Tag Archives: linux

Thailand Mini-DebCamp 2010 (EN)

(Yep, I should blog about Thailand Mini-DebCamp 2010 in English .. it turned out to be more like memo, not a blog .. :P)

The Beginning

It started just before Taiwan Mini-DebConf 2009 in September 2009. The original idea was to organize a DebConf, and the Mini-DebConf would provide some experience for us. So, I discussed with my boss about the idea to organize a Debian event in Thailand. He agreed and supported me to attend the Mini-DebConf in Taiwan. In Sep 2009, I, Thep, Neutron and Prach attended the Mini-DebConf together. There were many new things we learned from the Mini-DebConf and from our new friends. Finally, we decided to organize a hackfest-like camp. It became Thailand DebCamp. 2009.

Back from Taiwan, I and Thep started to write the Thailand DebCamp 2009 wiki page, and also gathered people to help us organizing the event.

Developing the Camp

Since the beginning, we tried to make this event to be community-driven; organized by community to serve community\’s needs. I and Thep emailed all FOSS people we known, informed about our event and asked if the wanted to volunteer. We used Thai Linux Woring Group (TLWG) – a loosely-coupled group of FOSS people in Thailand as an organizer and also for branding. TLWG people joined. We have been passed through 5 meetings on IRC to decide things from sponsorships to souvenirs. We decided to organize the event in March 13-19 2010 in KKU, with budget around THB250,000 to support about 40 participants. The wiki page has been moved/renamed to Thailand Mini-DebCamp 2010.

However, TLWG is not organization or foundation that can request for sponsorships. So, I asked KKU\’s Computer Center (KKUCC) for help. KKUCC was the logical choice for many reasons: they have financial personels, capable to manage projects, and to ask for financial supports. That\’s why many management things were in my hands.

I stared writing a proposal to organize Thailand Mini-DebCamp 2010 in KKU, with helps of Thep to revised and polished. The proposal went to the president of KKU, who approved the project. With the approval, I can now ask for financial supports from external sources. I sent the proposal to ask for financial supports from IMA/NECTEC (through Krich N.), SIPA (through Sira N.), Sakdibhornssup Foundation (also through Sira N.). I also contacted Google (Thailand) and IBM (Thailand). IMA, SIPA, Sakdibhornssup responded but finally only IMA granted a financial support for the camp. Luckily, I met KKU vice president for research and technology transfer in a meeting. He suggested me to ask for financial supports from KKU Science Park, which quickly granted and transfered money to KKUCC for support camp expenses.

The Busy Period

For this 2010, late February and early March was surprisingly busy for me: end of academic year, examinations, scoring, grading, meetings, invited talks, my girlfriend graduation ceremony (also the rehearsal, both in Bangkok !), and the Mini-DebCamp. It was tired but also fun to plan and manage them all :)

Fortunately, KKUCC has a strong and enthusiastic financial personels. In March 2, I had a 20-minute meeting to tell them what we (TLWG) planned to do. The next day, I sent artworks for banners, caps, T-shirts, bags to them in the morning. Afternoon, they informed me that meals, rooms, buses, travel expenses, shirts, caps, bags, etc. were all set, and would be ready in March 11. It was beyond my expectation. I was like \"Whoa, how can they did all that in one day ??!\" .. Kudos!

A week before the event was time for confirmation. I asked Thep to help me (actually, Thep helped me almost everything I alone cannot do). Then, it was another fun part: travel arrangements. For Thai participants, there were not much problems. But for foreign people, it could be big problems. So, I and Thep thought about getting someone to pick up Paul, Yabuki, Ueno, and Andrew. from the airport in Bangkok so that they all could travel to Khon Kaen together. With helps from TLWG members at NECTEC, the travel arrangment went well.

March 12:, I, Thep, Neutron, and Deu (Neutron\’s younger brother – Deu is a short from Deuterium!) went to the venue to prepare things. We was suprised by access point installations (see pic). Funny! Neutron got name tags from the photo shop. They printed in a wrong size ! .. No choice, ordered to reprint (different shop!). Afternoon, Abdull, Prach and two participants came to give their hands. Evening, the first batch from NECTEC came with Paul, Yabuki, and Ueno. We went out to have dinner in a restaurant inside the campus, and the the first social party with 5 different brands of beers.

