Tag Archives: linux

ICT Expo

ไปงาน ICT Expo มา คาดหวังจากโฆษณาว่าจะได้เห็นเทคโนโลยี นวัตกรรม ใหม่ๆ.. แล้วก็ผิดหวังตามระเบียบ .. เซ็งนิดๆ ..

น่าสนใจที่สุดคงเป็น QRIO หุ่นยนต์ในฝันของ Sony .. ยืนรอจนขาแข็ง (นานพอๆ กับรอดูพอลล่าในงาน motor expo ที่ผ่านมา :P) .. QRIO = Quest for Curiosity .. มีอะไรเจ๋งๆ แฝงในตัวหุ่นนี้เยอะเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องการเคลื่อนไหวทำได้ราบรื่นดี ตอบสนองเร็วพอที่จะทำให้หุ่นกระโดดลอยจากพื้นได้ เดโมดูจะเน้นเรื่องการเคลื่อนไหวเยอะ โชว์รำไทยประกอบเพลงค้างคาวกินกล้วยอีกต่ะหาก .. ขนาดของหุ่นเป็นเรื่องนึงที่หลายคนคาดไม่ถึงว่าจะตัวกะเปี๊ยกแค่นี้ .. คือผมเชื่อว่ามันต้องมีเหตุผลแหละว่าทำไมต้องเล็กแค่สองฟุต เพราะทางการค้า หรือไม่ก็ทางเทคนิค หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง .. ผมเดาว่าถ้าหุ่นขนาดใหญ่กว่านี้ จะเปลืองพลังงานมาก และต้องแบกน้ำหนักตัวเองมากกว่าด้วย พอน้ำหนักมากๆ เข้าพวก motor actuator อาจจจะตอบสนองได้ไม่เป็นธรรมชาตินัก .. QRIO มี face recognition จำหน้าคนใด้สิบใบหน้า มีไมโครโฟนจับทิศทางเสียง มี voice recognition มี speech synthesis มี NLP ง่ายๆ มี ฯลฯ .. ในวิดีโอที่ Sony เปิดให้ดูระหว่างรอดูตัวจริง มีช็อตเด็ดๆ ที่ชอบเป็นพิเศษคือ QRIO เดินเล่นกับ Aibo แล้วก็มีคนจูงหมาเดินสวนมา .. ดูแล้วก็ อืมม .. นะ ภาพนี้มีประเด็นว่ะ .. ช็อต QRIO ไปดูงานแฟชั่นโชว์ หันหัวดูนางแบบแทบไม่ทัน ยังกะคน .. ลอล .. ค่าตัวของ QRIO ยังไม่แจ้งเป็นทางการ ลองเทียบกับ Aibo แล้ว เดาว่าราคา QRIO อาจจะซื้อรถคันเล็กๆ ได้หนึ่งคัน

รองลงมาเป็น home network ที่บูธไมโครซอฟต์ .. ดูจากข้างนอก เขาจำลองบ้านมาให้ดู เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหลายๆ ชิ้นเชื่อมเครือข่าย สื่อสารกันได้ ต่ออินเทอร์เน็ตได้ .. ผมไม่ได้เข้าไปดูเพราะคนเยอะ แล้วเขาจัดเดโมเป็นรอบๆ พาเดินดูในบ้าน + อธิบายการทำงานให้ฟัง .. home network ไม่ใช่ของใหม่สำหรับผม 1. บิล เกตส์ เคยพูดถึง home network มานานมากแล้ว ตั้งแต่ก่อนจะเขียน The Road Ahead เสียอีก … 2. ราวๆ ปี 2000 ผมมีโอกาสใกล้ชิดกับกลุ่มพัฒนา IPv6 ที่ญี่ปุ่น และ IPv6 เป็น infrastructure ที่จำเป็นอย่างนึงของ home network หากจะทำ end-to-end communication อย่างแท้จริง จึงพอจะรู้ว่าเขาจะนำไปประยุกต์อะไรได้บ้าง … 3. ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็ได้ยินข่าวว่าไมโครซอฟต์มีพันธมิตรเป็นกลุ่มผลิต home appliance อยู่หลายสิบบริษัท ร่วมมือกันทำวิจัยเรื่อง home network กันมาพักนึงแล้ว มีต้นแบบออกมาแล้วด้วย .. สรุปก็เลยรู้สึกเฉยๆ

IBM มี Linux Watch :) .. เพิ่งรู้ว่าคนของ IBM มี Nobel Laureate ถึง 5 คน

Apple บูธหลบโคตร .. เอา Dual G5 มาโชว์ .. น่าจะเอา Cinema Display 30 นิ้วมาด้วยเน้อะ ..

แวะไปบูธเล็กๆ ของทะเลก่อนกลับ ตั้งอยู่ใกล้ๆ kapook.com พริตตี้ตรึม (me: กุ้งเพียบ :P … กุ้งคือ หุ่น ผิวก็ดีแหละ แต่ต้องเด็ดหัวออกถึงจะกินได้ .. ที่มา: IBM Singapore มั๊ง .. มุขอินเตอร์นะเนี่ยะ – -‘)

บูธอื่นๆ อีกหลายบูธ โดยเฉพาะของไทย ก็งั้นๆ .. พวกโทรศัพท์ทั้งหลายก็ hard sale โพด ชั้นล่าง (hall 10) ยิ่งไปกันใหญ่ .. Towards becoming the new ICT hub of ASEAN ? ..

