.. กด About ดูแล้วแปลกๆ
อันนี้ตัว vanilla ที่เพิ่งออกไปเมื่อ 17-18 มิ.ย. 51 DST
อันนี้ safe-upgrade ผ่าน aptitude ของ Ubuntu 8.04 เมื่อหลายวันก่อน
ดูบรรทัดสุดท้าย .. ของ Ubuntu เหมือนจะใหม่กว่าแฮะ (- -‘)
.. กด About ดูแล้วแปลกๆ
อันนี้ตัว vanilla ที่เพิ่งออกไปเมื่อ 17-18 มิ.ย. 51 DST
อันนี้ safe-upgrade ผ่าน aptitude ของ Ubuntu 8.04 เมื่อหลายวันก่อน
ดูบรรทัดสุดท้าย .. ของ Ubuntu เหมือนจะใหม่กว่าแฮะ (- -‘)
โหะ .. เล่นกันอย่างนี้เลย … Opera 9.50 ออกแล้ววันนี้ …
ตัดหน้า Firefox 3.0 ซะงั้น
ต่อจาก ตอนที่แล้ว .. ระหว่างยืนสระผมอยู่ในห้องน้ำ นึกได้ว่าแค่แทรก word break ตู "Find & Replace …" เลยก็ได้นี่หว่า ไม่เห็นต้องมานั่งจิ้มๆ CTRL+/ ทีละตัวๆ เลย :P .. ดังนั้นวิธีการ workaround สำหรับ bug สระอำใน OO.o 2.4.0/2.4.1 อย่างง่ายๆ คือ
มี trick นิดหน่อย ตอนกรอกช่อง Replace จะกด CTRL+/ ใน text box ไม่ได้ .. ให้ไปกด CTRL+/ ใน document ก่อนแล้วค่อยก๊อปตัว word break สีเทาๆ มาใส่ใน text box ..
ถ้าวันหลัง OO.o fix bug ตัวนี้แล้ว จะเอาตัว word break ออกก็แค่ Find ตัว word break ไม่ต้องกรอกช่อง Replace แล้วกด Replace All ตัว word break ที่แทรกๆ อยู่ก็จะหายไป :)
ควรทราบไว้ว่าวิธีนี้สะดวกก็จริงแต่มันมีผลข้างเคียงนิดหน่อย เพราะการแทรก word break หลังสระอำดื้อๆ อาจจะทำให้มันไป break กลางคำ เช่นคำว่า "สำคัญ" มันจะ break เป็นคำว่า "สำ" กับ "คัญ" ถ้าบังเอิญคำนี้ไปตกตรงตำแหน่งท้ายบรรทัดพอดี อาจทำให้ "สำ" เป็นคำสุดท้ายในบรรทัดในขณะที่ "คัญ" โดนปัดลงมาขึ้นเป็นบรรทัดใหม่ มันก็จะผิดหลักภาษาไทย .. ผมลองเขียนเป็น regex ให้หาคำที่มีสระอำดูแล้ว (OO.o Find & Replace สนับสนุน regex มาตั้งนานแล้วนะ รู้เปล่า ?!) กะว่าถ้ามันทำได้ก็จะแทรก word break หลังคำแทนที่จะหลังสระอำดื้อๆ แต่ดูเหมือนว่า regex มัน match เป็นคำๆ ได้เฉพาะภาษาอังกฤษ ใช้กับภาษาไทยไม่ได้อะ ลองผิดลองถูกจนขี้เกียจลองแล้ว ใช้วิธีแทรกหลังสระอำดื้อๆ ไปก่อนละกัน … :P
ใครเขียน regex คล่องๆ จะลองเขียนดูหน่อยก็ดีนะครับ โจทย์คือเขียน regex ใน OO.o 2.4 ให้ match คำภาษาไทยที่มีสระอำประกอบในคำ .. เน้นว่าต้องได้เป็นคำๆ ที่ถูกตามหลักภาษาไทยเลย ไม่เอาเป็นประโยค หรือทั้งย่อหน้า .. ถ้าทำได้สำเร็จ ประกาศความสำเร็จได้ในห้อง #tlwg @ irc.linux.in.th นะครับ :)
อย่างที่เจอกันมาบ้างแล้วว่า OpenOffice.org 2.4.0 มี bug เรื่องการจัดสระอำทำให้สระบน-ล่างของคำที่ตามมาเพ้ียน (เข้าใจว่าเป็นกับ OpenType) .. สุดสัปดาห์ที่ผ่านได้อัปเกรดเป็นจนถึง 2.4.1 rc1 ของ hardy ก็ยังเจอปัญหานี้อยู่ เลยทดลองหา workaround ดู สุดท้ายคิดว่าใช้วิธีแทรก non-printable no-width word break (CTRL+/) ตามหลังคำที่มีสระอำน่าจะง่ายสุด ขยันๆ แทรกหน่อยละกัน :P
