มันจะ depend อะไรกันนักกันหนา ?

นอนเช้า ตื่นเที่ยง ไปธนาคารฝากเช็คเข้าบัญชี ไปอีกธนาคารจ่ายเบี้ยประกัน .. ระยะนี้ชักกรอบ

เข้าห้องแล็บบ่ายกว่าๆ ก็นั่งทำแพ็กเกจไปเรื่อย วันนี้ว่าจะเอา vlc ให้ได้ .. dependency ของ vlc เยอะมากๆ นี่ยังไม่นับ depend ก่อนหน้านี้อีกหลายตัว .. build จนเซ็ง ไม่เสร็จอีกต่างหาก พรุ่งนี้ค่อยทำต่อ มีคิวอัปเดต mplayer, xine-lib, transcode ด้วย เพราะไหนๆ ก็ทำ libtheora เอาไว้แล้ว ส่วน C++ binding ของ GTK+/GNOME ทำให้ติดตั้งร่วมกับเวอร์ชันเก่าได้แล้ว แต่ก็ยังไม่เสร็จอีก เพราะต้องรอ lib บางตัวจาก MrChoke

เย็นๆ ไปฟิวเจอร์ ได้หนังมาสามแผ่น 2001: The Space Odyssey หนังเก่าจากนิยายไซไฟของ อาเธอร์ ซี คลาร์ค สร้างโดย สแตนลีย์ คูบริก ถ้าไม่ตั้งใจดูอาจหลับได้ .. Matrix Revolution คงไม่ต้องอธิบาย ซื้อมาให้ครบชุด + ดูรายละเอียดที่ตกหล่นในโรง .. Kiki’s Delivery Service การตูนแผ่นนี้ซื้อสะสม เป็นผลงานของ Studio Ghibli .. เหลือบไปเห็น Band of Brothers ก็อยากได้ แต่ยังกัดฟันซื้อไม่ลง ได้อ่านเวอร์ชันหนังสือภาคภาษาไทย “เพื่อนตาย สหายศึก” มาแล้วเมื่อหลายเดือนก่อน มักหลายๆ .. เป็นนิยายเล่มเดียวในรอบห้าปีที่ผมซื้อแล้วไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ (^^’) ..

เมื่อวาน ที่ THNIC จับ รปภ.โรคจิตได้คนนึง แอบซ่อนตัวในห้องน้ำหญิง เห็นว่าสงสัยกันมาอาทิตย์นึงแล้ว เพิ่งจะจับได้คาหนังคาเขา ก็นับว่าโชคดีไม่มีใครถูกทำมิดีมิร้าย ..

Visiting Pacific Internet

เดินทางกลับมาเอไอที ออกจากบ้านสิบโมงเช้า แวะกินข้าวเที่ยงโคราช ถึงเอไอทีบ่ายสาม อากาศวันนี้ไม่ร้อน มีฝนตกระหว่างทางนิดหน่อย พอเป็นโคลนให้รถเปื้อน .. ด่านเยอะมาก สงสัยเปิดเทอมเลยต้องหาตังค์ :P

ลอง swsusp (Software Suspend) กับโน้ตบุ๊ก ตอนนี้ทำงานได้แล้วครับ :) .. เรื่องของเรื่องก็คือ พี่เทพเคยโพสถามเรื่อง swsusp ใน LTN เมื่อนานมาแล้ว ผมก็ไม่ได้ลองซักที (คุ้นๆ ว่าเครื่องผมกับเครื่องพี่เทพชิปเซ็ตเป็น i830 เหมือนกัน) จนล่วงมาถึงงาน Linux Empowerment คุณทัชชี่ก็บอกว่าใช้ swsusp ไม่ได้อีกคน (ถ้าจำไม่ผิด เครื่องของคุณทัชชี่น่าจะ i855) .. ผมเคยเห็นผ่านๆ ตาใน LKML มาเหมือนกันว่า swsusp มักมีปัญหากับ agpgart .. หาก X ทำงานอยู่ และมีการใช้งาน agpgart เครื่องจะ suspend-to-disk ไม่ได้ หรือถ้าได้ ก็อาจจะ resume ไม่ได้ .. ผมทดสอบดูครั้งแรกบน X ก็ suspend ได้แต่ resume ไม่สำเร็จ ต่อมาลองบน text-mode ทำได้สำเร็จทั้ง text จริงๆ และ frame buffer .. ผมเห็น frame buffer มันทำได้ก็เลยลองเปลี่ยนไดรเวอร์ของ X เป็น fbdev แทน i810 (ทำให้ไม่ใช้ agpgart ไปโดยปริยาย) ตอนนี้ก็ suspend และ restore ได้ตามที่มันควรจะเป็นแล้ว .. แต่แน่นอนว่าใช้ fbdev ก็ย่อมทำงานช้ากว่าไดรเวอร์ i810 + agpgart .. ณ เวลานี้ก็คงต้องเลือกระหว่าง fbdev + swsusp กับ i810 + agpgart .. แต่อนาคตคงมีการแก้ไขเคอร์เนลให้ swsusp + i810 + agpgart ทำงานร่วมกันได้สมบูรณ์แน่นอน ผมเดาว่าคงอีกไม่นานเพราะเห็นใน LKML มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้บ้างแล้ว