140 Packages Updated ! / Spatial or Navigational

ยังเหลืออีกประมาณสิบกว่าแพ็กเกจที่ยากๆ และอีกราวๆ 50 – 60 แพ็กเกจที่ยังอยู่ในคิว T_T

คุณ densin ได้โดเมนภาษาไทย ลินุกซ์.th แล้ว .. ถ้าใครเข้า “http://ลินุกซ์.th/” ก็จะไปโผล่ที่ LTN .. หุๆๆ :)

ทะเลกำลังพิจารณาค่าปริยายของ nautilus ว่าจะให้เป็น spatial หรือ navigational (a.k.a browser mode) ดี ?.. เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ผู้ใช้พูดถึงตั้งแต่รีลีส GNOME 2.6 ทั้งแง่บวกและลบในจำนวนพอๆ กัน ก็เลยเป็นเรื่องที่ตัดสินยากอยู่เหมือนกัน .. คนที่ไม่เคยใช้ spatial มาก่อน ส่วนใหญ่จะเรียกหา browser ด้วยคุ้นชินกับระบบเดิม หรือไม่ก็คุ้นกับ Konqueror / Windows Explorer .. แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่หัดใช้ spatial mode อยู่พักนึงแล้วชอบ spatial mode มากกว่า ..

ส่วนตัว ตั้งแต่ GNOME 2.0 เป็นต้นมา ผมแทบไม่ใช้ nautilus ในการจัดการไฟล์เลย สาเหตุหลักๆ คือมันช้า เลยใช้แต่ command line ไม่ก็ mc .. แต่พอได้ลองใช้ nautilus ใน GNOME 2.6 ที่ใช้ spatial mode by default ก็ติดใจ เริ่มใช้ nautilus จัดการไฟล์มากขึ้น เดี๋ยวนี้ใช้คล่องแล้ว บวกกับผมตั้งให้แสดง $home บน desktop เลย และทำ GnomeVFS ไปยัง $home บนเครื่องอื่นๆ ผ่าน sftp ด้วย เลยเข้าถึงไฟล์ได้ง่ายและสะดวกกว่า แถม spatial ยังทำงานเร็วได้กว่า navigational ชนิดวัดด้วยความรู้สึกก็เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน .. สรุปว่าโหวตให้ spatial ก็แล้วกัน :P

มีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร ? อยากให้ทะเลใช้ mode ไหนเป็น default ? แวะไป comment ได้ที่ blog.opentle.org ครับ ..

I’m back !

จริงๆ ก็ไม่ได้ไปไหนมาหรอกครับ เพียงแค่ช่วงนี้วุ่นวายมาก นอนยังแทบไม่ได้นอน เลยตัดขาดไปจาก #tlwg blog (g)mail /. ไปพักใหญ่ๆ เลย .. หลายวันที่ผ่านมาสรุปคร่าวๆ ได้ตามนี้:

  • 16/07/04 เช้า-รายงานความก้าวหน้าประจำเทอม บ่าย-ง่วงจัด เหนื่อยมาตั้งแต่วันก่อนแล้ว คลุมโปงฟุบคาโต๊ะ .. ร่วมสองเดือนแล้วที่นอนห้องแล็บเกือบทุกวัน ..
  • 17/07/04 วันเสาร์ นั่งๆ นอนๆ อ่านหนังสือ เตรียมสไลด์เพิ่มเติม จะเอาไปอบรม network security สัปดาห์หน้า
  • 18/07/04 เหมือนวันเสาร์ .. นอนดึกแน่คืนนี้ ..
  • 19/07/04 สอนวันแรก ใส่รองเท้าทำงาน (นานๆ ใส่ที) ไม่ค่อยคุ้น ยืน/เดินสอนหน้าห้องหกชั่วโมง ตะคริวเกือบกิน ลอล .. มีเสียงบ่นแว่วมาจากผู้เข้าอบรมถามมาว่า ทำไมคอร์สนี้ต้องใช้ลินุกซ์ด้วย จริงแหละ ผมไม่ได้นึกว่าจะมีคำถามแบบนี้เกิดขึ้น (แถมลงแบบเซิร์ฟเวอร์อีก แต่เจอคอมมานด์ไลน์อย่างเดียวเลยด้วย อึ้งไปเป็นแถบๆ .. ทำเรื่องยากให้ยากขึ้นเนี่ย ถนัดนัก .. ฮา) .. .. ว่าไปแล้วถือว่าเป็นโอกาสดี เอามาเล่าให้ MrChoke กับ #tlwg ฟัง .. เก็บๆ comment ไป พรุ่งนี้จะเอาไปแจง … อ่อ เล่น rubik’s cube ได้หกหน้าแล้ว ยังต้องใช้สูตรหลายตัว ตั้งใจไว้ว่า สักวันจะทำได้โดยไม่ต้องดูสูตร .. เบ้ย..
  • 20/07/04 สอนวันที่สอง .. เริ่มลงมือปฏิบัติแล้ว .. คนที่เคยใช้คอมมานด์ไลน์มาก่อนก็ไปเร็วหน่อย ที่ใช้แต่วินโดว์สมาตลอดชีวิตจะไม่คล่องแคล่วตามระเบียบ สำหรับ text editor คอร์สนี้ ใช้ nano (เพิ่งรู้ว่า FC มี nano และติดตั้ง by default ด้วย) .. เคยมีคอร์สก่อนหน้านี้ ผมบังคับให้ใช้ vi .. โอ้ มันส์มาก เครื่องสิบเครื่องผลัดกันส่งเสียงปี๊บๆๆ ตลอด .. แจกคาถาเอาตัวรอดใน vi ให้จำ 4 ข้อ ออก-บันทึก ออก-ไม่บันทึก แทรกตัวอักษร ลบตัวอักษร สี่ข้อนี้ก็ทำอะไรได้เกือบๆ เท่าการใช้งานใน text editor ธรรมดาแล้ว .. พอคุ้นเคย สลับ mode คล่องๆ คำสั่งอื่นที่มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานก็สอนง่าย .. อะนะ

