Tag Archives: foss

News from slashdot & LWN

ต้นฉบับ พร้อมอธิบายวิธีการวัด: http://blog.pavlov.net/2008/03/11/firefox-3-memory-usage

อ้อ ! …เบิ้ลข่าวอีกครั้ง .. GNOME ตองสองรีลีสแล้ว .. http://library.gnome.org/misc/release-notes/2.22 ..

OOXML: Your action is required: Contact TISI now!

Dear Kitt Tientanopajai,

You signed the OOXML petition, a movement backed now by more than
70.000 supporters worldwide. Our effort to influence the OOXML (Office
Open XML) standardization process has been an astonishing success so
far. We aim for at least 100.000 signatures in February when the Geneva
Ballot Resolution Meeting (BRM) will convene with the aim to resolve
comments.

Microsoft is trying by all means to get its "standard" adopted without
substantial changes despite of its thousands of officially reported
technical flaws and the pre-existence of ISO 26300:2006 (OpenDocument,
ODF) as the most appropriate international standard for the
representation of office documents.

By next Tuesday Dec 11 2007 delegates from your National Standards Body
TISI who will participate in the BRM have to be announced to
ISO. At least Portugal and Ireland will be represented by Microsoft. In
many other countries, we know that Microsoft gold partners are proposing
themselves as heads of national delegations. Many of them will prevail
if we do not take action.

Will you let Microsoft represent your country at Geneva and decide the
future of OOXML?

You can make a difference and call now TISI at +66-2-2023400-2 and help
us to find out:

a. Who will represent TISI on DIS 29500 at the Ballot
Resolution Meeting in Geneva?
b. When will the decision on delegates be made and if TISI is
aware of the Dec 11 deadline?
c. Does your national delegates for the BRM are independent enough
from Microsoft?
d. Does the responsible Committee of TISI for DIS 29500 work
on resolution proposals for all the 3500 comments tabled or – if at
all – only for the national comments that they submitted?

Please report your findings by replying to this email, we will update
this page with the members of each national delegation:

http://www.noooxml.org/brm

More things that you can do to help our effort against this broken
standard proposal:

1. Join our mailing list and get in touch with many other
activists:
http://lists.ffii.org/mailman/listinfo/noooxml-club
2. Become a member of FFII, the worldwide association leading the
OOXML campaign:
http://action.ffii.org/member_application
3. Become a member of DIGISTAN, the organization for the promotion
of true digital open standards worldwide; please indicate your
interests to: [email protected]
4. Blog about OOXML which shapes the public debate; blogging has been
instrumental to our success in Sweden for example;
5. support our campaign work with financial means:
http://www.noooxml.org/donations

Best regards,


Benjamin Henrion
OOXML Campaign leader

ระยะนี้คงมีคนได้รับเมลฉบับนี้กันหลายคนแล้ว จะเคลื่อนไหวอะไรกันหรือเปล่า ?

The 2006 Linux and free software timeline

ปีที่ผ่านมา พลาดข่าวอะไรไปบ้าง ?

ดูสรุปข่าวลินุกซ์และซอฟต์แวร์เสรี พร้อม quote ที่น่าสนใจตลอดปี 2006 ได้ที่ “the 2006 Linux and free software timeline

fwiw, I recently took a position with Google.

— Andrew Morton releases 2.6.18-rc3-mm1

/me .. ตกข่าว (- -‘)

Happy Ending ?

ต่อจาก blog คราวที่แล้ว มีความคืบหน้า คือ ข่าว รมว. MICT ออกมายอมรับว่าเข้าใจผิด และ รายงานการเข้าพบ รมว. MICT … ที่จริงแล้วไม่มีประเด็นอะไรเสนอ เพียงแต่ต้องการบันทึกความคืบหน้าไว้ใน blog นี้ด้วย จะได้เป็นการยุติธรรมต่อ รมว. MICT

