CPU overloaded by kidle_inject ?
As it’s named, kidle_inject is a process to inject idleness to processors.
On a good day, this will keep idle your processors, lower processor temperature, and save your battery.
On a bad day, it will consume your processor somewhat like 50%+ on all cores, slow down your laptop, and drain your battery.
But, you can control this. Many new Intel-based processors could use intel_pstate driver to manage processor power consumption. If you use intel_pstate, you can drop intel_powerclamp (which would run kidle_inject). help your laptop to consume less power.
Just
# modprobe -r intel_powerclamp
Or, consider to put
blacklist intel_powerclamp
in your /etc/modules (or modprobe)
YMMV.
Intel® Optimized LINPACK Benchmark on Debian and Ubuntu
Got a chance to grab 8 dedicated servers. All of them are identical configuration.
- Intel Xeon E5-2660 2.20 GHz – 8 Core / 16 Threads
- 16GB (DDR3) Memory
- 240GB (SSD) Storage
- 1 Gbps Network Port
And I put Debian on 2 of them and Ubuntu 2 of them. Since I use these servers for computation, I tested all of them by running Intel LINPACK Benchmark.
The results:
Ubuntu 16.04.2 / Linux 4.4.0
Size LDA Align. Average Maximal 1000 1000 4 57.1781 63.1674 2000 2000 4 96.3596 99.1686 5000 5008 4 120.8776 121.0789 10000 10000 4 129.6896 129.7670 15000 15000 4 132.1119 132.1371 18000 18008 4 133.5032 133.6047 20000 20016 4 134.7515 134.7724 22000 22008 4 134.7769 134.8034 25000 25000 4 135.2187 135.2249 26000 26000 4 135.3471 135.3511 27000 27000 4 135.7265 135.7265 30000 30000 1 135.9339 135.9339 35000 35000 1 136.3998 136.3998 40000 40000 1 136.0928 136.0928 45000 45000 1 135.4024 135.4024
Ubuntu 16.10 / Linux 4.8.0
Size LDA Align. Average Maximal 1000 1000 4 67.6860 75.8030 2000 2000 4 97.1338 98.9928 5000 5008 4 120.8437 120.9400 10000 10000 4 129.5845 129.5925 15000 15000 4 132.0033 132.0423 18000 18008 4 133.5847 133.5954 20000 20016 4 134.7129 134.7186 22000 22008 4 134.7988 134.8389 25000 25000 4 135.1581 135.1615 26000 26000 4 135.2965 135.2966 27000 27000 4 135.7175 135.7175 30000 30000 1 135.8775 135.8775 35000 35000 1 136.3674 136.3674 40000 40000 1 136.0681 136.0681 45000 45000 1 135.6452 135.6452
Debian 8.7 / Linux 3.16.0
Size LDA Align. Average Maximal 1000 1000 4 57.1597 62.6083 2000 2000 4 87.6385 96.1681 5000 5008 4 115.0042 115.2121 10000 10000 4 120.6037 120.7413 15000 15000 4 126.8568 126.8810 18000 18008 4 128.2295 128.2299 20000 20016 4 128.9295 128.9335 22000 22008 4 129.7550 129.7679 25000 25000 4 130.2622 130.2687 26000 26000 4 130.4710 130.4769 27000 27000 4 130.1460 130.1460 30000 30000 1 131.0764 131.0764 35000 35000 1 131.8341 131.8341 40000 40000 1 131.7159 131.7159 45000 45000 1 131.6021 131.6021
Debian 8.7 / Linux 4.8.0
Size LDA Align. Average Maximal 1000 1000 4 73.9033 75.2857 2000 2000 4 96.1756 98.1587 5000 5008 4 114.9453 115.1133 10000 10000 4 120.6623 120.6715 15000 15000 4 126.8516 126.8579 18000 18008 4 128.1927 128.1953 20000 20016 4 128.9059 128.9097 22000 22008 4 129.7727 129.8013 25000 25000 4 130.2268 130.2318 26000 26000 4 130.4389 130.4403 27000 27000 4 130.1010 130.1010 30000 30000 1 131.1211 131.1211 35000 35000 1 131.8388 131.8388 40000 40000 1 131.7462 131.7462 45000 45000 1 131.6341 131.6341
Now, can anyone tell me why Debian is slower ? .. hmm
Yet another leap second added
235960 – 23:59:60 – the leap second added.