แพ็คเกจหลักๆ ออกหลายตัว .. ที่ rebuild เรียบร้อยแล้วในอ่าวไทยมี gaim 0.80 gimp 2.1.1 mplayer 1.0.0pre5 ใน kitty-extras มี inkscape 0.39 .. gimp 2.1.1 ตัวนี้สถานะเป็น unstable แต่ใช้งานได้ดีพอสมควร ที่ผ่านมายังไม่เจอบั๊กอะไร.. inkscape 0.39 ดูน่าใช้ขึ้นอีกนิด ความสามารถดีขึ้น จำนวนเครื่องมือเท่าเดิม .. gimp 0.80 ดูเหมือนๆ 0.79 ไปอ่าน changelog เอาถึงรู้ที่ต่าง .. ใครที่หันมาใช้ aowthai แล้วก็ apt-get update/upgrade เช่นเคย .. จะว่าไปแล้ว aowthai ถึงจะบอกเป็น unstable แต่มันก็เสถียรในระดับนึงแล้ว เพราะแพ็กเกจเกือบ 100% เป็น stable version ทั้งนั้น .. ถ้าจะมีอะไรที่ไม่เสถียรใน aowthai ก็คงจะเป็นเรื่องการติดตั้งซะมากกว่า …

อูย สติใกล้หลุดเต็มที ไปนอนดีกั่ว ..

News – 2004-07-15

ข่าวในช่วงวันสองวันที่ผ่านมา + บ่นๆๆๆๆ

  • Abiword – เวอร์ชัน 2.0.8 แก้บั๊ก ปรับให้คอมไพล์ด้วย gcc 3.4 ได้
  • Scilab – เวอร์ชัน 3.0 พอร์ตขึ้น GTK+2 แล้ว ปรับปรุง GUI ขนานใหญ่ เปลี่ยนหน้าตาไปเยอะ น่าใช้ขึ้นอีกเยอะ (footprint ก็คงขึ้นมาอีกเยอะเหมือนกัน) .. Octave เงียบไปเลยนะ
  • Xine – ออกใหม่ทั้ง xine-ui และ xine-lib rebuild บน aowthai เรียบร้อย แก้บั๊กตอน build นิดหน่อย
  • Fedora Core – FC3 Test 1 (2.90) .. ดูหยาบๆ แล้ว นำหน้าทะเลไปหนึ่งช่วงตัว .. หวังว่ามี aowthai แล้วคงไล่กวด FC/MDK/etc ได้ทัน .. รอดูกันต่อไป
  • IE บั๊กโคตร .. ตัวที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ ทนใช้กันอยู่ด้ายย
  • DragonFly BSD .. แมลงปอ 1.0 ออกบินแล้ว :D
  • Hack Lite-On DVD RW 4X เป็น double layer 8X .. บ้าโคตร
  • Top Ten Linux Config. Tools .. เห็นหัวข้อแล้วคาดว่ามี Score 5: Funny เยอะแน่ๆ และก็น่าจะมี Score 5: Insightful ไม่แพ้กัน .. config tools ผมเลือกสามตัวคือ vi, man, และ google .. ถ้าขยายไปถึง admin tools ก็คงเพิ่ม ls, du, df, man, cat, grep, less/more, tail, pipe/redirect, tcpdump, telnet, ssh, bash/tcsh, .. .. เกินสิบแล้ว (- -‘)

OT: กำลังฟังเพลงของ Zard .. ฟังเนื้อไม่รู้เรื่องหรอก แต่มักหลายๆ (อีสาน: ชอบมากๆ) .. ได้ single มาเป็นกระบุง ฟังไปฟังมาชอบเวอร์ชันคาราโอเกะมากกว่าเวอร์ชันร้องอีก .. จริงๆ แล้วนักร้องนำเขาก็ร้องดีนะ เข้าใจว่าเธอเขียนเพลงเองด้วย .. สรุป ย้าว่าชอบ ‘เพลง’ ไม่ใช่ ‘Izumi Sakai’ (ชี้โพรงให้กระรอก .. Google เอาเองละกันว่าเธอเป็นใคร.. ลอล)

สำนักข่าว kitty.in.th รายงาน :P

gnome-vfs-rsync ?

