All posts by kitty

มิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ ตอน ชมรมวิญญาณคนเถื่อน

คาตายามา ฮารูมิ อิชิสึ และ ‘ท่าน’ โฮล์มส์ อุตส่าห์ได้หยุดพักผ่อนและเดินทางไปไกลถึงเยอรมนี แต่เรื่องก็ตามมาหาอีกจนได้ สงสัยสามคน + หนึ่งตัวนี้จะมีแรงดึงดูดคดีแรงจริงๆ .. เริ่มต้นกันตรงที่มีเสียงกรีดร้องของผู้หญิงตามมาด้วยการปรากฎตัวของร่างไร้สติของหญิงสาวที่เต็มไปด้วยรอยถูกทำร้ายและเสื้อผ้าเปื้อนเลือด เมื่อได้สติ ขึ้นมาเธอก็ยืนยันว่าคาตายามาเป็นคนข่มขืนเธอ ตำรวจที่กลัวผู้หญิงและเลือดอย่างคาตายามาน่ะหรือจะมีปัญญาข่มขืนใครได้ ? .. เรื่องราวการค้นหาความจริงก็เริ่มต้นขึ้น พร้อมกับคดีแปลกที่หัวหน้าคุริฮาราหอบมาให้ถึงที่เยอรมนี .. คดีชมรมวิญญาณคนเถื่อน ที่สมาชิกต่างนำชื่อคนตายมาสวมรอยเพื่อกิจกรรมลึกลับบางอย่าง .. ร่องรอยของคดีบ่งชี้มาถึงโรงแรมที่พักของสามคนหนึ่งแมวในเยอรมนีนี่เอง .. สามคนหนึ่งแมวจึงได้ออกโรงไขคดีวุ่นๆ ในวันพักผ่อนซะงั้น ..

ชมรมวิญญาณคนเถื่อน แปลมาจาก 三毛猫ホームズの幽霊クラブ ของอาคากะวา จิโร โดยคุณสมเกียรติ เชวงกิจวณิช เจ้าเก่า .. อ่านสนุก มุกขำๆ ตามแบบแผนของซีรีส์แมวสามสี :)

Heads Up .. End-of-Life is coming !

สุดอายุขัยกันอีกแล้ว

  • Debian 3.1 Sarge End-of-Life วันที่ 31 มี.ค. 2551
  • Ubuntu 6.10 EoL วันที่ 24 เม.ย. 2551
  • Fedora 7 EoL = วันที่รีลีส Fedora 9 + 1 เดือน .. ถ้าเป็นตามตารางก็ 29 พ.ค. 2551
  • SUSE 10.1 EoL วันที่ 30 พ.ค. 2551
  • FreeBSD 5.5 จะถึง EoL วันที่ 31 พ.ค. 2551 เนื่องจาก RELENG_5_5 เป็น branch สุดท้ายของ RELENG_5 ก็จะถือว่าวันเดียวกันนี้เป็นการสิ้นสุด branch RELENG_5 ด้วย
  • FreeBSD 6.1 และ 6.2 ก็จะ EoL วันที่ 31 พ.ค. 2551 เหมือนกัน แต่ RELENG_6 ยังอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อยเท่ากับ branch สุดท้ายของ RELENG_6 + 2 ปี

ใครใช้ Ubuntu 6.10 ก็มีคำแนะนำให้รออัปเกรดเป็นเวอร์ชัน 8.04 LTS ไปเลยก็ได้ (ตามแผน 8.04 LTS ก็จะ รีลีสวันที่ 24 เม.ย. 51 เหมือนกัน) .. Ubuntu 8.04 LTS จะเป็นรีลีส Long Term Support ต่อจาก Ubuntu 6.06 LTS แต่ถ้าไม่ได้ต้องการฟีเจอร์ในซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องอัปเกรดในทันทีก็ได้ เพราะ LTS ยังไงก็ยังมี support ยาวๆ 3 ปี (desktop) หรือ 5 ปี (server) อยู่แล้ว กว่า 6.06 LTS จะ EoL ก็ปี 2009/2011 โน่น

ส่วนใครที่ใช้ FreeBSD รุ่นที่จะ EoL อยู่แนะนำให้อัปเกรดเป็น FreeBSD 6.3 หรือ 7.0 .. ข่าวของ FreeBSD ส่งผ่าน mailing list วันที่ 1 เม.ย. 51 พอดี .. เลยต้องลงปัจฉิมลิขิตไว้หน่อย ..

P.S. For clarity, this is NOT an April Fool’s joke.