UTC (based on solar mean) – TAI (based on atomic clock) = -37 seconds
Happy New Year 2017 UTC
Ubuntu 16.10 Kernel 4.8.0 boot time
I don’t really know when, I suspect around 4.8.0-30 or a bit earlier that kernel boot time has noticeably increased.
There is a bug/regression report on launchpad
Quick fix ? Try 4.9 mainline ppa.
Results from my systemd-analyze:
4.8.0-32 = 12.331s
4.9 = 5.041s
เรามาเป็นแอดมินได้ไง
tl;dr ไม่รู้เหมือนกัน 55+
ปี 3 วิชา Computer Networks สอน TCP/IP (อ.ยืน อ.เขมทัต อ.ปรีดา ม.เกษตร) ประกอบกับที่ภาคคอมคณะไรสักอย่างได้รับเครื่อง SUN SPARCStation 5 มาจากมูลนิธิ Hitachi เครื่องนี้ต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน MODEM + leased line ไปที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ผมกับเพื่อนไม่กี่คนมี account บนเครื่องนี้ telnet จาก PC ไปหัดใช้คำสั่ง UNIX ใช้อินเทอร์เน็ตได้ (pine, talk, gopher, inn, irc (#thai #siam …)) .. ตอนนั้นเป็นของใหม่ ของแพง(มาก) มีโอกาสได้ใช้ก็ตื่นตาตื่นใจ
ปี 4 เพื่อนคนนึงทำโปรเจคเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ขอเครื่อง 486 มาลง BSD ได้แผ่นติดตั้ง 3.5 นิ้วมาจากอาจารย์ฝรั่งที่มาบวชที่ขอนแก่น อ.ฝรั่งท่านนี้เก่ง ใจดี ให้คำแนะนำเรื่อง UNIX เยอะแยะ (อาชีพเพิ่นจริงๆ คือออกแบบวงจรเครื่องเสียง – มีชื่อเสียงด้วยนะ) หลังจากได้แผ่น BSD มาหลายกล่องได้ไม่นาน มันกลายเป็นแผ่นติดตั้ง Slackware Linux แทน 555+ .. Slackware ตอนนั้นใช้ แผ่น 3.5 นิ้ว 1.44 MB จำนวน ~ 30 แผ่น ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตได้วันละ 1 แผ่น เดือนต่อมาถึงได้ติดตั้งลงเครื่องเป็น linux kernel 1.0.x ต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน MODEM อยู่ห้องโปรเจคภาคฯ ไปศูนย์คอมพิวเตอร์ เครื่องนี้เป็น linux 1 ใน 2 เครื่องแรกของ มข. (อีกเครื่องเป็นของอาจารย์ อยู่ภาคชีวเคมี เกิดในเวลาใกล้ๆ กัน) และตั้งชื่อว่า gear.kku.ac.th
ช่วงนี้ผมกับเพื่อนเริ่มเดินเข้า/ออกศูนย์คอมพิวเตอร์หาพี่พงษ์บ่อยๆ จนมี account บน kku1.kku.ac.th (SUN) และอีกหลายเครื่อง (SUN) ช่วยเพื่อนติดตั้ง/admin ftp.kku.ac.th / malakor.kku.ac.th พ่วง MODEM ทำ slirp/tia ให้คอมพิวเตอร์ที่บ้านรัน Windows 3.1 + Trumpet Winsock ต่อใช้อินเทอร์เน็ตได้โดยหมุน MODEM มาที่ศูนย์คอมฯ
ต้องระลึกชาติกันว่า ปี 2537 นี่เพิ่งจะมีอินเทอร์เน็ตในประเทศได้ไม่กี่ปี / ThaiSARN เพิ่งเกิดไม่นาน / ISP ในประเทศไทยยังไม่มีบริการตามบ้าน / มข. ต่ออินเทอร์เน็ตแถวๆ 9.6 – 19.2 – 64 kbps / Trumpet Winsock ตอนนั้นเกือบทั้งหมดใช้กับ Ethernet / MODEM มีไว้ต่อ terminal หรือ BBS .. หมุน MODEM ต่ออินเทอร์เน็ตเปิด Mosaic/Netscape เข้าเว็บจากเครื่องที่บ้านได้นี่โคตร breakthrough .. คิดเข้าข้างตัวเองว่า เวลานั้นเป็นคนแรกใน มข. ที่ทำได้ 555+