เรื่องซิงค์/แบ็คอัพข้อมูลเป็นปัญหาใหญ่อันนึงที่นั่งคิดแล้วคิดอีก แล้วก็ยังคิดวิธีดีๆ ไม่ได้ โจทย์คือผมมีข้อมูลสำคัญๆ อยู่ราวๆ 2 กิกะไบต์ ทำยังไงจะแบ็คอัพหรือซิงค์ไปเก็บไว้เครื่องอื่นได้ง่ายๆ ? เวลานี้ผมอาศัยการจัดไดเรคทอรีให้เหมาะกับการแบ็คอัพแล้วสั่ง rsync ไปไว้อีกเครื่องนึง ซึ่งพอจะช่วยได้แต่ยังไม่ถูกใจ อยากได้ที่สะดวกกว่านี้ เลยคิดหาวิธีอื่น ประมาณว่าเป็นไดเรคทอรี/โฟลเดอร์เทียมๆ ที่เก็บไฟล์ที่ต้องการ sync (คล้ายๆ MS Briefcase ?) สั่งซิงค์ก็โอนทั้งไฟล์ทั้งโครงสร้างไปไว้เครื่องปลายทางที่กำหนดไว้ .. คีย์เวิร์ด ‘เทียม’ โผล่ออกมากพร้อมกับคำว่า ‘ไดเรคทอรี’ เลยนึกไปถึง GnomeVFS เข้าให้ .. เออ อันนี้แหละที่อาจจะเป็นคำตอบ

ตอนนี้ refine โจทย์เป็น เขียน GnomeVFS module สำหรับซิงค์ข้อมูล ประมาณว่าเปิด nautilus ใส่โลเกชัน เป็น backup:/// หรือ sync:/// หรือ … ก็จะปรากฎพื้นที่ของไดเรกทอรีเทียม แสดงชื่อไฟล์ที่ต้องการซิงค์ไปเก็บไว้ที่เครื่องอื่น แบ็คเอ็นด์ ตั้งใจว่าจะใช้ rsync + ssh เหมือนเดิม (rsync -e ssh .. ) .. ก็พอดีเจอพี่เทพในห้อง #tlwg เลยเล่าให้ฟังพร้อมสอบถามเรื่องวิธีเขียน ได้คำแนะนำมาเป็นเว็บเพจของ IBM สอนการเขียน GnomeVFS module .. คุณเด่นสินเรียกสิ่งที่ผมคิดจะทำว่า gnome-vfs-rsync ก็เข้าท่าดี ..

วันนี้บันทึกเป็นไอเดียเรื่องนี้ไว้ก่อน กันลืม .. ส่วนจะลงมือเมื่อไหร่ ค่อยหาเวลาว่างๆ ทำ คงใช้เวลาหลายอยู่ ไอ้ผมก็ช่างเขียนโปรแกรมเก่งเหลือเกิน ถึงจะเคยแฮ็กมาบ้าง แต่ยังไม่เคยเขียนโปรแกรม GNOME/GTK เป็นชิ้นเป็นอันเลยซักตัว .. Hello World ยังไม่เป็นเล้ย .. แต่เอาวะ คันก็ต้องเกา .. scratch the itch อย่างพี่เทพบอกโดยแท้ .. ลอล

Infernal Affairs (Trilogy) / Gaim + GNU TLS

ศุกร์ เผางานส่งไปหนึ่งชิ้น อนาถจริงๆ .. เย็นๆ ออกไปกินข้าว ซื้อ DVD Infernal Affairs มาสามภาครวด .. เรื่องนี้อยากเก็บตั้งนานแล้ว พอดีกว่าบริษัทที่ได้ลิขสิทธิ์ทำแผ่นราคาถูกขายเป็นแบรนด์ DVDEasy เป็นแผ่น DVD5 ออดิโอ 5.1 แทร็คเดียว พากษ์ไทย ไม่มีบรรยาย ไม่มีฟีเจอร์พิเศษ (แปลว่าไม่ต้องมีเมนู ซึ่งก็แปลว่าใส่แผ่นแล้วเล่นได้เลย ซื่งก็เป็นที่มาของชื่อแบรนด์ DVDEasy ที่ชูแนวความคิดว่า ใช้ง่าย ใส่แผ่นแล้วเล่นได้เลย) ราคาตั้งไว้ที่ 159 ราคาขาย 109 – 129 .. ก็พอดีอีกว่า เรื่อง Infernal Affairs เป็นหนังจีนซื่งต้องฟังพากษ์ไทยอยู่แล้ว แผ่นละ 109 บาทถูกกว่าแผ่นเถื่อนอีก ..

กลับมาที่ Infernal Affairs .. แกนของเรื่องใช้การดำเนินชีวิตที่ขัดแย้งกับตัวเองของคนสองคน หนึ่งในนั้นเป็นผู้สืบเชื้อสายมาเฟียใหญ่ แต่เข้ามาเป็นตำรวจด้วยใจรักและกลับมาเป็นสายสืบของตำรวจในกลุ่มมาเฟีย เพื่อปกปิดสถานะตัวเองก็จำต้องใช้ชีวิตที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์อย่างรุนแรง จนไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นตำรวจหรือมาเฟียกันแน่ .. อีกหนึ่งเป็นคนที่มาเฟียส่งเข้ามาเป็นตำรวจเพื่อให้เป็นสายในกรม โดยท้ายที่สุดอยากมีโอกาสกลับตัวเพราะคนรัก ทั้งสองเรียนตำรวจรุ่นเดียวกัน สภาพการณ์จึงเหมือนเหมือนเดินทางสวนกัน ..เปิดเรื่องมาก็ขมวดปมของเรื่องชนิดแบกรับเกือบไม่ทัน ดูไปไม่กี่นาทีก็เริ่มเห็นความมันส์รออยู่ข้างหน้าแล้ว .. ภาคแรกจบแบบพอจะคาดเดาตอนจบได้ .. ทางตรรกยังมีอะไรค้างๆ คาๆ อยู่ จะจบเลยก็ได้ จะไม่จบก็ยังมีปมที่ไม่ชัดให้เล่นต่ออีก .. และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ

ภาคสอง ย้อนอดีตไปในสมัยก่อนที่สองตัวเอกจะเข้ามาสมัครเรียนตำรวจ และวางพื้นความขัดแย้งระหว่างมาเฟียและสารวัตรผู้ทำหน้าที่คลี่คลายคดี รวมทั้งความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่อง เรียกว่าเป็นพื้นหลังของตัวละครในภาคแรกเกือบทั้งหมด พอผสมกับที่ได้ดูในภาคแรกแล้วก็จะรู้สึกว่าภาคสองดีกว่าภาคแรก คงเพราะเผยให้เห็นมิติของตัวละครที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ส่วนภาคสาม ดูรอบเดียวไม่พอ เพราะเรื่องดำเนินสลับไปมาระหว่าง อดีต ปัจจุบัน และในจินตนาการ เลยลำดับเหตุการณ์ยากหน่อย .. อีกทั้งการวางเนื้อเรื่องคาดเดาได้ยากกว่าจะเกิดอะไรขึ้น ประเด็นพื้นฐานของหนังว่าอะไรดี อะไรร้าย อะไรปะทะกัน ในภาคสามตอบยาก ทุกอย่างดูไม่ชัดเจน ไม่มั่นคง ดูมันลึกลับ ทั้งหมดมาจากบทบาทของตัวละครตัวเดียว แต่ความคลุมเคลือนี่แหละที่ทำให้ต้องติดตามหาคำตอบมากยิ่งขึ้น .. เรื่องดำเนินจนกระทั่งตอนท้ายๆ ถึงจุดที่ต้องเฉลย พอเห็นคำตอบ โห ร้ายแฮะ คือ ไอ้ที่ลึกลับทั้งหมดเกิดขึ้นเพียงเพื่อสิ่งๆ เดียวซึ่งเป็นแกนของหนังทั้งเรื่อง ผมไม่เฉลียวพอจะนึกออก พอคิดย้อนแล้วก็ถึงจะเห็นว่า อ๋อ มันบอกใบ้ไว้บ้างเหมือนกัน เพียงแต่เวลาที่เห็นคำใบ้ยังโยงไม่ถูกว่าทำไมมันถึงโผล่ออกมา .. แล้วไอ้ที่วางโครงแบบไม่มั่นคงมาตลอดนี่ไม่ง่ายเลย ยิ่งมีฉากสลับช่วงเวลา สลับความจริงกับความคิด เป็นตัวย้ำ ถ้าไม่แน่จริง คนดูจะตามไม่ทัน หนังจะน่าเบื่อไปเลย อันนี้แหละที่ร้ายจริงๆ … ท้ายเรื่อง .. อืมม ก็ควรจะจบอย่างนี้ล่ะดีแล้ว ที่ติดค้างในใจจากภาคแรกก็อ่อนลงไป คิดว่านะ ..

นักแสดง แสดงดีมาก ถ้าจะเดาอะไรออกก็เพราะการแสดงของตัวหลักๆ 3-4 ตัวนี่แหละ .. สามแผ่น สามภาค กับราคาสามร้อยนิดๆ .. คุ้มโคตรๆ ครับ (โฆษณา :P)

วันเสาร์ งัวเงียๆ มานั่งทำแพ็กเกจไป วันก่อนโน้นรับปากคุณเด่นสินใน #tlwg ว่าจะลอง Gaim กับ GNU TLS ดู .. อธิบายเล็กน้อย Gaim จำเป็นต้องใช้ SSL เพื่อเชื่อมต่อในการ sign-on เซอร์วิสของ MSN ซึ่ง Gaim ออกแบบไว้ให้เลือกระหว่าง Mozilla NSS/NSPR กับ GNU TLS .. แรกเริ่มเลยผมใช้ GNU TLS ก่อนเพราะไม่อยากผูกกับ Mozilla ที่แพ็กเกจใหญ่มากๆ .. แต่ลองแล้วลองอีกก็ไม่สำเร็จเลยยอมถอยมาใช้ Mozilla NSS แล้วก็ใช้มาตลอด จนกระทั่งได้คุยกับคุณเด่นสินบ่นๆ ว่าใช้ Gaim กับ GNU TLS ไม่ได้เหมือนกัน .. ประกอบกับพี่หน่อยถามมาเรื่องจะเอา Mozilla ออก จะมีปัญหาหรือเปล่า ผมเลยมาลอง GNU TLS อีกรอบ .. GNU TLS build ยากพอสมควร ตรงที่ dependencies เยอะ (ประมาณ 5-6 แพ็กเกจ ต่อจาก base ของ aowthai) .. ผลออกมาก็น่าพอใจ ตอนนี้ gaim-0.79-3.kit ใน aowthai ใช้กับ gnutls ได้แล้ว .. ปลดพันธนาการจาก Mozilla ได้ซะที .. ฮา