อย่างไรก็ตาม TLUG ครั้งถัดไป จะจัดที่ มก. โดยมีหัวข้อเรื่องอนาคตโอเพนซอร์สไทย ซึ่งจะมาคุยกันว่าจะมุ่งไปทางไหนด้วยกำลังของชุมชนเอง มีวิทยากรหลายท่านที่จะมาร่วมเสวนา อาทิ พี่เทพ พี่โดม bact’ .. เนื่องจากจัดงานกระชั้นมาก มีโอกาสก็กระจายข่าวให้ทั่วถึงกันหน่อยเด้อ :)

It’s just a joke

ตัดจากข่าวที่ Bangkok Post

On the subject of open source software, he said the current government plan was a case of the blind leading the blind, as neither the people who are in charge nor the people in industry seem to know the dangers of open source software.

“With open source, there is no intellectual property. Anyone can use it and all your ideas become public domain. If nobody can make money from it, there will be no development and open source software quickly becomes outdated,” he said.

Apart from Linux, he claimed that most open source software is often abandoned and not developed, and leads to a lot of low-quality software with lots of bugs.

“As a programmer, if I can write good code, why should I give it away? Thailand can do good source code without open source,” he said.

เป็นส่วนหนึ่งของคำให้สัมภาษณ์ของ รศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT คนปัจจุบัน .. คงไม่วิจารณ์อะไรอีก เพราะมีผู้ตอบโต้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้วเยอะแยะแล้ว ทั้งในเว็บข่าวไอทีระดับโลกอย่าง slashdot.org, digg.com, และใน จดหมายเปิดผนึก ที่ บล็อกนั้น

จริงๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มีคนไม่เข้าใจโอเพนซอร์ส แต่บังเอิญคนที่ว่าอยู่ในฐานะที่ไม่ธรรมดา เลยกลายเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังสำหรับวิสัยทัศน์ผู้เป็นรัฐมนตรี ICT อย่างที่มีผู้กล่าวไว้ ตามเนื้อความนี้

เอ้า .. นี่เรื่องตลกนะ .. หัวเราะกันหน่อย … :D

Acquired !

ประมาณต้น-กลางเดือนที่ผ่านมา มีข่าวที่น่าสนใจอยู่สามข่าวที่เกือบจะเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน และเกิดขึ้นในเวลาห่างกันไม่กี่วัน

เรื่องแรก คือการที่ Oracle เข้าซื้อกิจการของ Innobase บริษัทที่สร้างเอ็นจินฐานข้อมูล InnoDB ที่เป็นหนึ่งในเอ็นจินของ MySQL … แม้ว่า MySQL จะมีเอ็นจินอื่นๆ ใช้งานแต่ฟีเจอร์ขั้นสูงๆ หลายๆ อย่างยังจำเป็นต้องทำงานบน InnoDB (e.g., cascade) หาก MySQL AB ยังต้องการใช้งาน InnoDB ในผลิตภัณฑ์ตัวขาย ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะต้องจ่ายค่าสัญญาอนุญาตให้กับ Oracle ซึ่งจะทำให้ราคาของซอฟต์แวร์ MySQL สูงขึ้นแน่ ส่วนซอฟต์แวร์ตัวที่ยังเปิดเสรี การจะต่อรองให้ Oracle ยอมให้ MySQL ตัวเสรีใช้ InnoDB ได้ฟรี/เสรีแทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะที่ผ่านมา Oracle ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่ต่อรองได้ยากที่สุด การเข้ามาของ Oracle เลยดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามชุมชนโอเพนซอร์ โดยเฉพาะผู้ใช้งาน MySQL .. อย่างไรก็ตามรหัส InnoDB รุ่นล่าสุดยังคงเป็น GPL อยู่ ถึง Oracle จะซื้อกิจการ Innobase ไปแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนสัญญาอนุญาตนี้ได้ จุดนี้จึงเป็นโอกาสของชุมชนหรือ MySQL AB ที่จะพัฒนา InnoDB ตัวเสรีต่อได้ ถ้าต้องการจะทำกันจริงๆ .. แตแน่นอนว่า InnoDB รหัสเสรีคงชะงักไปสักพัก