พอมีทักษะโปรแกรม + UNIX + network + security ทำเอามันบ่อยๆ สันดาน hacking/troubleshooting ใน domain นี้ก็สะสมมาเรื่อย
จบ ป.ตรี บรรจุเป็นอาจารย์ (ใช้หนี้ทุน) ดูแลเครื่อง gear.kku.ac.th ต่อจากเพื่อน กลายเป็นเครื่องแม่ข่ายอินเทอร์เน็ตหลักของภาคคอมแทน SUN + ติดตั้งเครื่องเพิ่มอีกหลายเครื่องที่เป็น linux ให้ นศ. ใช้ เป็นช่วงนี้ web กำลังนิยม ก็หัดทำเว็บเขียนเว็บ Netscape กำลังได้รับความนิยม ก็ดูดมาพักไว้ที่ มข. เป็น Netscape Official Mirror Site แห่งแรกในประเทศไทย ประกอบกับที่ภาคคอมฯ เป็นชุมสาย campus network ของคณะไรสักอย่าง สอนวิชา networks ด้วย มีโอกาสได้ดูแลระบบเครือข่ายไปด้วย
ช่วงเรียนต่อ มีโอกาสดูแลระบบของ lab ได้อานิสงส์จากบารมีของอาจารย์ที่ปรึกษา (ที่เพิ่งจะได้รางวัล Jonathan B. Postel Service Award ของปีนี้) ได้พบบุคคลในตำนานอินเทอร์เน็ตโลกอีกหลายคน มีโอกาสไป workshop เป็นลูกมือจัด workshop พบ sysadmin เก่งๆ geekๆ nerdๆ หลายคน
.. และบางคนก็กวนตีน เช่น sysadmin ชาวญี่ปุ่น เป็นคนดูระบบเมลของ ISP ใหญ่ที่สุดแห่งนึงในญี่ปุ่น อยากได้อะไรมันเขียน sendmail.cf from scratch ได้หมด (ย้ำว่า .cf – human-unreadable config – from scratch) อยู่มาวันหนึ่งมันบอกว่า “กูย้ายไปใช้ postfix หมดแล้วนะ ชีวิตดี๊ดี มึงจะตามมาไหม ?” เอ้า! บักนี่ ! 55+
งานตอนนี้ ใช้ทุกอย่างที่สะสมมาตั้งแต่บรรทัดแรก (^^’)
เรามาเขียนโค้ดได้ไง
ปี 2529 อยู่ ม.2 ไม่เคยเล่นเกม ไม่เคยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แตะคอมพิวเตอร์ครั้งแรกก็หัดโค้ดเลย
มันคือเครื่อง VTech Laser 200 (https://en.wikipedia.org/wiki/VTech_Laser_200)
ROM เป็น BASIC interpreter สมัยนั้นเรียกของพวกนี้ว่า home computer ก็ไม่แน่ใจว่าเครื่องนี้เป็นของใคร แต่มันวางอยู่ที่บ้านที่ไปอาศัยอยู่ช่วงนั้น หัดจากคู่มือของเครื่อง (ภาษาอังกฤษ) หนังสือตัวอย่างโปรแกรมที่แถมมา จนเขียน BASIC เป็น
ม.ปลาย ที่โรงเรียนสอนภาษา Logo .. ช่วงนั้นมีเครื่อง PC ที่บ้านแล้ว รับจ้างเขียนโปรแกรม พิมพ์รายงาน
ป.ตรี รับจ้างเขียน inventory ให้ รพ.ศรีนครินทร์ (Clipper/Netware) โปรเจคจบเขียน C/C++ เป็นโปรแกรมบน Windows
ป.โท ระหว่างเรียนเขียน C, C++, CLIPS, LISP, Prolog, OCaml, Smalltalk, YACC, Lex, Java
ป.เอก เข้ารีต F/OSS ทำ packages ให้ LinuxTLE เขียนตาม upstream ใช้ภาษาไหนก็โค้ดภาษานั้น coding style แบบไหนก็ต้องตามนั้น เพลินมากจนเกือบเรียนไม่จบ 555+
อืม .. เดี๋ยวนะ ผมอยู่สาย sysadmin/ops มาตั้งแต่เรียน ป.ตรี นะหนิ (^^)a
€2.99/mo. Scaleway VC1S
Same tools, same OS as $5/month: DigitalOcean vs Vultr
dd write bs=4k count=10k 100k 1M 403 398 184 MB/s
dd read bs=4k 2.0 GB/s
sysbench --test=cpu --cpu-max-prime=10000 run 17.9875 sec.
