ปริศนาคำสารภาพ

คะจิ โซอิชิโร สารวัตรประจำกองบัญชาการกลางเข้ามอบตัวกับตำรวจในข้อหาฆ่าคนตาย เขาสารภาพว่าฆ่าภรรยาที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ เรื่องควรจะจบอย่างง่ายๆ หากเพียงแค่เขาเข้ามอบตัวทันที แต่กลับเป็นว่าเขาเข้ามอบตัวหลังจากนั้นสองวัน .. เขาหายไปไหน ? แม้แต่สารวัตรชิคิ คะซุซะมะ ก็ไม่สามารถทำให้คะจิสารภาพได้ .. เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นเมื่อกรมตำรวจเองก็ต้องการให้ปกปิดเรื่องนี้เพื่อไม่ให้เสียชื่อและถึงกับมีการต่อรองกับอัยการอย่างลับๆ .. หลายฝ่ายเชื่อว่าคะจิคงอยากฆ่าตัวตายตามภรรยา แต่เขาไม่ทำและยังทิ้งปริศนา “50 ปีชีวิตมนุษย์” ไว้อีก .. คะจิไม่ยอมเอ่ยปากว่าเขาหายไปไหนก่อนจะมอบตัว .. เพราะอะไร ? เขากำลังปกป้องใคร ? 50 ปีชีวิตมนุษย์ที่เขาเขียนทิ้งไว้หมายความว่าอย่างไร ? คำถามมากมายที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องอยากรู้

ปริศนาคำสารภาพ แปลจาก Hanochi ของ โยโกยามา ฮิเดะโอะ หนึ่งในนักเขียนฝีมือดีที่ได้รับรางวัลมากมาย สำหรับเรื่องปริศนาคำสารภาพได้รับการจัดอันดับอยู่ที่หนึ่งในอันดับนวนิยายแนวลึกลับจากวารสารในญี่ปุ่น และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2004 ภาคภาษาไทยแปลและเรียบเรียงโดย คุณวราภรณ์ พิรุณสวรรค์ ผู้แปล เบิร์ทเดย์ ปริศนาผู้สูญหาย ปริศนาใต้บาดาล และ บันได 13 ขั้น ปริศนาจากแดนประหาร ส่วนตัวแล้วชอบวิธีการเล่าเรื่องที่ใช้วิธีการเขียนเล่าจากมุมมองผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ สารวัตรสืบสวน อัยการ นักข่าว ทนาย ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เขียนแยกบทผ่านสายตาของแต่ละคน หากยังคงดำเนินเรื่องได้ลงตัวโดยมีตัวละครคนสำคัญและปมปริศนาเป็นศูนย์กลาง

คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 8 – อย่าออกมาเดินตอนกลางคืน

ยาชิโระ โทระตะ เป็นนักเขียนนิยายสืบสวนสอบสวนกระจอกๆ คนหนึ่ง เขาเป็นเพื่อนของ เซ็งโงะกุ นาโอกิ ซึ่งบังเอิญมีบ้านเกิดที่เดียวกัน จริงๆ แล้วทั้งสองไม่เชิงเป็นเพื่อน เพราะ นาโอกิกดขี่ ถากถางโทระตะเป็นประจำเสียจน โทระตะไม่ใส่ใจ อีกอย่างที่ทำให้ โทระตะ ทนได้ก็เพราะ นาโอกิ เป็นคนอุปถัมภ์ช่วยเหลืออยู่เรื่อยๆ แม้ความช่วยเหลือนั้นทำไปเพื่อหวังผลตอบแทนอย่างชัดเจน ทั้งสองจึงไม่ได้ไว้ใจกันจนสนิทใจอย่างเพื่อนทั่วไป วันหนึ่งนาโอกินำเรื่องวุ่นๆ ในบ้านมาปรึกษาโทระตะเพื่อให้โทระตะช่วยเหลือบางอย่าง เขาถูกลากไปพบกับฆาตกรรมสยองในตระกูลฟุรุงามิซึ่งทุกคนล้วนมีความวิปริตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

