Tag Archives: linux

orphan-thumbnail – a program to find orphan GNOME thumbnail

GNOME generates thumbnails for image, video, PDF, and other documents. Those thumbnails are cached in ~/.thumbnails and never be purged. That could occupy amount of your disk.

orphan-thumbnail is a program to find orphan GNOME thumbnails. It reads thumbnails and find URI to the original file in PNG comments. It is capable to show and/or delete orphan thumbnails.

Download

Building orphan-thumbnail

It\’s GNU building system, so just

$ tar xjf orphan-thumbnail-x.y.z.tar.bz2
$ cd orphan-thumbnail-x-y-z
$ ./autogen.sh
$ ./configure
$ make
$ sudo make install

The binary orphan-thumbnail should be installed in /usr/local/bin/.

Features

  • List thumbnail file and its status
  • List only orphan thumbnail file
  • Delete orphan thumbnail file
  • Quiet mode

Screenshot

$ orphan-thumbnail --help
Usage orphan-thumbnail [OPTION...]
A program to find orphan GNOME thumbnails.

  -d, --delete                    delete orphan thumbnail(s)
  -o, --orphan                    list only orphan thumbnail(s)
  -q, --quiet                     quiet mode, only if -d is specified
  -v, --version                   show version
  -h, --help                      print this help

Report bugs to [email protected]

Meeting #2

แปะ log หารือ ครั้งที่สอง เรื่องการจัด DebCamp

ขออภัยที่ช้า ช่วงวันสองวันนี้ network ที่ทำงาน (โดน?) ป่วน เซิร์ฟเวอร์เลยเข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง เฮ่อ

After Meeting

หารือเรื่องการจัดงานครั้งที่ 1 บันทึกไว้หน่อย เผื่อท่านๆ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมหารือ

มีความแน่นอนเรื่องเวลาเมื่อไหร่ ก็คง ปชส. เป็นทางการได้ ระหว่างนี้ก็ดำเนินการกันไปเน้อะ

Taiwan Mini DebConf 2009

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา เดินทางเป็นว่าเล่น ก่อนหน้างาน OSSFest 2009 ไปประชุมที่หาดใหญ่ กลับบ้านได้วันเดียวก็มางาน OSSFest 2009 ที่ กทม. ตามที่ได้ บันทึกไปก่อนหน้านี้ จากนั้นก็ต่อเนื่องไปร่วมงาน Taiwan Mini DebConf 2009 ที่ไทเป ไต้หวันมา พร้อมกับ พี่เทพ นิวตรอน และ ปรัชญ์ งานสัมมนาใช้เวลาสองวัน มี debian developers หลายคน มาแชร์ประสบการณ์กันในงานนี้ ปิดท้ายด้วย key signing party และไปเที่ยว Taipei 101 เพื่อเยี่ยมชม บ. Canonical และ Google .. สรุปงาน Mini DebConf ชอบบรรยากาศที่เป็นกันเอง และเปิดกว้างของคน FOSS ไปร่วมงานแล้ว สนุกสนาน หูตาสว่างขึ้นอีกเยอะ :)

ตั้งใจตั้งแต่ก่อนหน้าจะเดินทางไปไต้หวันว่า อยากจัด debian event ในเมืองไทยสักหน ถ้าจำกันได้เคยมีความคิดจะจัด DebConf ในเมืองไทยเมื่อปี 2006 และเป็นอันต้องพับไปด้วยความไม่เข้าใจของรัฐ และปัญหาการเมือง .. ปีนี้หลังจากได้คุยกับ debian developer ในงาน Mini DebConf แล้ว หลายคนอยากมาเมืองไทย บางคนรับปากแล้วว่าถ้าจัดก็จะมาร่วมงาน และมีแรงหนุนจาก Andrew Lee ให้ลองจัด DebCamp ในเมืองไทย น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และเท่าที่รับรู้ความเคลื่อนไหวต่อจากงาน Mini DebConf ดูเหมือนว่า DD หลายคนช่วยกระจายข่าว DebCamp ในประเทศไทยให้เราเป็นที่เรียบร้อย โดนมัดมือชกกลายๆ แบบนี้จะถอยก็คงไม่ได้แล้ว 555

