ตามกระแสนิดนึง :P
[nggallery id=50]
ตามกระแสนิดนึง :P
[nggallery id=50]
ดองไว้หลายเดือน เพิ่งจะมีเวลาอ่าน เรื่องในตอนนี้แปลมาจาก Yatsuhaka-mura ของโยโคมิโซะ เซชิ โดย เสาวณีย์ นวรัตน์จำรูญ ที่ญี่ปุ่นเคยทำเป็นภาพยนตร์เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว เป็นคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับตำนานของหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งในอดีตมีซามูไรแพ้สงครามแปดนายหอบทองคำหนีมาหลบซ่อนตัว .. แรกๆ ก็อยู่กับชาวบ้านดี แต่ผ่านไปหกเดือน ทางการตามล่าอย่างหนักบวกกับชาวบ้านโลภต้องการครอบครองทองคำที่ซ่อนไว้ ทั้งหมู่บ้านเลยวางแผนลอบสังหารซามูไรทั้งแปดหวังทองคำ หรืออย่างน้อยก็ได้ค่าหัวจากทางการ ซามูไรทั้งแปดไม่สามารถสู้คนทั้งหมู่บ้านได้ ล้มตายไปทีละคน ตัวแม่ทัพจึงแค้นคนในหมู่บ้านเป็นอย่างมากจึงลั่นวาจาว่าจะจองเวรไปอีกเจ็ดชาติ .. ตั้งแต่นั้นมาหมู่บ้านก็มีเหตุการณ์ประหลาดทำให้คนล้มตาย ทั้งหมู่บ้านจึงเชื่อว่าเป็นคำสาปของแม่ทัพ จึงจัดพิธีศพและบวงสรวงซามูไรทั้งแปดเป็นเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแปดหลุมศพ ..แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เหตุการณ์ยุติ .. ล่าสุดพ่อบ้านประจำตระกูลใหญ่แห่งหมู่บ้านก็อาละวาดสังหารชาวบ้านไป 32 ศพ ซึ่งเป็น 4 เท่าของ 8 แล้วก็หายสาปสูญไป
เหตุการณ์นั้นผ่านไปยี่สิบกว่าปี พอๆ กับอายุของ ทะซึยะ หนุ่มที่กำพร้าแม่แต่เล็กและอยู่กับพ่อเลี้ยงมาตลอดจึง เขาจึงไม่เคยรู้ว่าตนเป็นใครมาจากไหน .. อยู่มาวันหนึ่งก็มีประกาศตามหาทะซึยะทางวิทยุ เขาไปพบคนที่ตามหา แล้วก็พบว่าเขาเป็นทายาทของตระกูลใหญ่ของหมู่บ้านแปดหลุมศพ และทางตระกูลตามหาตัวเพื่อไปสืบทอดมรดก .. น่าจะเป็นเรื่องดีสำหรับทะซึยะ หากไม่เกิดเหตุประหลาดซะก่อน เริ่มจากคนที่มารับทะซึยะกลับหมู่บ้านซึ่งเป็นตาแท้ๆ ตายไปต่อหน้าต่อตาทะซึยะ ตามด้วยพี่ชาย นักบวช และใครต่อใครอีกหลายคน .. ทุกคนตายด้วยอาการเหมือนๆ กัน แต่แทบจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย เหมือนเป็นการฆ่าแบบสุ่ม ไม่มีการวางเป้าหมาย ไม่มีเจตนาใดๆ .. ชาวบ้านจึงเชื่อว่าตำนานแปดหลุมศพกลับมาพร้อมกับทะซึยะ เขาจึงกลายเป็นผู้ต้องสงสัยรายแรก และเป็นคนที่ทั้งหมู่บ้านหมายหัวไว้ .. นอกจากนี้ยังมีเรื่องแปลกๆ ลึกลับๆ อีกมากมายในตระกูล ทะซึยะจึงต้องหาทางพิสูจน์ว่าตัวเองไม่ใช่ฆาตกรพร้อมๆ กับค้นหาความลับของตระกูล รวมไปถึงทองคำของแปดซามูไรที่ยังไม่มีใครพบอีกด้วย
สำหรับตอนนี้ คินดะอิจิ แทบไม่ได้ออกโรงคลี่คลายคดีอะไรเลย เพราะฆาตกรเผยตัวเองในตอนท้าย .. แต่ก็ไม่ถึงกับไม่มีบทบาท เพราะท้ายที่สุดเขาคือคนเชื่อมโยงเหตุการณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน คลี่คลายคดีอย่างมีเหตุผล และได้เผยเจตนาที่แท้จริงของฆาตกร
รู้สึกว่า เวลาอ่านคินดะอิจิต้องใช้สมาธิมากกว่าเล่มอื่นๆ .. เป็นตั้งแต่เล่มแรกแล้ว .. จะอ่านเล่มสามคงต้องหาเวลาว่างจริงๆ อ่านรวดเดียวเลย .. อ่อ .. มิเกะเนะโกะ เล่มหกอ่านจบนานแล้ว ยังไม่ได้ blog ไว้ :P
อ่านจบไปนานแล้ว และคิดว่าบันทึกลง blog ไปแล้ว เพิ่งจะรู้ว่ายังไม่ได้บันทึกตอนที่จะบันทึกตอนที่สอง ก็เลยได้ย้อนกลับมาอ่านตอนที่หนึ่งใหม่ (- -‘)