อย่าออกมาเดินตอนกลางคืน แปล มาจาก Yoru Aruku ของ โยโคมิโซะ เซชิ และแปลโดยคุณชมนาด ศีติสาร ใช้วิธีการเล่าเรื่องจากมุมมองของบุคคลที่สาม (ซึ่งในความเป็นจริงมีบทบาทมากกว่าแค่บุคคลที่สาม) เล่มนี้มีตัวละครไม่มากนัก อ่านแล้วติดตามได้ง่าย มีการจับประเด็นทางสังคมยุคหลังสงคราม และประเด็นทางศีลธรรมในญี่ปุ่น ความสนุกของเล่มนี้คือมุกการเล่นกับมุมมองของฆาตกร มีประเด็นน่าสงสัยมากมาย การเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนของปริศนาฆาตกรรมยังคงลึกล้ำไม่น้อยกว่าเล่มที่ผ่านมา และเป็นอีกครั้งที่โยโคมิโซะ เซชิ ใช้เมืองโอะนิโคะเบะ จังหวัดโอคายามะ เป็นฉากประกอบ ในการเล่าเรื่อง

Ubuntu 7.10 Codename Gutsy Gibbons

หลังจากปล่อยกวางน้อย (fawn) อย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (อย่างไม่ทางการตั้งแต่วันที่ 15-16) รีลีสหน้า Ubuntu 7.10 จะปล่อยชะนีผู้กล้า (Gutsy Gibbons) เป็นตัวต่อไป .. codename ของ Ubuntu ยังคงเข้าลำดับตัวอักษรจาก D-E-F-G … แต่ … โปรดสังเกตว่า Gibbons เติม s เป็นพหูพจน์ด้วย … :P

เป้าหมายของ Ubuntu 7.10 Gutsy Gibbons จะประกาศราวๆ ต้นเดือนหน้า

บุกดังเจี้ยนงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 35

ออกเดินทางใกล้ๆ เที่ยง ขี่ม้าเหล็กใต้ปฐพี มาโผล่หน้าดังเจี้ยนงานสัปดาห์หนังสือ .. ผู้กล้าเยอะเหลือเกิน

12.26 น. บลิส พับลิชชิ่ง มาตามลายแทงที่ส่งมาให้ถึงบ้าน เพราะดันไปกรอกชื่อเป็นสมาชิกเมื่อคราวที่แล้ว .. กะว่าจะเก็บไอเท็มซัก 4 เล่ม ..

  1. นัดหมายในความมืด – 155 GP
  2. รอยสักรูปหมา – 175 GP
  3. ปริศนาคำสารภาพ – 190 GP
  4. โทรศัพท์สลับมิติ – 130 GP
  5. ฤดูร้อน ดอกไม้ไฟ และร่างไร้วิญญาณของฉัน – 115 GP
  6. คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่แปด อย่าออกมาเดินตอนกลางคืน – 190 GP
  7. ซายากะ ตอนไดอารี่สีอำพัน – 165 GP
  8. แมวสามสียอดนักสืบ ตอนชมรมวิญญาณคนเถื่อน – 160 GP
  9. ฆาตกรรมในโรงเรียน – 170 GP

เก็บไป 9 .. รวม 1450 GP แต่โทษฐานที่มีการ์ดสมาชิกของบลิส ลด 30% เหลือ 1015 .. เย้

หันไปบูธตรงข้าม เพิร์ล พับลิชชิ่ง เจอไซด์เควสต์ อาร์ทิมิส .. ไหนว่าสามเล่มจบฟะ อาร์ทิมิส ฟาวล์ และอาณาจักรที่สาปสูญ (aka อาร์ทิมิส เล่ม 5) ราคา 320 ลด 15% เหลือ 272 .. (หน้าปกเขียนชื่อคนแต่งผิดเปล่า ?)