แพ็กเกจ อื่นๆ ที่อัปเดตเข้า aowthai มีดระกูล gtkmm 2.0 upgrade/rebuild เพื่อปลด *.la ออกเพราะมีปัญหาเวลา build แพ็กเกจอื่นๆ ภายหลัง เรื่องนี้วุ่นๆ เหมือนกัน เคยถามใน LTN นานแล้วว่า *.la จำเป็นหรือเปล่า และคำตอบก็ดูเหมือนจะจำเป็น เลยแพ็กเกจ *.la ไว้ด้วย .. มาเจอปัญหาเมื่อวันศุกร์นี้เอง MrChoke บอกว่า rebuild arnthai ไม่ได้ ตรวจสอบก็พบว่าเป็นที่ *.la .. เหตุจริงๆ ก็คือ gtkmm มี *.la แต่ gtk ไม่มี เลย build ไม่สำเร็จ .. (me: ที่ฟังจาก MrChoke เหมือนกับว่าตอน compile/link ไลบรารี ถ้าได้ใช้ *.la มันจะพยายามใช้ *.la กับทุกตัว .. พอ gtkmm มี *.la แต่ gtk ไม่มี ก็เลยไม่ผ่าน ) .. ตอนนี้ MrChoke เลยแจ้งเข้า blog.opentle.org ไว้ว่าให้ exclude *.la ออกจาก -devel ทุกตัว … ถึงว่าสิ ทั้ง RH/FC และ Freshrpms เขา exclude *.la ออกหมด .. ลอลลล

Atom Fixed / News

Feed เข้า Planet TLWG แล้ว ปรากฏว่ามีบั๊กนิดหน่อย แสดงผลเพี้ยนๆ .. อาศัยลอก atom.xml ของคนอื่นก็พบว่า เขาทำ content ให้เป็น escaped ก่อน แล้วใน tag content ก็กำหนด mode เป็น escaped ไว้เลย .. ตอนนี้แก้ไข feed แล้วคิดว่าคงจะใช้งานได้

พักนี้ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวมาก วันนี้เลยสแกน gnomedesktop.org อย่างเร็วไปรอบนึง

  • Football Management Game for Linux เหมือน cman ? … เข้าคิว build (kitty-extras)
  • Monkey Bubble ตระกูล bubble มาอีกแล้ว เล่นผ่านเครือข่ายได้ :) … เข้าคิว build(kitty-extras)
  • Customizing GNOME for KDE/Win/Mac Users ….เห็นสกรีนช็อตแล้วก็ ขออวดมั่ง .. bluecurve control + simple border + scalable gorilla icons + customized gtkrc / iconrc .. :P
  • Screen Corner & Edge daemon .. น่าใช้ดี แต่ Havoc ไม่ชอบแฮะ … เข้าคิว build (kitty-testing)
  • BEAST/BSE 0.6.2 … เข้าคิว rebuild (kitty-extras)
  • KDE 3.3 beta 1 …. มองแล้วเมิน .. ลอล …หลังๆ นึกถึง KDE ทีไรก็อยากย่อยแพ็กเกจ KDE ในทะเลซะทุกที ทำไมต้องลง kdenetwork ทั้งกระบิเพื่อใช้ kppp ตัวเดียวด้วยฟะ .. (จริงๆ ก็ไม่ได้ใช้ kppp แหละ .. ifup เอา)
  • QEMU .. เจ๋งมาก สมาชิกห้อง #tlwg แนะนำมา บอกว่าเลิกใช้ vmware ไปเลย .. โอ นะ … เข้าคิว build (kitty-extras)

อ่อ .. ตั้งแต่ใช้ X.org ผมใช้ x2x ไม่ได้แล้ว .. x2x เป็นซอฟต์แวร์สำหรับใช้เมาส์/คีย์บอร์ดชุดเดียวสลับไปควบคุมคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง คล้ายๆ KVM switch แต่เป็นซอฟต์แวร์ .. ใช้งานง่ายมาก คอนฟิกว่าจะให้จอไหนอยู่ ซ้าย-ขวา แล้วจอมันจะเสมือนเชื่อมกัน ลากเมาส์ผ่านขอบจอไปโผล่อีกจอนึงได้ เมาส์อยู่บนจอไหนก็คุมการทำงานกับเครื่องนั้น สะดวกดี

.. พอ x2x ใช้ไม่ได้ ตอนนี้เลยเอา synergy มาใช้แทน ก็โอเค ไม่ชอบเท่า x2x เพราะต้องสั่งเครื่องที่ต่อเมาส์/คีย์บอร์ดเป็นเซิร์ฟเวอร์ แล้วค่อยสั่งเครื่องที่เหลือเป็นไคลเอนด์เชื่อมเข้ามา ขณะที่ x2x สั่งจากเครื่องที่ต่อเมาส์/คีย์บอร์ดไปคุมเครื่องอื่นได้เลย .. ก็ยังดีกว่าไม่มีใช้แหละ :P

Mail Config. Day

เช้าๆ ราชบุรีแจ้งมาว่า หลังจากอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ไปแล้วมีปัญหาเรื่องเมล เช็คดูสักพักก็พบว่าเป็นที่ MX ของโดเมนอื่นชี้มาที่เซิร์ฟเวอร์ แต่ไม่ได้ตั้งให้ postfix รับเมล แก้ไขแล้วก็ใช้งานได้ .. ปล่อยให้มีปัญหาเสียตั้งหลายวัน เฮ่อ