เย็นๆ รุ่นน้องที่ราชบุรีมารับไปสังเกตการณ์ วางเซิร์ฟเวอร์ที่แปซิฟิคอินเทอร์เน็ต ตึกเล่งเป็งง้วน ชั้น 28 ห้องเซิร์ฟเวอร์จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยดี หันไปเห็นเซิร์ฟเวอร์ของ Virgin radio พี่ท่านแจ๋วมาก ต่อจูเนอร์ของ Denon สี่ตัว เข้า Extigy เป็นอินพุตผ่าน USB ของวินโดวส์มีเดียเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียว ที่เด็ดคือใช้สายอากาศหนวดกุ้งธรรมดาๆ วางเหนือตู้แร็ค เออ อย่างว่า มันก็ชั้น 28 สัญญาณเอ็ฟเอ็มคงไม่ห่วย .. ฮา

มื้อเย็นไปกินร้านอุบลแจ่วฮ้อน ใต้ทางด่วน พระรามหก ไม่ได้ไปกินนานแล้ว แซ่บเรียกพี่ .. เสร็จแล้วไปต่อกาแฟที่ โอบองแปง สยามดิสคัฟเวอรี .. ปรับอารมณ์แทบไม่ทัน

กลับมาเอไอที โหลดแพ็กเกจมาเข้าคิว build ร่วมยี่สิบตัว … มี C++ binding สำหรับ gtk-2.4/gnome-2.6 ทำใหม่ยกชุด ไล่ตั้งแต่ libsigc++ โน่นเลย .. อื่นๆ ก็มี TeXmacs vnc2swf eq-xmms sane gimp-gap transcode (rebuild ให้ใช้ libdv ใหม่) .. พี่หน่อยขอ VLC มา ตั้งใจจะทำตั้งนานแล้ว พรุ่งนี้จะจัดให้นะครับ

Kitty at home

เพิ่งได้ออนไลน์ ถือโอกาสบันทึก blog เสียหน่อย … กลับบ้านเที่ยวนี้เดินทางสะดวก มีเพื่อนช่วยแชร์ค่าน้ำมัน ก็ค่อยยังชั่ว กลางทางแวะรับ พี่ตั้ง อ. รุ่นพี่ที่โคราช มาถึงขอนแก่นชวนกันทานเนื้อเกาหลีร้านเก็ต ร้านโปรดของไกร – คุณเกรียงไกร วชิรอนนท์ รุ่นน้องและลูกศิษย์ ตอนนี้เป็นนักเขียนอิสระมือดีประจำเครือ witty group .. หนังสือ blog ของเกรียงไกรวางขายแล้ว อุดหนุนกันเยอะๆ นะครับ :P…กลับมาร้านเก็ต ผม มาร์ท และพี่ตั้ง ยังไม่ทันได้นั่งก็เจอสาวๆ รุมตรึม เบียร์มั้ยคะพี่ สารพัดยี่ห้อ.. วันนี้เลือกเบียร์อาซาฮี ผลิตแถวๆ โรงงานสิงห์ที่ท่าพระ (ขอนแก่น) นี่เอง กินแก้วแรก เออ กินได้เรื่อยๆ ดี แบบนี้ตั้งเป้าเอาของแถมกันเลย สามขวดได้ของแถมหนึ่งชิ้น ต่อรองเหลือ 7 ขวด สรุป ได้ของแถมมาคนละชิ้น .. คำแนะนำ: อาซาฮีไม่ควรสั่งกินเอาเมาเพราะจะเปลืองกว่าปกติ ธรรมดาผมไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมักเป็นคนขับรถ วันนี้ซดอาซาฮี 2 ขวดยังไม่มีอาการเท่าบางยี่ห้อกระป๋องเดียว.. ฮา .. อ่อมีคำแนะนำเรื่องเบียร์ฝากมาจากเพื่อนๆ ด้วย บอกว่า เบียร์ช้างธรรมดา ผสมโซดาแล้วจะ “พรีเมียม” ขึ้นมาทันที .. จริงหรือไม่ไปพิสูจน์กันเอาเอง

กลับมาบ้านกินๆ นอนๆ ไม่ได้ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันเลยซักชิ้น .. เมลก็ไม่กล้าเช็คเพราะทั้ง LKML Evolution-ML FreeBSD-Security … รวมแล้ว วันละ 300+ สองวันก็ 6-700 ฉบับ ขึนเช็คผ่าน TOT Online คงไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่น เผลอๆ จะหลุดไปเสียก่อน ..