12.56 ถึงช็อปมติชน คนแห่ไปแก้เควสต์หลัก An Inconvenient Truth (490 ลดเหลือ 419) อย่างตรึม สี่สีอาบมันทั้งเล่มสวยงาม เปิดดูแล้วรายละเอียดน้อยไปหน่อย ไม่โดนเท่าไหร่ ดูดีวีดีหนุกกว่า .. แต่เล่มที่วางข้างๆ กันนี่สิ เห็นแล้วรีบคว้าไปจ่ายตังค์แบบไม่ลังเล “รามานุจัน” .. คนที่อ่านผู้ชายที่หลงรักตัวเลขแล้วน่าจะคุ้นกับชื่อ รามานุจัน และถ้าจำกันได้ แอร์ดิช เคยถาม ศ. ฮาร์ดี้ ว่า “สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณทำให้วงการคณิตศาสตร์คืออะไร” ศ. ฮาร์ดี้ ตอบว่า “การค้นพบรามานุจัน”.. 350 เหลือ 298 ทิ้งความจริงที่คนไม่อยากฟังไว้เบื้องหลัง

13.03 น. เดินผ่านช็อปนายอินทร์ … แวะทำไซด์เควสต์ Unputdownable Mystey ชุดล่าสุด

  1. ปริศนาสมบัติอัศวิน – 295 GP
  2. ซ้อน – 265 GP
  3. ไม่รู้ – 315 GP

รวม 875 เหลือ 695

จากนั้นก็เดินหาบางกอกไกด์ ซื้อแผนที่ กทม. ตามใบสั่งของ GF (i.e. เควสต์หลัก ไม่เคลียร์ไม่ได้ !) .. 50 บาท

ไหลไปตามกระแสของผู้กล้านับหมื่น .. เพื่อนที่ summon มาช่วยเมื่อสายๆ โผล่มาพอดี กู๋ดุลย์รุ่นตัดแว่นใหม่ พอเจอกันแล้วก็เอาไอเท็มไปไว้ช็อปฝากไอเท็มหน้างาน จะได้มี agi กับ dex เยอะๆ เตรียมลุย

เก็บไอเท็มสุดท้ายก่อนจะลืม .. ช็อปนานมีบุ๊คส์ หาตั้งนานก็ไม่เจอ .. หลงทางมาถึงโปรวิชั่นเลยตัดสินใจย้อนกลับไปทางเข้าดังเจี้ยนไปเอาแม็พของดังเจี้ยนที่ NPC .. กางแม็ปดูปรากฏว่า นานมีบุ๊คส์ อยู่ตรงข้าม โปรวิชั่น! .. 14.21 น. เคลียร์ แฮร์รี พอตเตอร์ เล่ม 7 ภาษาอังกฤษให้ OL .. ราคาปก 1200 เหลือ 850 แถม ควิดดิชในยุคต่างๆ 1 เล่ม กับ ชาเขียวโมชิ 1 ขวด ไว้เติม HP.. เอ่อ โคตรไม่เกี่ยวเลย (- -‘)

คราวนี้ก็ไปแก้เควสต์กู๋ดุลย์ที่บงกชบ้าง .. กู๋ดุลย์ได้ ARIA เล่ม 7 มาหนึ่งเล่ม .. กู๋กะจะยก One Piece ทั้งชุดก็เกรงจะทำให้แบกหนัก แถม GP กู๋เหลือน้อยเพราะเพิ่งไปซื้อไอเท็มแว่นก่อนมาบุกดังเจี้ยน .. ซวยจริง

เดินไปเติม HP ที่ฟู้ดคอร์ท … อิ่มแล้วก็ไปรับไอเท็มที่ฝากไว้ ซื้อกล่องเก็บไอเท็มที่ช็อปไปรษณีย์ไทย แล้วก็เผ่นออกมาจากดังเจี้ยน ขี่ม้าเหล็กใต้ปฐพีกลับที่พัก .. ส่วนกู๋ดุลย์ เหมือนจะไปลุยสะพานเหล็กต่อ (- -)a

สรุป .. สะสมไอเท็มไป 14 เล่ม รอรับที่บ้าน 1 เล่ม รวมราคาปก 4,255 บาท ลดเหลือ 3,180 เฉลี่ยแล้วก็ลดไปสัก 25% … จบภาคงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 35 .. โปรดติดตามภาคต่อไปอีกหกเดือนข้างหน้า