The Mini-DebCamp

March 13: I went out to buy cups from a wholesale store (Makro). Managed to buy all 34 cups they had. Planned to prepare everything before the opeing ceremony at 10am . The VP came to give an opening speech earlier than I expected, so I improvised. Started with an opening ceremony, introduced staffs, then had a coffee break. Prepared a registration and temporary accounts form during the break. Prach and Neutron helped to distribute passwords. Next, setup bags (Prach, and Somdej helped), and finally distributed T-Shirts. Quite messy .. hah ! .. It was Thep again to help organizing talk schedule. Sadly, I did not have time to learn about pbuilder, cowbuilder, or others on the day. Later, we realized that we need more desktop computers. ILTI – the venue owner – helped by providing sets of computers.

March 14 – 16: The BSP. Really wished to have time to concentrate on hacking since I had my own hacking agenda, but still had to spend more time on organizing the event. On 15, Christian arrived. In the evening, we had real bug party: 5 (?) different kinds of bugs with 5 different brands of beers yet again!. For the BSP, I, Neutron, and Deu did fix a 4-year-long-IPv6-supported bug of NBD. Yay!

March 17: guys from SIPA Khon Kaen came to help for a day trip. We went to a big buddha statue on top of a hill near Ubolratana Dam. Then, had a visit around the dam. Had lunch near the dam reservoir. Came back to Khon Kaen, visited Wat Nong Waeng. Spent a short time shopping at OTOP center. Then, came back to the venue for video conference with FSIJ, Tokyo. Dinner at a BBQ restaurant. THB109, all-you-can-eat buffet !

March 18 – 19: 2-day general talks and discussions. Learned many things from those great presentations. Discussed about Debian mirror and organizing DebConf in Thailand. Tasted Debian wine Christian brought (CC: Christian: I like Debian wine more than those from France, sorry .. eheh). On 19, afternoon, Yabuki and Ueno went back to Bangkok to catch a plane to Japan next day. Evening, Christian also went back to Bangkok. The rest went to a restaurant for the farewell party with great Thai foods and spent time chatting after the meal. Eventually, it was time to say good bye.

I went back home and got some sleep. Next day, 5 AM, I drove to Ubon Ratchathani University (UBU) to give a lecture. UBU is 350 Km away from my home!

It was a long period of continuous works and travels. I was tired, but it was worth it. I have learned many things from the camp: academical, technical, people, open source culture, and how can everyone be a part of the culture. Thanks everyone to make this happened. Looking forward to participate the next !

OpenOffice.org 3.2.0

OpenOffice.org 3.2 release ไปเมื่อวันก่อน วันนี้ลองโหลดมาติดตั้งใช้งานดู เอาแบบ *.deb มาลงใน Ubuntu 9.10 ใช้งานได้ไม่มีปัญหา และใม่ขัดกับ OpenOffice.org ของ Ubuntu เพราะมันจะลงไว้คนละที่กัน และใช้ชื้อแพ็คเกจคนละตัว

ภาพรวมที่เห็นด้วยตาไม่ได้ต่างไปจาก OO.o 3.1.x แต่ที่เห็นว่าแก้ไขไปแล้วคือปัญหา สระเอ หายไปเวลาพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ (ใน 3.1 ต้อง workaround โดย export เป็น PDF ก่อน แล้วค่อยพิมพ์ PDF ออกเครื่องพิมพ์)

ตัดคำ ตัดบรรทัด สระอำ ไม่มีปัญหา

ตอบสนอง OK .. อย่างน้อยก็ไม่ได้รู้สึกว่าช้ากว่า 3.1

/me ใช้ OO.o 3.2 เป็น default ดูสักพัก :)

Security in FOSS

อ่านที่ พี่เทพ blog เรื่องการจัดการ security ในเดเบียนแล้ว ระลึกได้ว่าเคยหลุดเข้าไปในขั้นตอนการจัดการ security ของ FreeBSD เมื่อหลายปีก่อน พบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกัน .. จะว่าไปแล้วมันก็เป็น practice อย่างนึงที่วัฒนธรรม FOSS นำมาปรับใช้ในการจัดการเรื่อง security เกือบทุกชุมชน