งานนี้อยากให้ Linux community ในเมืองไทย (ไม่จำเป็นต้องใช้ Debian นะ) มาช่วยกันจัดงานมากกว่าจะผ่องให้หน่วยงานไหนรับเป็นเจ้าของงาน ถ้าสนใจมาจัดงานร่วมกัน เชิญหารือที่ irc channel #tlwg @ irc.linux.in.th วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 20:00 GMT+7 เป็นต้นไปครับ

OSSFest 2009

23-24 ก.ย. 52 ไปงาน OSSFest 2009 ที่ สวทช. ด้วย 3 เหตุ คือ

  1. อยากฟังบรรยาย – ที่ตั้งใจฟังมีทั้งหมด 4 หัวข้อ ฟังแล้วไม่ได้อะไรใหม่เลย 2 หัวข้อ ฟังแล้วพอจะได้อะไรบ้าง 1 หัวข้อ .. ไม่ได้เข้าฟัง 1 หัวข้อเนื่องจากมันอยู่ในวันที่สาม ซึ่งเป็นวันที่เดินทางไปต่างประเทศ .. สรุปแล้ว ก็ fail หน่อยๆ นะ
  2. อยากเจอเพื่อนสมาชิก – ก็ได้
  3. ปฏิบัติภารกิจอีกสามเรื่อง – ซึ่งไม่เกี่ยวกับ OSSFest 2009 แต่เกี่ยวกับคนที่คาดว่าจะมาในงานนี้ .. ก็ถือว่าสำเร็จลุล่วง/มีความคืบหน้าไปเยอะ

เวลาที่เหลือ(ส่วนใหญ่) เลยหมดไปกับการ นั่งเล่น/ทำงาน/ทดสอบ/ทดลอง/ฯลฯ ที่บูธ UbuntuClub ซึ่งกลายเป็นที่สิงสถิตของเทพและมาร รวมถึงนั่งดูการถีบ (push) GNOME2.28 release note ภาคภาษาไทย ขึ้นไปที่ GNOME อย่างทุลักทุเล .. 555

Kitty HTTPD

ปกติเวลาโอนไฟล์ใหญ่ๆ ข้ามเครื่อง จะใช้ Port-FTP ไวดี แต่ก็มีข้อด้อยตรงไม่ support file > 2 GB .. บางครั้งเลยต้อง scp เอา ซึ่งกรณีนี้เสีย CPU ไปกับ encryption ไปเปล่าๆ .. อยากได้ web server อย่างง่ายๆ ที่เรียกแล้วทำ index current directory ได้เลย จะได้ wget เอาได้ง่ายๆ … ให้ นศ เขียนส่งก็ไม่ได้เรื่อง .. เลยเขียนเองดีกว่า (ไม่รู้โง่หรือฉลาด แต่ก็ทำไปแล้ว) .. จริงๆ เขียน web server ง่ายๆ ด้วยภาษา C ใช้แค่ 1-200 SLOCs ก็ได้แล้ว … จากนั้นก็เพิ่มฟีเจอร์เข้าไปเรื่อยๆ จนพอใจในระดับนึง (หลักๆ ก็ 64-bit large file, IPv6, multithread, syslog, …) และคิดว่าพอจะรีลีสได้แล้ว

ดูรายละเอียด + ดาวน์โหลด ได้ที่หน้า Kitty HTTPD

comment / report bugs ได้ที่ห้อง #tlwg @ irc.linux.in.th หรือ เมลมาก็ได้ … หวังว่า code ที่รีลีสจะไม่ทำขายหน้านะ :P

