คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 1 – ฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ

อ่านจบไปนานแล้ว และคิดว่าบันทึกลง blog ไปแล้ว เพิ่งจะรู้ว่ายังไม่ได้บันทึกตอนที่จะบันทึกตอนที่สอง ก็เลยได้ย้อนกลับมาอ่านตอนที่หนึ่งใหม่ (- -‘)

จากชื่อเรื่องก็คงไม่ต้องเดาแล้วว่า เป็นเรื่องฆาตกรรม และเกิดในตระกูลอินุงามิ .. ตระกูลนี้เป็นตระกูลที่ ซาเฮ อินุงามิ สร้างมาจากแทบไม่มีอะไรติดตัวเลยจนกลายเป็นตระกูลที่ร่ำรวย จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อ ซาเฮ เสียชีวิต เขาได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้กับทนาย พินัยกรรมนี้มีเงื่อนไขที่ทำให้คนทั้งตระกูลเกลียดชังกัน จนกลายเป็นชนวนของคดีฆาตกรรมที่เกิดในตระกูล .. นอกจากนี้แล้วคนในตระกูลยังมีความสัมพันธ์กันอย่างประหลาดยุ่งเหยิง มีตัวละครเยอะแยะไปหมด และอาจจะเป็นเหตุให้ต้องใช้พื้นที่ไปกว่าหกสิบหน้าในการอารัมภบท ก่อนจะเข้าสู่ฉากการฆาตกรรม .. โคสุเกะ คินดะอิจิ ถูกว่าจ้างให้สืบดูเรื่องราวของตระกูลนี้ แต่ยังไม่ทันเจอคนที่ว่าจ้างก็พบว่านายจ้างกลายเป็นศพไปเสียแล้ว นั่นยังไม่รวมถึงการพยายามฆ่าคนในตระกูลที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอีกหลายครั้ง .. เขาพบว่านอกจากพินัยกรรมที่มีเนื้อหาชวนให้เกิดเหตุนองเลือดในตระกูลแล้ว ฆาตกรรมที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งยังสยดสยองและพิสดารอย่างมาก .. คงไม่ต้องบอกว่า แรงจูงใจในเรื่องนี้น่าจะมาจากพินัยกรรมและมรดกมากมายมหาศาล แต่ใครคือฆาตกร? ต้องการสื่ออะไรกันแน่ถึงสังหารเหยื่อแต่ละรายอย่างสุดพิสดาร ?

คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอน ฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ แปลไทยโดย เสาวณีย์ นวรัตน์จำรูญ จากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นในชื่อ Inugamike no Ichizoku เขียนโดย โยโคมิโซะ เซชิ เมื่อนานมาแล้ว นานขนาดที่ Copyright ล่าสุดยังเป็นปี 1976 โน่น .. โยโคมิโซะ เซชิ เป็นยอดนักเขียนนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแทรกด้วยเรื่องลึกลับสยองขวัญ นับเป็นนวนิยายแนวใหม่ในสมัยนั้น ตั้งแต่เปิดตัวก็ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีผลงานผลิตต่อเนื่องตามมาอีกหลายสิบเล่ม กลายเป็นต้นฉบับที่ได้รับการหยิบมาสร้างเป็นภาพยนตร์และการ์ตูนหลายต่อหลายครั้ง อย่างที่บ้านเรามีการ์ตูน (manga) ในชื่อ ‘คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา’ มีตัวเอกคือ ฮาจิเมะ คินดะอิจิ เป็นหลานของ โคสุเกะ คินดะอิจิ อันเป็นตัวละครจากนิยายของ โยโคมิโซะ เซชิ นี่เอง

พบกับตอนที่สองเร็วๆ นี้ :P

Dogs @ MoPH

ทุกเย็น ที่กระทรวงสาธาฯ จะมีคนพาน้องหมามาเล่น .. เลยแวะไปถ่ายรูปมา

[nggallery id=49]

OpenOffice.org 2.0

เชยอย่างแรง .. เพิ่งรู้ว่า OO.o 2.0 ก็ตัดคำภาษาไทยได้ :P

  • Tools -> Options -> Language Setting -> Language
  • Enhanced language support -> Enabled for complex text layout
  • CTL -> Thai