เรื่องที่สอง Check Point บริษัทที่เชี่ยวชาญระบบความปลอดภัยเข้าซื้อกิจการของ Sourcefire ที่เป็นผู้สร้าง Snort – Network-based IDS .. งานนี้ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สและผู้ใช้ในลักษณะเดียวกับกรณีของ Oracle/Innobase .. แต่ยังมีความต่างตรงที่ Check Point ได้ส่งสัญญาณเชิงบวกว่าจะ fully committed กลับไปยังรหัสเสรีของชุมชน .. Snort ยังมีความต่างอีกอย่างคือ มูลค่าเชิงพาณิชย์ไม่ได้อยู่ที่ซอร์ส หรือบริการของตัวซอฟต์แวร์ แต่ไปอยู่ที่ rules ในการตรวจจับการบุกรุก .. ส่วนนึง Sourcefire ได้รวมกฏให้ฟรีใน Snort (GPL) อยู่แล้ว แต่ก็มีการทำธุรกิจของ rules ที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูงๆ ด้วย และผู้ใช้หลายๆ คนก็ได้ซื้อหา rules เหล่านี้มาใช้เป็นเรื่องเป็นราวอยู่พอสมควร หากผู้ใช้ยังยินดีจ่ายเพื่อซื้อ rules เหล่านี้ การจะเปลี่ยนจาก Sourcefire เป็น Check Point คงไม่ทำให้รู้สึกอะไร กรณีของ Check Point/Sourcefire เลยผลกระทบค่อนข้างเบากว่า Oracle/Innobase

เรื่องที่สาม Nessus เลิก GPL และหันไปเลือกวิธีการพัฒนาแบบปิดรหัสต้นฉบับแทน เหตุผลก็คือ Nessus มีชุมชนที่ร่วมพัฒนาเล็กมากและประสบความล้มเหลวในการหานักพัฒนามาช่วยกันทำ nessus และบริษัทเองมีไอเดียว่า หากทำเป็น GPL แล้วทำธุรกิจได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย (เพราะทุกคนเข้าถึงรหัสได้ฟรี/เสรี) แถมผู้ร่วมพัฒนาจากภายนอกก็แทบจะไม่มี ก็ไม่มีเหตุผลที่จะคง GPL ไว้ ปิดรหัสแล้วขายเชิงพาณิชย์ไปเลยดีกว่า ..

สรุป จะเห็นว่าภัยคุกคามกับชุมชนโอเพนซอร์สไม่ได้มีเพียงแค่ FUDs เหมือนแต่ก่อนแล้ว การเข้าซื้อกิจการก็เริ่มเป็นมุกที่เล่นกันบ่อยขึ้น ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีศูนย์กลางที่ชุมชนนักพัฒนา หากชุมชนเล็ก อ่อนแอและยังต้องพึ่งพา source maintainer ที่เป็นบริษัทมากๆ (อย่าง Innobase, Nessus) การเข้าซื้อกิจการก็จะส่งผลกระทบค่อนข้างแรง โอกาสที่การพัฒนารหัสเสรีจะหยุดชะงัก หรือหยุดไปอย่างถาวรก็มีสูง ..

แต่ในแง่ดี เรื่องนี้น่าจะพอตอบคำถามเรื่องคุณภาพของซอฟต์แวร์เสรีได้ว่ามันดีถึงขนาดที่บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Oracle หรือ Check Point เริ่มหนาวๆ ร้อนๆ ได้เหมือนกัน :)

Software Patent

หายไปจากวงจรข่าวหลายวัน วันนี้เลยอัปเดตข่าวสารต่างๆ มากมาย มีคิวอัปเดต + ทดสอบแพ็กเกจหลายตัว .. อ่อ เคอร์เนล 2.6.6 ออกแล้วครับ พร้อม mm1 ตามมาติดๆ ในไม่กี่ชั่วโมงถัดมา