ลูกๆ แข็งแรงดี ปุ๊กปิ๊ก ผอมลงไปเยอะไม่ยอมกินข้าว กินแต่ขนมกับทิชชู่ .. ป๊อกกี้ กินทุกมื้อ มื้อละเยอะๆ อ้วนจนพุงบานออกทุกทิศทาง น้ำหนักเกินยี่สิบโลแน่นอน .. เช้าวันเสาร์ม๊อบมันเหงาๆ ไม่ยอมกินข้าว ปล่อยออกไปกินหญ้า กลับมาตอนเย็นๆ ก็ร่าเริงเป็นปกติ .. เออ มันฉลาดแฮะ

จันทร์นี้จะกลับไปประจำที่กรุงเทพเหมือนเดิม เดือนหน้าถึงจะหาจังหวะดีๆ กลับบ้าน น้ำมันเบนซิน 95 ที่ขอนแก่น ลิตรละ 17.97 บาท ..อุ แม่เจ้า ..T_T

Going home

มีข่าวดีว่าอีกหนึ่งปีผมจะได้กลับไปทำงานที่ มข. แล้ว .. ที่ไม่ค่อยดีคือไม่ว่าจะเรียนจบหรือไม่ก็ต้องกลับ เพราะเขาจะไม่ให้เรียนต่อแล้ว ฮาา .. จะจบหรือไม่จบก็ดีใจ จะได้กลับไปอยู่กับลูกๆ เสียที เบื่อที่นี่เต็มทีแล้ว .. เรียกว่าอะไรดี .. คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยากล่ะมั๊ง .. ทุกวันนี้มีเพื่อนๆ กับงานโอเพนซอร์สนี่ล่ะที่ทำให้ผมไม่ประสาทกินไปเสียก่อน หาเรื่องหลอกตัวเองไปวันๆ ว่าเรียนต่อแล้ว สนุก สบายกว่าทำงานเป็นไหนๆ .. ชีวิต fake โคตร

บ่นพอแล้ว อัปเดตแพ็กเกจหลายตัว บางส่วนเข้าทะเล ส่วนใหญ่เข้า extras

  1. gdesklet 0.26.2
  2. passepartout 0.5 (testing)
  3. qsynth 0.2.1
  4. raptor 1.3.0
  5. root-tail 1.1
  6. screem 0.10.0 (gnome 2.6 -> testing)
  7. TeXmacs 1.0.3.8
  8. ximian-connector 1.4.7
  9. yafray 0.0.6

พรุ่งนี้ตั้งใจว่าจะกลับบ้าน ถ้าไม่กลับก็อาจจะไม่ได้กลับอีกเป็นเดือน น้ำมันขึ้นราคาหาเพื่อนแชร์ค่าน้ำมันดีกว่า มีใครจะไปขอนแก่นเปล่าครับ ? รถยังว่างอีกสองที่ ออกจากกรุงเทพศุกร์ประมาณบ่ายสาม กลับกรุงเทพฯ จันทร์เช้า :P

Software Patent

หายไปจากวงจรข่าวหลายวัน วันนี้เลยอัปเดตข่าวสารต่างๆ มากมาย มีคิวอัปเดต + ทดสอบแพ็กเกจหลายตัว .. อ่อ เคอร์เนล 2.6.6 ออกแล้วครับ พร้อม mm1 ตามมาติดๆ ในไม่กี่ชั่วโมงถัดมา

เจอเรื่องน่าสนใจที่ http://slashdot.org เกือบๆ จะตกข่าว คือมี คนทดสอบประสิทธิภาพของระบบไฟล์ ext2 ext3 reiserfs jfs xfs .. เป็นไปตามที่คาดไว้ คือ jfs ดูน่าประทับใจกว่าเพื่อน และ ext3 ห่วยสุด .. ตามไปอ่านกันดูครับ (นินทา: ดูเหมือนกราฟจะใช้ MS Excel นะ :P)

มีข่าวดีว่า Novell ‘จะ’ โอเพนซอร์ส Ximian Connector ตัวเชื่อม MS Exchange (และ GroupWise ?) .. ชาว /. บอกว่าไม่ต้องรอแล้ว ไปโหลดได้เลย ผมก็สอยมาซะเป็นที่เรียบร้อย

บ่ายๆ แวะเข้าห้อง #tlwg อ.พฤษภ์ ถามเรื่อง LyX บนทะเล ผมยังแก้ปัญหาให้ไม่ได้เลย วีร์ถามเรื่อง printing ของ inkscape ผมลองดูก็พบว่ามันพิมพ์ไม่ได้ งงไปอีกดอก รู้สึกผิดยังไงชอบกล .. น้องฝ้ายตั้งประเด็นเรื่อง software patent ในเมืองไทย ช่วยกันหาข้อมูล แล้วก็ได้ข้อสรุปว่า ณ เวลานี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ .. ซึ่งก็ดีแล้ว ถ้าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ล่ะก็ น่ากลัวโคตรๆ ..