กร๊าก .. :D

OOXML approved

ในที่สุด ISO ก็ประกาศรับรอง OOXML เป็นมาตรฐาน ISO/IEC DIS 29500 ข่าวนี้ลือกันตั้งแต่ 31 มี.ค. และเริ่มมีการหาข่าวยืนยันตั้งแต่นั้น เพราะดันคาบเกี่ยวกับ April Fool’s .. ณ เวลานี้ น่าจะยืนยันได้แล้วจาก press release ของไมโครซอฟต์ และ ECMA รวมถึงเอกสารผลโหวตที่เริ่มมีให้เห็นบนเว็บ

Office Open XML ร่างและผลักดันให้เป็นมาตรฐานโดยไมโครซอฟต์ ซึ่งมาชนกับ Open Document Format (ODF) ที่ผ่านการรองรับเป็นมาตรฐานไปก่อนหน้านี้ มีเหตุผลหลายประการที่ OOXML ไม่ควรเป็นมาตรฐานนานาชาติ ทั้งความซ้ำซ้อนกับมาตรฐาน ODF ที่มีอยู่แล้ว และความไม่โปร่งใสในเชิงเทคนิคของตัว OOXML เอง .. แต่ที่สุดแล้วผลโหวตก็เป็นอย่างที่เห็น ..

  • ประเทศ principal (P-Member) โหวตสนับสนุน 24 จาก 32 ประเทศ = 75% (เกณฑ์กำหนดไว้ว่าต้องมากกว่า 2 ใน 3)
  • ประเทศสมาชิกทั้งหมด โหวตค้าน 10 จาก 71 ประเทศ = 14% (เกณฑ์กำหนดไว้ว่าต้องน้อยกว่า 1 ใน 4)

ทั้งนี้ประเทศที่งดออกเสียงจะไม่นำมาคิดรวม แต่สรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์ทั้งสนับสนุนและค้าน ถือว่าผ่านการรับรอง

และที่ควรทราบไว้คือ ประเทศไทย (โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม: TISI) เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเปลี่ยนมติจาก ‘Disapproval’ ในรอบ fast track เป็น ‘Approval’ ในรอบ BRM

ใน /. มี comment ที่มุมมองน่าสนใจอยู่เหมือนกัน ขออนุญาต quote (+ แก้ข้อความให้ถูกต้องขึ้น)

  1. if they lost the ISO process then they lost
  2. they won the ISO process then they lost as it forced a deep examination of the standard, and raised critical questions and caused them more problems then it solved.
  3. if nobody else implements this flawed standard then they lose as some governments are now also specifying cross platform implementation as well as open standard (perhaps in response to this mess)
  4. if (and this is real unlikely) there are other implementations of this standard (e.g. OO.o) then they lose as MS Office is no longer required to be ubiquitous on the desktop

… สงครามนี้ยังไม่จบ อย่าเพิ่งรีบนับศพทหาร …

Google on 2008-04-01

กูเกิ้ลเผยรายละเอียดโครงการ Virgle .. อภิมหา mega (giga or tera or peta or exa or ..) project ของกูเกิ้ลและเวอร์จิ้นชวนชาวโลกไปสร้างถิ่นฐานบนดาวอังคาร ฟังสารจากผู้ก่อตั้ง เพจ บริน และ แบรนสัน ได้ที่ http://www.youtube.com/projectvirgle และหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.google.com/virgle/index.html

ไม่ต้องกลัวเจ้านายด่าเพราะส่งงานช้าแล้ว .. gmail มีบริการ custom time สำหรับส่งเมลย้อนหลังได้ :D … http://mail.google.com/mail/help/customtime/index.html

กองสลากฯ หนาวแน่ .. กูเกิ้ลออสเตรเลียเปิดบริการ gDay เสิร์ชเอ็นจิ้นสำหรับค้นหาเว็บล่วงได้ 24 ชั่วโมงก่อนข้อมูลนั้นจะถูกสร้างขึ้นมาบนเว็บ เชิญๆ http://www.google.com.au/intl/en/gday/index.html

