ซายากะ สาวน้อยนักสืบ ตอน สุดสัปดาห์สีม่วง

ซายากะและเคียวโกะมาถึงวัยที่ต้องเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว แต่ช่วงที่เธอต้องเตรียมสอบนี้ พ่อก็มาป่วยหนัก อาคิโอะก็ไม่ค่อยได้เจอกัน แถมเพื่อนสนิทอย่างเคียวโกะก็ไปหลงรักทาดาโนะรุ่นพี่มหาวิทยาลัยคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกชายของเจ้าของบริษัทใหญ่ ข่าวรอบตัวทาดาโนะไม่สู้ดีนักทั้งเรื่องผู้หญิง เที่ยวเตร่ และกัญชา เคียวโกะถึงจะมีระเบียบในการเรียนแต่กลับห่างหายไปจนทำให้ซายากะเป็นห่วงมาก ซายากะจึงตัดสินใจเข้าไปเผชิญหน้ากับทาดาโนะตรงๆ .. แถมยังไปตามเคียวโกะถึงงานปาร์ตี้ของนักเรียนมหาวิทยาลัยที่ชั้นบนสุดของบริษัทอีกด้วย เมื่อไปถึงในงาน นอกจากจะไม่เจอเคียวโกะแล้ว ซายากะยังต้องเจอกับแผนฆาตกรรมที่มีเธอเป็นเป้าหมายอีกด้วย!

ตอนสุดสัปดาห์สีม่วงเป็นเล่ม 4 ในชุดซายากะ ของอาคากะวา จิโร เล่มนี้แปลโดย วิภา งามฉันทกร คงความสนุกสนาน ซ่อนเงื่อน และมีกลิ่นอายของซีรีส์ซายากะเหมือนสามเล่มแรก .. น่าสังเกตอีกอย่างว่าซีรีส์นี้มีชื่อตอนประกอบด้วย "สี" ทุกตอน .. อย่างน้อยนี่ก็เป็นเล่มที่สี่แล้ว

มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ ตอน กล่องแสนกล

มาถึงเล่มเก้ากันแล้วสำหรับ มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ แมวสามสียอดนักสืบ เขียนโดย อาคากะวา จิโร และ แปลโดย สมเกียรติ เชวงกิจวนิช เช่นเคย เล่มนี้ประกอบด้วยหกเรื่องสั้นสนุกๆ คล้ายๆ กับเล่มเจ็ดของซีรีส์แมวสามสี

  1. กล่องแสนกล – "กล่อง …ฆ่าคนตาย" คำพูดธรรมดาของหญิงสาวในตระกูลมหาเศรษฐี สามีเธอเสียชีวิตอย่างปริศนาในห้องปิดตาย สิ่งเดียวที่มีอยู่ในห้องนั้นคือกล่องเปล่า ปราศจากร่องรอยของพิษ หรือสัตว์พิษ .. โฮล์มส์ คาตายามา ฮารูมิ และ อิชิสึ เข้าไปร่วมงานปาร์ตี้ครบวันตายปีที่ 20 ที่จัดขึ้นเพื่อหวังว่าจะมีใครมาคลี่คลายคดีฆาตกรรมนี้เสียที .. กล่องเปล่าจะฆาตกรรมคนได้ยังไง .. หนึ่งตัวกับสามคนจะเป็นผู้ไขปริศนา
  2. ดนตรีฆาตกรรม – ทั้งสี่ได้รับเชิญจาก อาซากุระ มุเนะคาสึ เพื่อมาฟังการอำนวยเพลงครั้งแรกของโทกาวะซึ่งเป็นศิษย์เอกของเขา แต่ยังไม่ทันได้ฟังเพลงทั้งสี่ก็ได้มารู้ว่า มิยาฮาระ หัวหน้าวงออร์เคสตร้าวางแผนจะครอบครองวากาโกะภรรยาสาวของโทกาวะ โดยขู่ว่าจะทำให้โทกาวะเสียหน้าในวันนี้ .. และระหว่างพักครึ่งก็มีคนพบว่านักดนตรีคนหนึ่งตาย ..
  3. เคราะห์ซ้ำกรรมซัด – ปาร์ตี้งานเปิดตึกใหม่ กำลังครึกครื้น แต่แล้วตึกก็เกิดเอียงถล่มมาพิงตึกข้างๆ ..แถมเจ้าของตึกยังตายอย่างมีปริศนาอีกซะนี่ ..
  4. โฮล์มส์ริปราบผี – เพื่อนเก่าอิชิสึย้ายเข้าไปอยูในบ้านเก่า และเจอผีที่โผล่มาหลอกทุกคืนตอนตีหนึ่งเป๊ะ คนและแมวจะตามจับผีได้หรือไม่ ?
  5. ฮารูมิแต่งงาน – เปล่า! ไม่ใช่กับอิชิสึ .. ฮารูมิต้องไปเป็นเจ้าสาวจำเป็นให้กับเพื่อนคาตายามา เมื่อแฟนสาวตัวจริงถูกฆาตรกรรมในวันแต่งงานนั่นเอง .. คาตายามาได้รับการขอร้องจากเจ้าบ่าวให้ตามจับคนร้ายให้ได้โดยเร็ว .. ส่วนอิชิสึต้องทุ่มเทสุดฤทธิ์แน่ๆ
  6. ตำนานล่าสมบัติ – ลายแทงได้พาชายคนหนึ่งมาพบกับชิระอิ เขาบอกชิระอิว่าสมบัติอยู่ใต้ดินตรงบ้านของชิระอิพอดี ไม่เท่านั้น เขายังฝากลายแทงไว้กับชิระอิ ก่อนจะมีข่าวตามมาว่าชายคนนั้นถูกฆ่าตาย ชิระอิเชื่อว่าพื้นดินใต้บ้านของเขาต้องมีสมบัติแน่ จึงขุดๆๆ แต่ไม่พบอะไรเลย และด้วยความบังเอิญที่ชิระอิได้มาเจอสามคนหนึ่งแมว เรื่องตามล่าสมบัติแบบนี้โฮล์มส์ไม่พลาดแน่ๆ