บ่อยครั้งที่ผู้สนับสนุน FOSS นำเอาเรื่อง security มานำเสนอว่าปลอดภัยกว่า proprietary/commercial software ในขณะที่กลุ่ม proprietary/commercial software ก็แย้งว่าการเผยซอร์สเป็นการเผยไต๋ทำให้โดนโจมตีได้ง่าย

ว่ากันตามตรง ช่องโจมตีมักจะพบโดย black hat มากกว่าพบโดยการรีวิวซอร์สโดย hackers (จริงๆ) หรือ maintainers และในปัจจุบันช่องโจมตีไม่ได้หากันที่ซอร์ส แต่หาจากไบนารีตรงๆ โดยเครื่องมือจำพวกดีบักเกอร์เนื่องจากผู้โจมตีจำเป็นต้องได้ข้อมูลขณะที่ไบนารีนั้นกำลัง execute จึงจะทำ bypass, overflow, หรือ กำหนด condition ได้ถูก ดังนั้นในแง่การหาช่องโจมตีจะเห็นหรือไม่เห็นซอร์สจึงไม่ใช่ประเด็นเท่าไหร่นัก และกลายเป็นว่าใช้ซอฟต์แวร์เผยหรือปกปิดซอร์สมันก็แย่พอๆ กัน แต่ในแง่การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข หลักการของ FOSS ที่เผยซอร์สมีศักยภาพที่ดีกว่า หากผู้ใช้หรือชุมชนมาช่วยรีวิวได้มากพอ มัน ‘ควรจะ’ พบจุดบกพร่องได้เร็ว และได้รับการแก้ไขได้ไวกว่า .. Elias Levy (Aleph One / Bugtraq) เคยพูดเรื่องนี้ไว้ว่า

“Open Source Software certainly does have the potential to be more secure than its closed source counterpart. But make no mistake, simply being open source is no guarantee of security.”

FOSS ไม่ได้ปลอดภัยกว่า แต่มีศักยภาพที่จะปลอดภัยกว่า

นึกถึง

  • security mindsets ในขั้นตอน design
  • secure programming ในขั้นตอน coding
  • security tools (e.g. valgrind, flawfinder, … ) ในการตรวจสอบ code / binary
  • ฯลฯ

ทำได้ก็ลด security bugs/vulnerabilities ไปได้เพียบแล้ว :)

Windows 7 – Mac OS X – kubuntu by CHIP

เพิ่งได้อ่านหนังสือ CHIP (ที่ทำงาน เป็นสมาชิกรายปี) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 มีเรื่องทดสอบ Windows 7 – Mac OS X – kubuntu ว่าใครกันแน่เยี่ยมที่สุด .. จริงๆ ขึ้นว่า CHIP ไม่ต้องอ่านก็เดาได้ว่า CHIP จะให้ใครเยี่ยมที่สุด โดยเฉพาะช่วงเปิดตัวระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ แต่อยากดูว่าจะเอาเหตุอะไรมาเป็นผลว่าเยี่ยมที่สุดบ้าง อ่านไปก็คิดไปว่า อืมม นะ .. quote ประโยคจากหนังสือมาให้ดูสักหน่อย

ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ไมโครซอฟต์อุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยไปแล้วถึง 39% ของช่องโหว่ทั้งหมดที่ตรวจพบ ส่วนแอปเปิ้ลทำได้ 18% และลินุกซ์ทำได้เพียง 14%

คำว่า “ทั้งหมดที่ตรวจพบ” ควรจะเปลี่ยนเป็น “ทั้งหมดที่ไมโครซอฟต์ -ยอมรับว่า- เป็นช่องโหว่” เพราะตัวเลขมันไม่เท่ากัน .. และ สถิติในปี 2009 ของ Secunia ซึ่งทำมาหากินกับเรื่อง security คงจะเห็นแย้งไปจากที่ CHIP พยายามบอก