stress-ng --cpu 1 --cpu-method all -t 30 94.22 ops/sec
The disk performance is comparable to those of DO/Vultr. But, even equipped with 2 x 64-bit x86 processor, CPU performance is lower than single core on $5/mo. VPS of DO/Vultr.
Since I use them as a web server, so I run ab -n500 -c500 requesting phpinfo() ..
phpinfo() Vultr: 2102.08 req./sec Scaleway: 1543.10 req./sec
YMMV.
$5/month: DigitalOcean vs Vultr
Tools: dd, sysbench, stress-ng. I know, you’d say they are NOT benchmark tools. I don’t care, I just need quick tests.
Here we go:
dd write bs=4k count=10k 100k 1M do: 350 465 424 MB/s vultr: 699 538 466 MB/s
dd read bs=4k do: 475 MB/s vultr: 2.7 GB/s
sysbench --test=cpu --cpu-max-prime=10000 run do: 14.2562 sec. vultr: 13.7561 sec.
stress-ng --cpu 1 --cpu-method all -t 30 do: 154.15 ops/sec vultr: 186.38 ops/sec
/me .. goes vultr.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
ฉันทราบข่าวในตอนเย็นของวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
ตลอดเวลา ๒ ปีก่อนหน้านั้น ฉันรู้ว่าเหตุการณ์นี้จะมาถึง ตั้งแต่ข่าวพระราชกรณียกิจหายไปจากโทรทัศน์ ข่าวเสด็จเข้ารักษาที่ศิริราช – รพ.ที่พระบิดาของพระองค์เป็นผู้สร้าง – ฉันถอนหายใจทุกครั้งที่ได้ทราบข่าวจากสำนักราชวัง จะทั้งหนักใจ หรือโล่งใจในบางคราว
ก่อนหน้าไม่กี่วัน ฉันได้คุยกับหมอที่นับถือ คุณหมอตอบให้ฉันเข้าใจได้ว่าจากแถลงการณ์สำนักราชวังนั้น เราเหลือเวลาอีกไม่นานจริงๆ
สองวันจากนั้น วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ รัชกาลที่ ๙ ในราชวงค์จักรีสวรรคต
ฉันรู้สึกชา ไม่ได้ร้องไห้เลย ฉันมีหน้าที่ต้องทำในคืนนั้น หน้าที่ที่ต้องทำอย่างเหมาะสม ในฐานะข้าราชการในพระองค์
เช้าวันรุ่งขึ้น ฉันขับรถมาทำงานตามปกติ
แลเห็นธงครึ่งเสา .. ฉันกลั้นน้ำตาไม่อยู่
สำหรับฉัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอนให้ฉันมีความเพียร ทำประโยชน์เพื่อคนอื่น เป็นพระองค์หนึ่งที่ทำให้ฉันรู้ว่า
“ชาตินี้ ฉันเกิดมาเพื่ออะไร”