Happy New Year 2010

Happy New Year 2010

.. เริ่มแต่เดี๋ยวนี้ ทำความดี เพื่อให้ชีวิตได้พบกับสิ่งดีๆ กันเถอะ :)

My new phone

HTC Touch / WM6 รวนดีนัก .. ออกเครื่องใหม่แล้ว


Image from HTC.com

สามเหตุผลหลักๆ …

  1. ทดแทนเครื่องเดิม
  2. พอซื้อไหว
  3. มันคือแอนดรอยด์

/me .. หลุดพ้นจาก Windows ได้อีกหนึ่งเครื่อง

Windows 7 – Mac OS X – kubuntu by CHIP

เพิ่งได้อ่านหนังสือ CHIP (ที่ทำงาน เป็นสมาชิกรายปี) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 มีเรื่องทดสอบ Windows 7 – Mac OS X – kubuntu ว่าใครกันแน่เยี่ยมที่สุด .. จริงๆ ขึ้นว่า CHIP ไม่ต้องอ่านก็เดาได้ว่า CHIP จะให้ใครเยี่ยมที่สุด โดยเฉพาะช่วงเปิดตัวระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ แต่อยากดูว่าจะเอาเหตุอะไรมาเป็นผลว่าเยี่ยมที่สุดบ้าง อ่านไปก็คิดไปว่า อืมม นะ .. quote ประโยคจากหนังสือมาให้ดูสักหน่อย

ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ไมโครซอฟต์อุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยไปแล้วถึง 39% ของช่องโหว่ทั้งหมดที่ตรวจพบ ส่วนแอปเปิ้ลทำได้ 18% และลินุกซ์ทำได้เพียง 14%

คำว่า “ทั้งหมดที่ตรวจพบ” ควรจะเปลี่ยนเป็น “ทั้งหมดที่ไมโครซอฟต์ -ยอมรับว่า- เป็นช่องโหว่” เพราะตัวเลขมันไม่เท่ากัน .. และ สถิติในปี 2009 ของ Secunia ซึ่งทำมาหากินกับเรื่อง security คงจะเห็นแย้งไปจากที่ CHIP พยายามบอก

ไมโครซอฟต์ตอบสนองด้วยการอัปเดตแพตช์แก้ไขได้รวดเร็วกว่าคู่แข่งทั้งสอง … กำหนดทุกวันอังคารที่สองของเดือนเป็น patch day แอปเปิ้ล ลินุกซ์ ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน

patch day หนึ่งวันต่อเดือนนี่ถือเป็นมาตรการที่ช่วยให้เร็วแล้วหรือ ? จากที่ secunia แทร็ก Windows 7 มา 2 เดือน เจอ 4 vulnerabilities เป็น remote exploit 100% และยังแก้ไม่เสร็จ นี่เร็วแล้วหรือ ? และ ใช่ ลินุกซ์ไม่มีกำหนดแน่นอน เพราะมันไม่ต้องกำหนดแน่นอน มันออกแพตช์ได้ทุกชั่วโมง หรือสั้นกว่านั้น และไม่ว่ามันเป็น critical หรือไม่ ถ้ามันได้รับการแก้ไขมันแล้วก็ออกแพตช์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอจนถึงรอบการอัปเดต

Kubuntu ไม่มีระบบตรวจสอบหรืออัปเดตอะไรทั้งสิ้น ผู้ใช้จะต้องคอยตรวจสอบข่าวสารจากเว็บไซต์ และทำการอัปเดตแพตช์ด้วยตัวเองแบบแมนนวล

ไม่ได้ใช้ apt ? และใน /etc/cron.daily/apt ตั้งไว้ให้เช็คอัปเดตอัตโนมัติทุกวัน และเวลาอัปเดตเสร็จแล้วก็ไม่ต้อง reboot ใหม่ทุกครั้งเหมือน Windows :P

ในขณะที่ลินุกซ์นั้น ผู้ใช้จะสามารถอัปเดตแพตช์หลังจากที่มีการตรวจสอบช่องโหว่ครั้งแรกเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น (แต่ความรวดเร็วนี้บางครั้งก็ส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบด้วยเช่นกัน)

ความล่าช้าของไมโครซอฟต์ก็ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีปัญหาเรื่องเสถียรภาพ จะใส่วงเล็บหลังข้อความไปทำไม ? จงใจ mislead ?