ไมโครซอฟต์ตอบสนองด้วยการอัปเดตแพตช์แก้ไขได้รวดเร็วกว่าคู่แข่งทั้งสอง … กำหนดทุกวันอังคารที่สองของเดือนเป็น patch day แอปเปิ้ล ลินุกซ์ ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน

patch day หนึ่งวันต่อเดือนนี่ถือเป็นมาตรการที่ช่วยให้เร็วแล้วหรือ ? จากที่ secunia แทร็ก Windows 7 มา 2 เดือน เจอ 4 vulnerabilities เป็น remote exploit 100% และยังแก้ไม่เสร็จ นี่เร็วแล้วหรือ ? และ ใช่ ลินุกซ์ไม่มีกำหนดแน่นอน เพราะมันไม่ต้องกำหนดแน่นอน มันออกแพตช์ได้ทุกชั่วโมง หรือสั้นกว่านั้น และไม่ว่ามันเป็น critical หรือไม่ ถ้ามันได้รับการแก้ไขมันแล้วก็ออกแพตช์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอจนถึงรอบการอัปเดต

Kubuntu ไม่มีระบบตรวจสอบหรืออัปเดตอะไรทั้งสิ้น ผู้ใช้จะต้องคอยตรวจสอบข่าวสารจากเว็บไซต์ และทำการอัปเดตแพตช์ด้วยตัวเองแบบแมนนวล

ไม่ได้ใช้ apt ? และใน /etc/cron.daily/apt ตั้งไว้ให้เช็คอัปเดตอัตโนมัติทุกวัน และเวลาอัปเดตเสร็จแล้วก็ไม่ต้อง reboot ใหม่ทุกครั้งเหมือน Windows :P

ในขณะที่ลินุกซ์นั้น ผู้ใช้จะสามารถอัปเดตแพตช์หลังจากที่มีการตรวจสอบช่องโหว่ครั้งแรกเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น (แต่ความรวดเร็วนี้บางครั้งก็ส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบด้วยเช่นกัน)

ความล่าช้าของไมโครซอฟต์ก็ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีปัญหาเรื่องเสถียรภาพ จะใส่วงเล็บหลังข้อความไปทำไม ? จงใจ mislead ?

Kubuntu หากผู้ใช้ต้องการความปลอดภัยก็จะต้องหาไฟร์วอลล์มาติดตั้งเพิ่มเติมด้วยตัวเอง

iptables มีมาพร้อมกับลินุกซ์แทบทุก distro และถ้า CHIP ยังไม่รู้ .. มันคือไฟร์วอลล์

Windows 7 ให้การปกป้องได้ดีที่สุด … ถ้าจะพิจารณาจากฟีเจอร์การป้องกันที่ Windows 7 มีให้ อย่างน้อยก็ถือว่าวมันเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถยืนหยัดและต่อกรกับแฮกเกอร์ในปัจจุบันได้ดีที่สุด ส่วนผู้ไช้ Mac OS X และ Kubuntu นั้นจะต้องคอยระวังตัวมากเป็นพิเศษเนื่องจากไม่มีไฟร์วอลล์และระบบป้องกันไวรัส อีกทั้งยังต้องคอยตรวจสอบแพตช์ด้วยตัวเองอีกด้วย

แม่เจ้า … Windows 7 มีช่องโหว่ตั้งแต่ alpha/beta เป็นช่องโหว่เดียวกับ XP/Vista ซึ่งเก่ากว่าหลายปี ไม่นับว่ามีช่องโหว่ที่ metasploit ยิงทีเดียวร่วง ตั้งแต่ก่อนจะ Release to Manufac. (RTM) ด้วยซ้ำ และที่ไมโครซอฟต์ต้องขนสารพัดระบบมาป้องกันตัว ก็เพราะมันจำเป็นต้องมี และ ณ เวลานี้ต่อให้มีก็ยังไม่พอจะทำให้ Windows 7 อยู่รอดปลอดภัยได้ .. ในขณะที่ OS อื่นไม่จำเป็นมากเท่า Windows 7 ส่วนหนึ่งเพราะไม่ใช่เป้าโจมตี และอีกส่วนหนึ่งเพราะมันปลอดภัยพอจะเอาตัวรอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟร์วอลล์หรือป้องกันไวรัส