เจอเรื่องน่าสนใจที่ http://slashdot.org เกือบๆ จะตกข่าว คือมี คนทดสอบประสิทธิภาพของระบบไฟล์ ext2 ext3 reiserfs jfs xfs .. เป็นไปตามที่คาดไว้ คือ jfs ดูน่าประทับใจกว่าเพื่อน และ ext3 ห่วยสุด .. ตามไปอ่านกันดูครับ (นินทา: ดูเหมือนกราฟจะใช้ MS Excel นะ :P)

มีข่าวดีว่า Novell ‘จะ’ โอเพนซอร์ส Ximian Connector ตัวเชื่อม MS Exchange (และ GroupWise ?) .. ชาว /. บอกว่าไม่ต้องรอแล้ว ไปโหลดได้เลย ผมก็สอยมาซะเป็นที่เรียบร้อย

บ่ายๆ แวะเข้าห้อง #tlwg อ.พฤษภ์ ถามเรื่อง LyX บนทะเล ผมยังแก้ปัญหาให้ไม่ได้เลย วีร์ถามเรื่อง printing ของ inkscape ผมลองดูก็พบว่ามันพิมพ์ไม่ได้ งงไปอีกดอก รู้สึกผิดยังไงชอบกล .. น้องฝ้ายตั้งประเด็นเรื่อง software patent ในเมืองไทย ช่วยกันหาข้อมูล แล้วก็ได้ข้อสรุปว่า ณ เวลานี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ .. ซึ่งก็ดีแล้ว ถ้าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ล่ะก็ น่ากลัวโคตรๆ ..

ร่ายยาวสักนิดตามที่เข้าใจมา (คำเตือน: IANAL ดังนั้นที่จะเล่าต่อไปนี้ ผิดหรือถูกก็ไม่รู้ จะอ้างอิงก็ได้แต่ผมไม่รับผิดชอบเนื้อหานะ) .. หลักๆ แล้ว ประเทศไทยมี พรบ. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอยู่สองตัว คือ พรบ. สิทธิบัตร ซึ่งคุ้มครอง ‘วิธีการ’ และ พรบ. ลิขสิทธิ์ ซึ่งคุ้มครอง ‘เนื้อหา’ .. กรณีของประเทศไทย พรบ. สิทธิบัตรเน้นการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบ ส่วนซอฟต์แวร์จะได้รับการคุ้มครองโดย พรบ.ลิขสิทธิ์ .. ทีนี้ในกรณีของสิทธิบัตรซอฟต์แวร์เนื้อหากว้างๆ เป็นเรื่องการคุ้มครองอัลกอริทึม ซึ่ง ในสหรัฐมีการคุ้มครองแล้ว ในยุโรปก็พยายามผลักดันให้มีการคุ้มครอง กฎหมายนี้มีผลให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิตามกฎหมายในการเรียกค่าธรรมเนียมในการใช้อัลกอริทึมที่จดในสิทธิบัตรนั้น และสามารถฟ้องเอาผิดกับผู้ละเมิดได้ ในทำนองเดียวกับการเรียกค่าใช้เทคโนโลยีในสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งฟังดูแล้วสมเหตุสมผลในแง่การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ปัญหาคือมันกระทบกับโอเพนซอร์สอย่างจัง ด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบางตัวก็ใช้อัลกอริทึมที่มีการจดสิทธิบัตรด้วย อย่างอัลกอริทึมที่ใช้วิธีการตามมาตรฐาน หรือเป็น de facto เช่น อัลกอริทึมการเข้า/ถอดรหัส mp3 หรือ Dolby AC3 เป็นต้น ผลคือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแม้จะไม่มีค่าใช้จ่ายในแง่ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แต่หากมีกฏหมายคุ้มครองสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ดิสโตรที่เผยแพร่โอเพนซอร์สจะถือได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย และ ‘อาจจะ’ ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องสิทธิบัตรแทน .. แปลว่าซอฟต์แวร์เสรีบางตัวอาจจะไม่สามารถคงความเสรีต่อไปได้หากมีกฎหมายสิทธิบัตรซอฟต์แวร์เกิดขึ้น ..