คินดะอิจิยอดนักสืบ ตอนที่ 7 – คดีฆาตกรรมเพลงเล่นลูกบอลปีศาจ

คินดะอิจิเดินทางจังหวัดโอคายามะ เขาไปหาสารวัตรอิโซคาวะเพื่อขอคำแนะนำว่าจะไปหลบไปพักผ่อนที่ไหนดี เอาให้ห่างไกลผู้คนเข้าไว้ .. สารวัตรแนะนำให้ไปไปหมู่บ้านโอนิโคะเบะ หมู่บ้านเล็กๆ กลางหุบเขา พร้อมกับหยอดเรื่องของคดีวุ่นๆ ในหมู่บ้านเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนที่ยังไม่สามารถตามตัวคนร้ายได้ .. คินดะอิจิไม่อยากจะสนใจเรื่องคดีเพราะอยากพักจริงๆ แต่ก็ติดกับสารวัตรจนได้ .. เขาเข้าพักที่บ่อน้ำร้อนตามคำแนะนำของสารวัตร มีโอกาสพบผู้คนที่เกี่ยวข้องในคดีเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนหลายคน ..

ในที่สุด วันพักผ่อนของคินดะอิจิก็หายไปเมื่อหนึ่งในผู้เกี่ยวข้องในคดีเมืื่อยี่สิบกว่าปีก่อนหายสาปสูญไป เป็นไปได้ว่าเสียชีวิตไปแล้ว .. ไม่นาน เด็กสาวในหมู่บ้านก็ตายไปอีกคน .. แล้วก็อีกคน ตรงกับเนื้อเพลงเล่นลูกบอลของหมู่บ้านโอนิโคะเบะ .. ตามเนื้อเพลงยังเหลืออีกหนึ่งสาวที่ต้องตาย .. นี่ไม่ใช่แค่ฆาตกรรมต่อเนื่อง มันมีเงื่อนงำมากกว่าที่คิด คินดะอิจิจะหาตัวฆาตกรได้ทันหรือไม่ ? แถมคดีใหม่กับคดีเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนก็ดูจะมีอะไรเชื่อมโยงกันอยู่เสียด้วย ..

คดีฆาตกรรมเพลงเล่นลูกบอลปีศาจ แปลจาก Akuma No Temariuta ของโยโคมิโซะ เซชิ โดยคุณชมนาด ศีติสาร สนุกเข้มข้นเช่นเคย และยังคงมีรายละเอียดตัวละครเพียบอีกเช่นเคย .. ตอนที่เจ็ดนี่เป็นอีกครั้งที่ต้องอ่านสองรอบ ผูกเงื่อนได้เนียนจริงๆ

A new member in kitty.in.th

ไปงานคอมมาร์ท 2007 มาตะกี้ เพราะมีเป้าหมายว่าจะหิ้วโน้ตบุ๊คกลับมา 1 เครื่อง .. อะฮะ .. ได้เจ้านี่มา 1 ตัว

  • Apple MacBook
  • Intel T7200 Core 2 Duo 2.0 GHz
  • Memory 1 GB
  • HDD 80 GB
  • Intel GMA 950
  • 13.3-inch 1280×800 Glossy TFT Monitor
  • AirPort Extreme 802.11b/g/n
  • 10/100/1000 Mbps Ethernet

ราคาแจ่มแมว (เอาเป็นว่าถูกกว่า IBM, HP, etc หลายรุ่นที่ spec เท่าๆ กัน) .. ได้มาแล้วก็ชื่นชม Mac OS X ไปสองวัน แล้วก็ฟอร์แมตลง Mac OS X ใหม่ เอาขยะออกให้หมด ตามด้วย Bootcamp แล้วก็ Ubuntu ..

เริ่มฟอร์แมตลง Ubuntu วันจันทร์ .. กว่าจะใช้งานได้ครบๆ เต็มๆ ก็วันนี้นี่เอง .. :D

ATA over Ethernet

ว่าจะลองตั้งแต่ 2.6.11 แล้ว ..แต่ไม่มี hardware (i.e. coraid) จนกระทั่งมี vblade ออกมาให้แชร์ storage ทั่วไปบนลินุกซ์ผ่าน AoE ได้ .. ก็ลองสักหน่อยดิ ..