[Core 2 Duo 2.93 GHz ..] Cold Start Windows 7 ใช้เวลา 26 วินาที Mac OS X 28 วินาที Kubuntu 43 วินาที … ReadyBoost นั้นจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของระบบให้สูงขึ้นอีกด้วยการนำไฟล์ที่ใช้บ่อยๆ ไปเก็บไว้ในแฟลชไดรฟ์ยูเอสบีที่มีอัตราในการอ่านข้อมูลโดยเฉลี่ยสูงกว่าฮาร์ดดิสก์

แปลก .. MacBook C2D 2.1 T7200 ฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊ค 5400RPM Cold Start Ubuntu เสร็จภายในเวลา < 20 วินาที และเท่าที่ มีคนทำ bootchart ไว้ คือ 5 วินาที บน P8600 + SSD และถ้าไม่จำกัดที่ K/Ubuntu มี Linux LiveCD ยังใช้เวลา boot ไม่ถึง 10 วินาที

Kubuntu กลับทำได้น่าผิดหวัง ทั้งนี้ต้องตำหนิระบบการเข้าถึงทรัพยากรและซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพของมัน … การก๊อปปี้ไฟล์จำนวน 1,239 ไฟล์ ขนาด 4.21 GB Kubuntu ใช้เวลานาน 2.12 นาที Windows 7 1.58 นาที Mac OS X 1.44 นาที

จริง .. default file system (Ext3) นับว่าช้าเมื่อเทียบกับ file system อื่นอีกหลายตัวที่มีในลินุกซ์ และ higher-level VFS ของ KDE/GNOME ก็เป็นตัวถ่วงได้อีก ถ้าต้องการให้เร็วกว่านี้ก็เปลี่ยน file system ได้ และไปใช้คำสั่งในคอมมานด์ไลน์แทน .. อีกด้านหนึ่ง Windows 7 ขณะก๊อปปี้ไฟล์ ใช้ I/O มากๆ UI ยังตอบสนองได้ปกติไหม ? ขยับเมาส์ได้หรือเปล่า ? :P

ไฟล์วิดีโอ HD … ทั้งนี้ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ จะมีการจัดสรรการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและมีการใช้ประโยชน์จาก GPU เพื่อช่วยประมวลผลข้อมูลบางชนิด เช่น วิดีโอ … Windows 7 จะใช้พลังประมวลผลของซีพียูเพิ่มขึ้นแค่ 16% ส่วน Mac OS X และ Kubuntu ทำให้ซีพียูทำงานเพิ่ม 22% และ 33% ตามลำดับ

เรื่องนี้ default ยอมแพ้ .. แต่ถ้ามี hyperthread / multicore ใช้ mplayer-mt ลดพลังประมวลผลได้ประมาณ 30% หรือมากกว่า .. หรือถ้ามีการ์ด NVIDIA ใช้ mplayer + VDPAU … ทั้งหมดนี้ขึ้นกับว่าจะ code ให้ใช้ฟีเจอร์พวกนี้หรือเปล่า ไม่มีระบบปฏิบัติการไหน – รวมถึง Windows 7 – มี system call ที่ใช้ GPU และ/หรือ playback video .. ดังนั้นมันไม่ได้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการนักหรอก

Kubuntu จะมาพร้อมกับเครื่องมือแบ็กอัพแบบง่ายๆ ซื่งไม่สามารถทำ Shadow Copy ของไฟล์ได้เลย

ใช้ NILFS2 ทำ continuous snapshot ได้ และอาจจะดีกว่า volume snapshot อย่าง Shadow Copy

หากรายชื่อจองโปรแกรมไม่ปรากฏขึ้นมาใน Program Manager … วิธีเดียวที่จะติดตั้งโปรแกรมได้จะต้องทำผ่านคอมมานด์ไลน์เท่านั้น

มะเหงก โหลด *.deb แล้ว double click ที่ icon ก็ได้

การติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมลงในระบบถือเป็นงานที่ง่ายและแทบไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับ Windows 7 เพราะมันจะมาพร้อมกับฐานข้อมูลไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์เกือบทุกชนิด