ร่ายยาวสักนิดตามที่เข้าใจมา (คำเตือน: IANAL ดังนั้นที่จะเล่าต่อไปนี้ ผิดหรือถูกก็ไม่รู้ จะอ้างอิงก็ได้แต่ผมไม่รับผิดชอบเนื้อหานะ) .. หลักๆ แล้ว ประเทศไทยมี พรบ. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอยู่สองตัว คือ พรบ. สิทธิบัตร ซึ่งคุ้มครอง ‘วิธีการ’ และ พรบ. ลิขสิทธิ์ ซึ่งคุ้มครอง ‘เนื้อหา’ .. กรณีของประเทศไทย พรบ. สิทธิบัตรเน้นการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบ ส่วนซอฟต์แวร์จะได้รับการคุ้มครองโดย พรบ.ลิขสิทธิ์ .. ทีนี้ในกรณีของสิทธิบัตรซอฟต์แวร์เนื้อหากว้างๆ เป็นเรื่องการคุ้มครองอัลกอริทึม ซึ่ง ในสหรัฐมีการคุ้มครองแล้ว ในยุโรปก็พยายามผลักดันให้มีการคุ้มครอง กฎหมายนี้มีผลให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิตามกฎหมายในการเรียกค่าธรรมเนียมในการใช้อัลกอริทึมที่จดในสิทธิบัตรนั้น และสามารถฟ้องเอาผิดกับผู้ละเมิดได้ ในทำนองเดียวกับการเรียกค่าใช้เทคโนโลยีในสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งฟังดูแล้วสมเหตุสมผลในแง่การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ปัญหาคือมันกระทบกับโอเพนซอร์สอย่างจัง ด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบางตัวก็ใช้อัลกอริทึมที่มีการจดสิทธิบัตรด้วย อย่างอัลกอริทึมที่ใช้วิธีการตามมาตรฐาน หรือเป็น de facto เช่น อัลกอริทึมการเข้า/ถอดรหัส mp3 หรือ Dolby AC3 เป็นต้น ผลคือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแม้จะไม่มีค่าใช้จ่ายในแง่ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แต่หากมีกฏหมายคุ้มครองสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ดิสโตรที่เผยแพร่โอเพนซอร์สจะถือได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย และ ‘อาจจะ’ ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องสิทธิบัตรแทน .. แปลว่าซอฟต์แวร์เสรีบางตัวอาจจะไม่สามารถคงความเสรีต่อไปได้หากมีกฎหมายสิทธิบัตรซอฟต์แวร์เกิดขึ้น ..

mp3 เป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนมากที่สุดตัวหนึ่งในเรื่องสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ เท่าที่ค้น และรับฟังมาคือ เจ้าของสิทธิบัตร mp3 คือ บ. Thomson-Fraunhofer ได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีหลายฉบับที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ mp3 ในหลายประเทศทั่วโลก บ. คิดค่าธรรมเนียมการใช้เทคโนโลยีตามสิทธิบัตร US$0.75 ต่อสินค้าหนึ่งชิ้น หรือจ่ายครั้งเดียว US$50,000 ไม่จำกัดจำนวนสินค้า และเพราะมีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ในสหรัฐฯ Red Hat Inc. จึงตัดสินใจถอด mp3 ออกจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด (ที่จริงจะจ่าย US$50,000 ขนหน้าแข้ง RH คงไม่ร่วงหรอก แต่ประมาณว่ามันผิดแนวคิดเรื่องซอฟต์แวร์เสรี) xmms ใน RHL จึงไม่มี mp3 plugin และไม่มีแม้แต่ซอร์สของ mp3 ใน xmms-x.x.x-x.src.rpm เล่นกันอย่างนั้นเลย .. ทีนี้ หากย้อนกลับไปถึงผู้ที่พัฒนาไลบราลี หรือซอฟต์แวร์ เข้า/ถอดรหัส mp3 (เช่น lame, libmad, .. ) ก็อาจจะถือว่านักพัฒนาเหล่านี้มีความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ เพราะ พัฒนาและเผยแพร่ ‘วิธีการ’ ตามสิทธิบัตรที่ได้รับความคุ้มครองแล้วตามกฎหมาย .. ความซวยจึงบังเกิด .. อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้ เท่าที่ค้นเจอคือ เขาห้ามเผยแพร่ ‘ไบนารี’ ของซอฟต์แวร์เข้า/ถอดรหัส mp3 แต่ ‘อนุโลม’ ให้เผยแพร่รหัสต้นฉบับ (source code) ได้ เพราะถือว่ารหัสต้นฉบับมันยังไม่สามารถทำงานตามวิธีการในสิทธิบัตรได้ จึงคงมีการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในการเข้า/ถอดรหัสกันต่อไป .. และ end-user สามารถเอารหัสต้นฉบับไปคอมไฟล์ใช้งานเองได้โดยไม่ถือว่าละเมิดสิทธิบัตร เพราะถือเป็นการใช้ส่วนตัว ไม่ใช่การพาณิชย์ ..