/me วันนี้เปิดเทอม
ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวทริปแห้งๆ เม็มโมรีการ์ดของสมาชิกแก๊งแมวๆ เกิดเจ๊ง ชนิดอ่านอะไรก็ไม่ได้ จะ mount ก็ไม่สำเร็จ เน่าจริง! ถ้าเจออาการประมาณนี้ ไม่ต้องตกใจ และอย่าเพิ่งถอดใจฟอร์แมตทิ้ง (จริงๆ แล้วต่อให้ฟอร์แมต ก็อาจจะกู้ได้นะ ตราบใดที่ข้อมูลยังไม่โดนเขียนทับ – หรือทับไปแล้วก็ยังอาจจะได้ ถ้ามีพวก magnetic force microscope :P).. เดี๋ยวนี้ วิธีกู้ง่ายกว่าที่คิดไว้เยอะ ก่อนอื่น lock/write protect ตัวเม็มโมรีการ์ดไว้ก่อน (ถ้าทำได้) แล้วก็เสียบเข้าการ์ดรีดเดอร์ ดู /var/log/messages ควรจะเห็นอะไรประมาณนี้
sd 4:0:0:2: [sdd] 2048000 512-byte hardware sectors (1049 MB) sd 4:0:0:2: [sdd] Write Protect is off
แปลว่าลินุกซ์มองเห็นการ์ดผ่าน /dev/sdd ทีนี้ก็ dump image ได้แล้ว
$ dd if=/dev/sdd of=card.img
จากนั้น โหลด PhotoRec มา PhotoRec เป็นโปรแกรมที่มาคู่กับ Test Disk ที่ใช้วิเคราะห์ดิสก์ที่โครงสร้างเจ๊ง โปรแกรมนี้สัญญาอนุญาตเป็น GNU GPL ใช้งานได้ทั้งหลายแพลตฟอร์มทั้งลินุกซ์ วินโดวส์ แม็ค บีเอสดี ยูนิกซ์ ฯลฯ และใช้กับระบบไฟล์ได้ทั้ง FAT (พวกเม็มโมรีการ์ดส่วนใหญ่เป็น FAT นะ), NTFS, Ext 2/3. HFS+ และอื่นๆ อีกเพียบ และไม่ใช่แค่ไฟล์ภาพพวก JPEG หรือ RAW เท่านั้น PhotoRec รู้จักฟอร์แมตของไฟล์กว่า 100 แบบ!
สำหรับ Ubuntu ก็ aptitude ได้เลย
$ sudo aptitude install testdisk
แล้วก็เรียก
$ photorec card.img
ทีนี้ก็ไปตามเมนู เลือกๆๆ เคาะ enter ไป ก็ได้ภาพกลับมา .. กรณีของแก๊งค์แมวๆ ได้ภาพและวิดีโอกลับมา 100% เลยนะ (เท่าที่จำได้) .. ดีใจๆ :D
P.S. ภาพจากทริป กำลังนั่งปั่นอยู่ .. รอหน่อยละกัน :P
Code name ของ Ubuntu 8.10 ออกมาได้สักพักแล้ว "Intrepid Ibex" จะเป็นรุ่นถัดจาก 8.04 Hardy Heron .. .. ที่ Ubuntu ได้ทำหน้า Development Code Names ไว้ มีตาราง adjective และ animal รวบรวมไว้ให้ตั้งแต่ A-Z จะได้เอาไปใช้ตั้งชื่อกัน .. สำหรับรุ่นถัด 9.04 เป็นคราวของตัว J ก็รอดูกันว่า Mark Shuttleworth จะเลือกชื่ออะไร :)
เปิดหูฟังบลูทูธก่อน จากนั้นก็
$ hcitool scanning
ควรจะเจอหูฟังบลูทูธ ทีนี้แก้ไฟล์ ~/.asoundrc
pcm.bluetooth { type bluetooth device xx:xx:xx:xx:xx:xx }
ใส่ address ลงไปตรง xx:xx:xx:xx:xx:xx จากนั้นลอง
$ mplayer -ao alsa:device=bluetooth file.ogg