เครื่องที่จะแชร์ storage ลง vblade ซะ แล้วก็

# vblade 0 0 eth0 /path/to/device
  • เลข 0 แรกคือเลข shelf ตั้งตามใจชอบ
  • เลข 0 ที่สองคือเลข slot ตั้งตามใจชอบเหมือนกัน
  • eth0 คือ Ethernet NIC ที่จะใช้
  • แล้วก็ /path/to/device ก็อาจจะเป็น /dev/hda1 หรือ dev อะไรก็ตามที่จะแชร์ผ่าน AoE จะเป็น storage ทั้งลูกหรือเป็น partition ก็ได้

ส่วนเครื่องที่จะ mount AoE storage ก็ลง aoetools ซะ จากนั้นก็

# modprobe aoe
# mount /dev/etherd/e0.0 /path

ตรง e0.0 นี่ 0 แรกคือ shelf และ 0 ตัวที่สองคือ slot ตามที่ตั้งไว้ตอนสั่ง vblade ..

เสร็จแล้น … ง่ายโคตร .. :D

ไหนๆ ก็ไหนๆ จับเวลาสักหน่อย เครื่องที่รัน vblade เป็น P4 3 GHz HT ไดรว์ Parallel ATA ธรรมดา NIC ของ RTL8139 100 Mbps ส่วนเครื่องที่ mount AoE storage ก็ Athlon XP 2000+ ใช้ RTL8139 100 Mbps เหมือนกัน

# hdparm -tT /dev/etherd/e0.0 

/dev/etherd/e0.0:
 Timing cached reads:   1032 MB in  2.00 seconds = 515.23 MB/sec
 Timing buffered disk reads:   12 MB in  3.18 seconds =   3.77 MB/sec

จริงๆ ตอนรันจะมีโวยวายนิดหน่อย (ขออนุญาตตัดทิ้ง) คงเพราะมันไม่ใช่ ATA drive จริงๆ .. เลขที่สนใจคือ buffered disk reads ได้ 3.77 MB/s .. อืม ไม่เร็ว แต่ก็ไม่เลวเหมือนกัน :)

Iceweasel 2.0.0.1 for Edgy (again)

แจ้งเพื่อทราบ .. iceweasel สำหรับ edgy ที่รีลีสไป ตอนนี้เอาออกจาก kitty repo ก่อน เพราะยังติดปัญหาตอนติดตั้งกับถอดออกจากระบบ มีไฟล์บางส่วนทับกับ firefox และติดที่ใช้ pango โดยปริยายซึ่งมันจะแสดงผลภาษาไทยเพี้ยนๆ

ใครที่พบปัญหาให้ set

MOZ_DISABLE_PANGO=1

ก็พอจะช่วยได้ (credit to พี่เทพ)

kitty repo. คงไม่ maintain iceweasel นะครับ .. ไว้รอ official ของ ubuntu + pango แก้ไขเลยดีกว่า :P

At 16th WUNCA & CIT2007

มาประชุมงาน 16th WUNCA & CIT2007 ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตั้งแต่ 31 ม.ค. 50 – 2 ก.พ. 50 .. นั่งฟังไปด้วย ประชุมไปด้วย ทำเว็บไปด้วย build iceweasel + libthai ไปด้วย (พี่ thep ส่งมาให้ .. ใครใช้ edgy อยู่รอแป๊บเน้อ .. เมื่อวานสั่ง build ทิ้งไว้ .. กลับมาดูวันนี้ ปรากฏว่า HDD เต็ม build ไม่เสร็จ – -‘) ท่าน vee tag มารอบสอง .. รอแป๊บเหมือนกัน ไม่มีหนังสือ เลยไม่รู้จะเปิดหน้า 123 ยังไง :P

ที่ติดๆ ไว้ กลับไป มข. ค่อยว่ากันเน้อะ :P