ไม่ค่อยชอบ toolbar เท่าไหร่ เพราะ icon มันโดโพด .. หาๆ ดูก็เจอว่ามันตั้งเป็น small icons ก็ได้

  • Tools -> Options -> OpenOffice.org -> View
  • User Interface -> Icon size and style -> small

ตั้ง UI font ก็ได้นะ

  • Tools -> Options -> OpenOffice.org -> Fonts
  • แทนที่ฟอนต์ ‘Andale Sans UI’ (ไม่มีให้เลือก ต้องพิมพ์เอา) ด้วยฟอนต์ที่ต้องการ

Linux Kernel 2.6.14

ออกเมื่อ 27 ต.ค. 48 ที่ผ่านมา ช้ากว่าที่กะไว้ประมาณ 10 วัน จาก ChangeLog มีการเปลี่ยนแปลงประมาณสามพันกว่าจุด ตามแผนของ 2.6.14 มีการเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร .. เที่ยวนี้ลอง make allyesconfig จาก 2.6.13.4 แล้วมา make oldconfig ใน 2.6.14 ได้ออกมาดังนี้

  • General setup
    • Automatically append version information to the version string (LOCALVERSION_AUTO) เติม local version อัตโนมัติ e.g. 2.6.14-kitty
  • Processor type and feature
    • BIOS update support for DELL systems via sysfs (DELL_RBU) สำหรับ DELL
    • Dell Systems Management Base Driver (DCDBAS) นี่ก็สำหรับเครื่อง DELL เหมือนกัน เป็นออปชันสำหรับให้ใช้ Service Management Interrupt (SMI) และ Host Control Action ได้
  • Power management
    • Encrypt suspend image (SWSUSP_ENCRYPT) เข้ารหัสลับอิมเมจของ software suspend .. กุญแจเข้า/ถอดรหัสเก็บเป็น cleartext ตอน suspend และจะลบทิ้งเมื่อ resume
  • Networking
    • INET: socket monitoring interface (INET_DIAG) สนับสนุน socket monitoring interface เอาไปใช้กับ ss ใน iproute2
    • Netfilter netlink interface (NETFILTER_NETLINK) สนับสนุน netfilter netlink interface
    • Netfilter สนับสนุนการติดตามและแจ้งสถานะของโพรโตคอลใหม่ๆ ดังนี้
    • Connection tracking events (IP_NF_CONNTRACK_EVENTS)
    • NetBIOS name service protocol support (IP_NF_NETBIOS_NS)
    • PPTP protocol support (IP_NF_PPTP) – Point to Point Tunnelling Protocol
    • DCCP protocol match support (IP_NF_MATCH_DCCP) – Datagram Congestion Control Protocol
  • Netfilter matching เพิ่มมาอีกสองอันคือ
    • String match support (IP_NF_MATCH_STRING) match ข้อมูลใน packet ได้ :O
    • Connection byte/packet counter match support (IP_NF_MATCH_CONNBYTES) match byte/packet counter
  • Target สำหรับ IPv4 เพิ่มเติมอีกสองอย่าง
    • NFQUEUE Target Support (IP_NF_TARGET_NFQUEUE) ใช้แทน QUEUE target ที่ obsolete ไปแล้ว อันนี้สนับสนุน 65535 queue แทนที่จะเป็นแค่ queue เดียวเหมือนแต่ก่อน
    • TTL target support (IP_NF_TARGET_TTL) ปรับตั้งค่า TTL เป็นเท่าไหร่ก็ได้ :O .. โปรดใช้ด้วยความระมัดระวัง :P
  • Target สำหรับ IPv6 เพิ่มมาอีกสามอย่าง
    • REJECT target support (IP6_NF_TARGET_REJECT) สำหรับ IPv6 .. target นี้จะส่ง ICMPv6 กลับไปที่ source ให้ด้วย
    • NFQUEUE Target Support (IP6_NF_TARGET_NFQUEUE) NFQUEUE สำหรับ IPv6 ล้อมาจากของ IPv4
    • HL (hoplimit) target support (IP6_NF_TARGET_HL) ปรับตั้งค่า Hop limit ของ IPv6 ได้ เหมือนกับ TTL ของ IPv4
  • The DCCP Protocol (IP_DCCP) สนับสนุน Datagram Congestion Control Protocol .. :D
  • Serial port KISS driver (MKISS) สนับสนุนโพรโตคอล KISS ในการเชื่อม AX.25 ผ่านเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น
  • Generic IEEE 802.11 Networking Stack (IEEE80211) แยก IEEE 802.11 network stack ออกจากฮาร์ดแวร์ bluetooth
  • Unified userspace kernelspace linker (CONNECTOR) จุดเชื่อมระหว่าง userspace application กับ netlink socket protocol ใน kernelspace