ควรจะมี balloon ขึ้นมาตรง bluetooth manager ให้ pair device กดที่ balloon แล้วก็ใส่ PIN ให้ถูก ทีนี้มันก็จะเล่นเพลงได้ละ :D
โปรแกรมอื่นๆ ถ้า config device ของ ALSA เป็น bluetooth ก็ควรจะเล่นได้เหมือนกัน .. :)
ลองไปอย่างนั้นแหละ สุดท้ายก็ใช้ลำโพง/หูฟังเหมือนเดิม :P
สุดอายุขัยกันอีกแล้ว
ใครใช้ Ubuntu 6.10 ก็มีคำแนะนำให้รออัปเกรดเป็นเวอร์ชัน 8.04 LTS ไปเลยก็ได้ (ตามแผน 8.04 LTS ก็จะ รีลีสวันที่ 24 เม.ย. 51 เหมือนกัน) .. Ubuntu 8.04 LTS จะเป็นรีลีส Long Term Support ต่อจาก Ubuntu 6.06 LTS แต่ถ้าไม่ได้ต้องการฟีเจอร์ในซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องอัปเกรดในทันทีก็ได้ เพราะ LTS ยังไงก็ยังมี support ยาวๆ 3 ปี (desktop) หรือ 5 ปี (server) อยู่แล้ว กว่า 6.06 LTS จะ EoL ก็ปี 2009/2011 โน่น
ส่วนใครที่ใช้ FreeBSD รุ่นที่จะ EoL อยู่แนะนำให้อัปเกรดเป็น FreeBSD 6.3 หรือ 7.0 .. ข่าวของ FreeBSD ส่งผ่าน mailing list วันที่ 1 เม.ย. 51 พอดี .. เลยต้องลงปัจฉิมลิขิตไว้หน่อย ..
P.S. For clarity, this is NOT an April Fool’s joke.
กร๊าก .. :D
ว่าจะแก้ปัญหานี้มาตั้งนานแล้ว .. เครื่องข้าน้อยติดตั้งระบบปฏิบัติการไว้สองตัวคือลินุกซ์กับ Mac OS X .. เรื่องของเรื่องคือเวลาอยู่ในลินุกซ์แล้วบูตเข้า Mac OS X ทีไร เวลามันเกินไป 7 ชั่วโมงทุกที ในทางกลับกัน ถ้าเวลาใน Mac OS X ถูก พอบูตเข้าลินุกซ์ทีไรเวลามันหายไป 7 ชั่วโมงทุกทีอีกเหมือนกัน ทั้งที่ตั้ง time zone ไว้ถูกต้องทั้งสองระบบ .. คงเดาได้ไม่ยากเท่าไหร่ว่าต้นเหตุมาจาก Mac OS X กับลินุกซ์มันตีความ hardware clock (aka. RTC, BIOS clock, CMOS clock) ที่บันทึกไว้ในเครื่องไม่เหมือนกัน ดูเหมือน Mac OS X จะเห็น hardware clock เป็น UTC เสมอ แล้วค่อยมาปรับเป็น local time ตาม time zone ในขณะที่ลินุกซ์กำหนดได้ว่าจะตีความ hardware clock เป็น UTC หรือ local time ก็ได้ ขึ้นกับว่ากำหนดไว้แบบไหน .. กรณีของข้าน้อยติดตั้ง Ubuntu แล้วกำหนดไว้ว่า hardware clock เก็บเป็น local time มันก็เลยตีความไม่เหมือนกับใน Mac OS X .. วิธีแก้ ? ไม่ยาก ตั้งลินุกซ์ให้อ่าน hardware clock เป็น UTC ด้วยก็จบเรื่อง .. หลังจากไล่ๆ ดูใน /etc ก็เจอว่ามันกำหนดค่าไว้ใน /etc/default/rcS .. แก้
UTC=no
เป็น
UTC=yes
เรียบร้อย .. ลองรีบูตทั้งสองระบบก็ได้เวลาตรงกันแล้ว :D
ต้นฉบับ พร้อมอธิบายวิธีการวัด: http://blog.pavlov.net/2008/03/11/firefox-3-memory-usage
อ้อ ! …เบิ้ลข่าวอีกครั้ง .. GNOME ตองสองรีลีสแล้ว .. http://library.gnome.org/misc/release-notes/2.22 ..