mp3 เป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนมากที่สุดตัวหนึ่งในเรื่องสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ เท่าที่ค้น และรับฟังมาคือ เจ้าของสิทธิบัตร mp3 คือ บ. Thomson-Fraunhofer ได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีหลายฉบับที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ mp3 ในหลายประเทศทั่วโลก บ. คิดค่าธรรมเนียมการใช้เทคโนโลยีตามสิทธิบัตร US$0.75 ต่อสินค้าหนึ่งชิ้น หรือจ่ายครั้งเดียว US$50,000 ไม่จำกัดจำนวนสินค้า และเพราะมีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ในสหรัฐฯ Red Hat Inc. จึงตัดสินใจถอด mp3 ออกจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด (ที่จริงจะจ่าย US$50,000 ขนหน้าแข้ง RH คงไม่ร่วงหรอก แต่ประมาณว่ามันผิดแนวคิดเรื่องซอฟต์แวร์เสรี) xmms ใน RHL จึงไม่มี mp3 plugin และไม่มีแม้แต่ซอร์สของ mp3 ใน xmms-x.x.x-x.src.rpm เล่นกันอย่างนั้นเลย .. ทีนี้ หากย้อนกลับไปถึงผู้ที่พัฒนาไลบราลี หรือซอฟต์แวร์ เข้า/ถอดรหัส mp3 (เช่น lame, libmad, .. ) ก็อาจจะถือว่านักพัฒนาเหล่านี้มีความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ เพราะ พัฒนาและเผยแพร่ ‘วิธีการ’ ตามสิทธิบัตรที่ได้รับความคุ้มครองแล้วตามกฎหมาย .. ความซวยจึงบังเกิด .. อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้ เท่าที่ค้นเจอคือ เขาห้ามเผยแพร่ ‘ไบนารี’ ของซอฟต์แวร์เข้า/ถอดรหัส mp3 แต่ ‘อนุโลม’ ให้เผยแพร่รหัสต้นฉบับ (source code) ได้ เพราะถือว่ารหัสต้นฉบับมันยังไม่สามารถทำงานตามวิธีการในสิทธิบัตรได้ จึงคงมีการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในการเข้า/ถอดรหัสกันต่อไป .. และ end-user สามารถเอารหัสต้นฉบับไปคอมไฟล์ใช้งานเองได้โดยไม่ถือว่าละเมิดสิทธิบัตร เพราะถือเป็นการใช้ส่วนตัว ไม่ใช่การพาณิชย์ ..

กลับมาในบ้านเรา แม้ยังไม่มีการคุ้มครองแต่เนคเทคก็เอา mp3 ออกจากลินุกซ์ทะเลไปแล้ว ตั้งแต่เวอร์ชัน 5.5 เป็นการป้องกันไว้ก่อน ผมเลยได้แจก mp3 plugin แทน เพราะยังไงก็เป็นคนแพ็กเกจโปรแกรมพวกนี้เองอยู่แล้ว .. และก็เป็นตามคาด คนบ่นเรื่อง xmms เล่น mp3 ไม่ได้ตั้งแต่วันแรกๆ ที่เปิดตัว .. ฮา

ทำยังไงที่ทำให้ซอฟต์แวร์เสรียังคงเสรีอยู่ได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของสิทธิบัตรด้วย ?? ..

ผมแก้ blog นิดหน่อย ตรงหัวเรื่อง blog ผมทำเป็น link แล้วนะ ใครจะอ้างอิง blog ของวันนั้นๆ ก็ไม่ต้องก๊อปจากปฏิทินแล้ว ก๊อป URL จากหัวเรื่อง blog ได้เลย สะดวกขึ้นนิดนึง :P

งานมหกรรมโอเพนซอร์ส (จบ)