  • Device drivers
    • SCSI
    • RAID Transport Class (RAID_ATTRS) export ข้อมูลของระบบ RAID ผ่าน sysfs
    • SAS Transport Attributes (SCSI_SAS_ATTRS) export ข้อมูลของอุปกรณ์ Serial Attached SCSI (SAS) ผ่าน sysfs
    • LSI Logic MegaRAID SAS RAID Module (MEGARAID_SAS) ไดรเวอร์ SAS สำหรับ LSI Logic MegaRAID
    • Fusion MPT ScsiHost drivers for SAS (FUSION_SAS) ไดรเวอร์ SAS ของ Fusion MPT
    • Marvell SATA support (SCSI_SATA_MV) ไดรเวอร์ SATA สำหรับ ชิป 88SX[56]0[48][01] ของ Marvell
  • NICs
    • PHY Device support and infrastructure (PHYLIB) สนับสนุนโครงสร้างการเชื่อมต่อและจัดการกับอุปกรณ์ PHY (Physical Layer devices)
    • Sun Cassini support (CASSINI) ไดรเวอร์สำหรับ Sun Cassini / Sun GigaSwift Ethernet
    • ULi M526x controller support (ULI526X) ไดรเวอร์สำหรับ ULi M5261/M5263 10/100M Ethernet Controller
    • SiS190/SiS191 gigabit ethernet support (SIS190) ไดรเวอร์สำหรับ SiS 190 Fast/Gigabit Ethernet adapter รวมถึง on-board controller ใน SiS 965/966 south bridge
    • Chelsio 10Gb Ethernet support (CHELSIO_T1) ไดรเวอร์สำหรับ Chelsio N110/N210 10Gb Ethernet
    • Nortel emobility PCI adaptor support (NORTEL_HERMES) ไดรเวอร์สำหรับ Hermes/Orinoco PCMCIA ที่เสียบกับ Nortel emobility PCI adaptors
    • Symbol Spectrum24 Trilogy PCMCIA card support (PCMCIA_SPECTRUM) ไดรเวอร์สำหรับ 802.11b cards ที่ใช้ RAM-loadable Symbol firmware เช่น Symbol Wireless Networker
    • LA4100, CompactFlash cards ของ Socket Communications และ Intel PRO/Wireless 2011B ไดรเวอร์นี้ต้องโหลด firmware ตอนเริ่มใช้งาน
    • IEEE 802.11 for Host AP (Prism2/2.5/3 and WEP/TKIP/CCMP) (HOSTAP) สนับสนุนการทำงานเป็น Access Point (Host AP) สำหรับชิปตระกูล Intersil Prism2/2.5/3
  • Char Dev
    • Digiboard Intelligent Async Support (DIGIEPCA) ไดรเวอร์ serial สำหรับ Digiboard รุ่น Xx Xeve และ Xem
    • Savage video cards (DRM_SAVAGE) ไดรเวอร์ DRM สำหรับ Savage3D/4/SuperSavage/Pro/Twister
    • IBM Automatic Server Restart (IBMASR) ไดรเวอร์ watchdog สำหรับ IBM Automatic Server Restart watchdog ใน IBM eServer xSeries
    • Intel 6300ESB Timer/Watchdog (I6300ESB_WDT) ไดรเวอร์ watchdog สำหรับ Intel 6300ESB controller
    • SBC8360 Watchdog Timer (SBC8360_WDT) ไดรเวอร์ watchdog สำหรับ SBC8360 ของบริษัท Axiomtek
    • W83977F (PCM-5335) Watchdog Timer (W83977F_WDT) ไดรเวอร์ watchdog สำหรับ W83977F I/O chip
  • 1-wire bus
    • 4kb EEPROM family support (DS2433) (W1_DS2433) ไดรเวอร์ 1-wire bus สำหรับ 4kb EEPROM ตระกูล DS2433
  • Hardware monitor
    • Winbond W83792D (SENSORS_W83792D) ไดรเวอร์สำหรับชิป Winbond W83792D
    • IBM Hard Drive Active Protection System (hdaps) (SENSORS_HDAPS)ไดรเวอร์สำหรับ IBM Hard Drive Active Protection เริ่มใช้งานตั้งแต่ ThinkPad R50 T41 และ X40 กลไกของ HDAP คือตัววัดอัตราเร่ง (accelerometer) และเซ็นเซอร์อื่นๆ ที่ช่วยตรวจสอบการเคลื่อนไหวของโน้ตบุ๊ค ข้อมูลเหล่านี้จะส่งผ่านซอฟต์แวร์ไปควบคุมฮาร์ดดิสก์อีกที ไดรเวอร์ตัวนี้บนลินุกซ์เอา accelerometer มาใช้งานเป็น input device ได้ด้วย :D
  • Graphics
    • (i810/i815) Enable DDC Support (FB_I810_I2C) สนับสนุน VESA/DDC (Display Data Channel) สำหรับ i810/i815 Frame Buffer