กลับมาในบ้านเรา แม้ยังไม่มีการคุ้มครองแต่เนคเทคก็เอา mp3 ออกจากลินุกซ์ทะเลไปแล้ว ตั้งแต่เวอร์ชัน 5.5 เป็นการป้องกันไว้ก่อน ผมเลยได้แจก mp3 plugin แทน เพราะยังไงก็เป็นคนแพ็กเกจโปรแกรมพวกนี้เองอยู่แล้ว .. และก็เป็นตามคาด คนบ่นเรื่อง xmms เล่น mp3 ไม่ได้ตั้งแต่วันแรกๆ ที่เปิดตัว .. ฮา

ทำยังไงที่ทำให้ซอฟต์แวร์เสรียังคงเสรีอยู่ได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของสิทธิบัตรด้วย ?? ..

ผมแก้ blog นิดหน่อย ตรงหัวเรื่อง blog ผมทำเป็น link แล้วนะ ใครจะอ้างอิง blog ของวันนั้นๆ ก็ไม่ต้องก๊อปจากปฏิทินแล้ว ก๊อป URL จากหัวเรื่อง blog ได้เลย สะดวกขึ้นนิดนึง :P

งานมหกรรมโอเพนซอร์ส (จบ)

ตื่นเช้าผิดปกติ โทรศัพท์มือถือใช้งานได้แล้ว (ดีใจโคตร) สายๆ เข้าไปรับเสี่ยต้น แล้วก็บึ่งรถไปศูนย์สิริกิติ์ นั่งเล่นแถวๆ ลินุกซ์คลินิก พี่หน่อย คุณณุ คุณอาคม มาช่วยงานเหมือนเดิม แนะนำ Live CD และ ให้คำปรึกษาสารพัดเรื่อง นึกชื่นชมอยู่ในใจว่าอาสาสมัครทีมนี้ไฟต์โคตรๆ .. อ่อ นึกได้อีกสองสามท่านที่เจอกันเมื่อวาน มีคุณ ทัชชี่ (คุณทัชชี่แปล google ด้วย .. มีเพื่อนใส่เสื้อ google อีกคนแล้ว :D) และ คุณเชษฐ์ (ลิเบอร์ตา) เมื่อวานได้นั่งคุยกันสั้นๆ สมัยอยู่ มข. … เรื่องก็มีอยู่ว่า ที่ มข. มีวิชา Micro App เป็นวิชาคณะสายศิลป์ เนื้อหาก็เป็นการใช้โปรแกรมประยุกต์ทั่วๆ ไป เช่น CU Writer (ในสมัยโน้น) .. ก็มีนักศึกษาคนนึงพิมพ์เอกสารใน CU Writer เสร็จแล้ว บันทึกลงแผ่นแล้ว ต้องการจะก๊อปปี้ไฟล์ลงอีกแผ่นนึงให้เพื่อน ก็เลยถามคุณเชษฐ์ว่าทำยังไง คุณเชษฐ์เห็นว่าน้องนักศึกษาเขายังไม่ได้ออกจากโปรแกรม CU Writer ก็เลยตอบประมาณว่า “อ๋อ ..ออกไปสั่งก๊อปปี้ข้างนอกก็ได้” หมายถึงออกจาก CU Writer แล้วก็สั่งก๊อปปี้บนดอส .. น้องนักศึกษาคงเข้าใจอะไรผิดไป เลยถามคุณเชษฐ์กลับว่า “ข้างนอก ร้านไหนเหรอพี่ แล้วแพงหรือเปล่า ?” .. ฮา..

ตอนเย็นๆ เลิกงานแล้ว ผม เสี่ยต้น คุณณุ คุณอาคม ไปทานข้าวเย็นที่ฟอร์จูน คุยกันหลายเรื่อง สนุกสนานตามสไตล์คุณณุ ผมได้การบ้านจากคุณณุมาเพียบ .. ส่วนเสี่ยต้นได้การบ้านสำหรับงานหน้าว่าจะจัดยังไงให้ดีขึ้น เพราะงานนี้ก็พลาดไปหลายเรื่อง

สรุปรวบยอด งานนี้เลยได้พบเพื่อนในกลุ่มโอเพนซอร์สหลายคน และได้โจทย์แปลกๆ มาหลายเรื่องเหมือนกัน เช่น เรื่อง Multi-page TIFF ที่ใช้ในแฟ็กซ์ ผมกับต้นรับมาดูว่าจะมีซอฟต์แวร์ตัวไหนทำงานได้อย่างสมบูรณ์กับไฟล์แบบนี้บ้าง เรื่องภาษาจีนบนลินุกซ์ การใช้งานร่วมกันระหว่างโปรแกรม DTP โปรแกรมวาดภาพ บน Win/Mac และลินุกซ์ ฯลฯ .. และเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายเรื่อง .. คงต้องเร่งหาคำตอบในหนึ่งเดือนต่อจากนี้ เผื่อจะได้เป็นข้อมูลในงาน Linux Expo งานใหญ่อีกงานที่จะจัดในเดือนหน้า ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ .. ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดผมคงได้ไปบรรยายในงานนี้ด้วย :P