Kubuntu หากผู้ใช้ต้องการความปลอดภัยก็จะต้องหาไฟร์วอลล์มาติดตั้งเพิ่มเติมด้วยตัวเอง

iptables มีมาพร้อมกับลินุกซ์แทบทุก distro และถ้า CHIP ยังไม่รู้ .. มันคือไฟร์วอลล์

Windows 7 ให้การปกป้องได้ดีที่สุด … ถ้าจะพิจารณาจากฟีเจอร์การป้องกันที่ Windows 7 มีให้ อย่างน้อยก็ถือว่าวมันเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถยืนหยัดและต่อกรกับแฮกเกอร์ในปัจจุบันได้ดีที่สุด ส่วนผู้ไช้ Mac OS X และ Kubuntu นั้นจะต้องคอยระวังตัวมากเป็นพิเศษเนื่องจากไม่มีไฟร์วอลล์และระบบป้องกันไวรัส อีกทั้งยังต้องคอยตรวจสอบแพตช์ด้วยตัวเองอีกด้วย

แม่เจ้า … Windows 7 มีช่องโหว่ตั้งแต่ alpha/beta เป็นช่องโหว่เดียวกับ XP/Vista ซึ่งเก่ากว่าหลายปี ไม่นับว่ามีช่องโหว่ที่ metasploit ยิงทีเดียวร่วง ตั้งแต่ก่อนจะ Release to Manufac. (RTM) ด้วยซ้ำ และที่ไมโครซอฟต์ต้องขนสารพัดระบบมาป้องกันตัว ก็เพราะมันจำเป็นต้องมี และ ณ เวลานี้ต่อให้มีก็ยังไม่พอจะทำให้ Windows 7 อยู่รอดปลอดภัยได้ .. ในขณะที่ OS อื่นไม่จำเป็นมากเท่า Windows 7 ส่วนหนึ่งเพราะไม่ใช่เป้าโจมตี และอีกส่วนหนึ่งเพราะมันปลอดภัยพอจะเอาตัวรอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟร์วอลล์หรือป้องกันไวรัส

[Core 2 Duo 2.93 GHz ..] Cold Start Windows 7 ใช้เวลา 26 วินาที Mac OS X 28 วินาที Kubuntu 43 วินาที … ReadyBoost นั้นจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของระบบให้สูงขึ้นอีกด้วยการนำไฟล์ที่ใช้บ่อยๆ ไปเก็บไว้ในแฟลชไดรฟ์ยูเอสบีที่มีอัตราในการอ่านข้อมูลโดยเฉลี่ยสูงกว่าฮาร์ดดิสก์

แปลก .. MacBook C2D 2.1 T7200 ฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊ค 5400RPM Cold Start Ubuntu เสร็จภายในเวลา < 20 วินาที และเท่าที่ มีคนทำ bootchart ไว้ คือ 5 วินาที บน P8600 + SSD และถ้าไม่จำกัดที่ K/Ubuntu มี Linux LiveCD ยังใช้เวลา boot ไม่ถึง 10 วินาที

Kubuntu กลับทำได้น่าผิดหวัง ทั้งนี้ต้องตำหนิระบบการเข้าถึงทรัพยากรและซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพของมัน … การก๊อปปี้ไฟล์จำนวน 1,239 ไฟล์ ขนาด 4.21 GB Kubuntu ใช้เวลานาน 2.12 นาที Windows 7 1.58 นาที Mac OS X 1.44 นาที

จริง .. default file system (Ext3) นับว่าช้าเมื่อเทียบกับ file system อื่นอีกหลายตัวที่มีในลินุกซ์ และ higher-level VFS ของ KDE/GNOME ก็เป็นตัวถ่วงได้อีก ถ้าต้องการให้เร็วกว่านี้ก็เปลี่ยน file system ได้ และไปใช้คำสั่งในคอมมานด์ไลน์แทน .. อีกด้านหนึ่ง Windows 7 ขณะก๊อปปี้ไฟล์ ใช้ I/O มากๆ UI ยังตอบสนองได้ปกติไหม ? ขยับเมาส์ได้หรือเปล่า ? :P

ไฟล์วิดีโอ HD … ทั้งนี้ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ จะมีการจัดสรรการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและมีการใช้ประโยชน์จาก GPU เพื่อช่วยประมวลผลข้อมูลบางชนิด เช่น วิดีโอ … Windows 7 จะใช้พลังประมวลผลของซีพียูเพิ่มขึ้นแค่ 16% ส่วน Mac OS X และ Kubuntu ทำให้ซีพียูทำงานเพิ่ม 22% และ 33% ตามลำดับ