ที่เครื่อง gear.kku.ac.th ก็มีปัญหาเหมือนกัน แต่เป็นคนละเรื่อง ระบบเมลของ gear ใช้ postfix + amavisd + clamav + spamassassin กรองทั้งไวรัสและสแปม เมื่อวานได้รับรายงานว่า amavisd มันทำงานบนฟรีบีเอสดีแล้วเพี้ยนๆ ไม่ยอมกักไวรัสกับสแปมเข้า quarantine .. ตอนแรกคิดว่าเป็นคนเดียว แต่พอ google หาก็เจอว่าหลายคนมีปัญหาเดียวกัน แล้วก็ยังแก้กันไม่ได้ .. เข้าไปแกะสคริปต์ก็มี comment ว่าสคริปต์จะมีปัญหาเวลารัน perl -T ซึ่งเกิดเฉพาะ perl บางเวอร์ชันเท่านั้น แต่ดันเป็นเวอร์ชันที่ใช้บนฟรีบีเอสดีพอดีเลย (- -‘) .. ตอนนี้แก้ไม่ถูก เลย workaround ไปก่อนโดยรัน perl ธรรมดา (ไม่ -T) แล้ว chroot ไว้กันเหนียว .. ลอง tail -f /var/log/maillog มอนิเตอร์พักใหญ่ก็ไม่เจอปัญหาเดิมแล้ว

ไหนๆ ก็ดู amavisd แล้ว เลยลองตรวจ SpamAssassin ดูด้วย ทดสอบยิงสแปม 40 ฉบับ 40 แบบที่สะสมไว้จาก quarantine ในเซิร์ฟเวอร์ที่ AIT ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้ง 40 ฉบับโดนตีตราเป็นสแปมหมดเลย แม่นโคตร ตอนนี้ที่ห่วงจะเป็น false positive มากกว่า เลยต้องเฝ้าดูเมลมากเป็นพิเศษ .. จะว่าไป SpamAssassin เก่งไม่เบาเลย ไม่นานมานี้ก็เพิ่งมีคนทดสอบสแปมฟิลเตอร์แล้วได้ผลว่า SpamAssassin ทำงานได้แม่นยำเป็นอันดับหนื่ง เหนือกว่าพวกที่ขายแพงๆ ซะอีก .. ตอนนี้ได้เครื่องแรงเลยลองเปิด Bayes auto learn ด้วย .. ถ้าสแปมหลุดรอดออกมาได้ก็แสดงว่าเจ๋งจริงแหละ .. หุๆๆ

บ่น: เดือนที่แล้วกับเดือนนี้ไม่รู้เป็นอะไร ภาระงานเยอะแทบไม่มีเวลาหายใจ .. แต่คิดในแง่ดี งานเยอะๆ ก็ดีแล้วแหละ ถ้ายังเป็นงานที่ชอบอะนะ ตอนนี้ยังพอมีตังค์กินข้าว ให้ทำฟรีก็ทำ :P

FYI: เปลี่ยนแปลงเวลาบันทึกปูมเว็บ (ปูมเว็บ = weblog – พอได้มั้ยหว่า) เล็กน้อย เลื่อนขึ้นมา 24 ชั่วโมง จะได้เหมือนคนอื่นๆ เขา แปลว่าสิ่งที่ได้อ่านของวันที่ n เป็นสิ่งที่เกิดในวันที่ n-1 ครับ

Upgrading gear.kku.ac.th

วันอาทิตย์ เข้าไปทำงานที่ภาควิชาฯ ไม่ได้อัปเกรด gear.kku.ac.th – เซิร์ฟเวอร์ของภาควิชาฯ – มาระยะนึงแล้ว กลับมาเที่ยวนี้ต้องอัปเกรดเสียหน่อย พอดีว่ามีเครื่องใหม่มาใช้งานแทนเครื่องเดิมด้วย ก็เลยลงแบบสะอาดๆ ได้ .. ใช้ฟรีบีเอสดีเช่นเคย (4.10-RELEASE) ติดตั้งแบบ customize เสร็จแล้วก็ cvsup ports sys คอมไพล์เคอร์เนล ติดตั้ง server software + tools ที่จำเป็นจาก ports .. จากนั้นก็ย้าย /home ของระบบเดิมมาเครื่องใหม่ (จะมาเสียเวลาเยอะก็ตรงนี้แหละ นานกว่าตอน cvsup ports ซะอีก – -‘) .. เสร็จเรียบร้อย สลับ IP เครื่องเก่ากับเครื่องใหม่ สั่ง reboot พร้อมกัน ตู้มม .. ssh เข้าระบบใหม่ แก้ไขอีกนิดหน่อยก็เรียบร้อย ของกล้วยๆ :D