สรุปว่าสนุกทุกตอน .. :D

Edgy + AIGLX + Beryl

ก่อนหน้านี้เคยลอง XGL + Compiz ไปทีนึง แต่มันช้า (บน P-III 1 GHz + i830M) เลยไม่ได้ใช้งานจริง .. ตอนนี้ลง Edgy Efy ติดตั้ง X11 Xorg 7.1.1 มี AIGLX ในตัว เลยลองดูอีกที

ก่อนอื่นเพิ่ม repository

deb http://ubuntu.beryl-project.org/ edgy main-edgy

จากนั้นก็

# aptitude update
# aptitude install beryl emerald-themes

แล้วก็

$ beryl-manager

เสร็จแล้ว ..

เทียบกับ XGL + compiz แล้ว ติดตั้ง Edgy + AIGLX + Beryl ง่ายโคตรๆ เลย .. เวลา้ใช้งานก็ไม่ต้อง restart X Server กันใหม่ ลูกเล่นเพียบ ทำงานเร็วกว่า ใช้ color depth 16-bit ก็ได้ด้วย (XGL + Compiz ต้องใช้ 24-bit) .. ที่ยังต้องหาทางแก้กันต่อคือ video playback ที่ output ผ่าน XV จะเพี้ยนๆ … เลยต้องใช้ output เป็น X11 ธรรมดาซึ่งทำงานช้ากว่ามาก หรือไม่ก็ OpenGL ซึ่งก็ช้าเหมือนกัน .. ถ้าจะดูหนังก็ switch กลับไป metacity เอา :P

Two distro released

Ubuntu 6.10 Edgy Eft รีลีสวันนี้ (26 ต.ค. 49 – ตรงกับวันเกิดพอดี) … ในขณะที่ Fedora Core 6 รีลีสไปวันที่ 24 ต.ค. 49 (ตรงกับวันเกิดเพื่อนพอดี – -‘)

โหลด Edgy Eft มาแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้

…เผื่อจะเร็วสำหรับบางคน

Ubuntu เวอร์ชันถัดไป 7.04 ใช้ codename Feisty Fawn :)

Book Fair #11

ไปเดินงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 11 ปรากฏความเสียหายดังนี้

  1. คินดะอิจิ เล่ม 6 ตอน เจดีย์สามเศียร
  2. คินดะอิจิ เล่ม 7 ตอน คดีฆาตกรรมเพลงเล่นลูกบอลปีศาจ
  3. มิเกะเนะโกะ เล่ม 9 ตอน กล่องแสนกล
  4. ซายากะ เล่ม 4 ตอน สุดสัปดาห์สีม่วง
  5. ริง คำสาปมรณะ
  6. สไปรัล พันธุ์อาถรรพ์
  7. ลูป
  8. ความลับ
  9. ความลับใต้ทะเลสาบ
  10. จดหมายจากฆาตกร
  11. รักในโลกพิศวง
  12. แค้น
  13. พลาด
  14. แผนพิพากษา
  15. รหัสลับลาสต์ซัปเปอร์