เรื่องนี้ default ยอมแพ้ .. แต่ถ้ามี hyperthread / multicore ใช้ mplayer-mt ลดพลังประมวลผลได้ประมาณ 30% หรือมากกว่า .. หรือถ้ามีการ์ด NVIDIA ใช้ mplayer + VDPAU … ทั้งหมดนี้ขึ้นกับว่าจะ code ให้ใช้ฟีเจอร์พวกนี้หรือเปล่า ไม่มีระบบปฏิบัติการไหน – รวมถึง Windows 7 – มี system call ที่ใช้ GPU และ/หรือ playback video .. ดังนั้นมันไม่ได้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการนักหรอก

Kubuntu จะมาพร้อมกับเครื่องมือแบ็กอัพแบบง่ายๆ ซื่งไม่สามารถทำ Shadow Copy ของไฟล์ได้เลย

ใช้ NILFS2 ทำ continuous snapshot ได้ และอาจจะดีกว่า volume snapshot อย่าง Shadow Copy

หากรายชื่อจองโปรแกรมไม่ปรากฏขึ้นมาใน Program Manager … วิธีเดียวที่จะติดตั้งโปรแกรมได้จะต้องทำผ่านคอมมานด์ไลน์เท่านั้น

มะเหงก โหลด *.deb แล้ว double click ที่ icon ก็ได้

การติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมลงในระบบถือเป็นงานที่ง่ายและแทบไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับ Windows 7 เพราะมันจะมาพร้อมกับฐานข้อมูลไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์เกือบทุกชนิด

คอมพิวเตอร์หลายเครื่องยังไม่ได้อัปเกรดเป็น Windows 7 ก็เพราะมันไม่มีไดรเวอร์นี่แหละ และเครื่องที่ว่าบูต Ubuntu ใช้งานแบบ LiveCD ได้

ส่วน Kubuntu นั้นมาพร้อมกับไดรเวอร์มาตรฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้การค้นหาไดรเวอร์เฉพาะสำหรับอุปกรณ์บางอย่างยังเป็นเรื่องที่สำบากมาก และผู้ใช้ที่จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ ลงในระบบและใช้งานได้คงจะมีแต่ผู้เชี่ยวชาญลินุกซ์เท่านั้น

อีกด้านหนึ่ง ก็เพิ่งจะได้อ่านจาก GNOME Journal ว่า เด็กหญิงอายุห้าขวบที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก กับพี่ชายอายุหกขวบที่เพิ่งอ่านหนังสือออก ช่วยกันติดตั้ง Ubuntu ได้เองโดยไม่มีใครคอยแนะนำ สนใจอ่านต่อได้ที่ The Un-Scary Screwdriver

Kubuntu ไม่มี Encryption

มี และทำได้หลายเลเยอร์

Kubuntu ไม่มี Antispyware

เพราะไม่จำเป็นต้องมี อย่างน้อยก็เวลานี้ และถ้าต้องการก็ติดตั้ง chkrootkit, rkhunter พอได้

Kubuntu พื้นที่สำหรับการติดตั้ง 10 GB

เพราะมันเป็น distro ไม่ใช่ OS มันเลยมีแอพพลิเคชันติดตั้งมาด้วย (อย่างน้อยก็ +OO.o, GIMP, …) และที่จริงใช้ไม่เกิน 4 GB.. อย่ามั่ว

Kubuntu ไม่มี System Security

ไม่ค่อยเข้าใจว่าคืออะไร แต่ถ้าหมายถึง Security Center ที่ไมโครซอฟต์พยายามผูกเป็นส่วนหนึ่งของ system สำหรับระบบปฏิบัติการอื่นมันไม่ใช่สิ่งที่ต้องมี

Kubuntu ไม่มี System Acceleration (e.g. ReadyBoost)

เพราะไม่ต้องมีก็เร็วได้

Kubuntu ไม่มีการแสดงรายละเอียดของไดรเวอร์

lshw, lsmod,lspci, lsusb, dmesg, /proc, ….