คอมพิวเตอร์หลายเครื่องยังไม่ได้อัปเกรดเป็น Windows 7 ก็เพราะมันไม่มีไดรเวอร์นี่แหละ และเครื่องที่ว่าบูต Ubuntu ใช้งานแบบ LiveCD ได้

ส่วน Kubuntu นั้นมาพร้อมกับไดรเวอร์มาตรฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้การค้นหาไดรเวอร์เฉพาะสำหรับอุปกรณ์บางอย่างยังเป็นเรื่องที่สำบากมาก และผู้ใช้ที่จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ ลงในระบบและใช้งานได้คงจะมีแต่ผู้เชี่ยวชาญลินุกซ์เท่านั้น

อีกด้านหนึ่ง ก็เพิ่งจะได้อ่านจาก GNOME Journal ว่า เด็กหญิงอายุห้าขวบที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก กับพี่ชายอายุหกขวบที่เพิ่งอ่านหนังสือออก ช่วยกันติดตั้ง Ubuntu ได้เองโดยไม่มีใครคอยแนะนำ สนใจอ่านต่อได้ที่ The Un-Scary Screwdriver

Kubuntu ไม่มี Encryption

มี และทำได้หลายเลเยอร์

Kubuntu ไม่มี Antispyware

เพราะไม่จำเป็นต้องมี อย่างน้อยก็เวลานี้ และถ้าต้องการก็ติดตั้ง chkrootkit, rkhunter พอได้

Kubuntu พื้นที่สำหรับการติดตั้ง 10 GB

เพราะมันเป็น distro ไม่ใช่ OS มันเลยมีแอพพลิเคชันติดตั้งมาด้วย (อย่างน้อยก็ +OO.o, GIMP, …) และที่จริงใช้ไม่เกิน 4 GB.. อย่ามั่ว

Kubuntu ไม่มี System Security

ไม่ค่อยเข้าใจว่าคืออะไร แต่ถ้าหมายถึง Security Center ที่ไมโครซอฟต์พยายามผูกเป็นส่วนหนึ่งของ system สำหรับระบบปฏิบัติการอื่นมันไม่ใช่สิ่งที่ต้องมี

Kubuntu ไม่มี System Acceleration (e.g. ReadyBoost)

เพราะไม่ต้องมีก็เร็วได้

Kubuntu ไม่มีการแสดงรายละเอียดของไดรเวอร์

lshw, lsmod,lspci, lsusb, dmesg, /proc, ….

อืมม .. นะ .. IMHO .. CHIP (Thailand) อวยขนาดนี้ก็น่าเกลียดเกินไปหน่อย ถ้าทำไปด้วยความเขลาขนาดนี้ก็น่าเวทนา หรือถ้าแกล้งเขลาก็น่าอาย .. และนิตยสารแบบนี้ น่าเสียดายเงิน

.. blog บ่น ก็ยาวอย่างนี้แหละ :P

mini-ubuntuclub meeting @ Khon Kaen

สัปดาห์นี้ได้คุณ gumara มาอบรม ubuntu ที่ มข. ซะสามวัน หลังคอร์สอบรมจบแล้ว เย็นๆ ได้มีโอกาสไปนั่งกินนั่งคุยที่ ร้านหน้าไม้ มีสมาชิกไปสิบเอ็ดคน ไม่ต้องคิดอะไรมาก นั่งคุย นั่งกิน เฮฮาดี

ถึงเวลาจ่าย เสี่ยอับดุลอาสาเลี้ยงซะงั้น .. thx หลายๆ

RT: ภาพจากมื้อเย็นโดยพี่เทพ http://mltp.ly/d1302py

Karmic Koala – Bluetooth – PAN

เพิ่งรู้ว่า Ubuntu 9.10 มัน add bluetooth device แล้วตั้งให้ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย

ก่อนอื่น pair device ให้ได้ก่อน จากนั้นสำหรับ phone profile ตอนท้ายจะมี checkbox เพื่อเลือกว่าเอาไปต่ออินเทอร์เน็ตได้

แล้วมันจะโผล่มาที่ Network Manager เลย .. :D

กรณีข้าน้อยเป็น WM6 ก็เรียก Internet Sharing มารอ จากนั้นคลิ้กต่อจาก Network Manager ได้เลย ไม่ต้องลำบาก pand -c xx:xx:xx:xx:xx:xx อีกแล้ว

Yes, DTAC runs IPv6 too.

