ intelfb
  • ไดรเวอร์ใหม่ การปรับปรุง แก้ไขอื่นๆ อีกเยอะแยะ

/me …

$ uname -a
Linux peorth 2.6.19-peorth #1 Fri Dec 1 20:31:07 ICT 2006 i686 GNU/Linux

Happy Ending ?

ต่อจาก blog คราวที่แล้ว มีความคืบหน้า คือ ข่าว รมว. MICT ออกมายอมรับว่าเข้าใจผิด และ รายงานการเข้าพบ รมว. MICT … ที่จริงแล้วไม่มีประเด็นอะไรเสนอ เพียงแต่ต้องการบันทึกความคืบหน้าไว้ใน blog นี้ด้วย จะได้เป็นการยุติธรรมต่อ รมว. MICT

อย่างไรก็ตาม TLUG ครั้งถัดไป จะจัดที่ มก. โดยมีหัวข้อเรื่องอนาคตโอเพนซอร์สไทย ซึ่งจะมาคุยกันว่าจะมุ่งไปทางไหนด้วยกำลังของชุมชนเอง มีวิทยากรหลายท่านที่จะมาร่วมเสวนา อาทิ พี่เทพ พี่โดม bact’ .. เนื่องจากจัดงานกระชั้นมาก มีโอกาสก็กระจายข่าวให้ทั่วถึงกันหน่อยเด้อ :)

It’s just a joke

ตัดจากข่าวที่ Bangkok Post

On the subject of open source software, he said the current government plan was a case of the blind leading the blind, as neither the people who are in charge nor the people in industry seem to know the dangers of open source software.

“With open source, there is no intellectual property. Anyone can use it and all your ideas become public domain. If nobody can make money from it, there will be no development and open source software quickly becomes outdated,” he said.

Apart from Linux, he claimed that most open source software is often abandoned and not developed, and leads to a lot of low-quality software with lots of bugs.

“As a programmer, if I can write good code, why should I give it away? Thailand can do good source code without open source,” he said.

เป็นส่วนหนึ่งของคำให้สัมภาษณ์ของ รศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT คนปัจจุบัน .. คงไม่วิจารณ์อะไรอีก เพราะมีผู้ตอบโต้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้วเยอะแยะแล้ว ทั้งในเว็บข่าวไอทีระดับโลกอย่าง slashdot.org, digg.com, และใน จดหมายเปิดผนึก ที่ บล็อกนั้น

จริงๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มีคนไม่เข้าใจโอเพนซอร์ส แต่บังเอิญคนที่ว่าอยู่ในฐานะที่ไม่ธรรมดา เลยกลายเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังสำหรับวิสัยทัศน์ผู้เป็นรัฐมนตรี ICT อย่างที่มีผู้กล่าวไว้ ตามเนื้อความนี้

เอ้า .. นี่เรื่องตลกนะ .. หัวเราะกันหน่อย … :D

My good old server

ที่บ้านซื้อ AMD Athlon X2 3800+ มาใช้แทนเครื่อง Pentium III หลายสัปดาห์แล้ว 2-3 วันที่ผ่านมาเพิ่งจะมีโอกาสเอาเครื่อง Pentium III มาเซ็ตเป็น skuld.kitty.in.th (mirror ของ kitty.in.th) แทนเซิร์ฟเวอร์เครื่องเก่าที่เป็น IDT WinChip 200 MHz ที่ใช้งานมา 7 ปีกว่าๆ .. เป็น 7 ปีกว่าๆ ที่สมบุกสมบันมาก พัดลมบน heatsink ซีพียูไม่หมุนตั้งแต่ปีที่ 2 แล้วก็ไม่ได้เปลี่ยน มันก็ยังทนทำงาน 24 x 7 ได้ถึงวันนี้ แถมยัง overclock ไปที่ 225 MHz อีก .. ส่วนการ์ดจอ heatsink ก็หลุด เพราะมันร้อนจนพลาสติกยึด heatsink เปราะหัก แต่ขนาดไม่มี heatsink มันก็ยังทนทำงานได้อีกเหมือนกัน คิดๆ ดูแล้ว พวกฮาร์ดแวร์เก่าๆ นี่อึดเป็นบ้า ..