[nggallery id=22]

สำหรับแพตช์ irq routing ของคาร์ดบัส แดเนียลคงส่งให้แอนดรูว์เร็วๆ นี้ .. ถ้าไม่เจออะไรแปลกๆ อีกก็ถือได้ว่าเป็นการปิดงาน :)

งานมหกรรมโอเพนซอร์ส

เมื่อวานเร่งเตรียม presentation งดบันทึก blog ไปหนึ่งวัน.. ก็เป็นไปตามคาด อดหลับอดนอนไปงานโอเพนซอร์สที่ศูนย์สิริกิติ์ แล้วก็ present แบบไม่เตรียมอะไรเลย ผ่านไปอย่างทุลักทุเล มือตกไปเยอะเลยผม :P

หลัง present แล้วก็มาเดินวนไปวนมาแถวบูธลินุกซ์ทะเล เพราะมีคนฟังอยากได้สไลด์ก็เลยนัดให้มาก๊อปที่บูธ .. ลินุกซ์ทะเลปีนี้โชว์ความบันเทิงเต็มที่ เกมส์ หนัง เสียงดัง คนผ่านมาชมกันเยอะดี.. ที่เด่นจริงๆ คือ Live CD ที่แจกทุกคนที่เข้ามาร่วมงาน คนเดินมาดู Live CD เยอะเหมือนกัน พี่หน่อย SpeedNet ช่วยนำทีม demo และตอบคำถามเกี่ยวกับ Live CD เปลือยเคสโชว์กันเลย ไม่มีฮาร์ดดิสก์ก็ใช้ลินุกซ์ได้ .. ประมาณนั้น

เจอเพื่อนๆ ในกลุ่มโอเพ่นซอร์สหลายคน นอกจาก พี่หน่่อยแล้ว ก็มี mk คุณณุ คุณชาญวิทย์ คุณโด่ง พี่เทพ ลืมไปไม่ได้คือ น้องฝ้าย .. แล้วก็อีกหลายๆ คนผมยังจำชื่อได้ไม่หมดเลย .. ปกติจะเห็นแวะเวียนในบอร์ด LTN บ้าง ในห้อง #tlwg บ้าง เพิ่งจะมีโอกาสพบหน้ากลุ่มใหญ่ขนาดนี้ เลิกงานตอนเย็นก็เลยได้นั่งคุยพบปะกัน ไม่มีเนื้อหาสาระเท่าไหร่ แต่ตลอดงานวันนี้ผมเก็บเล็กผสมน้อยมาได้เยอะเหมือนกัน :)

เมื่อวานแดเนียลตอบเมลกลับมา ฮากลิ้งอีกแล้ว เปลี่ยนค่าผิดตัวแปร – ภาคสอง ไปเปลี่ยนค่าใน BIOS โน่น มันก็สั่งกำหนดค่าได้ก็จริง ไม่ error ด้วย แต่ค่ามันไม่เปลี่ยนให้สูหรอกเด้อเพราะมันเป็นแอดเดรสที่ชี้ไปที่รอม .. บ่ายๆ เลยทดสอบโค้ดใหม่ และก็ได้โค้ดที่ทำงานได้ในที่สุด .. O2Micro CardBus บน TravelMate 360 series ใช้ irq 10 ได้สำเร็จแล้ว ไม่ต้องฝืนบังคับ irq กันเหมือนแต่ก่อนด้วย วิธีการคือ override ค่า pirq และ mask ที่รายงานโดย BIOS หรือ ACPI โดยเอาค่าที่เหมาะสมกำหนดลงไปแทน จากนั้นปล่อยให้รูทีนคำนวณ irq ทำงานตามปกติ .. วันนี้เลยทดสอบ pirq หลายๆ ค่าที่อาจจะใช้ได้ และทดสอบ irq 9 ที่อาจจะใช้ได้เหมือนกัน .. บูตกันเป็นสิบรอบจน ext3 force check :P .. ผลที่ได้พบว่า CardBus ถ้าจะใช้งานได้ต้อง irq 10 เท่านั้น ได้ค่า pirq ที่ใช้งานได้มา 2-3 ตัวจากทั้งหมด 5 ตัว .. รายงานกลับไปที่แดเนียล .. ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วคงเข้า mm-patch สำหรับเคอร์เนล 2.6 stable ถัดไป

Kernel Hacking (again)

เข้ามาเขียน blog วันนี้ตกใจมาก counter ของ blog วิ่งไปเกือบหกร้อย ในวันเดียว (ปกติร้อยเดียวก็ถือว่าเยอะแล้ว) .. คิดๆ ดู มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วว่าอยู่ๆ blog ผมมันจะฮ็อตโคตรๆ ขนาดนั้น เลยอนุมานไปว่า เบลดันดี (belldandy – ชื่อเซิร์ฟเวอร์) จะโดนอะไรเข้าแล้วหรือเปล่า ? .. เช็ค http-access ปรากฏว่า 2 ใน 3 มาจากไอพีเดียวของอุทยานวิทยาศาสตร์ (ก็ science park นั่นแหละ) ดูคล้ายๆ พวกโปรแกรมดูดเว็บเพจ หรือไม่ก็แคช ? .. ขี้เกียจหาต่อ .. เอาเป็นว่าคงไม่ใช่โดนโจมตี หรือไวรัส .. พอแล้ว