ตื่นเช้าผิดปกติ โทรศัพท์มือถือใช้งานได้แล้ว (ดีใจโคตร) สายๆ เข้าไปรับเสี่ยต้น แล้วก็บึ่งรถไปศูนย์สิริกิติ์ นั่งเล่นแถวๆ ลินุกซ์คลินิก พี่หน่อย คุณณุ คุณอาคม มาช่วยงานเหมือนเดิม แนะนำ Live CD และ ให้คำปรึกษาสารพัดเรื่อง นึกชื่นชมอยู่ในใจว่าอาสาสมัครทีมนี้ไฟต์โคตรๆ .. อ่อ นึกได้อีกสองสามท่านที่เจอกันเมื่อวาน มีคุณ ทัชชี่ (คุณทัชชี่แปล google ด้วย .. มีเพื่อนใส่เสื้อ google อีกคนแล้ว :D) และ คุณเชษฐ์ (ลิเบอร์ตา) เมื่อวานได้นั่งคุยกันสั้นๆ สมัยอยู่ มข. … เรื่องก็มีอยู่ว่า ที่ มข. มีวิชา Micro App เป็นวิชาคณะสายศิลป์ เนื้อหาก็เป็นการใช้โปรแกรมประยุกต์ทั่วๆ ไป เช่น CU Writer (ในสมัยโน้น) .. ก็มีนักศึกษาคนนึงพิมพ์เอกสารใน CU Writer เสร็จแล้ว บันทึกลงแผ่นแล้ว ต้องการจะก๊อปปี้ไฟล์ลงอีกแผ่นนึงให้เพื่อน ก็เลยถามคุณเชษฐ์ว่าทำยังไง คุณเชษฐ์เห็นว่าน้องนักศึกษาเขายังไม่ได้ออกจากโปรแกรม CU Writer ก็เลยตอบประมาณว่า “อ๋อ ..ออกไปสั่งก๊อปปี้ข้างนอกก็ได้” หมายถึงออกจาก CU Writer แล้วก็สั่งก๊อปปี้บนดอส .. น้องนักศึกษาคงเข้าใจอะไรผิดไป เลยถามคุณเชษฐ์กลับว่า “ข้างนอก ร้านไหนเหรอพี่ แล้วแพงหรือเปล่า ?” .. ฮา..

ตอนเย็นๆ เลิกงานแล้ว ผม เสี่ยต้น คุณณุ คุณอาคม ไปทานข้าวเย็นที่ฟอร์จูน คุยกันหลายเรื่อง สนุกสนานตามสไตล์คุณณุ ผมได้การบ้านจากคุณณุมาเพียบ .. ส่วนเสี่ยต้นได้การบ้านสำหรับงานหน้าว่าจะจัดยังไงให้ดีขึ้น เพราะงานนี้ก็พลาดไปหลายเรื่อง

สรุปรวบยอด งานนี้เลยได้พบเพื่อนในกลุ่มโอเพนซอร์สหลายคน และได้โจทย์แปลกๆ มาหลายเรื่องเหมือนกัน เช่น เรื่อง Multi-page TIFF ที่ใช้ในแฟ็กซ์ ผมกับต้นรับมาดูว่าจะมีซอฟต์แวร์ตัวไหนทำงานได้อย่างสมบูรณ์กับไฟล์แบบนี้บ้าง เรื่องภาษาจีนบนลินุกซ์ การใช้งานร่วมกันระหว่างโปรแกรม DTP โปรแกรมวาดภาพ บน Win/Mac และลินุกซ์ ฯลฯ .. และเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายเรื่อง .. คงต้องเร่งหาคำตอบในหนึ่งเดือนต่อจากนี้ เผื่อจะได้เป็นข้อมูลในงาน Linux Expo งานใหญ่อีกงานที่จะจัดในเดือนหน้า ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ .. ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดผมคงได้ไปบรรยายในงานนี้ด้วย :P

[nggallery id=22]

สำหรับแพตช์ irq routing ของคาร์ดบัส แดเนียลคงส่งให้แอนดรูว์เร็วๆ นี้ .. ถ้าไม่เจออะไรแปลกๆ อีกก็ถือได้ว่าเป็นการปิดงาน :)