ตอนนี้ skuld.kitty.in.th รันบน Pentium III 866 MHz + RAM 512 MB + i815 ICH2 + HDD 40 + 40 GB .. พร้อมกับย้ายจาก FreeBSD 6.0 RELEASE มาใช้ Debian แทน … หรูกว่า yggdrasil.kitty.in.th ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หลักของ kitty.in.th ซะอีก เครื่อง yggdrasil นี่ยังใช้ Pentium II 266 อยู่เลย แถมเป็นเครื่องยืมด้วย :P

เอ .. หรือจะเอา WinChip 200 MHz ไปใช้แทนเครื่องยืมดี .. ?? .. (- -‘)

Kitty repository for Ubuntu 6.10 Edgy Eft

หลัง Edgy ออกก็ได้เวลาอัปเดตแพ็คเกจใน Kitty repository .. ที่อัปเดตแล้วก็มี

  • em-panel-applet: Evolution mail notification
  • gdictthai: English-Thai dictionary
  • gimp-ufraw, ufraw: RAW plugin for the GIMP
  • gruler: screen ruler
  • libdatrie, libdatrie-bin, libdatrie-dev: double array trie library
  • libimage-exiftool-perl: EXIF extraction tool
  • rrs: reverse remote shell
  • scim-thai: SCIM IMEngine module for Thai

อาจจะมีซ้ำๆ กับ official repo. แต่เวอร์ชันใหม่กว่า .. เพิ่ม repo ใน sources.list

# Kitty Repository
deb ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty edgy unstable

หรือถ้าอยู่ใกล้ๆ ม.ข. ใช้ mirror น่าจะเร็วกว่า

# Kitty Repository
deb ftp://skuld.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty edgy unstable

.. อ่อ .. ตั้งแต่ Edgy Eft เป็นต้นไปตัวห้อยท้ายเวอร์ชันจาก a.kit.b แทน akittyb .. ไม่งั้น lintian มันจะดุเอา :P

ซายากะ สาวน้อยนักสืบ ตอน สุดสัปดาห์สีม่วง

ซายากะและเคียวโกะมาถึงวัยที่ต้องเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว แต่ช่วงที่เธอต้องเตรียมสอบนี้ พ่อก็มาป่วยหนัก อาคิโอะก็ไม่ค่อยได้เจอกัน แถมเพื่อนสนิทอย่างเคียวโกะก็ไปหลงรักทาดาโนะรุ่นพี่มหาวิทยาลัยคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกชายของเจ้าของบริษัทใหญ่ ข่าวรอบตัวทาดาโนะไม่สู้ดีนักทั้งเรื่องผู้หญิง เที่ยวเตร่ และกัญชา เคียวโกะถึงจะมีระเบียบในการเรียนแต่กลับห่างหายไปจนทำให้ซายากะเป็นห่วงมาก ซายากะจึงตัดสินใจเข้าไปเผชิญหน้ากับทาดาโนะตรงๆ .. แถมยังไปตามเคียวโกะถึงงานปาร์ตี้ของนักเรียนมหาวิทยาลัยที่ชั้นบนสุดของบริษัทอีกด้วย เมื่อไปถึงในงาน นอกจากจะไม่เจอเคียวโกะแล้ว ซายากะยังต้องเจอกับแผนฆาตกรรมที่มีเธอเป็นเป้าหมายอีกด้วย!

ตอนสุดสัปดาห์สีม่วงเป็นเล่ม 4 ในชุดซายากะ ของอาคากะวา จิโร เล่มนี้แปลโดย วิภา งามฉันทกร คงความสนุกสนาน ซ่อนเงื่อน และมีกลิ่นอายของซีรีส์ซายากะเหมือนสามเล่มแรก .. น่าสังเกตอีกอย่างว่าซีรีส์นี้มีชื่อตอนประกอบด้วย "สี" ทุกตอน .. อย่างน้อยนี่ก็เป็นเล่มที่สี่แล้ว

มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ ตอน กล่องแสนกล

มาถึงเล่มเก้ากันแล้วสำหรับ มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ แมวสามสียอดนักสืบ เขียนโดย อาคากะวา จิโร และ แปลโดย สมเกียรติ เชวงกิจวนิช เช่นเคย เล่มนี้ประกอบด้วยหกเรื่องสั้นสนุกๆ คล้ายๆ กับเล่มเจ็ดของซีรีส์แมวสามสี