    • Cyberblade/i1 support (FB_CYBLA) ไดรเวอร์ Frame Buffer สำหรับ Trident Cyberblade/i1, VIA VT8601A North Bridge, VIA Apollo PLE133
  • Multimedia
    • SAA6588 Radio Chip RDS decoder support on BT848 cards (VIDEO_SAA6588) ไดรเวอร์สำหรับ SAA6588 Radio Chip RDS decoder บน BT8x8
    • TwinhanDTV StarBox and clones DVB-S USB2.0 support (DVB_USB_VP702X) ไดรเวอร์ USB สำหรับ TwinhanDTV StarBox
    • Analog Devices AD1889 (SND_AD1889) ไดรเวอร์สำหรับ Analog Devices AD1889
  • Sound
    • Use RTC as default sequencer timer (SND_SEQ_RTCTIMER_DEFAULT) ใช้ RTC เป็น sequencer timer
    • Obsolete OSS USB drivers (OBSOLETE_OSS_USB_DRIVER) ไดรเวอร์ OSS สำหรับ USB sound devices
  • USB
    • Support OneTouch Button on Maxtor Hard Drives (USB_STORAGE_ONETOUCH) ไดรเวอร์สำหรับฮาร์ดดิสก์ Maxtor OneTouch ตั้งปุ่ม bind กับคีย์บอร์ดได้
    • Yealink usb-p1k voip phone (USB_YEALINK) ไดรเวอร์สำหรับ Yealink usb-p1k
    • Apple USB Touchpad support (USB_APPLETOUCH) ไดรเวอร์สำหรับ Apple USB Touchpad
    • ASIX AX88xxx Based USB 2.0 Ethernet Adapters (USB_NET_AX8817X) ไดรเวอร์สำหรับ ASIX AX88xxx based USB 2.0 10/100 Ethernet adapters หลายยี่ห้อเลย
  • Aten UC210T
    • ASIX AX88172
    • Billionton Systems, USB2AR
    • Buffalo LUA-U2-KTX
    • Corega FEther USB2-TX
    • D-Link DUB-E100
    • Hawking UF200
    • Linksys USB200M
    • Netgear FA120
    • Sitecom LN-029
    • Intellinet USB 2.0 Ethernet
    • ST Lab USB 2.0 Ethernet
    • TrendNet TU2-ET100
  • GeneSys GL620USB-A based cables (USB_NET_GL620A) ไดรเวอร์ host-to-host สำหรับ GeneSys GL620USB
  • NetChip 1080 based cables (Laplink, …) (USB_NET_NET1080) ไดรเวอร์ host-to-host สำหรับ NetChip 1080
  • Prolific PL-2301/2302 based cables (USB_NET_PLUSB) ไดรเวอร์ host-to-host สำหรับ Prolific PL-2301/2302
  • Host for RNDIS devices (USB_NET_RNDIS_HOST) สนับสนุน Remote NDIS USB networking (ของ Microsoft :P)
  • Simple USB Network Links (CDC Ethernet subset) (USB_NET_CDC_SUBSET) สนับสนุน USB networking ผ่าน (subset ของ) มาตรฐาน Class Definition for Communication Device (CDC)
  • Sharp Zaurus (stock ROMs) and compatible (USB_NET_ZAURUS) สนับสนุน USB networking สำหรับ Zaurus SL-5000D, SL-5500, SL-5600, A-300, B-500
    • (sisusb) Text console and mode switching support (USB_SISUSBVGA_CON) สนับสนุน mode switching สำหรับ SIS USB VGA
  • InfiniBand
    • InfiniBand userspace MAD support (INFINIBAND_USER_MAD) สนับสนุน userspace InfiniBand MAD
    • InfiniBand userspace access (verbs and CM) (INFINIBAND_USER_ACCESS) userspace applications เชื่อมต่อกับ InfiniBand ได้โดยตรง
  • File systems
    • Filesystem in Userspace support (FUSE_FS) สนับสนุนระบบไฟล์ใน userspace :O
    • Relayfs file system support (RELAYFS_FS) สนับสนุนการ relay ข้อมูลระหว่างระบบไฟล์ใน kernelspace และ userspace
    • Plan 9 Resource Sharing Support (9P2000) (9P_FS) สนับสนุนโพรโตคอล 9P2000 สำหรับระบบไฟล์ Plan 9
  • Kernel hacking
    • Detect Soft Lockups (DETECT_SOFTLOCKUP) ตรวจสอบ soft lockups ที่เกิดจากบั๊กในเคอร์เนล ส่งผลให้ระบบค้างนานกว่า 10 วินาที ถ้าพบว่าเกิด soft lockup เคอร์เนลจะพิมพ์ stack trace เพื่อช่วยในการดีบั๊ก แต่ระบบจะยังค้างไปจนกว่าเคอร์เนลจะหลุดจากลูปและปลด soft lockup เอง
  • Libraries
    • CRC16 functions (CRC16) ไลบรารี CRC-16 สำหรับมอดูลนอกเคอร์เนล