งานมหกรรมโอเพนซอร์ส

เมื่อวานเร่งเตรียม presentation งดบันทึก blog ไปหนึ่งวัน.. ก็เป็นไปตามคาด อดหลับอดนอนไปงานโอเพนซอร์สที่ศูนย์สิริกิติ์ แล้วก็ present แบบไม่เตรียมอะไรเลย ผ่านไปอย่างทุลักทุเล มือตกไปเยอะเลยผม :P

หลัง present แล้วก็มาเดินวนไปวนมาแถวบูธลินุกซ์ทะเล เพราะมีคนฟังอยากได้สไลด์ก็เลยนัดให้มาก๊อปที่บูธ .. ลินุกซ์ทะเลปีนี้โชว์ความบันเทิงเต็มที่ เกมส์ หนัง เสียงดัง คนผ่านมาชมกันเยอะดี.. ที่เด่นจริงๆ คือ Live CD ที่แจกทุกคนที่เข้ามาร่วมงาน คนเดินมาดู Live CD เยอะเหมือนกัน พี่หน่อย SpeedNet ช่วยนำทีม demo และตอบคำถามเกี่ยวกับ Live CD เปลือยเคสโชว์กันเลย ไม่มีฮาร์ดดิสก์ก็ใช้ลินุกซ์ได้ .. ประมาณนั้น

เจอเพื่อนๆ ในกลุ่มโอเพ่นซอร์สหลายคน นอกจาก พี่หน่่อยแล้ว ก็มี mk คุณณุ คุณชาญวิทย์ คุณโด่ง พี่เทพ ลืมไปไม่ได้คือ น้องฝ้าย .. แล้วก็อีกหลายๆ คนผมยังจำชื่อได้ไม่หมดเลย .. ปกติจะเห็นแวะเวียนในบอร์ด LTN บ้าง ในห้อง #tlwg บ้าง เพิ่งจะมีโอกาสพบหน้ากลุ่มใหญ่ขนาดนี้ เลิกงานตอนเย็นก็เลยได้นั่งคุยพบปะกัน ไม่มีเนื้อหาสาระเท่าไหร่ แต่ตลอดงานวันนี้ผมเก็บเล็กผสมน้อยมาได้เยอะเหมือนกัน :)

เมื่อวานแดเนียลตอบเมลกลับมา ฮากลิ้งอีกแล้ว เปลี่ยนค่าผิดตัวแปร – ภาคสอง ไปเปลี่ยนค่าใน BIOS โน่น มันก็สั่งกำหนดค่าได้ก็จริง ไม่ error ด้วย แต่ค่ามันไม่เปลี่ยนให้สูหรอกเด้อเพราะมันเป็นแอดเดรสที่ชี้ไปที่รอม .. บ่ายๆ เลยทดสอบโค้ดใหม่ และก็ได้โค้ดที่ทำงานได้ในที่สุด .. O2Micro CardBus บน TravelMate 360 series ใช้ irq 10 ได้สำเร็จแล้ว ไม่ต้องฝืนบังคับ irq กันเหมือนแต่ก่อนด้วย วิธีการคือ override ค่า pirq และ mask ที่รายงานโดย BIOS หรือ ACPI โดยเอาค่าที่เหมาะสมกำหนดลงไปแทน จากนั้นปล่อยให้รูทีนคำนวณ irq ทำงานตามปกติ .. วันนี้เลยทดสอบ pirq หลายๆ ค่าที่อาจจะใช้ได้ และทดสอบ irq 9 ที่อาจจะใช้ได้เหมือนกัน .. บูตกันเป็นสิบรอบจน ext3 force check :P .. ผลที่ได้พบว่า CardBus ถ้าจะใช้งานได้ต้อง irq 10 เท่านั้น ได้ค่า pirq ที่ใช้งานได้มา 2-3 ตัวจากทั้งหมด 5 ตัว .. รายงานกลับไปที่แดเนียล .. ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วคงเข้า mm-patch สำหรับเคอร์เนล 2.6 stable ถัดไป