อืมม .. นะ .. IMHO .. CHIP (Thailand) อวยขนาดนี้ก็น่าเกลียดเกินไปหน่อย ถ้าทำไปด้วยความเขลาขนาดนี้ก็น่าเวทนา หรือถ้าแกล้งเขลาก็น่าอาย .. และนิตยสารแบบนี้ น่าเสียดายเงิน

.. blog บ่น ก็ยาวอย่างนี้แหละ :P

mini-ubuntuclub meeting @ Khon Kaen

สัปดาห์นี้ได้คุณ gumara มาอบรม ubuntu ที่ มข. ซะสามวัน หลังคอร์สอบรมจบแล้ว เย็นๆ ได้มีโอกาสไปนั่งกินนั่งคุยที่ ร้านหน้าไม้ มีสมาชิกไปสิบเอ็ดคน ไม่ต้องคิดอะไรมาก นั่งคุย นั่งกิน เฮฮาดี

ถึงเวลาจ่าย เสี่ยอับดุลอาสาเลี้ยงซะงั้น .. thx หลายๆ

RT: ภาพจากมื้อเย็นโดยพี่เทพ http://mltp.ly/d1302py

ฝนดาวตก Leonids

ตามกระแสดาราศาสตร์หน่อย ฝนดาวตก Leonids คืนนี้

  • ฝนดาวตก Leonids แปลว่า เกิดฝนดาวตก ณ พื้นที่ท้องฟ้า ตรงบริเวณ กลุ่มดาว Leo โดยเป็นผลที่เกิดจากเศษของ ดาวหาง Tempel-Tuttle
  • กลุ่มดาว Leo จะขึ้นที่ทิศตะวันออกเกือบจะเป๊ะ (Az 80-90 องศา) โดยโผล่หัวสิงห์ประมาณเที่ยงคืน
  • จะเห็นกลุ่มดาว Leo เต็มประมาณตีสอง และจะสามารถมองเห็นฝนดาวตกได้
  • ตามที่แปะไว้ที่ space.com ฝนดาวตก Leonids จะ peak เวลา 21:40 GMT 2009-11-17 เท่ากับ 04:40 2009-11-18 บ้านเรา ณ เวลานี้ กลุ่มดาว Leo จะอยู่ระหว่างมุมเงย (Alt) 40-70 องศา

ลอง simulate โดย stellarium ดูก็ได้

Zotero

นั่งลอง reference management สำหรับจัดระเบียบ reference / bibliography / citation ในเอกสาร รายงาน thesis ฯลฯ .. กะจะหาตัวที่ใช้แทน EndNote (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่เคยใช้เหมือนกัน)

ใช้ Zotero แล้วไม่เลวนะ .. Multi-platform (Firefox on Lin/Win/Mac) มี plugin/extension ใช้กับ MS Word / OO.o Writer ลงง่าย ใช้ง่าย ได้ผล เชื่อมกับ ref db. / amazon / ห้องสมุด ได้ด้วย .. จะซื้อ EndNote มาใช้ทำไมล่ะนี่ !

http://www.zotero.org/

A new set of strings

เพิ่งไปซื้อสายกีต้าร์ชุดใหม่มา ใช้รุ่นเดิมนี่แหละ เห็นความเปลี่ยนแปลงของแพ็คเกจตรงซองสายจากเดิมเป็นซองกระดาษแยก เดี๋ยวนี้ห่อมารวมกันหมดในซองพลาสติก พร้อมกับแปะว่า Environmentally Friendly Set แถมเก็บสะสมแพ็คเกจสินค้าไปแลกของได้อีก ประมาณว่าลดขยะ

มานั่งดูตาราง tension

สาย 1 J4901 6.94 kg
สาย 2 J4902 5.26 kg
สาย 3 J4903 5.49 kg
สาย 4 J4904 7.08 kg
สาย 5 J4905 6.80 kg
สาย 6 J4906 6.35 kg

สาย 4 จะตึงกว่าเพื่อน เลขไม่ต่างกันกับสายอื่นมากนัก แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา สาย 4 เป็นสายเดียวที่ขาด ที่ต้องเปลี่ยนสายทั้งชุดก็เพราะสาย 4 ขาดนี่แหละ :P

/me .. Eterna EC-15 (15+ ปี) + D’Addario Pro-Arte EJ49

Karmic Koala – Bluetooth – PAN

เพิ่งรู้ว่า Ubuntu 9.10 มัน add bluetooth device แล้วตั้งให้ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย

ก่อนอื่น pair device ให้ได้ก่อน จากนั้นสำหรับ phone profile ตอนท้ายจะมี checkbox เพื่อเลือกว่าเอาไปต่ออินเทอร์เน็ตได้

แล้วมันจะโผล่มาที่ Network Manager เลย .. :D

กรณีข้าน้อยเป็น WM6 ก็เรียก Internet Sharing มารอ จากนั้นคลิ้กต่อจาก Network Manager ได้เลย ไม่ต้องลำบาก pand -c xx:xx:xx:xx:xx:xx อีกแล้ว

Yes, DTAC runs IPv6 too.