09-09-09

Update ช้าไปวันนึง

  • มีเพื่อนคลอดลูกวันนี้
  • มีพี่ๆ จดทะเบียนสมรสวันนี้

FOSS ก็เป็นไปกับเขาด้วย พากันคลอดเวอร์ชันใหม่ในวัน 09-09-09 เหมือนกัน

  • Linux 2.6.31
  • Firefox 3.5.3
  • VirtualBox 3.0.6

ปีหน้ามีวันที่ 101010 … ปีถัดไป 111111 .. จะอ่านเป็น decimal หรือ binary ก็ได้ :P

ส่วนที่บ้านแมวๆ .. โหลด Ubuntu 9.10 Karmic Koala ISO มาทำ bootable SD card กะจะลองเฉยๆ … ลองไปลองมาแล้วติดใจ เลยลบพาร์ทิชัน EFI + Macintosh HD เก่าที่ค้างมาจาก Macbook ทิ้ง เอาพื้นที่มาติดตั้งใช้จริงซะเลย .. :P

BFS vs. mainline scheduler

BFS vs. mainline scheduler benchmarks and measurements มาแล้ว …

คิดในใจว่า เดี๋ยวอาจจะได้เห็นสงครามน้ำลาย Con Kolivas vs Ingo Molnar (หรือบรรดาคนที่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง) อีก … อ่าน thread ไปนิดเดียวก็เริ่มเห็น อะไรทำนองนี้: (http://thread.gmane.org/gmane.linux.kernel/886319)

ck ควรจะคาดได้ว่าต้องมีคนเอามาทดสอบ เปรียบเทียบ วัดผล วิเคราะห์ แน่นอน และหลักๆ มันจะเทียบกับใครถ้าไม่ใช่ mainline sched. (mainly by Ingo) .. พอเกิดขึ้น ck ตอบโต้แบบเจ้าอารมณ์เหมือนเดิม

อีกด้านนึง benchmark โดย Ingo เกาไม่ถูกที่คันเท่าไหร่ สมควรถูกวิจารณ์ ถ้าจะให้ยอมรับได้ case/environment ควรจะเป็นกลาง หรือครอบคลุมตัวแปรมากกว่านี้ หรือถ้าจะให้เจ๋งไปเลย Ingo ควรเลือก environment ที่ BFS ทำงานได้ดีที่สุดตามที่ ck เคลมไว้ .. แล้วเอา mainline sched. หรือ sched. อะไรก็ตามบี้ BFS ให้ได้

You both are said to be a hacker .. DO HACK properly ! Damn it !

.. โปรดติดตามตอนต่อไป .. :P

Acer-EC: Acer Aspire One D150 Embedded Controller

Acer AOD150 มี Embedded Controller (EC) สำหรับอ่าน/เขียน registers เก็บสถานะ/ควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ได้ เดิมมีคนเขียนไว้เป็น perl (acer_ec.pl ใน project acer-acpi) แต่จะ sudo บ่อยๆ เพื่อรันสคริปต์สำหรับ access EC port ก็ไม่สะดวก ประกอบกับ acer_ec.pl เขียนสำหรับใช้งานกับ notebook/netbook ของ Acer หลายรุ่นแต่ยังไม่ fully compatible กับ AOD150

ว่าแล้วก็เลยเขียนเองด้วย C .. โดยแกะ registers จากข้อมูลใน DSDT .. ลองใช้งานมาพักใหญ่ๆ แล้ว ก็ทำงานได้ดี .. วันนี้เลย finalize เป็น version 0.0.2 แล้วเอาขึ้น server

จะบ่นอะไรกับ Acer-EC ก็เมล/irc มาได้ :P

-ck is back !

Con Kolivas เคยประกาศเลิกพัฒนา -ck patch เป็นข่าวดังอยู่พักนึง (บล็อกไว้เมื่อสองปีก่อน) .. วันนี้ ck กลับมาอีกแล้ว พร้อมกับ BFS – Brain F*ck Scheduler ปรับปรุง latency / responsiveness สำหรับ desktop

อ่าน FAQ แล้ว … ck ก็ยังเป็น ck .. สองปีแล้ว ดูเหมือนจะยังไม่หายงอนนะนี่ :P