Acquired !

ประมาณต้น-กลางเดือนที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจอยู่สามข่าวที่เกือบจะเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน และเกิดขึ้นในเวลาห่างกันไม่กี่วัน

เรื่องแรก คือการที่ Oracle เข้าซื้อกิจการของ Innobase บริษัทที่สร้างเอ็นจินฐานข้อมูล InnoDB ที่เป็นหนึ่งในเอ็นจินของ MySQL … แม้ว่า MySQL จะมีเอ็นจินอื่นๆ ใช้งานแต่ฟีเจอร์ขั้นสูงๆ หลายๆ อย่างยังจำเป็นต้องทำงานบน InnoDB (e.g., cascade) หาก MySQL AB ยังต้องการใช้งาน InnoDB ในผลิตภัณฑ์ตัวขาย ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะต้องจ่ายค่าสัญญาอนุญาตให้กับ Oracle ซึ่งจะทำให้ราคาของซอฟต์แวร์ MySQL สูงขึ้นแน่ ส่วนซอฟต์แวร์ตัวที่ยังเปิดเสรี การจะต่อรองให้ Oracle ยอมให้ MySQL ตัวเสรีใช้ InnoDB ได้ฟรี/เสรีแทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะที่ผ่านมา Oracle ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่ต่อรองได้ยากที่สุด การเข้ามาของ Oracle เลยดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามชุมชนโอเพนซอร์ โดยเฉพาะผู้ใช้งาน MySQL .. อย่างไรก็ตามรหัส InnoDB รุ่นล่าสุดยังคงเป็น GPL อยู่ ถึง Oracle จะซื้อกิจการ Innobase ไปแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนสัญญาอนุญาตนี้ได้ จุดนี้จึงเป็นโอกาสของชุมชนหรือ MySQL AB ที่จะพัฒนา InnoDB ตัวเสรีต่อได้ ถ้าต้องการจะทำกันจริงๆ .. แตแน่นอนว่า InnoDB รหัสเสรีคงชะงักไปสักพัก