  1. กล่องแสนกล – "กล่อง …ฆ่าคนตาย" คำพูดธรรมดาของหญิงสาวในตระกูลมหาเศรษฐี สามีเธอเสียชีวิตอย่างปริศนาในห้องปิดตาย สิ่งเดียวที่มีอยู่ในห้องนั้นคือกล่องเปล่า ปราศจากร่องรอยของพิษ หรือสัตว์พิษ .. โฮล์มส์ คาตายามา ฮารูมิ และ อิชิสึ เข้าไปร่วมงานปาร์ตี้ครบวันตายปีที่ 20 ที่จัดขึ้นเพื่อหวังว่าจะมีใครมาคลี่คลายคดีฆาตกรรมนี้เสียที .. กล่องเปล่าจะฆาตกรรมคนได้ยังไง .. หนึ่งตัวกับสามคนจะเป็นผู้ไขปริศนา
  2. ดนตรีฆาตกรรม – ทั้งสี่ได้รับเชิญจาก อาซากุระ มุเนะคาสึ เพื่อมาฟังการอำนวยเพลงครั้งแรกของโทกาวะซึ่งเป็นศิษย์เอกของเขา แต่ยังไม่ทันได้ฟังเพลงทั้งสี่ก็ได้มารู้ว่า มิยาฮาระ หัวหน้าวงออร์เคสตร้าวางแผนจะครอบครองวากาโกะภรรยาสาวของโทกาวะ โดยขู่ว่าจะทำให้โทกาวะเสียหน้าในวันนี้ .. และระหว่างพักครึ่งก็มีคนพบว่านักดนตรีคนหนึ่งตาย ..
  3. เคราะห์ซ้ำกรรมซัด – ปาร์ตี้งานเปิดตึกใหม่ กำลังครึกครื้น แต่แล้วตึกก็เกิดเอียงถล่มมาพิงตึกข้างๆ ..แถมเจ้าของตึกยังตายอย่างมีปริศนาอีกซะนี่ ..
  4. โฮล์มส์ริปราบผี – เพื่อนเก่าอิชิสึย้ายเข้าไปอยูในบ้านเก่า และเจอผีที่โผล่มาหลอกทุกคืนตอนตีหนึ่งเป๊ะ คนและแมวจะตามจับผีได้หรือไม่ ?
  5. ฮารูมิแต่งงาน – เปล่า! ไม่ใช่กับอิชิสึ .. ฮารูมิต้องไปเป็นเจ้าสาวจำเป็นให้กับเพื่อนคาตายามา เมื่อแฟนสาวตัวจริงถูกฆาตรกรรมในวันแต่งงานนั่นเอง .. คาตายามาได้รับการขอร้องจากเจ้าบ่าวให้ตามจับคนร้ายให้ได้โดยเร็ว .. ส่วนอิชิสึต้องทุ่มเทสุดฤทธิ์แน่ๆ
  6. ตำนานล่าสมบัติ – ลายแทงได้พาชายคนหนึ่งมาพบกับชิระอิ เขาบอกชิระอิว่าสมบัติอยู่ใต้ดินตรงบ้านของชิระอิพอดี ไม่เท่านั้น เขายังฝากลายแทงไว้กับชิระอิ ก่อนจะมีข่าวตามมาว่าชายคนนั้นถูกฆ่าตาย ชิระอิเชื่อว่าพื้นดินใต้บ้านของเขาต้องมีสมบัติแน่ จึงขุดๆๆ แต่ไม่พบอะไรเลย และด้วยความบังเอิญที่ชิระอิได้มาเจอสามคนหนึ่งแมว เรื่องตามล่าสมบัติแบบนี้โฮล์มส์ไม่พลาดแน่ๆ

สรุปว่าสนุกทุกตอน .. :D

Edgy + AIGLX + Beryl

ก่อนหน้านี้เคยลอง XGL + Compiz ไปทีนึง แต่มันช้า (บน P-III 1 GHz + i830M) เลยไม่ได้ใช้งานจริง .. ตอนนี้ลง Edgy Efy ติดตั้ง X11 Xorg 7.1.1 มี AIGLX ในตัว เลยลองดูอีกที

ก่อนอื่นเพิ่ม repository

deb http://ubuntu.beryl-project.org/ edgy main-edgy

จากนั้นก็

# aptitude update
# aptitude install beryl emerald-themes

แล้วก็

$ beryl-manager

เสร็จแล้ว ..

เทียบกับ XGL + compiz แล้ว ติดตั้ง Edgy + AIGLX + Beryl ง่ายโคตรๆ เลย .. เวลา้ใช้งานก็ไม่ต้อง restart X Server กันใหม่ ลูกเล่นเพียบ ทำงานเร็วกว่า ใช้ color depth 16-bit ก็ได้ด้วย (XGL + Compiz ต้องใช้ 24-bit) .. ที่ยังต้องหาทางแก้กันต่อคือ video playback ที่ output ผ่าน XV จะเพี้ยนๆ … เลยต้องใช้ output เป็น X11 ธรรมดาซึ่งทำงานช้ากว่ามาก หรือไม่ก็ OpenGL ซึ่งก็ช้าเหมือนกัน .. ถ้าจะดูหนังก็ switch กลับไป metacity เอา :P