วุ่นวายกับเคอร์เนลอีกรอบ .. แดเนียล ริตซ์ ตอบเมลมาว่า โค้ดท่ี่ให้มาคราวที่แล้วทำงานไม่ได้ชัวร์ๆ เพราะ กำหนดค่าให้ผิดตัวแปร ฮากลิ้งครับ .. ประมาณเขากำหนด pirq = info->irq[pin].link ไว้ชั่วคราว .. แล้วเราก็แก้เฉพาะ pirq แต่ไม่ได้แก้ irq[pin].link ซึ่งเป็นตัวแปรในโครงสร้างที่จะเอาไปหา irq อีกที วันนี้เลยแก้เป็น pirq = info->irq[pin].link = 0x68 .. ผล ล้มเหลว อีกแล้ว .. ผมลองสั่งให้พิมพ์ค่าออกมา ปรากฏว่า ผลที่ได้คือ pirq = 0x68 แต่ irq[pin].link = 0x63 !! .. เพี้ยนโคตร พลาดอะไรไปหรือเปล่าหว่าเรา ??

งานที่สอง แดเนียลให้ลองใช้ irq 9 ดู (ผมเคยบอกไปว่าบน MS Windows กำหนด CardBus เป็น irq 9) .. ว่าแล้วก็ฮาร์ดโค้ด irq = 9 ลงไป รีคอมไพล์ บูตขึ้นมา IRQ 10 No body cared! จ๋อย .. แบบนี้แปลว่ามันจะใช้ irq 10 เหมือนเดิม .. ส่งผลกลับไปให้แดเนียลดู .. CardBus ตัวนี้ถ้าไม่บังคับ irq สงสัยจะไม่ได้จริงๆ แฮะ .. คิดในแง่ดี อย่างน้อยก็รู้ว่าแบบไหนทำงานไม่ได้

งานที่สาม อัปเดตแพ็กเกจอีกนิดหน่อย liferea โปรแกรม RSS reader ขึ้นมาเป็น 0.4.8 แล้ว .. ใช้ gtkmozembed เสยย เลยใส่ depend mozilla เข้าไปอีกตัว ..ไม่รู้เอาไปทำอะไร เพราะเดิม liferea ใช้ gtkhtml อยู่แล้วนี่หว่า ?

งานสุดท้าย เตรียม screenshot ไปอวดในงานโอเพนซอร์ส เอาให้ตาแฉะไปเลย ฮา..

วิ่งวุ่น

นอนแปดโมง ตื่นสิบเอ็ด ถึงแล็บสิบเอ็ดครึ่ง .. เริ่มจาก ตอบเมล เตรียมสไลด์นำเสนอต่อจากเมื่อวาน .. เอ่อ มีแค่สองอย่างนี้เป็นหลัก ใช้เวลาทำสไลด์ 3 ชั่วโมง .. มั่วมากๆ คาดว่าวันงานเละเทะแน่ (- -‘) .. ห้าโมงส่งไฟล์ให้ผู้จัดงาน

เย็นๆ ไปฟิวเจอร์พาร์ค ตั้งใจไปซื้อกระดาษกรองกาแฟ .. แวะไปดูซีดี ดีวีดีด้วย เดินผ่านชั้น IT เห็นร้าน Bask มาเปิดสาขาที่ฟิวเจอร์แล้ว เอา Nikon D70 มาโชว์คู่กับ Canon 300D .. ดอดไปถามได้ความว่า D70 นำเข้าถูกต้อง พร้อมเลนส์ AF-S 18-55 DX (ED) 55.9K แต่ต้องสั่งจอง ของมันแรงหมดเร็วมาก เขาว่างั้น (ที่จริงคงรอยอดเพราะไม่อยากสต็อกมากกว่า) .. ส่วนของหิ้ว (ออกมาจากโรงงานนิคส์ไทยแลนด์) 58K ไม่ต้องรอ มีตัวเดียว .. ประกันนิคส์ไทยแลนด์ทั้งสองแบบ .. อ่อ Nikon D70 ผลิตจากนิคส์ไทยแลนด์ทั้งหมดครับ ไม่ต้องไปหา Made in somewhere else .. ปีนี้เป้าผลิตขายทั่วโลก 800,000 ตัว ส่วน Canon 300D ราคาพร้อมเลนส์ ประมาณ 46K นิดๆ .. อยากได้ D70 อย่างแรง .. เพราะ Olympus C700 คู่ใจ ถ่ายภาพไปแล้วร่วมหมื่นภาพ (เฉลี่ยภาพละ 2-3 บาท) ใช้คุ้มแล้วล่ะ .. และอีกเหตุผลนึงคือมันเริ่มมี hot pixel ให้เห็นแล้ว 5 จุด .. ผมพออนุมานได้ว่าเป็นเพราะ C700 ใช้ EVF (electronic viewfinder) แปลว่า CCD มันต้อง on ใช้งานตลอดเวลาที่เปิดกล้องทำงาน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับ CCD .. เช่นเดียวกับการถ่ายภาพโดยเปิด LCD หลังกล้องแทนที่จะใช้ optical viewfinder นอกจากเปลืองแบตฯ แล้วก็มีแนวโน้มที่ CCD จะเสื่อมเร็วได้เหมือนกัน