etc. etc. etc. …

ดูเรื่องอื่นๆ ได้ที่ Google’s Hoaxes .. ปีนึงก็ให้เขาบ้าสักวันเถอะน่า … :D :D

Linux, Mac OS X, and Clock

ว่าจะแก้ปัญหานี้มาตั้งนานแล้ว .. เครื่องข้าน้อยติดตั้งระบบปฏิบัติการไว้สองตัวคือลินุกซ์กับ Mac OS X .. เรื่องของเรื่องคือเวลาอยู่ในลินุกซ์แล้วบูตเข้า Mac OS X ทีไร เวลามันเกินไป 7 ชั่วโมงทุกที ในทางกลับกัน ถ้าเวลาใน Mac OS X ถูก พอบูตเข้าลินุกซ์ทีไรเวลามันหายไป 7 ชั่วโมงทุกทีอีกเหมือนกัน ทั้งที่ตั้ง time zone ไว้ถูกต้องทั้งสองระบบ .. คงเดาได้ไม่ยากเท่าไหร่ว่าต้นเหตุมาจาก Mac OS X กับลินุกซ์มันตีความ hardware clock (aka. RTC, BIOS clock, CMOS clock) ที่บันทึกไว้ในเครื่องไม่เหมือนกัน ดูเหมือน Mac OS X จะเห็น hardware clock เป็น UTC เสมอ แล้วค่อยมาปรับเป็น local time ตาม time zone ในขณะที่ลินุกซ์กำหนดได้ว่าจะตีความ hardware clock เป็น UTC หรือ local time ก็ได้ ขึ้นกับว่ากำหนดไว้แบบไหน .. กรณีของข้าน้อยติดตั้ง Ubuntu แล้วกำหนดไว้ว่า hardware clock เก็บเป็น local time มันก็เลยตีความไม่เหมือนกับใน Mac OS X .. วิธีแก้ ? ไม่ยาก ตั้งลินุกซ์ให้อ่าน hardware clock เป็น UTC ด้วยก็จบเรื่อง .. หลังจากไล่ๆ ดูใน /etc ก็เจอว่ามันกำหนดค่าไว้ใน /etc/default/rcS .. แก้

UTC=no

เป็น

UTC=yes

เรียบร้อย .. ลองรีบูตทั้งสองระบบก็ได้เวลาตรงกันแล้ว :D

สัปดาห์หนังสือครั้งที่ 36

งานหนังสือต้นปีมาพร้อมกับพายุฤดูร้อน แวะบ้านไหนก็มีความเสียหายตามระเบียบ

บ้าน บสิสพับลิชชิ่ง

  1. คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 11 บุรุษวิญญาณ 190 บาท
  2. คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 12 ผีเสื้อดูดเลือด 195 บาท
  3. ซายากะสาวน้อยนักสืบ ตอนที่ 7 ตอนตู้เสื้อผ้าสีงาช้าง 165 บาท
  4. แผนซ่อนคน กลซ้อนแผน 180 บาท
  5. ฆาตกรรมฆ่าเวลา 200 บาท
  6. มิเกะเนะโกะโฮล์มส์ แมวสามสียอดนักสืบ ตอนที่ 12 โอเปราระทึก(ใจ) 145 บาท
  7. ฝนสีขาว 160 บาท
  8. ยาคุโมะ นักสืบวิญญาณ ตอนที่ 1 นัยน์ตาสีเพลิง 160 บาท
  9. กระซิบสีเลือด 220 บาท

รวมราคาปก 1,615 ลด 30 – 35% จ่ายไป 1,111.50 บาท :D

บ้านนายอินทร์

  1. สัญญา 275 บาท
  2. เสียงสะท้อนจากความมืด 305 บาท
  3. เดอะฮิสทอเรียน ล่าตำนานเลือด 459 บาท
  4. เที่ยวไทย กำไรจัง 255 บาท

รวมราคาปก 1,294 จ่ายไป 1,015 บาท

รวมทั้งหมด 2,909 บาท จ่ายไป 2126.50 .. :D

Today is Document Freedom Day

ตกข่าวไปหน่อย .. http://documentfreedom.org

ทำไมต้อง Document Freedom ? .. ขอ quote มาละกัน

"Who controls your valuable information? This question has become central for the distribution of power and wealth in the networked society. Document Freedom is about giving you control of your information, it is about giving governments control of their public records, and it is about freedom of choice. You can give yourself that freedom today by switching to one of the many Free Software applications that support the Open Document Format and that run on many different platforms!"

Georg Greve, president of FSFE.

News from slashdot & LWN

ต้นฉบับ พร้อมอธิบายวิธีการวัด: http://blog.pavlov.net/2008/03/11/firefox-3-memory-usage

อ้อ ! …เบิ้ลข่าวอีกครั้ง .. GNOME ตองสองรีลีสแล้ว .. http://library.gnome.org/misc/release-notes/2.22 ..

Embeddable google calendar

แต่ก่อน embeddable calendar ของ Google แสดงได้แค่ปฏิทินเดียว เดี๋ยวนี้เลือกให้แสดงหลายปฏิทินได้ด้วย

:)