ชุด ‘ริง’ นี่จริงๆ ซื้อมาอ่านแล้วหายสาปสูญเลยยุให้แก๊งค์แมวๆ ซื้อเก็บจะได้เอามาอ่านอีกรอบ แต่ไม่เอาเล่ม ‘เบิร์ทเดย์’ มาเพราะไม่หนุก ..รวมราคาจากปก 3119 บาท ลดเหลือ 2350 ประหยัดไป 769 บาท ได้ปกหนังสืออย่างดีของ Bliss อีกสองอัน โหะๆๆๆ

Mob

[singlepic id=1872]

… ต่อจากนี้จะไม่ได้เห็นเจ้าตัวนี้อีกแล้ว .. มันเกิดช่วงพฤษภาทมิฬ เลยตั้งชื่อว่า ม็อบ .. ไม่กี่วันก่อนหมอบอกว่ามันเป็นโรคหัวใจ รักษาไม่ได้แล้ว ช่วงสัปดาห์สุดท้ายมันกินอะไรไม่ได้ เอาแต่อาเจียนแล้วก็ถ่าย เมื่อคืนมันร้องทั้งคืน .. วันนี้มันหมดลมหายใจตอนสิบเอ็ดโมง …

สิบสี่ปีกว่าๆ ที่มันเป็นสมาชิกในบ้าน มันเป็นหมาที่เงียบที่สุด ภาษาที่นี่เรียกว่า “ปากกืก” .. วันนี้มันไม่อยู่แล้ว บ้านยิ่งเงียบ ..

Double-Array Trie Library

ไม่กี่วันก่อน ณ ห้อง #tlwg คุยกันเรื่อง libdatrie (double array trie library) ที่พี่ thep พัฒนาไว้ ซอร์สอยู่ที่ ftp://linux.thai.net/pub/ThaiLinux/software/libthai

วันนี้เลยลองเอาซอร์สทำแพ็กเกจดู … อืมม ทำแพ็กเกจสำหรับพวกไลบรารีก็ไม่ยากเท่าไหร่นี่หว่า ทำไม new maintainers’ guide มันขู่จัง :P .. ในซอร์สมี binary ด้วย เลยทำมันทั้ง library dev และ bin รวดเดียว .. แพ็กเกจเล็ก คอมไพล์เร็ว ไม่กี่นาทีก็เสร็จ :D

ใครสนใจจะเอาไปทดสอบดาวน์โหลดได้:

ทั้งหมดนี่คอมไพล์บน Ubuntu 6.06 ถ้าใช้ Kitty Repository อยู่แล้วก็ apt-get/aptitude ได้เลย .. แพ็กเกจทั้งสามตัวใช้ lintian เช็คแล้วเรียบร้อย ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง เมลมาก็ได้ หรือจะ แวะๆ ไปแถว #tlwg ก็ได้เหมือนกัน

Mobile Phone and Linux

ได้ data cable มือถือเป็นมรดกตกทอดมาจากเพื่อนฝูง วันนี้เลยมาลองเสียบใช้บนลินุกซ์ดู เอ่อ เงียบ /dev ไม่มีอะไรใหม่ dmesg ก็ขึ้นแค่ว่ามี device เสียบ แต่ไม่ทำอะไรต่อ .. อย่างน้อยในเบื้องต้นนี้ก็ชาร์จไฟได้ล่ะ :P

สำรวจอยู่พักนึง เจอว่า

$ lsusb
...
Bus 001 Device 004: ID 067b:2303 Prolific Technology, Inc. PL2303 Serial Port
...

อืมม คงต้องใช้ USB serial converter .. เลยเข้า kernel config ไปเจอ serial converter ของ PL2303 จริงๆ .. คอมไพล์เป็นมอดูล แล้วก็

$ sudo modprobe pl2303

ลอง dmesg อีกที คราวนี้เจอแล้ว

pl2303 1-2:1.0: pl2303 converter detected
usb 1-2: pl2303 converter now attached to ttyUSB0

มันก็จะทำตัวเสมือนเป็น serial device .. ทีนี้ก็หาโปรแกรมมาทดลองใช้ มี gnokii, gnocky, gnome phone manager .. ทั้งสามตัวติดต่อผ่าน /dev/ttyUSB0 ก็เห็นโทรศัพท์เลย มันใช้ AT command ในการติดต่อแฮะ :)

เครื่องโบราณ แต่ใช้ GPRS ได้นะ .. :P

Rules for #tlwg

วันนี้ ณ ห้อง #tlwg ท่าน densin ตั้ง topic ไว้ว่า:

Rules:

  1. Don’t ask to ask, just ask (R)
  2. If your question isn’t answered here, ask on the LTN webboard

ผมเติมข้อ 0 เข้าไปดักอีก:

0. Don’t ask questions like ‘Is anybody here ?’

ท่าน pruet แปล+ขยายความให้:

ข้อควรปฏิบัติ:

  1. อย่าถามคำถามประเภท "มีใครอยู่มั้ย ?"
  2. อย่าถามว่า "ถามอะไรหน่อยได้มั้ย" เพราะ
    1. คุณก็ได้ถามไปแล้ว
    2. หน่อยไม่ค่อยเข้าห้อง (R)
  3. ถ้าคำถามคุณไม่ได้รับคำตอบ ให้ไปถามที่เว็บบอร์ด LTN

ขำๆ อย่าคิดมาก แต่ควรปฏิบัตินะ .. :)

รหัสลับรัสปูติน

.. ไมล์ส ลอร์ด เป็นนักกฏหมายประจำบริษัทกฏหมายชื่อดัง เขาเป็นชาวอเมริกันผิวดำ เดินทางมารัสเซียในฐานะเป็นกรรมาธิการเลือกตั้งซาร์ เป็นเรื่องแปลกที่ชาวอเมริกันผิวดำกลับมาอยู่ในตำแหน่งสำคัญในประเทศรัสเซีย แต่เพราะความสามารถของเขาหลายๆ ด้านที่เกี่ยวกับรัสเซียทำให้บริษัทของเขาไว้วางใจให้ลอร์ดมาทำหน้าที่นี้ .. หน้าที่ของลอร์ดคือการค้นหาข้อมูลอะไรก็ตามที่อาจจะขัดขวางการขึ้นมาดำรงตำแหน่งของซาร์พระองค์ใหม่ซึ่งมีสายโลหิตใกล้กับซาร์นิโคลัสที่สองมากที่สุด ..ใช่แล้ว ซาร์นิโคลัสที่สองคือซาร์องค์สุดท้ายที่โดนปลงพระชนม์ตามคำทำนายของรัสปูติน .. ขณะนี้กำลังจะมีซาร์พระองค์ใหม่ที่จะกลับมาสืบทอดตำแหน่งสำคัญของประเทศ ขณะที่ลอร์ดทำหน้าที่ เขาก็พบข้อมูลสำคัญที่อาจจะพลิกประวัติศาสตร์ของรัสเซีย นั่นทำให้เขาตกอยู่ในอันตราย มาเฟียผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเลือกตั้งซาร์เริ่มตามล่าเขา .. เขาต้องหนี และตีแผ่ความจริงให้ทันก่อนวันเลือกตั้งซาร์ !

รหัสลับรัสปูติน แปลมาจากเรื่อง The Romanov Prophecy แต่งโดย สตีฟ เบอร์รี ผู้แปลคือ อักษรา วิสาระ หากจะเทียบกับผลงานของ แดน บราวน์ อย่าง รหัสลับดาวินชี ตามที่ปกหลังชูรสไว้อาจจะยากสักนิด อีกทั้งเรื่องนี้นำเอาคำทำนายของชายที่ลึกลับที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกอย่างรัสปูตินมาเป็นจุดเริ่มต้น ทำให้ตั้งความหวังไว้สูงไปหน่อย ..พออ่านๆ ไปมันไม่ได้ลึกลับ ไม่ตื่นเต้น ไม่เนียนอย่างหวัง ก็ออกจะรู้สึกว่านิยายเล่มนี้ธรรมดาๆ

อย่างไรก็ตาม รหัสลับรัสปูติน มีความคล้ายกับผลงานที่สร้างชื่อให้ แดน บราวน์ ตรงที่อ้างอิงเหตุการณ์และหลักฐานที่มีอยู่จริงหลายประการ อาทิ การหายไปของพระศพพระราชโอรสอเล็กเซย์ และพระธิดาที่หลายคนเชื่อว่า อนัสตาเซีย จนกลายมาเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดหลายต่อหลายครั้ง รวมไปถึงตำนานของ แอนนา แอนเดอร์สัน .. ที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้คงเป็นสภาพแวดล้อมที่สร้างบรรยากาศในหนังสืออย่างเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ของรัสเซีย รวมถึงสิ่งที่ผู้แต่งบอกไว้ตอนท้ายเล่มว่า การเคลื่อนไหวเพื่อให้ฟื้นฟูซาร์ขึ้นมาอีกครั้งมีอยู่จริง .. YMMV!

ข่าวแถมท้าย .. ปลายเดือนนี้มีงานหนังสือที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์นะ .. อย่าลืมเก็บตังค์ :D