จากชื่อเรื่องก็คงไม่ต้องเดาแล้วว่า เป็นเรื่องฆาตกรรม และเกิดในตระกูลอินุงามิ .. ตระกูลนี้เป็นตระกูลที่ ซาเฮ อินุงามิ สร้างมาจากแทบไม่มีอะไรติดตัวเลยจนกลายเป็นตระกูลที่ร่ำรวย จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อ ซาเฮ เสียชีวิต เขาได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้กับทนาย พินัยกรรมนี้มีเงื่อนไขที่ทำให้คนทั้งตระกูลเกลียดชังกัน จนกลายเป็นชนวนของคดีฆาตกรรมที่เกิดในตระกูล .. นอกจากนี้แล้วคนในตระกูลยังมีความสัมพันธ์กันอย่างประหลาดยุ่งเหยิง มีตัวละครเยอะแยะไปหมด และอาจจะเป็นเหตุให้ต้องใช้พื้นที่ไปกว่าหกสิบหน้าในการอารัมภบท ก่อนจะเข้าสู่ฉากการฆาตกรรม .. โคสุเกะ คินดะอิจิ ถูกว่าจ้างให้สืบดูเรื่องราวของตระกูลนี้ แต่ยังไม่ทันเจอคนที่ว่าจ้างก็พบว่านายจ้างกลายเป็นศพไปเสียแล้ว นั่นยังไม่รวมถึงการพยายามฆ่าคนในตระกูลที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอีกหลายครั้ง .. เขาพบว่านอกจากพินัยกรรมที่มีเนื้อหาชวนให้เกิดเหตุนองเลือดในตระกูลแล้ว ฆาตกรรมที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งยังสยดสยองและพิสดารอย่างมาก .. คงไม่ต้องบอกว่า แรงจูงใจในเรื่องนี้น่าจะมาจากพินัยกรรมและมรดกมากมายมหาศาล แต่ใครคือฆาตกร? ต้องการสื่ออะไรกันแน่ถึงสังหารเหยื่อแต่ละรายอย่างสุดพิสดาร ?
คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอน ฆาตกรรมในตระกูลอินุงามิ แปลไทยโดย เสาวณีย์ นวรัตน์จำรูญ จากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นในชื่อ Inugamike no Ichizoku เขียนโดย โยโคมิโซะ เซชิ เมื่อนานมาแล้ว นานขนาดที่ Copyright ล่าสุดยังเป็นปี 1976 โน่น .. โยโคมิโซะ เซชิ เป็นยอดนักเขียนนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนแทรกด้วยเรื่องลึกลับสยองขวัญ นับเป็นนวนิยายแนวใหม่ในสมัยนั้น ตั้งแต่เปิดตัวก็ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีผลงานผลิตต่อเนื่องตามมาอีกหลายสิบเล่ม กลายเป็นต้นฉบับที่ได้รับการหยิบมาสร้างเป็นภาพยนตร์และการ์ตูนหลายต่อหลายครั้ง อย่างที่บ้านเรามีการ์ตูน (manga) ในชื่อ ‘คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา’ มีตัวเอกคือ ฮาจิเมะ คินดะอิจิ เป็นหลานของ โคสุเกะ คินดะอิจิ อันเป็นตัวละครจากนิยายของ โยโคมิโซะ เซชิ นี่เอง
พบกับตอนที่สองเร็วๆ นี้ :P
ทุกเย็น ที่กระทรวงสาธาฯ จะมีคนพาน้องหมามาเล่น .. เลยแวะไปถ่ายรูปมา
[nggallery id=49]
งานยุ่งนรกแตกมากๆ .. ยังหาเรื่องเอารูปมาโพสเล่นอีก (- -‘)
บันทึกตอนไป งานหนังสือครั้งล่าสุด .. หนังสือที่ซื้อมายังไม่มีเวลาอ่านเล้ยยยย T_T
เชยอย่างแรง .. เพิ่งรู้ว่า OO.o 2.0 ก็ตัดคำภาษาไทยได้ :P
ไม่ค่อยชอบ toolbar เท่าไหร่ เพราะ icon มันโดโพด .. หาๆ ดูก็เจอว่ามันตั้งเป็น small icons ก็ได้
ตั้ง UI font ก็ได้นะ
ออกเมื่อ 27 ต.ค. 48 ที่ผ่านมา ช้ากว่าที่กะไว้ประมาณ 10 วัน จาก ChangeLog มีการเปลี่ยนแปลงประมาณสามพันกว่าจุด ตามแผนของ 2.6.14 มีการเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร .. เที่ยวนี้ลอง make allyesconfig จาก 2.6.13.4 แล้วมา make oldconfig ใน 2.6.14 ได้ออกมาดังนี้