กลับจากฟิวเจอร์ อัปเดตแพ็กเกจนิดหน่อย xine xine-lib อัปเวอร์ชัน เพิ่ม totem เข้าทะเล คงเอาเข้า testing เพราะใช้กับ gnome 2.6 .. totem เจ๋งมาก ทำ video thumbnail ให้ nautilus ได้ด้วย จะเลิกใช้ xine-ui ก็คราวนี้ล่ะ .. หลังๆ ชินกับ spatial mode ของ nautilus แล้ว จัดการไฟล์ได้เร็วและสะดวกขึ้นเยอะ

ปิดท้าย .. แดเนียลเมลมาถามว่าได้ทดสอบเรื่อง irq routing หรือยัง เพราะถ้าทำงานได้เขาจะได้ส่งแพตช์ไปให้ akpm … ฮา ผมทิ้งค้างไว้นาน วันนี้เลยทดสอบดูหน่อย .. วิธีการใหม่เคยอธิบายไปแล้ววันก่อนโน้น คือกำหนด pirq และ mask สำหรับ OZ6933 Cardbus Controller เป็นค่าใหม่ (pirq = 0x68, mask 0x400) แทนที่จะใช้ค่าจากตารางของ ACPI หรือ BIOS .. ผลการทดสอบ .. ล้มเหลว .. Cardbus ถูกกำหนดให้ใช้ irq 11 หน้าตาเฉย (มันควรจะเป็น 10 เพราะ mask = 0x400 .. พลาดได้ไงฟะ งงมาก) .. ตอนนี้เลยต้องใช้วิธีฝืน irq เอาเหมือนเดิม

Open-Source Killer Applications

เมื่อวันอังคาร ประชุมเรื่อง po อยู่ดีๆ เสี่ยต้น-กำธรก็หางานมาให้ทำ หยั่งเชิงด้วย คำว่า killer applications แล้วก็กลายเป็นหัวข้อที่ต้องไปบรรยายในวันจันทร์ที่ 10 ที่จะถึงนี้ในงานมหกรรมโอเพ่นซอร์สครั้งที่ 6 … พอรับหัวข้อมาคิดๆ ละเอียดๆ เข้า .. เฮ้ย open-source killer application มันมีมั้ยอ่ะ .. คือตั้งแต่มีเครื่องพีซีขึ้นมาบนโลกนี้ มีซอฟต์แวร์อะไรที่เป็น killer ได้มั่ง ? ลองนับเล่นๆ ยังไม่ถึง 20 เลยมั๊ง (ผมตัดเซฟแล้วนะ) .. ลองไล่กันดูก็ได้ VisiCalc Lotus-1-2-3 WordStar PC-Tools Windows (ยกความดีความชอบให้ Xerox และ IBM) PageMaker (บน Mac) Mosaic Visio .. ส่วนที่ไม่เชิงเป็นซอฟต์แวร์แต่อยากนับก็มีพวก X11 Postscript PDF Java .. อาจจะมีมากกว่านี้ไม่กี่มากน้อย .. บ้านเรามี CU-Writer ที่พอนับเป็น killer ได้ .. ฝั่งโอเพนซอร์สผมนับได้แค่สามตัวคือ

  1. Linux แม้จะไม่ใช่โอเพ่นซอร์สตัวแรก แต่เป็นตัวที่ทำให้เกิดกระแสทั้งเรื่องวัฒนธรรมและการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามมาอีกมากมาย
  2. LaTeX บรรพบุรุษของ DTP อายุร่วม 20 ปีแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่
  3. vi เก๋าโคตรๆ ยังไม่เห็น text editor ตัวไหนทำอะไรได้สารพัด และสุดโต่งเท่า vi (emacs จะงอนมั้ยเนี่ยะ)

หมดปัญญาหาแล้ว .. แวะเข้า #tlwg วีร์ และ น้องฝ้าย และ ฯลฯ แนะนำมาอีกหลายตัว อืมม .. โดยสรุปแล้วเป็นซอฟต์แวร์ที่ ‘เด่น’ ในด้านนั้นๆ มากกว่า ไม่ใช่ killer จริงๆ .. แต่นาทีนี้อะไรก็ต้องคว้าไว้ก่อนแล้วล่ะ .. เดี๋ยววันบรรยายก็คงรู้ว่าจะเละเทะขนาดไหน ฮ่ะๆๆ ..