เรื่องที่สอง Check Point บริษัทที่เชี่ยวชาญระบบความปลอดภัยเข้าซื้อกิจการของ Sourcefire ที่เป็นผู้สร้าง Snort – Network-based IDS .. งานนี้ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สและผู้ใช้ในลักษณะเดียวกับกรณีของ Oracle/Innobase .. แต่ยังมีความต่างตรงที่ Check Point ได้ส่งสัญญาณเชิงบวกว่าจะ fully committed กลับไปยังรหัสเสรีของชุมชน .. Snort ยังมีความต่างอีกอย่างคือ มูลค่าเชิงพาณิชย์ไม่ได้อยู่ที่ซอร์ส หรือบริการของตัวซอฟต์แวร์ แต่ไปอยู่ที่ rules ในการตรวจจับการบุกรุก .. ส่วนนึง Sourcefire ได้รวมกฏให้ฟรีใน Snort (GPL) อยู่แล้ว แต่ก็มีการทำธุรกิจของ rules ที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูงๆ ด้วย และผู้ใช้หลายๆ คนก็ได้ซื้อหา rules เหล่านี้มาใช้เป็นเรื่องเป็นราวอยู่พอสมควร หากผู้ใช้ยังยินดีจ่ายเพื่อซื้อ rules เหล่านี้ การจะเปลี่ยนจาก Sourcefire เป็น Check Point คงไม่ทำให้รู้สึกอะไร กรณีของ Check Point/Sourcefire เลยผลกระทบค่อนข้างเบากว่า Oracle/Innobase

เรื่องที่สาม Nessus เลิก GPL และหันไปเลือกวิธีการพัฒนาแบบปิดรหัสต้นฉบับแทน เหตุผลก็คือ Nessus มีชุมชนที่ร่วมพัฒนาเล็กมากและประสบความล้มเหลวในการหานักพัฒนามาช่วยกันทำ nessus และบริษัทเองมีไอเดียว่า หากทำเป็น GPL แล้วทำธุรกิจได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย (เพราะทุกคนเข้าถึงรหัสได้ฟรี/เสรี) แถมผู้ร่วมพัฒนาจากภายนอกก็แทบจะไม่มี ก็ไม่มีเหตุผลที่จะคง GPL ไว้ ปิดรหัสแล้วขายเชิงพาณิชย์ไปเลยดีกว่า ..

สรุป จะเห็นว่าภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สไม่ได้มีเพียงแค่ FUDs เหมือนแต่ก่อนแล้ว การเข้าซื้อกิจการก็เริ่มเป็นมุกที่เล่นกันบ่อยขึ้น ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีศูนย์กลางที่ชุมชนนักพัฒนา หากชุมชนเล็ก อ่อนแอและยังต้องพึ่งพา source maintainer ที่เป็นบริษัทมากๆ (อย่าง Innobase, Nessus) การเข้าซื้อกิจการก็จะส่งผลกระทบค่อนข้างแรง โอกาสที่การพัฒนารหัสเสรีจะหยุดชะงัก หรือหยุดไปอย่างถาวรก็มีสูง ..

แต่ในแง่ดี เรื่องนี้น่าจะพอตอบคำถามเรื่องคุณภาพของซอฟต์แวร์เสรีได้ว่ามันดีถึงขนาดที่บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Oracle หรือ Check Point เริ่มหนาวๆ ร้อนๆ ได้เหมือนกัน :)

The Man Who Loved Only Numbers

ภาษาไทยในชื่อ ‘ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข’ .. เรื่องของ พอล แอร์ดิช (Paul Erdos) นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ที่มีคำเปรียบกันว่า หากวงการฟิสิกส์มีไอน์สไตน์ วงการคณิตศาสตร์ก็มีแอร์ดิช ..แอร์ดิชมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เกือบๆ พันห้าร้อยชิ้น วงการคณิตศาสตร์ยกย่องอัจฉริยภาพของแอร์ดิชอย่างมากถึงกับจัดให้มีเลขแอร์ดิช โดยมีนิยามว่า แอร์ดิช 1 คือผู้ที่ทำงานร่วมกับแอร์ดิชโดยตรง แอร์ดิช 2 คือร่วมงานกับผู้ร่วมงานของแอร์ดิช and so on ราวกับว่าแอร์ดิชคือศูนย์กลางของคณิตศาสตร์ในยุคนี้เลยทีเดียว