Disk has many bad sectors

ติดตั้ง Ubuntu 9.10 ในเครื่อง belldandy เรียบร้อย .. login ครั้งแรกก็ได้รับ message เตือน จาก Disk Notification ว่าดิสก์มีปัญหา

งานเข้าล่ะทีนี้

คลิ้กดูก็จะเห็นรายละเอียดต่างๆ

และเจอ attribute ตัวแดงสองอัน

แปลว่า … ได้เวลาถอย 1 TB+ มาเสียบแทนแล้ว :P

Twitter

หลังจากได้สติกเกอร์ Twitter มาแปะ netbook เล่นๆ 1 อัน ทั้งๆ ที่ไม่มี account twitter ซักกะอัน ในที่สุดก็ไปลงทะเบียนใช้ twitter จนได้ :P

มาทีหลังแบบนี้ ชื่อที่อยากใช้ก็มีคนอื่นเอาไปใช้หมดแล้ว ทำไงละตู .. เล่นมุกเดียวกับ Ubuntu Codename ละกัน ! ว่าแล้วก็ไปเปิดดูที่หน้า development codename ของ ubuntu ไล่ดูตัว K ไปเรื่อยๆ .. อืมมๆๆ … ได้ละ ! ..

Kinetic Kitty !

ทำไม Ubuntu 9.10 ไม่ใช้ชื่อนี้นะ 5555 !

/me . Ubuntu 9.10 Karmic Koala ออกวันนี้เน้อะ และรุ่นหน้า 10.04 จะมี codename ตัว L ว่า “Lucid Lynx”

orphan-thumbnail

ปกติ GNOME จะสร้าง thumbnail ของภาพ วิดีโอ และไฟล์เอกสารอื่นๆ เพื่อแสดงแทน icon เวลาใช้งาน file browser ดู thumbnail เอาก็จะได้หาไฟล์ได้ง่าย .. thumbnail พวกนี้เก็บใน ~/.thumbnails พอกพูนไปเรื่อย ไม่มีการลบออก เว้นแต่ผู้ใช้จะลบเอง ตั้งแต่มี thumbnail มา ก็พยายามหาทางลบ orphan thumbnail แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือเสียที ได้แต่อาศัย rm -rf ~/.thumbnails หรือดีหน่อยก็ find -atime ... | xargs rm -f เป็นที่อนาถใจ

กระทั่งเมื่อวันศุกร์มาค้นหาโปรแกรมสำหรับล้าง orphan thumbnail ก็ยังไม่เจอว่า GNOME ทำไว้ .. แต่ไปเจอว่าใน thumbnail จะมี comment เป็น URI ที่อ้างอิงกลับไปยังไฟล์เอกสาร .. โอ้ว นี่แหละที่ต้องการ ! แค่เช็คจาก URI ว่าไฟล์ไม่อยู่ ก็ลบ thumbnail ได้ละ :D

หลังจากคิดออก แรกๆ ขี้เกียจ ก็กะจะใช้ script ประมาณ exiftool ... | grep ... | awk ... | sed ... | ... มันก็พอไหวนะ แต่ลองรันดู .. โอ้ ช้าโคตร .. เย็นศุกร์กลับบ้าน ตั้งใจว่าตูจะเขียนเป็น C ให้ดู

บ่ายแก่ๆ + ดึกๆ วันเสาร์ ก็เคาะ code เวอร์ชันแรกออกมา ดูรายละเอียด + ดาวน์โหลด ได้ที่หน้า orphan-thumbnail comment / report bugs ได้ที่ห้อง #tlwg @ irc.linux.in.th หรือ เมลมาเช่นเคย

/me … รีบๆ ลวกๆ ไปหน่อย ไม่ได้จัด code สวยๆ .. ไว้เวอร์ชันหน้าละกัน :P