ถ้าจำไม่ผิด gear.kku.ac.th เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ลินุกซ์ตัวแรกของ ม.ข. (เครื่องที่สองเป็นของ ชีวเคมี คณะแพทย์ฯ เครื่องที่สามคือ ftp.kku.ac.th) .. ถ้านับตั้งแต่ติดตั้งเครื่องนี้สำเร็จเป็นครั้งแรก อายุก็มากกว่าสิบปีแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย จากลินุกซ์ที่มีแผ่นติดตั้งเกือบๆ สี่สิบแผ่น ดาวน์โหลดจาก ฟินแลนด์ สวีเดน และอเมริกา ใช้เวลาเป็นเดือน (แบนด์วิดธ์ของ ม.ข. ในสมัยนั้น19.2Kbps) .. ต่อมาก็ไช้ Slackware, Red Hat – เริ่มติดตั้งจาก CD, gzipslack (ที่เอา zipslack มาทำเป็น mini distro. เอง) ก่อนจะเปลี่ยนแปลกครั้งใหญ่เป็นฟรีบีเอสดี 4.2 จากนั้นก็ตามอัปเดตฟรีบีเอสดีมาตลอด ฮาร์ดแวร์จาก 486DX2-66MHz RAM 16 MB ก็ค่อยๆ เพิ่มเป็น 32 MB (~3 ปี) เป็น Pentium 75 MHz (~3 ปี), Pentium MMX 233 MHz (~3 ปี), Pentium II 266 MHz (~1 ปี) ล่าสุดตอนนี้เป็น Pentium-4 2 GHz .. มีแค่เครื่องแรกสุดเครื่องเดียวที่สเปคทันสมัย (ในยุคนั้น) หลังจากนั้นมากสเปคล้าหลังตลอด .. gear.kku.ac.th เปิดใช้งาน 24×7 มาตั้งแต่วันแรกๆ พอเปลี่ยนมาใช้ฟรีบีเอสดีก็ x100% เข้าไปอีกเพราะมี seti@home (ที่ nice 15) ด้วย .. ระบบไม่เคยงอแงเลย รับภาระงานได้สบายๆ ไม่รู้สึกว่าหน่วง ยิ่งเป็นฟรีบีเอสดีแล้วเสถียรภาพของระบบดีมากๆ uptime ครั้งละหลายๆ เดือน (i.e., จนกว่า UPS ดับ) ปัญหาจุกจิกน้อย ดูแลรักษาก็ง่าย .. ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมค่าเฉลี่ยจำนวนเซิร์ฟเวอร์/ผู้ดูแล ของลินุกซ์/ยูนิกซ์จะสูงได้ถึง 44 เซิร์ฟเวอร์/คน ในขณะที่วินโดว์สอยู่ที่ราวๆ 10 เซิร์ฟเวอร์/คน .. อัปเกรดฮาร์ดแวร์คราวนี้ได้ Pentium-4 2 GHz จะว่าแรงเกินจำเป็นก็อาจจะได้ แต่ไหนๆ ก็มีเครื่องเร็วๆ ใช้ เลยตั้งให้ฟิลเตอร์สแปมกับไวรัสหนักๆ หน่อย เปิดได้วันเดียวก็มีรายงานไวรัส W32* มาแล้ว รายงานฟิลเตอร์สแปมได้อีกตรึม .. workunit ของ seti@home ก็น่าจะไปได้เร็วกว่าเดิมอีกหลาย .. ลอล

วันจันทร์เช้ากลับมานอนพักที่บ้าน .. ตื่นบ่ายๆ ก็ขับรถมากรุงเทพฯ มีงานต้องทำอีกเป็นกอง .. ส่งศุกร์นี้แล้วด้วย T_T

X.org + GNOME 2.6.2 + Live CD@home

วันศุกร์ตั้งใจจะลง X.org กับ GNOME 2.6.2 แต่ตื่นมาก็เย็นแล้ว ที่ว่าจะกลับบ้านเลยเลื่อนเป็นตอนเช้าเสาร์แทน

คืนศุกร์นั่งอัปเกรดระบบทั้ง Peorth และ Yggdrasil .. ลงที่ Yggdrasil โดยใช้ Synaptic ช่วยเลือกแพ็กเกจ พอเลือกได้สั่ง Execute โหลดแพ็กเกจมา 4-500 แพ็กเกจเห็นจะได้ เริ่มติดตั้งไปสักพัก ค้าง .. Synaptic เอาอีกแล้ว .. ตัดสินใจว่าลงใหม่เลยดีกว่า เริ่มต้นใหม่ที่ TLE Lite เปลี่ยน XFree86 เป็น X.org ตามด้วยอัปเกรดเป็น 2.6.2 และเป็น aowthai/TLC เต็มตัว (รายงานการติดตั้ง aowthai) ขั้นตอนอัปเกรดยุ่งยากพอสมควร ถึงจะมี apt ช่วยไว้เยอะแล้วก็ตาม .. และเพราะไลบรารีมีการเปลี่ยนแปลง เลยเป็นการบังคับให้ต้อง rebuild gimp abiword gaim aalib และ trafshow ใหม่สำหรับไลบรารีใหม่ๆ ด้วย .. พอทำบน Yggdrasil ได้เลยอัปเกรด Peorth ต่อ .. เรียบร้อยแล้วก็ genbasedir + sync ขึ้นเซิร์ฟเวอร์ เสร็จราวๆ หกโมงกว่าๆ .. เก็บของกลับบ้าน …

วันเสาร์ ออกเดินทางหกโมงครึ่ง ถึงขอนแก่นราวๆ สิบโมงครึ่ง .. เที่ยวนี้พก TLE Live CD กับ MandrakeMove มาด้วย เลยได้ลองใช้กับเครื่องที่บ้าน (Urd) .. MandrakeMove ผ่านฉลุย ใช้งานได้ราบรื่นมากๆ .. ส่วน TLE LiveCD สแกนหา image ไม่เจอ เลยยุ่งยากหน่อย เล่นเอามึนไปเหมือนกัน

อัปเดตแพ็กเกจ The GIMP 2.1.0 Unstable นอกจาก rebuild ให้ใช้ไลบรารีของ GNOME 2.6.2 แล้วก็คอมไพล์ให้ใช้ Little CMS สำหรับ Color Management และ libwmf สำหรับ Windows Meta File ด้วย .. ใครอยากใช้ก็ตามมาใช้ aowthai กับผมได้นะ :)