ไปประชุมที่ ป่าตอง ภูเก็ต มาเมื่อกลางๆ เดือนตุลาคม เก็บภาพมาอวด
[nggallery id=46]
แถม: อช. น้ำพอง จ.ขอนแก่น
ประมาณต้น-กลางเดือนที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจอยู่สามข่าวที่เกือบจะเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน และเกิดขึ้นในเวลาห่างกันไม่กี่วัน
เรื่องแรก คือการที่ Oracle เข้าซื้อกิจการของ Innobase บริษัทที่สร้างเอ็นจินฐานข้อมูล InnoDB ที่เป็นหนึ่งในเอ็นจินของ MySQL … แม้ว่า MySQL จะมีเอ็นจินอื่นๆ ใช้งานแต่ฟีเจอร์ขั้นสูงๆ หลายๆ อย่างยังจำเป็นต้องทำงานบน InnoDB (e.g., cascade) หาก MySQL AB ยังต้องการใช้งาน InnoDB ในผลิตภัณฑ์ตัวขาย ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะต้องจ่ายค่าสัญญาอนุญาตให้กับ Oracle ซึ่งจะทำให้ราคาของซอฟต์แวร์ MySQL สูงขึ้นแน่ ส่วนซอฟต์แวร์ตัวที่ยังเปิดเสรี การจะต่อรองให้ Oracle ยอมให้ MySQL ตัวเสรีใช้ InnoDB ได้ฟรี/เสรีแทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะที่ผ่านมา Oracle ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่ต่อรองได้ยากที่สุด การเข้ามาของ Oracle เลยดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามชุมชนโอเพนซอร์ โดยเฉพาะผู้ใช้งาน MySQL .. อย่างไรก็ตามรหัส InnoDB รุ่นล่าสุดยังคงเป็น GPL อยู่ ถึง Oracle จะซื้อกิจการ Innobase ไปแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนสัญญาอนุญาตนี้ได้ จุดนี้จึงเป็นโอกาสของชุมชนหรือ MySQL AB ที่จะพัฒนา InnoDB ตัวเสรีต่อได้ ถ้าต้องการจะทำกันจริงๆ .. แตแน่นอนว่า InnoDB รหัสเสรีคงชะงักไปสักพัก
เรื่องที่สอง Check Point บริษัทที่เชี่ยวชาญระบบความปลอดภัยเข้าซื้อกิจการของ Sourcefire ที่เป็นผู้สร้าง Snort – Network-based IDS .. งานนี้ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สและผู้ใช้ในลักษณะเดียวกับกรณีของ Oracle/Innobase .. แต่ยังมีความต่างตรงที่ Check Point ได้ส่งสัญญาณเชิงบวกว่าจะ fully committed กลับไปยังรหัสเสรีของชุมชน .. Snort ยังมีความต่างอีกอย่างคือ มูลค่าเชิงพาณิชย์ไม่ได้อยู่ที่ซอร์ส หรือบริการของตัวซอฟต์แวร์ แต่ไปอยู่ที่ rules ในการตรวจจับการบุกรุก .. ส่วนนึง Sourcefire ได้รวมกฏให้ฟรีใน Snort (GPL) อยู่แล้ว แต่ก็มีการทำธุรกิจของ rules ที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูงๆ ด้วย และผู้ใช้หลายๆ คนก็ได้ซื้อหา rules เหล่านี้มาใช้เป็นเรื่องเป็นราวอยู่พอสมควร หากผู้ใช้ยังยินดีจ่ายเพื่อซื้อ rules เหล่านี้ การจะเปลี่ยนจาก Sourcefire เป็น Check Point คงไม่ทำให้รู้สึกอะไร กรณีของ Check Point/Sourcefire เลยผลกระทบค่อนข้างเบากว่า Oracle/Innobase
เรื่องที่สาม Nessus เลิก GPL และหันไปเลือกวิธีการพัฒนาแบบปิดรหัสต้นฉบับแทน เหตุผลก็คือ Nessus มีชุมชนที่ร่วมพัฒนาเล็กมากและประสบความล้มเหลวในการหานักพัฒนามาช่วยกันทำ nessus และบริษัทเองมีไอเดียว่า หากทำเป็น GPL แล้วทำธุรกิจได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย (เพราะทุกคนเข้าถึงรหัสได้ฟรี/เสรี) แถมผู้ร่วมพัฒนาจากภายนอกก็แทบจะไม่มี ก็ไม่มีเหตุผลที่จะคง GPL ไว้ ปิดรหัสแล้วขายเชิงพาณิชย์ไปเลยดีกว่า ..