หนังสือเริ่มด้วยการกล่าวถึงความเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และตัวตนของแอร์ดิช แล้วค่อยๆ กระจายออกไปสู่คนคนรอบตัว และเพื่อนร่วมงานของแอร์ดิช แทรกด้วยปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่สนุกๆ และยิ่งใหญ่ซึ่งมักจะพูดถึงที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ อ่านแล้วจะได้พบกับชื่อที่คุ้นเคยจำนวนมาก ตั้งแต่นักคณิตศาสตร์สมัยก่อนอย่าง ยูคลิด, เฟอร์มาต์, ออยเลอร์, เกาส์, เชบีเชฟ จนถึงยุคคาบเกี่ยวกับแอร์ดิชอย่าง ก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้, ศรินิวาสา รามานุจัน, จอห์น แนช รวมไปถึงวงการอื่นๆ เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ริชาร์ด เฟย์นแมน, จอห์น วอน นอยแมนน์, คาร์ล เซแกน และรุ่นหลังๆ อย่าง เค็น ริเบ็ต ผู้ปูทางให้กับ แอนดรูว์ ไวลส์ ในการพิสูจน์ Fermat’s Last Theorem

ในหนังสือเล่มนี้บอกไว้ด้วยว่า ‘Algorithm’ เป็นคำที่เกิดมาจากชื่อ Abu Abdullah Muhammad bin Musa al-Khwarizmi นักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซียที่มีชีวิตประมาณช่วง ค.ศ. 700-800 .. ผมว่าคนที่เรียนคอมพิวเตอร์ 99 ใน 100 คน ไม่รู้ที่มาของคำนี้ :P

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วนึกถึง P’Thep .. ท่านพี่ต้องชอบแน่ๆ :)

Canon EOS Kiss Digital N

น้องสาวเพิ่งซื้อกล้องดิจิทัลใหม่ Canon EOS Kiss Digital N .. บอกชื่อนี้ไปหลายคนไม่รู้จัก เพราะบ้านเราทำตลาดในชื่อ Canon EOS 350D (ยุโรป อเมริกา = Rebel XT) .. เป็น DSLR ที่เล็กกระทัดรัดดี ยืมมาบันทึกภาพรอบๆ บ้าน .. ได้ mini gallery มาให้ดู

[nggallery id=47]

Breezin’ Breezy

เพิ่งจะได้ลง Ubuntu 5.10 Breezy Badger วันนี้ โดยรวมก็น่าใช้ดี.. GNOME/GTK+ ที่ย้ายมาใช้ Cairo นี่ไม่ได้รู้สึกว่าช้าลงอย่างที่หลายคนกลัว .. Evolution 2.4 สนับสนุน inline pgp signature/encryption แล้ว :D … อื่นๆ ก็ไม่ค่อยรู้สึกว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เพราะที่ใช้ Hoary อยู่ก็ backport จาก Breezy มาซะหลายตัวแล้ว :P แต่สำหรับคนที่ใช้ Hoary เดิมๆ อัปเกรดมาเป็น Breezy ก็คงจะเห็นความแตกต่างอยู่บ้างกับซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ๆ รวมถึงการใช้งานที่อยู่กะร่องกะรอย เป็นระเบียบมากขึ้น

พอติดตั้งใช้งานแล้วก็เลยถือโอกาส build package + จัดระเบียบ repository ซะเลย .. คาดว่าจะคงโครงสร้างนี้ไปอีกนาน .. สำหรับ repository ของ ubuntu ที่ kitty.in.th maintain จะแยกเป็นสอง dists คือ ‘hoary’ กับ ‘breezy’:

ใครยังใช้ Hoary Hedgehog อยู่ให้ใช้

deb ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty hoary unstable

ส่วนใครที่ใช้ Breezy Badger แล้วก็

deb ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty breezy unstable

นับจากวันนี้ kitty.in.th จะไม่ update package ของ Hoary แล้วนะครับ .. ส่วน Breezy คงจะ update ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะอัปเกรดเป็น Ubuntu 6.04 The Dapper Drake ในเดือนเมษายนปีหน้า :) ..

อ่อ .. GPG Key สำหรับ kitty.in.th โหลดได้ที่ ftp://ftp.kitty.in.th/pub/ubuntu/kitty/kitty.in.th.gpg ใช้ได้ทั้ง hoary และ breezy ครับ