สรุป จะเห็นว่าภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สไม่ได้มีเพียงแค่ FUDs เหมือนแต่ก่อนแล้ว การเข้าซื้อกิจการก็เริ่มเป็นมุกที่เล่นกันบ่อยขึ้น ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีศูนย์กลางที่ชุมชนนักพัฒนา หากชุมชนเล็ก อ่อนแอและยังต้องพึ่งพา source maintainer ที่เป็นบริษัทมากๆ (อย่าง Innobase, Nessus) การเข้าซื้อกิจการก็จะส่งผลกระทบค่อนข้างแรง โอกาสที่การพัฒนารหัสเสรีจะหยุดชะงัก หรือหยุดไปอย่างถาวรก็มีสูง ..
แต่ในแง่ดี เรื่องนี้น่าจะพอตอบคำถามเรื่องคุณภาพของซอฟต์แวร์เสรีได้ว่ามันดีถึงขนาดที่บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Oracle หรือ Check Point เริ่มหนาวๆ ร้อนๆ ได้เหมือนกัน :)
ภาษาไทยในชื่อ ‘ผู้ชายที่หลงรักตัวเลข’ .. เรื่องของ พอล แอร์ดิช (Paul Erdos) นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการี ที่มีคำเปรียบกันว่า หากวงการฟิสิกส์มีไอน์สไตน์ วงการคณิตศาสตร์ก็มีแอร์ดิช ..แอร์ดิชมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เกือบๆ พันห้าร้อยชิ้น วงการคณิตศาสตร์ยกย่องอัจฉริยภาพของแอร์ดิชอย่างมากถึงกับจัดให้มีเลขแอร์ดิช โดยมีนิยามว่า แอร์ดิช 1 คือผู้ที่ทำงานร่วมกับแอร์ดิชโดยตรง แอร์ดิช 2 คือร่วมงานกับผู้ร่วมงานของแอร์ดิช and so on ราวกับว่าแอร์ดิชคือศูนย์กลางของคณิตศาสตร์ในยุคนี้เลยทีเดียว
หนังสือเริ่มด้วยการกล่าวถึงความเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และตัวตนของแอร์ดิช แล้วค่อยๆ กระจายออกไปสู่คนคนรอบตัว และเพื่อนร่วมงานของแอร์ดิช แทรกด้วยปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่สนุกๆ และยิ่งใหญ่ซึ่งมักจะพูดถึงที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ อ่านแล้วจะได้พบกับชื่อที่คุ้นเคยจำนวนมาก ตั้งแต่นักคณิตศาสตร์สมัยก่อนอย่าง ยูคลิด, เฟอร์มาต์, ออยเลอร์, เกาส์, เชบีเชฟ จนถึงยุคคาบเกี่ยวกับแอร์ดิชอย่าง ก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้, ศรินิวาสา รามานุจัน, จอห์น แนช รวมไปถึงวงการอื่นๆ เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ริชาร์ด เฟย์นแมน, จอห์น วอน นอยแมนน์, คาร์ล เซแกน และรุ่นหลังๆ อย่าง เค็น ริเบ็ต ผู้ปูทางให้กับ แอนดรูว์ ไวลส์ ในการพิสูจน์ Fermat’s Last Theorem
ในหนังสือเล่มนี้บอกไว้ด้วยว่า ‘Algorithm’ เป็นคำที่เกิดมาจากชื่อ Abu Abdullah Muhammad bin Musa al-Khwarizmi นักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซียที่มีชีวิตประมาณช่วง ค.ศ. 700-800 .. ผมว่าคนที่เรียนคอมพิวเตอร์ 99 ใน 100 คน ไม่รู้ที่มาของคำนี้ :P
อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วนึกถึง P’Thep .. ท่านพี่ต้องชอบแน่ๆ :)